04/27/2024

Month: June 2020

ฟูจิตสึเปิดตัวสแกนเนอร์สแกนเอกสารรุ่นใหม่ใช้งานง่าย รองรับเครือข่าย เหมาะกับงานธุรกิจ

บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวสแกนเนอร์รุ่น SP-1120N/SP-1125N/SP-1130N ในตระกูล SP Series รองรับการเชื่อมต่อเครือข่าย ใช้งานง่าย เปี่ยมด้วยเสถียรภาพ เหมาะสำหรับงานธุรกิจ

SP-1130N

คุณพรชัย พงศ์เอนกกุล หัวหน้ากลุ่มธุรกิจดิจิทัลโซลูชั่น บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “SP-1120N/SP-1125N/SP-1130N เป็นสแกนเนอร์รุ่นล่าสุดในตระกูล SP Series ที่รองรับการเชื่อมต่อเครือข่าย ได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษสำหรับภูมิภาคที่ตลาดสแกนเนอร์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เรานำเสนอผลิตภัณฑ์ระดับเริ่มต้นที่ให้ประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมสำหรับการทำงานพื้นฐานเพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดใหม่ๆ  สแกนเนอร์เหล่านี้มีความทนทาน เปี่ยมด้วยเสถียรภาพในการทำงาน ขนาดกะทัดรัด และใช้งานง่าย เหมาะกับการใช้งาน ในองค์กรธุรกิจ ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานในออฟฟิศและแผนกบริการลูกค้า”

คุณสมบัติที่สำคัญ

สแกนเนอร์ขนาดกะทัดรัด รองรับการเชื่อมต่อเครือข่าย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทุกคนในทุกๆ ที่

สแกนเนอร์ SP-1120N/SP-1125N/SP-1130N สามารถติดตั้งในพื้นที่ขนาดจำกัด เช่น เคาน์เตอร์บริการลูกค้า หรือบนโต๊ะทำงาน  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะมีขนาดเล็กกะทัดรัด แต่สแกนเนอร์ดังกล่าวรองรับ ทั้งการเชื่อมต่อความเร็วสูง USB 3.2 Gen 1×1 และการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบใช้สาย จึงสามารถตั้งวางไว้ใกล้กับคอมพิวเตอร์หรือในจุดอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย แผงควบคุมประกอบด้วยสองปุ่ม คือ ปุ่ม “สแกน/หยุด” และ “เปิด/ปิดเครื่อง” ใช้งานได้สะดวก และลดข้อผิดพลาดของผู้ใช้งาน เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กที่ไม่มีแผนกไอที

 

ป้อนเอกสารเข้าเครื่องได้อย่างง่ายดาย เสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

SP-1120N/SP-1125N/SP-1130N มีความเร็วในการสแกน 30 หน้าต่อนาที (รุ่น SP-1130N, ขนาด A4 สี, สแกนสองหน้า ความละเอียด 200/300dpi) รองรับการใช้งานได้อย่างมั่นคงและไร้กังวล เหมาะกับงานธุรกิจที่วุ่นวาย ซึ่งต้องการความรวดเร็วในการดำเนินการ  สแกนเนอร์ SP-1120N/SP-1125N/SP-1130N ประกอบด้วยลูกกลิ้งเบรกที่ทำหน้าที่แยกเอกสารแต่ละหน้า พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับการป้อนกระดาษหลายแผ่น ผู้ใช้จึงสามารถป้อนเอกสารที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมไปถึงกระดาษที่บางและหนา และบัตรพลาสติก เช่น บัตรประชาชน โดยไม่ต้องกังวลว่าการทำงานจะหยุดชะงัก ต้องสแกนใหม่อีกรอบ หรือเอกสารได้รับความเสียหาย

 

ซอฟต์แวร์ที่ช่วยลดภาระการทำงาน

เนื่องจากซอฟต์แวร์ PaperStream IP และ PaperStream Capture ถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นลูกค้าจึงสามารถ    ใช้ฟังก์ชั่นประมวลผลภาพที่พร้อมใช้งานในสแกนเนอร์ fi Series*1 รุ่นอื่นๆ  รอยยับย่น รอยเปื้อน และลวดลายพื้นหลังบนภาพที่สแกนจะถูกลบออกและปรับแต่งโดยอัตโนมัติสำหรับการประมวลผล OCR เพื่อให้ภาพสแกนที่ได้ออกมาดีที่สุดโดยไม่ต้องปรับแต่งหรือแก้ไขเพิ่มเติม  นอกจากนี้ยังสามารถจัดเรียงเอกสารที่สแกนตามบาร์โค้ด, การรับรู้ OCR ตามโซนที่กำหนด และเค้าโครงเอกสาร จึงช่วยลดภาระการทำงานได้อย่างมาก

NTT เปิดตัวโครงสรา้งพื้นที่ที่กำหนดโดยซอฟท์แวร์ เพื่อยืดหยุ่นให้ธุรกิจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ประกาศเปิดตัวบริการใหม่ล่าสุด  Software Defined Infrastructure services เพื่อเสริมศักยภาพการให้กับบริการที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการย้ายโครงสร้างพื้นฐานไปสู่การทำงานบนระบบซอฟต์แวร์ หรือ Software Defined Infrastructure (SDI) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนจากความต้องการทางธุรกิจ เพื่อลดระยะเวลาให้เกิดความคุ้มค่า ช่วยลดต้นทุน รวมถึงช่วยให้การขยายตัวของธุรกิจหรือปรับลดขนาด ได้ตามที่ต้องการ

Bill Padfield รองประธานอาวุโส ฝ่ายทรานสฟอร์มเมชั่นและบริการด้านแพลตฟอร์มของ NTT Ltd. กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ กลุ่มธุรกิจจำนวนมากต่างต้องการความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ SDI services จึงเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการนี้ แต่พบว่าองค์กรธุรกิจยังขาดทักษะที่จำเป็น และความเชี่ยวชาญในการใช้งาน SDI services001

ด้วยบริการ SDI Services, ซึ่งเป็นบริการใหม่ล่าสุดของเรา จะทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ที่กำหนดการทำงานด้วยระบบซอฟต์แวร์ (software-defined) และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่โปรแกรมได้ (programmable infrastructure) โดยเราให้บริการด้วยความเชี่ยวชาญและด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการจัดการระบบ เช่น ระบบอัตโนมัติ (automation) และระบบควบคุมระบบอัตโนมัติ (orchestration) เป็นต้น

บริการ SDI ของ NTT Ltd. จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีโดยใช้การเฝ้าระวังระบบทางไกลรูปแบบใหม่ (telemetry) และการบริหารจัดการข้อมูล (service management data) เพื่อให้องค์กรต่างๆมีความยืดหยุ่นต่อการนำการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้สอดคล้องกับธุรกิจและรายได้ขององค์กร โดยได้เสนอบริการ 4 รูปแบบ ดังนี้;

  • การบริหารจัดการระบบ Lifecycle (Lifecycle Management) – ง่ายและยืดหยุ่นต่อการจัดการอุปกรณ์ IT :
    ให้เรื่องการจัดการอุปกรณ์ IT เป็นเรื่องง่าย ในการทำให้อุปกรณ์ทำงานบน software version ล่าสุดเพื่อให้สอดคล้องตามข้อบังคับขององค์กร (compliance) โดยผ่าน Digital Wallet ของเรา โดยที่การให้บริการนี้ประกอบไปด้วย :

    • มีความปลอดภัยด้วยระบบการลงชื่อครั้งเดียว (single sign-on) ผ่านช่องทาง User experience Portal ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว และกำหนดสิทธิการเข้าใช้บริการ
    • Digital Wallet สามารถเก็บข้อมูล license ได้ทั้งแบบซื้อขาด (perpetual licenses) และ แบบต่ออายุการใช้งาน (subscription software) ด้วยการนำเสนอมุมมองที่รวบรวมจากผู้ขาย (vendor) ต่างๆ โดยใช้บัญชีอัจฉริยะ (smart accounts) เพื่อให้ข้อมูลมีความครบถ้วน
    • จัดแสดงข้อมูลการใช้งาน licenses ณ ปัจจุบัน ข้อมูลการสั่งซื้อ และข้อมูลที่ถูกใช้งานจริง
    • ให้บริการปรับเปลี่ยนตามความต้องการผ่านการดำเนินการของ NTT Ltd. (MACD) ในการปรับเพิ่มหรือลด ได้ตามความต้องการทางธุรกิจ
  • การปรับเปลี่ยนระบบตามนโยบาย และข้อบังคับขององค์กร (Policy Deployment and Compliance) – รวดเร็วต่อการปรับเปลี่ยนระบบทันต่อความต้องการ : เพื่อให้การให้บริการจากหลากหลายผู้ให้บริการ (multivendor) มีความสอดคล้องกันทั้งในด้านการออกแบบระบบ และการกำหนดชุดคำสั่งลงไปในอุปกรณ์ ในการช่วยให้ลูกค้าสามารถควบคุมการลงทุนระบบ SDI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริการนี้ประกอบไปด้วย :
    • การตรวจสอบระบบตลอดเวลา และการจัดการระบบด้วยวิธีอัตโนมัติกับโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (infrastructure management)
    • ระบบควบคุมจัดการการเพิ่มอุปกรณ์ใหม่ในระบบ และการควบคุมตามข้อบังคับขององค์กร เพื่อจัดการให้ระบบมีความสอดคล้องกับนโยบายองค์กร
    • ใช้การปรับเปลี่ยนระบบตามข้อกำหนด (Use case deployment framework) สำหรับมาใช้ในการปรับเปลี่ยนระบบตามเงื่อนไขต่างๆดังนี้ ข้อแนะนำเชิงกลยุทธ (strategic guidance) ข้อแนะนำการปฏิบัติงาน (best practices) ตรวจสอบการออกแบบ (validate design) ตรวจสอบกระบวนการทำงาน (proven processes) และ ให้คำแนะนำการปรับเปลี่ยนระบบ (recommended adjustments)
    • การบริหารจัดการเชิงรุก (proactive management) สำหรับส่วนควบคุม (controller) อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) และคำสั่งควบคุมอุปกรณ์ตามมาตราฐาน (configuration standards)
  • การสนับสนุนการการดำเนินการ (Assurance and Operations Support) – เพื่อเพิ่มให้ผลลัพธ์ในการดำเนินการดีขึ้น (KPIs) :
    ลดภาระการบริหารจัดการในการดำเนินการจากพนักงานขององค์กร และรวมไปถึงภาระการเฝ้าระวังตรวจสอบระบบด้วยการเฝ้าระวังระบบทางไกลรูปแบบใหม่ (telemetry) การจัดการการเปลี่ยนแปลงระบบ (change management) เพื่อทำการ patching ระบบ การจัดการปัญหา (problem management) เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และการจัดการตามข้อบังคับขององค์กร (compliance management) โดยการนำระบบอัจฉริยะ (digital intelligence) ระบบอัตโนมัติ (automation) และระบบควบคุมระบบอัตโนมัติ (orchestration) มาใช้ในการดำเนินการในระบบการให้บริการของ NTT Ltd. โดยบริการนี้ประกอบไปด้วย :

    • ใช้การเชื่อมต่อมายังศูนย์กลางที่ใช้ศูนย์ให้บริการกลางที่จะมีประสบการณ์ในการให้บริการที่ใช้ระบบอัตโนมัติในการควบคุม และรูปแบบการให้บริการที่มีความแน่นอน (assurance model)
    • ลดความซับซ้อนของระบบเครือข่ายโดยการนำเทคโนโลยีการจัดการการเชื่อมต่อระบบ และระบบอัตโนมัติในการดำเนินการระบบเครือข่ายมาใช้งาน
    • มีทีมปฎิบัติการ Dev Ops ที่จะสามารถช่วยให้คาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าแล้วนำมาสู่การป้องกันก่อนการเกิดปัญหา และมีผลกระทบต่อธุรกิจ
  • การจัดการตอบแทนทางธุรกิจ (Business outcome management) – ปรับปรุงให้ผลิตผลทางธุรกิจมีความเหมาะสม :

เป็นการจัดการอุปกรณ์ IT จากหลากหลายผู้ให้บริการ (multivendor) เพื่อปรับปรุงการดำเนินการ โดยให้คำแนะนำในการจัดซื้อซอฟแวร์ที่เหมาะสม มีการดำเนินการตามข้อบังคับขององค์กรที่ดีขึ้น และปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการโดยอาศัยข้อกำหนดในการดำเนินการของ NTT Ltd. (NTT Ltd.’s best practices) โดยบริการนี้ประกอบไปด้วย:

  • การเชื่อมการใช้ API เข้ารวมกัน การใช้ความสามารถในการตรวจสอบการเชื่อมโยงกัน (correlation) การจัดการอุปกรณ์ IT ที่ยอดเยี่ยม การรายงานที่ยอดเยี่ยม และการใช้ระบบคาดการณ์ปัญหาที่ยอดเยี่ยม
  • มีรายละเอียดข้อมูลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาของระบบเครื่อข่ายซึ่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว และปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น
  • การผสานของกระบวนการ ITSM (ITSM process), IT domains และระบบ IT เพื่อนำไปสู่การจัดการแบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ

นวัตกรรมเพื่อรับมือความท้าทายด้านซัพพลายเชนและความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม ในยุคหลังโควิด-19 จาก SAP

ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หลายๆ องค์กรจึงได้หันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลเชิงลึกมาช่วยบริหารจัดการประสบการณ์ของพนักงาน ลูกค้าและซัพพลายเออร์ให้ดียิ่งขึ้น  เอสเอพี เอสอี  (NYSE: SAP) ได้เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว จึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ พร้อมประกาศช่วยองค์กรธุรกิจเพิ่มศักยภาพการทำงานของระบบซัพพลายเชน รวมถึงระบบการทำงานในแต่ละอุตสาหกรรม บน Business Network ของเอสเอพี โดยใช้ความยั่งยืนเป็นตัววัดความสำเร็จทางธุรกิจ  ที่งาน SAPPHIRE NOW Converge งานแสดงเทคโนโลยีประจำปีสำหรับลูกค้า ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 15-19 มิถุนายน 2563

1_SAP Intelligent Enterprise Framework

โธมัส ซาวเออร์ซิก คณะกรรมการบริหาร ด้าน SAP Product Engineering ของ SAP SE กล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้ องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เชื่อถือได้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจในการเพิ่มความคล่องตัว (agility) และเพิ่มความยืดหยุ่น (resiliency)  ในภาวะวิกฤติโควิด-19 เป็นไปอย่างเฉียบขาด  ในขณะเดียวกันองค์กรธุรกิจในปัจจุบันยังต้องรับมือกับสภาวะแวดล้อมและภาพรวมตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกที่เชื่อมต่อถึงกันแบบ hyperconnected ด้วยเช่นกัน เราเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาเหล่านี้ จึงนำเสนอทางเลือกใหม่เพื่อช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร ให้องค์กรสามารถรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม พร้อมขยายเครือข่ายธุรกิจได้ เรามั่นใจว่าด้วยกลยุทธ์ ความเชี่ยวชาญ ชุดโซลูชัน และพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็มส์ของเอสเอพี จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมุ่งสู่การเป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ อย่างแท้จริง”

Climate 21

ภายในงาน เอสเอพีได้เปิดตัวโปรแกรม Climate 21 ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่ต้องการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม กลยุทธ์เดินหน้าสู่อนาคตของเอสเอพีในอีกหลายปีข้างหน้า จะเน้นการสร้างความร่วมมือเชิงนวัตกรรมกับพาร์ทเนอร์ โดยผนวกกรอบแนวคิดด้านความยั่งยืนเข้าไปในทุกโซลูชันของเอสเอพี สนับสนุนให้ลูกค้ามีความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ประเมินผล ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint) ของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการผลิตจนถึงปลายทาง  แอพพลิเคชัน SAP® Product Carbon Footprint Analytics เป็นโซลูชันแรกของโปรแกรม Climate 21 ที่เปิดให้บริการโดยแอพจะดึงข้อมูลจาก SAP S/4 HANA® และแหล่งข้อมูลจากที่ต่างๆ จัดการคำนวณข้อมูลเหล่านี้บนโซลูชัน SAP Analytics Cloud ช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และช่วยให้สามารถวางแนวทางสำหรับการวิเคราะห์และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่อไป[1]

Industry Cloud

องค์กรที่เป็น อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ นั้น นอกจากที่จะต้องมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจปัจจุบัน ได้แล้วนั้น ยังต้องสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขยายฐานรายได้และศักยภาพในการเติบโต ได้ในขณะเดียวกัน  เอสเอพี จึงได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ นำเสนอโซลูชัน Industry Cloud เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของชุดโซลูชัน intelligent suite จากเอสเอพี และช่วยขับเคลื่อนธุรกิจหลักของลูกค้าในแต่ละอุตสาหกรรม

โซลูชัน Industry Cloud ของเอสเอพี เป็นโซลูชันเฉพาะด้านที่ตรงความต้องการของพาร์ทเนอร์และผู้ใช้งาน โดยจะถูกสร้างขึ้นภายใต้ Business Technology Platform และใช้ open API framework, open process model, open domain model เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าให้แก่ลูกค้าและผู้ใช้งาน โซลูชันนี้สามารถทำงานร่วมกันกับชุดโซลูชัน Intelligent suite ของเอสเอพีได้ ทำให้นักพัฒนาสามารถติดตั้งและใช้งานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้นักพัฒนายังสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI, IoT และเทคโนโลยีขั้นสูงของเอสเอพี เพื่อเร่งสร้างสรรค์นวัตกรรมและต่อยอดคุณค่าทางธุรกิจได้ โซลูชั่นนี้จึงทำให้การดำเนินงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรมมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

เอสเอพี เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับการจัดการซัพพลายเชน

เอสเอพี นำเสนอแนวคิด Industry 4.Now ที่ผนวก นวัตกรรมต่างๆ สำหรับซัพพลายเชน ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบไปจนถึงการดำเนินการ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ปรับระบบการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติ รวมถึงตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น โดยองค์กรธุรกิจสามารถปรับใช้นวัตกรรมเหล่านี้ เพื่อช่วยในการออกแบบและสร้างสินค้าและสินทรัพย์ ที่มีความชาญฉลาด สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากเซนเซอร์ในซัพพลายเชนได้  การใช้นวัตกรรมเหล่านี้จะช่วยลูกค้าให้เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุตสาหกรรม 4.0 จากเดิมที่โฟกัสเพียงแค่การทำงานสายการผลิตในโรงงานเป็นสำคัญแทนที่ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กรอย่างรอบด้าน เทคโนโลยีภายใต้ Industry 4.Now จะช่วยให้องค์กรสามารถสรรค์นวัตกรรมที่ต้องการ รวมถึงจัดเก็บชุดข้อมูลดิจิทัลของสินค้าและสินทรัพย์ที่ถูกสร้างขึ้นตลอด lifecycle เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์กลับสู่กระบวนการทางธุรกิจตั้งแต่การออกแบบจนถึงการดำเนินงาน ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์และการคาดการณ์ล่วงหน้า จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีการตัดสินใจทางธุรกิจดียิ่งขึ้น ขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มรายได้ให้องค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอสเอพี ชูกลยุทธ์ Unified Business Network

เอสเอพี ชูกลยุทธ์การสร้าง network of intelligent enterprises หรือการสร้างเครือข่ายองค์กร อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรซ์

เพื่อช่วยปรับกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์กรให้เป็นระบบดิจิทัล ทำให้การทำงานร่วมกันภายในองค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการซัพพลายเชน ทำให้เห็นภาพรวมของการทำงานในซัพพลายเชนตั้งแต่  การออกแบบ, การวางแผน, การจัดหา, การจัดซื้อ, การผลิต ไปจนถึง การขนส่งและการจัดการด้านสินทรัพย์  โดย เอสเอพีจะรวบรวมข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ จากระบบ ERP และระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยม อาทิ ระบบเครือข่ายของ Ariba®, SAP Asset Intelligence Network, SAP Logistics Business Network รวมถึงโซลูชัน SAP Fieldglass® เพื่อให้องค์กรสามารถเข้าถึง collective intelligence หรือข้อมูลเชิงลึกรวม บน Business network เปิดนี้ได้

ปัจจุบันมูลค่าทางการค้าที่เกิดขึ้นบนระบบเครือข่ายธุรกิจ B2B ของเอสเอพีคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ  เอสเอพีพร้อมเดินหน้าพัฒนาให้ระบบซัพพลายเชนขององค์กรมีความยืดหยุ่นและยั่งยืน พร้อมพลิกโฉมโมเดลธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมีความคล่องตัวพร้อมรับมือ global disruption ที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

[1] สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมทางบทความ “กว่าทศวรรษของนวัตกรรมสู่ความยั่งยืนด้านภูมิอากาศ” โดย โธมัส ซาวเออร์ซิก และ “เอสเอพี ส่งเทคโนโลยีคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก”

แอดไวซ์ ชูกลยุทธ์ผ่าวิกฤตโควิดรับอานิสงส์อี-คอมเมิร์ซโต ยุค “NewNormal”ส่งให้รายได้ช่องทางออนไลน์เติบโต

หากพูดถึงไตรมาสแรกของทุกปีนับเป็นช่วงที่กลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะตลาดคอนซูเมอร์จะมียอดขายพุ่งสูงหรือเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาพีคสุดของทุกปี  แต่ในปลายปีที่ผ่านมาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ Covid-19 ส่งผลให้แผนการตลาดของหลายองค์กรธุรกิจต้องปรับกระบวนทัพแบบเร่งด่วน  เช่นเดียวกับค่าย “แอดไวซ์” หนึ่งในค้าปลีกไอทีของไทย ได้ปรับกลยุทธ์ในการรับมือตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัวจนถึงวิกฤตโควิด พร้อมเปิดเผยผลวิจัยจาก  iPrice  ในหัวข้อ “สงครามอีคอมเมิร์ซ”

ทางด้านนายจักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด ผู้นำและศูนย์รวมอุปกรณ์ไอทีครบวงจรที่มีสาขาครอบคลุมกว่า 350 สาขาทั่วประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เปิดเผยว่า  จากงานวิจัยโดยการสัมภาษณ์องค์กรธุรกิจกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ของ iPrice  ซึ่งเป็นเว็บ Meta-search ในประเทศไทย และอีก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กับหัวข้อ “สงครามอีคอมเมิร์ซ (Map of E-commerce)”  ระบุว่า “แอดไวซ์”  มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2019 ที่ผ่าน และเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี  เมื่อสำรวจข้อมูลผ่าน SimilarWeb ย้อนหลัง 6 เดือน ทำให้เห็นกราฟความสำเร็จของแอดไวซ์ พุ่งสูงขึ้นเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 และมีปรับลดลงเล็กน้อยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ Covid-19 แพร่ระบาดอย่างหนักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นช่วงที่ประเทศจีนประกาศปิดเมือง ส่งผลให้การผลิตสินค้าไอทีไม่ว่าจะเป็นแบบสำเร็จรูป หรืออะไหล่ชะงักการผลิตตลอดจนปัญหาการขนส่งฝืดเคือง แต่ยังมีความน่าสนใจอยู่ที่ กลยุทธ์และปัจจัย  ที่ทำให้แอดไวซ์  สามารถตั้งรับและรับมือโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งเดือน โดยวิเคราะห์และสรุป 4 ประเด็นสำคัญดังนี้

 

Chukkrit-Advice (4)
นายจักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานผลิตภัณฑ์ การขายและการตลาด บริษัท แอดไวซ์ ไอที อินฟินิท จำกัด

 

1.ภาพรวมความสำเร็จของ Advice ในปี 2019

เมื่อย้อนไป 3-4 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่แอดไวซ์จะประสบความสำเร็จในปี 2019  ทางแอดไวซ์ได้จัดทำแผนเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ซึ่งใช้องค์ประกอบทั้งหมด 2 ส่วนคือ ยอดขาย และกำไร ทางบริษัทแอดไวซ์ได้ปรับแผนโครงสร้างของปี 2019 ใหม่ แบ่งสัดส่วนเป็นค้าส่ง 57  % และค้าปลีก 43 %  นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยเริ่มต้นจาก B2B และมาเพิ่มช่องทางในการทำตลาด B2C  ปัจจุบันรองรับลูกค้าทั้งสองกลุ่ม โดยมีการพัฒนาโปรแกรม SOP+ เพื่อสร้างความสะดวกในการซื้อ-ขายสินค้าแก่ดีลเลอร์ให้สามารถดูรายละเอียดสินค้า สต็อกสินค้า หรือคำสั่งซื้อทางออนไลน์ได้

นับเป็นการวางรากฐานที่นำมาสู่การต่อยอดและได้เริ่มทำการตลาดออนไลน์ไปที่กลุ่ม B2C อย่างเป็นระบบส่งผลให้ยอดขายในช่องทางออนไลน์ในปี 2019 ที่ผ่านมาพุ่งขึ้นถึง 1,000 ล้านบาท พร้อมขยายการขายผ่านช่องทาง E-marketplace ผ่าน Shopee อีกด้วย สอดคล้องกับ Map of E-commerce Year-end Report 2019 ของ iPrice ที่ชี้ว่า Advice คือ ร้านค้าอีคอมเมิร์ซติดอันดับ 1 ใน 10 ของไทยที่มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้ามากที่สุด และติดอันดับแรกของร้านค้าอีคอมเมิร์ซสายไอที

P1

P3

2.ความท้าทายของธุรกิจไอทีในปี 2020

เนื่องจากมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ผนวกกับการซื้อสินค้าออนไลน์  ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้น  จากปัจจัยดังกล่าวแอดไวซ์ เล็งเห็นถึงความท้าทายนี้จึงมุ่งพัฒนาระบบและเว็บไซต์ให้ใช้งานง่ายขึ้น ค้นหาเร็ว Advice จึงเปรียบเสมือน Index ของกลุ่มสินค้าไอที   อีกทั้งในขณะนี้ยังมีกลุ่มผู้ให้บริการ E-marketplace รายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาทำการตลาดในไทยมากขึ้น ประกอบกับภาพรวมของธุรกิจไอทีตั้งแต่ปี 2018-2019 ไม่ค่อยจะดีตามสถานการณ์เศรษฐกิจรวมทั่วโลก  รวมทั้งวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19  ยังกระหน่ำหนักตั้งแต่ต้นปีจึงเหมือนเป็นตัววัดความแข็งแกร่งของเหล่าร้านค้าอีคอมเมิร์ซ  หากรายใดวางรากฐานมาดี ผลกระทบที่ได้อาจเป็นแค่การขนส่งล่าช้าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเจ้าอื่นที่ต้องพึ่งพาสินค้าและการขนส่งจากจีนเพียงอย่างเดียว

 

  1. Advice กางแผนตั้งรับ COVID-19

จากวิกฤต Covid-19 ส่งผลให้ยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลงอันเนื่องมาจากผู้คนส่วนใหญ่ขาดรายได้ รวมถึงผลกระทบด้านอื่น เช่น ระบบขนส่ง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการเข้า-ออกจังหวัดต่าง ๆ แม้จะล่าช้าไปบ้างแต่ก็ยังผ่านไปได้ ซึ่งลูกค้าของ Advice สามารถเบาใจได้เพราะปัญหาการขนส่งส่วนใหญ่จะเป็นภายในประเทศมากกว่า และสืบเนื่องจากงานวิจัยเรื่อง iPrice จับมือกับ Parcel Perform เผย 5 ปัจจัยที่ ‘ผู้สั่งซื้อ’ ร้องให้ ‘ผู้ขาย’ หันกลับมามองและช่วยกันปรับปรุง พบว่า นักช้อปชาวไทยสามารถยอมรับการขนส่งที่ล่าช้าได้ หากมีการอัพเดตสถานะอยู่เสมอ ซึ่งแอดไวซ์ได้เตรียมแผนการรับมือนี้ด้วยระบบขนส่งและการให้บริการอย่างมืออาชีพไม่ทำให้ธุรกจิสะดุด และแม้วิกฤตโควิด-19 จะโจมตีเศรษฐกิจโลกมาอย่างต่อเนื่อง แต่แอดไวซ์ ก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจได้อยู่ ชี้ให้เห็นถึงรากฐานที่มั่นคงของบริษัทได้เป็นอย่างดี

 

4.วิกฤตพลิกโอกาส ธุรกิจออนไลน์ เป้าหมายการผลักดันธุรกิจปี 2020

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนธุรกิจ แต่ก็ใช่ว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถพลิกเป็นโอกาสได้  จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้คนเลือกอยู่บ้านมากขึ้นรวมถึงพฤติกรรมการบริโภคก็เปลี่ยนไปด้วย โดยเน้นการหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากกว่าการออกไปเลือกซื้อเองนอกบ้านเพื่อความปลอดภัย ซึ่งแอดไวซ์ได้วางยุทธศาสตร์และเป้าหมายไปที่ธุรกิจออนไลน์อยู่แล้ว และยิ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้แอดไวซ์ต้องกำหนดตำแหน่งของกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจนขึ้นถือเป็นการบ้านที่ Advice ต้องทำการวิเคราะห์ต่อไป แม้ประเทศไทยจะผ่านพ้นสถานการณ์นี้แล้วกลายเป็น New Normal แล้วก็ตาม ซึ่งในปัจจุบันแอดไวซ์ได้เข้าร่วมกับ E-marketplace อย่าง Shopee เพื่อเพิ่มช่องทางการขายมากขึ้น ทั้งยังสามารถนำพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าในส่วนนี้มาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธิ์เพิ่มเติมได้อีกด้วย

ถึงแม้จะมีหลายเสียงเล่าอ้างว่า ธุรกิจออนไลน์คงเป็นเพียงธุรกิจเดียวที่ไม่โดนผลกระทบวิกฤต Covid-19 แต่ความจริงแล้วแม้ไม่โดนทางตรงก็โดนทางอ้อม ไม่ว่าจะด้วยปัญหาการขนส่ง สินค้าขาดสต็อก หรือมาตรการ Social Distance ที่ทำให้พนักงานทำงานได้ไม่คล่องเหมือนเดิม เป็นต้น  นอกจากนี้งานวิจัยเรื่องสงครามอีคอมเมิร์ซของ iPrice  ระบุอีกว่า  เมื่อนำจำนวนผู้เข้าชมสินค้าในเว็บไซต์โดยเฉลี่ยของไตรมาสที่ 4 ปี 2019 มาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2020 โดยเน้น 10 อันดับร้านค้าอีคอมเมิร์ซสายไอทีสัญชาติไทยจะเห็นว่า มีร้านค้าจำนวนกว่าครึ่งที่มีจำนวนผู้เข้าชมสินค้าเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดย Advice เพิ่มสูงสุดถึง 3.6% นอกนั้นมีจำนวนเพิ่มโดยเฉลี่ย 1% แม้ดูเหมือนจะเป็นจำนวนไม่เยอะ แต่ถ้าในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดนี้จำนวนไม่ลดลงก็ถือเป็นความสำเร็จที่น่าภูมิใจไม่ใช่น้อยแล้ว

นายจักรกฤช วัชระศักดิ์ศิลป์ กล่าวเสริมต่อว่า จากผลการวิจัยและวิเคราะห์ดังกล่าวนับทิศทางให้ทางแอดไวซ์ได้วางไว้ เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือในทุก ๆ วิกฤตและเชื่อมั่นความความแข็งแกร่ง คุณภาพด้านสินค้า-บริการ ศักยภาพบุคลากรของเราจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้แอดไวซ์เติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่สภาวะ New normal ผู้ประกอบการภาคธุรกิจยังต้องเผชิญความท้าทาย  โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ให้สามารถตอบโจทย์หรือสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภคได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้

นอกจากนี้แอดไวซ์ ได้จัดแคมเปญและโปรโมชั่นทางออนไลน์ต่อเนื่องทุกๆ สัปดาห์ โดยสามารถติดตามและรับบริการ ในช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ค  ไลน์(LINE) และอินสตราแกรม (IG) ทุกช่องทางให้สะดวก ง่ายในการเลือกซื้อและติดต่อกับทางแอดไวซ์     พร้อมการขนส่งที่รวดเร็ว  เนื่องจากแอดไวซ์มีระบบโลจิสติกส์ที่พร้อมให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ ด้วยระบบการบริหารจัดการมาตรฐาน  ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งด่วน 2 และ 3 และ 5 ชั่วโมง นับจากเวลาได้รับ SMS  ซึ่งดูรายละเอียดเงื่อนไขการจัดส่งทางเว็บไซต์  ทั้งนี้เพื่อให้ลูกค้าได้รับสินค้าส่งตรงตามเวลา ลูกค้าได้ใช้สินค้าทันเวลา สะดวกรวดเร็ว นับเป็นหนึ่งการใส่ใจด้านการบริการของเรา โดยย้ำจุดเด่นด้านที่ปรึกษาด้านไอที  “นึกถึง IT นึกถึง ADVICE ครบจบในทีเดียว”

สิ่งที่เห็น สิ่งที่เป็นและสิ่งที่กำลังจะเกิด เมื่อมี 5G

อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) คาดว่าจำนวนผู้ใช้ระบบเครือข่าย 5G ทั่วโลกภายในสิ้นปี 2563 จะสูงถึง 190 ล้านรายและจะเพิ่มเป็น 2.8 พันล้านราย ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะใช้เทคโนโลยีเซลลูล่าร์ผ่าน 5G เป็นอันดับสองรองจากเทคโนโลยี LTE และภายในปี 2568 จำนวนผู้ใช้ 5G จะเพิ่มเป็น 270 ล้านราย หรือคิดเป็น 21% ของจำนวนผู้ใช้มือถือทั้งหมด

Picture

ข้อมูลคาดการณ์ดังกล่าวได้ระบุไว้ในรายงาน Ericsson Mobility Report ประจำเดือนมิถุนายน 2563 รวมไปถึงข้อมูลประมาณการเติบโตของดาต้าอินเตอร์เน็ตและจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละภูมิภาค รายงานดังกล่าวนี้ยังทำการวิเคราะห์ถึงบทบาทเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่หลายคนต้องทำงานและใช้ชีวิตอยู่บ้านโดยเชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ต

นางนาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการ ดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกต้องเปลี่ยนไป เช่นเดียวกับปริมาณการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่จากย่านธุรกิจไปสู่ชุมชนที่พักอาศัยอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้คนต้องทำงานหรือเรียนที่บ้าน โดยรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด แสดงให้เห็นว่าการใช้เครือข่ายมือถือและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบ้าน กำลังเพิ่มบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ”

ขณะที่ตลาดผู้ใช้เครือข่าย 5G บางแห่งเติบโตแบบชะลอตัว อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อเทียบกับตลาดอื่น ๆส่วนใหญ่ที่กำลังเร่งพัฒนาเครือข่าย 5G ซึ่งเป็นการส่งสัญญานให้อีริคสัน ปรับเพิ่มประมาณการผู้ใช้ 5G ทั่วโลก ณ สิ้นปี 2020

“นอกเหนือไปจากการเพิ่มยอดผู้ใช้ 5G แล้ว 5G ยังมอบประโยชน์มหาศาลให้กับทั้งภาคธุรกิจ และภาคประชาชน 5G ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต่อยอดพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ และวิกฤติการณ์นี้ได้แสดง ถึงคุณค่าที่แท้จริงของระบบการสื่อสาร รวมถึงบทบาทสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจอีกด้วย” นางนาดีนกล่าวเพิ่มเติม

คาดการณ์ว่าปริมาณการใช้งานอินเตอร์เน็ตต่อสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียจะสูงถึง 25GB ภายในปี 2568 หรือเติบโตเฉลี่ย 33 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยอัตราการเติบโตเกิดจากพื้นที่ใช้งานและการใช้สัญญาณเครือข่าย 4G และการใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราเฉลี่ยการใช้ดาต้าต่อสมาร์ทโฟน คาดว่าการใช้งานโมบายล์ดาต้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงถึง 25 EB ต่อเดือน จากปกติที่ 3.2 EB ต่อเดือน หรือมีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายมือถือและอินเตอร์เน็ตบ้านเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน โดยในย่านที่พักอาศัยมีปริมาณการใช้ดาต้าอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์เติบโตราว 20-100% แต่ขณะเดียวกันผู้ให้บริการก็สังเกตเห็นความต้องการใช้งานเครือข่ายมือถือเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ผลวิจัยล่าสุดโดย Ericsson Consumer Lab ระบุ 83% ของผู้ตอบแบบสำรวจจาก 11 ประเทศ ที่ใช้งานเทคโนโลยี ICT อย่างมีนัยสำคัญช่วงล็อคดาวน์ เผยว่าในช่วงล็อคดาวน์ คนเหล่านั้นเปิดใช้บริการเทคโนโลยี ICT ต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ แอปฯ เรียนออนไลน์และ แอปฯ ดูแลสุขภาพ ที่ช่วยให้พวกเขาปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตวิถีใหม่ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่าย

ขณะที่ 57% ระบุว่าพวกเขาจะเก็บเงินเพื่อความมั่นคงทางการเงินในอนาคต โดย 1 ใน 3 มีแผนใช้เงินไปกับเครือข่าย 5G และพร้อมปรับปรุงระบบเครือข่ายบรอดแบนด์ที่บ้านให้รองรับการใช้งานได้ดีขึ้นเพื่อเตรียมรับมือหากเกิดการระบาดรอบสอง

โอกาสทางธุรกิจของ 5

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเสริมการดำเนินธุรกิจทั่วโลก นอกจากเปิดโอกาสให้องค์กรเชื่อมต่อกับลูกค้าหรือดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่สะดุดแล้ว ระบบเครือข่าย 5G และเทคโนโลยีดิจิทัลยังสร้างโอกาสการขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ๆ แก่ผู้ให้บริการเครือข่าย อาทิ สุขภาพ ยานยนต์ และการผลิต

นายวุฒิชัย วุติอุดมเลิศ หัวหน้าฝ่ายเน็ตเวิร์กโซลูชัน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “อีริคสันมีผลิตภัณฑ์และบริการ 5G ที่ครอบคลุมและเหมาะสม พร้อมให้ลูกค้านำไปปรับใช้กับเครือข่าย 5G ในทุกย่านความถี่หลักทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด เรามั่นใจว่าจะได้เห็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนและสร้างขึ้นจาก 5G สำหรับธุรกิจ รวมถึงกรณีศึกษาในเรื่อง IoT ทั้งนี้ 5G จะเข้าไปช่วยปลดล็อคโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ให้บริการ”

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เปิดใช้ระบบเครือข่าย 5G เชิงพานิชย์เมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ มีการประเมินว่าในปี 2568 ระบบเครือข่าย 5G จะสร้างรายได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ราว 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ความเสี่ยงของธุรกิจทางไซเบอร์ จากการทำงานแบบ REMOTE WORKING และการทำงานผ่านอุปกรณ์ที่ล้าสมัย

รายงานข้อมูลเชิงลึกด้านเครือข่ายระดับโลก ปี 2020 (NTT Ltd.’s 2020 Global Network Insights Report) จาก บริษัท เอ็นทีที จำกัด พบว่าในขณะที่องค์กรธุรกิจต่างย้ายแอพพลิเคชั่นไปยังระบบมัลติคลาวด์ ทำให้การลงทุนบนคลาวด์นั้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานในองค์กร ซึ่งทำให้การรีเฟรชระบบและการอัพเกรดรูปแบบการทำงานลดลง เนื่องจากธุรกิจจำนวนมากเลือกที่จะลดจำนวนอุปกรณ์เครือข่ายและชะลอการลงทุนในการปรับโครงสร้างเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัย ส่งผลให้อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้อยู่นั้นล้าสมัยและมีช่องโหว่ในการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียงต่อการถูกคุกคามด้านความปลอดภัยข้อมูล

shutterstock_1309740994

ในรายงานได้รับข้อมูลอ้างอิงจากการประเมินผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีของลูกค้ากว่า 1,000 ราย และครอบคลุมอุปกรณ์เครือข่ายกว่า 800,000 รายการ พบว่าสินทรัพย์เกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายขององค์กรถึง 46.3% ค่อนข้างล้าสมัยในปี 2560 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (weighted average) นับเป็นจำนวนมหาศาลในปี 2560 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.3%

การระบาดของ COVID-19 และการใช้แบนด์วิธที่เพิ่มขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่าย และยังต้องเผชิญต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายลงไปอีกเมื่อมีการเข้าถึงเครือข่ายจากระยะไกล (remote access) และการทำงานจากนอกสถานที่ (remote working) รวมถึงการใช้บริการเสียงและวิดีโอ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยขององค์กรอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างไม่น่าเชื่อ

P01

 

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่เกินอายุการใช้งานและล้าสมัยในสำนักงานแห่งอนาคต

โดยเฉลี่ยแล้วอุปกรณ์ที่ล้าสมัยจะมีช่องโหว่ที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (42.2%) เมื่อเปรียบเทียบกับอายุการใช้งานอุปกรณ์ (26.8%) และปัจจุบัน (19.4%) ก่อนให้เกิดความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อธุรกิจไม่ได้ทำการแก้ไขอุปกรณ์หรือเข้าไปอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆของระบบปฏิบัติการในช่วงระยะเวลาของอายุการใช้งาน และถึงแม้ว่าการแพตช์ (patch) เพื่อปรับปรุงข้อมูลสำหรับโปรแกรมให้ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นจะทำได้ค่อนข้างง่ายและมักจะทำได้ฟรีภายใต้ข้อตกลงการบำรุงรักษาหรือช่วงการรับประกัน แต่ธุรกิจจำนวนมากก็ยังไม่ทำการแพตช์อุปกรณ์อย่างที่ควรจะเป็น

เมื่อเข้าสู่ “new normal ธุรกิจต่างทบทวนวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่โดยเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินงานขององค์กรนั้นได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในช่วงเวลานี้ ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสครั้งนี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างถาวร รวมถึงการใช้พื้นที่สำนักงานอย่างชาญฉลาดเพื่อรองรับการเว้นระยะห่างและลดพื้นที่กิจกรรมทางสังคม (social distancing) ในสำนักงานของพวกเขา ในขณะที่หลายๆ บริษัท จะยังคงยอมรับการทำงานแบบ remote working และในขณะเดียวกันจะมีโครงสร้างพื้นฐานไร้สายแบบใหม่เพิ่มขึ้นราว 13% ในแต่ละปี และจำนวนของสำนักงานแบบเปิดและ co-working spaces ที่เพิ่มขึ้นจะต้องมีแนวทางเพื่อรองรับสถาปัตยกรรมด้านเครือข่ายทั้งหมด

นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจจะต้องการใช้เครื่องมือ ความรู้ และความเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถสร้างระบบเครือข่ายใหม่สำหรับวิวัฒนาการในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ของ ” new normal” สำหรับผู้ที่ทำงานจากระยะไกลและจากทุกอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา โดยพวกเขาจะต้องหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่สามารถให้คำแนะนำด้วยมุมมองด้านเครือข่ายในอนาคตจะเป็นอย่างไร และไม่เพียงแต่ในแง่ของการสนับสนุนพื้นที่ขององค์กร แต่ยังรวมถึงพื้นที่สาธารณะและร้านค้าปลีกด้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเข้าสู่ “new normal” ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และ machine learning จะถูกนำมาช่วยตรวจสอบตามมาตรการ social distancing ผ่านแพลตฟอร์มบนระบบเครือข่าย

วิวัฒนาการของระบบเครือข่ายต้องเดินควบคู่ไปกับ digital transformation

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการวางกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (digital transformation) จะเห็นว่าองค์กรชั้นนำต่างๆ กำลังนำระบบเครือข่ายเพื่อมาเปิดใช้โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น Internet of Things (IoT) หรือเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานที่มีอยู่เช่นระบบการติดตามทรัพย์สิน (asset tracking) หรือองค์กรธุรกิจอาจหันไปลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เช่น โซลูชั่นการทำงานแบบอัตโนมัติ หรือโรบอทสำหรับงานออฟฟิศ (Robotic Process Automation : RPA) ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มการรูปแบบการทำงานที่ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัล เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และการให้บริการที่เป็นไปในลักษณะที่คล่องตัวมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลกำลังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ของทั้งลูกค้าและพนักงานซึ่งจะถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเครือข่าย โดยความคิดริเริ่มเหล่านี้จะถูกกระตุ้นด้วยการสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยและสอดคล้องไปกับการดำเนินชีวิตแบบ “new norm” โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของธุรกิจด้านการดำเนินงานและโครงการลงทุนทางการเงิน

กล่าวเพิ่มเติมว่า ระบบเครือข่ายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจดิจิทัล ซึ่งจำเป็นต้องมีความแพร่หลาย ยืดหยุ่น แข็งแกร่ง และปลอดภัย เพื่อปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้อย่างง่ายดายในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มอายุของสภาพแวดล้อมในการใช้งานธุรกิจที่ใช้ระบบเครือข่ายอัตโนมัติระดับสูง และระบบอัจฉริยะในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และจะสามารถตระหนักถึงประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจบนคลาวด์ได้อย่างปลอดภัย”

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์นำเทคโนโลยี AI “Watson for Oncology” ช่วยแพทย์พัฒนาแนวทางการรักษามะเร็ง

ไอบีเอ็มประกาศว่าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สถาบันการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาบันการแพทย์ชั้นนำ ได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษามะเร็ง หรือ Watson for Oncology ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มค็อกนิทิฟ คอมพิวติ้งบนระบบคลาวด์มาใช้ เพื่อให้แพทย์ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยในการวินิจฉัยและเสนอทางเลือกการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสนับสนุนบริการทางการแพทย์และส่งเสริมองค์ความรู้ในด้านการศึกษาวิจัยแก่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตอกย้ำวิสัยทัศน์ของสถาบันสู่ความเป็นเลิศในด้านการให้บริการรักษาโรคมะเร็งของประเทศไทย พร้อมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกสิทธิ์การรักษาสามารถเข้าถึงการวางแผนการรักษามะเร็งที่ได้มาตรฐานสากล สนองพระดำริ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมีพระประสงค์ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน การวิจัย และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยความเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม และให้บริการทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานสากลแก่ประชาชนอย่างไม่หวังผลกำไร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคม จนปัจจุบันเป็นสาเหตุการเสียอันดับหนึ่งของประชากรชาวไทย โดยในปี 2562 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ในไทยถึง 122,757 ราย ในขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตในปีเดียวกันนี้อยู่ที่ 80,665 ราย [1] การวินิจฉัยโรคต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตรวจค้น รวมทั้งการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ขาดแคลนและอยู่ห่างไกลความเจริญไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน

จากวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในฐานะสถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ชั้นนำ มุ่งให้บริการสุขภาพแก่คนไทยอย่างไม่หวังผลกำไร โดยเฉพาะการพัฒนาองค์ความรู้ ยกระดับการรักษา และให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างทัดเทียมกัน ได้เดินหน้าภารกิจในการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาเสริมประสิทธิภาพในการวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการตลาด และคณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ได้กล่าวถึงการนำเอาเทคโนโลยีล่าสุด ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษาโรคมะเร็ง หรือ Watson for Oncology เข้ามาให้บริการที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ว่า“ด้วยพระปณิธานในศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่ทรงมีพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือประชาชนไทยให้พ้นจากทุกข์ภัยของโรคมะเร็ง ซึ่งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เองก็เติบโตมาจากการเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านการรักษาโรคมะเร็งและพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ครบวงจร รวมทั้งเป็นสถาบันการศึกษาวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ภายใต้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เราได้เดินหน้าภารกิจเพื่อสานต่อการดำเนินงานจากพระนโยบายขององค์ประธานที่จะนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเเพทย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2562) มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้น 23% หรือประมาณ 4,000 รายต่อปี โดยผู้ป่วยมะเร็งทุกรายที่เข้ามาที่เราจะได้รับการพิจารณาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดจากคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาของการประชุมวางแผนรักษาโรคมะเร็งหรือ Tumor Board ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวางแผนรักษาโรคมะเร็ง หรือ Watson for Oncology นับเป็นอีกก้าวสำคัญของสถาบันที่จะนำเทคโนโลยีในระดับสากลมาช่วยเสริมศักยภาพในการวางแผนรักษามะเร็งให้กับทีมแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อให้สามารถก้าวทันความรู้ทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้าและสามารถระบุแนวทางการรักษาที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การรักษาที่ดีเยี่ยมและเหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง และท้ายที่สุดก็จะเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการสร้างความเป็นเลิศทางการรักษามะเร็

“ไอบีเอ็มรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้นำประสิทธิภาพของเทคโนโลยีวัตสันเข้าสนับสนุนวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำด้านการรักษามะเร็ง” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไอบีเอ็มประเทศไทยกล่าว“เทคโนโลยี IBM Watson for Oncology จะช่วยสนับสนุนข้อมูลเชิงลึกให้กับแพทย์ของจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยบนพื้นฐานของข้อมูลหลักฐาน ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถทุ่มเทเวลาไปกับการดูแลรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยในระยะยาว เราหวังว่าการนำเทคโนโลยีขั้นสูงของวัตสันมาผนวกรวมกับความเชี่ยวชาญเชิงลึกของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะเป็นการส่งเสริมให้การรักษามะเร็งในไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ถือเป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Watson for Oncology มาใช้ในการวางแผนรักษาแก่ผู้ป่วยโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รวมถึงบูรณาการความร่วมมือทางการแพทย์ในการเปิดให้โรงพยาบาลในเครือข่ายทั่วประเทศของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เข้าถึงบริการของระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวผ่านหน่วยการวางแผนรักษาโรคมะเร็งหรือ Tumor Board ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยมะเร็งทุกสิทธิ์การรักษาได้เข้าถึงการวางแผนการรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้เทคโนโลยี Watson for Oncology จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องการสนับสนุนงานด้านวิจัย และการศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในอนาคต เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เเพทย์เเละบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพได้เรียนรู้พัฒนาตนเองเเข่งกับเทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลก รวมถึงนำมาช่วยในด้านการศึกษาของหลักสูตรเเพทย์ประจำบ้านฝึกอบรมสาขาต่อยอดด้านอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยาของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาซึ่งเป็นเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ทั่วไปได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงซึ่งนับเป็นที่เเรกในประเทศไทยอีกด้วย

Grab : แกร็บ ประเทศไทย เปิดตัว ‘Grab Loves Thais ช่วยกันนะคนไทย’ โครงการส่งต่อกำลังใจและสนับสนุนก้าวต่อไปของผู้คนในสังคม

แกร็บ ประเทศไทย  เปิดตัวโครงการ ‘Grab Loves Thais ช่วยกันนะคนไทย’  เพื่อตอกย้ำพันธกิจในการดำเนินธุรกิจของแกร็บที่มุ่งยกระดับและส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนไทย พร้อมผนึกพันธมิตรกับภาครัฐและเอกชนเพื่อเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ให้ก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง ผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ Grab Loves Locals ช่วยร้านค้าคนไทยกันนะ, Grab Loves Farmers ช่วยเกษตรกรกันนะ, Grab Loves Partners ช่วยพี่คนขับกันนะ และ Grab Loves Children ช่วยเด็กไทยกันนะ ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐอย่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พร้อมด้วยพันธมิตรทางธุรกิจ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมสนับสนุนและขับเคลื่อนประเทศไทยผ่านเศรษฐกิจดิจิทัล

001

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาด แกร็บ ประเทศไทย เผยว่า แกร็บ ประเทศไทย ในฐานะแอปพลิชันที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในทุก ๆ วัน (Everyday Everything App) ได้ยึดมั่นการดำเนินธุรกิจตามพันธกิจหลักขององค์กรที่เรียกว่า “Grab For Good” ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อสร้างโอกาสในการหารายได้ พร้อมพัฒนาทักษะและเสริมศักยภาพในการแข่งขันให้กับทุกคนที่อยู่ในระบบนิเวศธุรกิจ (Ecosystem) ของเรา เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนสามารถก้าวทันเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ในขณะเดียวกัน แกร็บยังได้ผนึกความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ การพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการเดินทางและขนส่ง การส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ การผลักดันสังคมดิจิทัลและระบบเศรษฐกิจแบ่งปันให้เป็นรูปธรรม รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็ก เป็นต้น

“นับเป็นเวลากว่า 7 ปีแล้วที่ธุรกิจของเราค่อยๆ เติบโตและหยั่งรากลึกเพื่อสร้างรากฐานที่มั่นคงเคียงคู่ไปพร้อมกับสังคมไทย จากวันนั้นถึงวันนี้ ความมุ่งมั่นของ แกร็บ ไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้ในวันที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ก็ตาม โดยแกร็บได้ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือกับพาร์ทเนอร์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 กว่า 100 โครงการทั่วทั้งภูมิภาค สำหรับในประเทศไทย นอกจากกิจกรรมและความร่วมมือต่างๆ กับหน่วยงานภาครัฐที่เราได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา

ล่าสุด เราได้เปิดตัว ‘Grab Loves Thais ช่วยกันนะคนไทย’ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่ถือกำเนิดขึ้นจากความตั้งใจของพวกเราทุกคน โดยมุ่งหวังที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการปลดล็อคและทลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อสร้างโอกาส ยกระดับคุณภาพชีวิต แก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้คนในสังคมผ่าน 4 กิจกรรมหลัก”  นางสาวจันต์สุดา กล่าวเพิ่มเติม

โครงการ Grab Loves Thais ช่วยกันนะคนไทย ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่

  • Grab Loves Locals ช่วยร้านค้าคนไทยกันนะ ที่ริเริ่มขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดเล็กโดยการให้ความรู้ด้านการทำการตลาดออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขายอย่างยั่งยืนผ่าน GrabAcademy โครงการเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยในการให้ความรู้ในการทำการตลาดอออนไลน์, การจัดแคมเปญ Support Local Restaurant สนับสนุนร้านค้าคนไทยเพื่อเพิ่มยอดขายให้แก่ร้านค้า ผ่านพื้นที่โฆษณาพิเศษ GrabAds เพื่อโปรโมทร้านค้าคนไทยกว่า 500 ร้านที่อยู่บนแพลตฟอร์มแกร็บฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมโปรโมชั่นฟรีค่าส่งตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2563 มูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท รวมไปถึงการเปิดตัวเพลงหัวใจใกล้กัน ของ BNK48 เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของผู้คนออกไปในวงกว้าง
  • Grab Loves Farmers ช่วยเกษตรไทยกันนะ ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการช่วยเหลือเกษตรกรไทยขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผลไม้คุณภาพส่งออกผ่านบริการ แกร็บมาร์ท (GrabMart) บนแอปพลิเคชันแกร็บ (Grab) ภายใต้ชื่อ ‘Farmers’ Market (ตลาดเกษตรกร) ณ จุดวางจำหน่าย 10 จุดหลักทั่วกรุงเทพฯ และยังมีแผนที่จะขยายการจัดจำหน่อยออกไปยังทั่วประเทศฯ ในเร็วนี้ๆ
  • Grab Loves Partners ช่วยพี่คนขับกันนะ ซึ่งแกร็บได้ผนึกความร่วมมือกับ 6 พันธมิตรจัดทำถุงยังชีพที่บรรจุผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าอุปโภคบริโภคจากแบรนด์ชั้นนำ จำนวน 40,000 ชุด รวมมูลค่ากว่า 8 ล้านบาท เพื่อมอบความห่วงใยและส่งต่อกำลังใจให้แก่พาร์ทเนอร์คนขับของแกร็บทั่วประเทศ ตลอดเดือนมิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2563
  • Grab Loves Children ช่วยเด็กไทยกันนะ โดยร่วมมือกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกท่านมีส่วนร่วมในการส่งต่อมื้ออาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการให้แก่เด็กยากจนที่มีภาวะทุพโภชนาการภายใต้แนวคิด #มื้อนี้พี่เลี้ยง เพียงกดสั่งอาหารภายในร้าน ‘ทุพโภชนา’ บน GrabFood เพื่อส่งมอบเป็นมื้ออาหารเช้าให้กับเด็กๆ

ด้าน นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานเปิดโครงการ กล่าวว่า “ภายใต้นโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ตั้งเป้าหมายปฏิรูปการบริหารและการบริการของกระทรวงเกษตรฯ และภาคเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรด้วยการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าทางการเกษตรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ประกอบกับวิกฤติโควิด-19  ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในด้านรูปแบบการค้า การบริการ การบริโภค รวมไปถึงภาคการผลิต เทคโนโลยีก็ได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล แม้แต่ในกลุ่มสินค้าการเกษตรของไทย กระทรวงเกษตรฯจึงได้ร่วมมือกับแกร็บ ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศไทยผ่านโครงการ Grab Loves Farmers ช่วยเกษตรไทยกันนะ เปิดตัว Farmers’ Market (ตลาดเกษตรกร)โดยในปัจจุบันเกษตรกรไทยสามารถขายสินค้าเกษตรได้บนแพลตฟอร์มแกร็บแล้ว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เองก็รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ภาคเอกชนให้ความใส่ใจในการส่งเสริมและสนับสนุนคนไทยให้ก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน รวมถึงช่วยผลักดันให้ประเทศไทยสามารถเติบโตต่อไปได้ท่ามกลางกระแสตามการเปลี่ยนโลกด้วยธุรกิจดิจิทัล”

จากรายงานผลลัพธ์ทางสังคมของแกร็บประจำปี 2562/2563 (Social Impact Report 2019/2020) พบว่าในช่วงที่คนไทยต้องหยุดอยู่กับบ้านตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ที่ผ่านมา แกร็บได้เปิดโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่พาร์ทเนอร์คนขับกว่าแสนคน ร้านค้ารายใหม่กว่า 30,000 ร้านค้าให้ขึ้นมาอยู่บนแพลตฟอร์มแกร็บ พร้อมเงินสนับสนุนการเพื่อช่วยร้านค้าคนไทยมูลค่ารวมกว่า 6 ล้านบาท และเพิ่มช่องทางขายผลไม้ให้แก่เกษตรกรไทย โดยตั้งเป้าในการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านจำนวนการสั่งผลไม้ 40,000 ออเดอร์ภายในสิ้นปี รวมไปถึงการส่งมอบความห่วงใยและกำลังใจผ่านถุงยังชีพให้แก่พาร์ทเนอร์คนขับแกร็บที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมมูลค่ากว่า 8 ล้านบาท และในยามที่ประเทศหยุดชะงักแกร็บยังได้ขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการที่จำเป็นให้แก่ผู้ใช้บริการกว่าล้านรายใน 30 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด แกร็บ ก็ยังคงพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างและช่วยเหลือคนไทยทุกคนไปตลอด

“ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะกำลังดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่พวกเราทุกคนก็ยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่กับผลกระทบของโควิด-19 กันไปอีกระยะเวลาหนึ่ง แต่ในเมื่อชีวิตของพวกเรายังต้องดำเนินต่อไป แกร็บ ก็จะยังคงมุ่งมั่นที่จะดูแลคุณภาพชีวิตคนไทย ผ่านการสร้างงานสร้างรายได้ และการเข้าถึงบริการต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน บนแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของแกร็บ เพื่อให้สังคมไทยยังสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะเราเชื่อว่าในสถานการณ์แบบนี้ หากพวกเราร่วมมือร่วมใจ เราก็จะรอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน กิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการนี้ไม่อาจเกิดขึ้น และคงไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้ หากขาดซึ่งความร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กรภาคีต่างๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตรทางธุรกิจ ที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ใช้บริการทุกคน เพราะทุกครั้งที่คุณใช้บริการของแกร็บ ไม่ว่าจะเรียกรถ สั่งอาหาร หรือบริการใดๆ ก็ตาม นั่นหมายถึงคุณได้มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนไทย ทำให้เกษตรกรไทยมีกำลังใจและรอยยิ้ม ช่วยให้เหล่าพาร์ทเนอร์คนขับและจัดส่งอาหารใน 30 จังหวัดทั่วประเทศมีรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงและจุนเจือครอบครัว ช่วยสร้างโอกาสให้เจ้าของร้านอาหารต่างๆ ยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และช่วยให้เด็กยากจนที่มีภาวะทุพโภชนาการ” นางสาวจันต์สุดา กล่าวปิดท้าย

ส่วนตัวแต่ไม่ลับ! ผู้ใช้ออนไลน์ 40% ทั่ว APAC เผชิญปัญหาข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล

ผลการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าผู้บริโภคจากเอเชียแปซิฟิก (APAC) 40% เผชิญกับเหตุการณ์ที่มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวโดยที่ไม่ได้รับความยินยอม ขณะที่ผู้ใช้ออนไลน์มากกว่าห้าในสิบคนในภูมิภาคแสดงความกังวลเรื่องการปกป้องชีวิตทั้งออนไลน์และออฟไลน์

ksc

รายงาน Kaspersky Global Privacy Report 2020 เป็นการศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ การสำรวจจัดทำโดยบริษัทวิจัยอิสระโทลูน่าระหว่างเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2020 มีผู้เข้าสำรวจ 15,002 คนจาก 23 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้มี 3,012 คนมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

การละเมิดบางอย่างเกี่ยวข้องกับแอ็คเคาท์ที่ถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต (40%) การครอบครองอุปกรณ์อย่างผิดกฎหมาย (39%) ข้อมูลลับถูกขโมยและใช้งาน (31%) ข้อมูลส่วนตัวถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับความยินยอม (20%)

อย่างไรก็ดี รายงานฉบับนี้ยังพบว่าผู้ใช้มากกว่าหนึ่งในห้ายังคงเต็มใจเปิดเผยข้อมูลความเป็นส่วนตัวเพื่อรับผลิตภัณฑ์หรือบริการฟรี ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 24% ยังช่วยลดระดับความปลอดภัยลงด้วยการแชร์รายละเอียดแอ็คเคาท์โซเชียลมีเดียเพื่อเล่นแบบทดสอบตลก เช่น ชนิดของดอกไม้ที่ตัวเองเป็น หรือตัวเองมีหน้าตาเหมือนเซเลปคนไหน นอกจากนี้ ผู้บริโภคจำนวนสองในสิบยอมรับว่าต้องการความช่วยเหลือเพื่อเรียนรู้วิธีการที่จะปกป้องความเป็นส่วนตัวออนไลน์ของตนเอง

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการ แคสเปอร์สกี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ข้อมูลของเราแสดงถึงพฤติกรรมออนไลน์ที่ซับซ้อนภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวออนไลน์ แต่พฤติกรรมออนไลน์และความรู้ด้านความปลอดภัยจะต้องได้รับการยกเครื่อง ด้วยสถานการณ์การทำงานทางไกลในปัจจุบัน ความเป็นส่วนตัวดิจิทัลควรเป็นข้อกังวลสำหรับผู้ใช้ส่วนบุคคลและองค์กร การทำงานในที่สะดวกสบายอย่างบ้านเรากลับเป็นการเพิ่มช่องทางการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์ จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะปรับปรุงสุขอนามัยในโลกไซเบอร์ เพื่อรักษาทั้งชื่อเสียงส่วนบุคคลและองค์กร”

เมื่อสอบถามเกี่ยวกับผลที่ตามมาหลังจากการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้ออนไลน์ระบุผลพวงเชิงลบเกี่ยวกับชีวิตดิจิทัลและแม้กระทั่งชีวิตออฟไลน์ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ คิดเป็น 39% ถูกรบกวนด้วยสแปมและโฆษณาส่วนใหญ่ ผู้ใช้ 33% รู้สึกเครียด และ 24% ระบุว่าชื่อเสียงเสียหาย

นอกจากนี้ ผู้ใช้ 19% รู้สึกไม่พอใจ สูญเสียเงินและถูกรังแก ผู้ใช้ในเอเชียแปซิฟิก 16% มีประสบการณ์โดนแบล็กเมล ผู้ใช้ 15% ความสัมพันธ์ในครอบครัวร้าวฉาน ผู้ใช้ 14% เสียหายเรื่องอาชีพการงาน และ 10% ต้องจบความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักและหย่าร้าง

นายสเตฟานกล่าวเสริมว่า “อาชญากรไซเบอร์มีแนวโน้มที่จะอาศัยความวุ่นวายเป็นช่องทาง เมื่อใดก็ตามที่มีแนวโน้มสำคัญหรือเกิดวิกฤต ก็จะใช้เป็นโอกาสที่สมบูรณ์แบบในการใช้ประโยชน์จากอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ ทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงมากขึ้น การปกป้องตัวเองในช่วงเวลาวิกฤตนี้เป็นสิ่งสำคัญ จะต้องระมัดระวังเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณแบ่งปันทางออนไลน์ และตระหนักรู้ว่าข้อมูลที่เปิดเผยไปแล้วนั้นจะถูกใช้ไปทางใดบ้าง เราแนะนำให้ผู้ใช้ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและปรับแต่งตามความเหมาะสม อินเทอร์เน็ตเป็นสถานที่ของโอกาส และทุกคนสามารถได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้ตราบเท่าที่เรารู้วิธีการจัดการข้อมูลและพฤติกรรมออนไลน์ของตัวเองอย่างชาญฉลาด”

แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำวิธีการสำหรับผู้บริโภคที่จะช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของคุณบนอินเทอร์เน็ต ดังนี้

  • ทำรายการบัญชีออนไลน์ เพื่อศึกษาว่าบริการและเว็บไซต์ใดบ้างที่อาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ
  • เริ่มใช้ “Privacy Checker” https://privacy.kaspersky.com/ ที่จะช่วยพิจารณาตั้งค่าโปรไฟล์โซเชียลมีเดียให้เป็นแบบส่วนตัว เพื่อให้บุคคลที่สามค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลระดับสูงได้ยากยิ่งขึ้น
  • ติดตั้ง Kaspersky Security Cloud เพื่อช่วยในการระบุคำขอที่อาจเป็นอันตรายหรือน่าสงสัยที่ทำโดยแอป และศึกษาความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตทั่วไปประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์นี้ยังมีฟีเจอร์ Do Not Track เพื่อป้องกันการโหลดองค์ประกอบการติดตามที่จะมาสอดส่องตรวจสอบกิจกรรมของคุณบนเว็บไซต์
  • สำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆ ควรสอนพนักงานเกี่ยวกับพื้นฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตัวอย่างเช่น ไม่เปิดหรือจัดเก็บไฟล์จากอีเมลหรือเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อบริษัท หรือไม่ใช้รายละเอียดส่วนบุคคลในรหัสผ่าน ไม่ควรใช้ชื่อวันเกิด ที่อยู่ และข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ
  • เตือนพนักงานอย่างสม่ำเสมอถึงวิธีจัดการกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น จัดเก็บไว้ในบริการคลาวด์ที่ไว้ใจได้ซึ่งต้องได้รับการรับรองความถูกต้องสำหรับการเข้าถึง และไม่ควรแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลที่สามที่ไม่น่าเชื่อถือ

สุดยอดเทคโนโลยีด้าน Backup and Recovery และการจัดการข้อมูล ระดับโลกจาก Cohesity

บริษัท อินแกรม ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด  ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยี ขอนำเสนอผลิตภัณฑ์  Cohesity ซึ่งเป็นผู้นำด้าน Hyperconverged Storage เป็นระบบใหม่ที่มีความสามารถทั้งด้านการสำรองข้อมูล กู้คืนระบบ และจัดการข้อมูลระดับองค์กร ที่รองรับการใช้งานได้หลากหลายระบบไม่ว่าจะเป็น Physical Server, Virtual Machine, Big Data บน Hadoop, ฐานข้อมูลแบบ NoSQL, แอพพลิเคชั่นภายใต้ Containers ของ Kubernetes, รวมทั้งระบบแบบ Software as a Service (SaaS) เช่น Microsoft 365 เป็นต้น

(more…)

You may have missed