03/29/2024

Month: January 2019

NTT Group ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ให้บริการการสื่อสารแบบบูรณาการชั้นเลิศระดับโลกโดยการ์ทเนอร์

สามบริษัทในเครือเอ็นทีทีกรุ๊ป ได้แก่ อาร์คาดิน, ไดเมนชั่น ดาต้า, และ เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ ประกาศในวันนี้ว่า เอ็นทีทีกรุ๊ปได้รับการแต่งตั้งจาก การ์ทเนอร์ อิงค์ (Gartner, Inc.) ให้เป็นผู้ให้บริการการสื่อสารแบบบูรณาการที่เป็นเลิศระดับโลก (Magic Quadrant for Unified Communications as a Service, Worldwide.1) โดยเอ็นทีทีกรุ๊ปได้รับการยกย่องทั้งในเรื่องความสมบูรณ์ของวิสัยทัศน์และความสามารถในการใช้งานระบบจริง

NTTGroup_Basic_ENG_4C

ตลอดระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา เอ็นทีทีกรุ๊ปได้พัฒนาการผสานบริการการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ของทั้ง 3 บริษัทได้อย่างเป็นเยี่ยม ทำให้สามารถมอบบริการแบบบูรณาการที่รวมทุกประสิทธิภาพเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งก่อให้เกิดคลื่นความเปลี่ยนแปลงในแวดวงบริการการสื่อสารแบบบูรณาการ (Unified Communications as a Service: UCaaS)

โดยเนื้อหาของเอกสารรายงาน การ์ทเนอร์เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นฐาน จากการสื่อสารแบบบูรณาการภายในสถานที่ (Premises-based Unified Communications: UC) ไปสู่การสื่อสารแบบบูรณาการ (Unified Communications as a Service: UCaaS) บนระบบคลาวด์ โดยระบุว่า “ภายในปี ค.ศ. 2021 ผู้นำในตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศ 90% จะไม่มีการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารแบบบูรณาการภายในสถานที่รุ่นใหม่อีกต่อไป ซึ่งในปัจจุบันมีสูงถึง 50% เนื่องจากบริการการสื่อสารแบบบูรณาการผ่านระบบคลาวด์ในอนาคตจะนำเสนอประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งกว่า ทั้งในด้านฟีเจอร์ ฟังก์ชั่นการทำงาน การบริหารข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล2

ดิดิเยร์ จูเบิร์ต ประธานกรรมการบริหาร อาร์คาดิน กล่าวถึงข่าวนี้ว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่เอ็นทีทีกรุ๊ปได้รับการยกย่องจากการ์ทเนอร์เป็นผู้ค้ารายสำคัญใน Magic Quadrant ซึ่งเราคิดว่า อุตสาหกรรมนี้กำลังเกิดการพัฒนาในอัตราสูงให้ตอบโจทย์ทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ผ่านการนำเสนอโซลูชั่นการสื่อสารแบบบูรณาการผ่านระบบคลาวด์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบในกลุ่มคนทำงานที่เกี่ยวข้อง การเป็นส่วนหนึ่งของเอ็นทีทีกรุ๊ป ทำให้อาร์คาดินสามารถนำเสนอบริการแบบครบวงจรที่ครอบคลุมให้แก่ลูกค้าของเราได้ พร้อมทั้งสามารถลงทุนด้านเทคโนโลยีได้อย่างต่อเนื่องในการเสริมประสิทธิภาพของธุรกิจเพื่อยกระดับการเปลี่ยนแปลงธุรกิจไปสู่ระบบดิจิทัลที่ดียิ่งขึ้น”

นีโม เวอร์บิสต์ ผู้อำนวยการกลุ่มงาน จีทีเอ็ม ฟอร์ ดิจิทัลเวิร์กเพลส ไดเมนชั่น ดาต้า กล่าวว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นทีทีกรุ๊ป ซึ่งเมื่อประสานงานกัน เราจึงสามารถนำเสนอบริการแบบครบวงจรแก่ลูกค้าของเราได้ ซึ่งเราถือว่าการได้รับแต่งตั้งเป็น Magic Quadrant for Unified Communications as a Service, Worldwide โดยการ์ทเนอร์ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งยืนยันถึงพันธกิจของเราในการสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถปลดล็อกพลังแห่งการสื่อสารเพื่อยกระดับประสิทธิภาพทางธุรกิจ เราเชื่อว่านี่คือก้าวสำคัญเพื่อการเดินไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง โดยเราพยายามคิดค้นนวัตกรรมและดำเนินงานตามแผนการด้านผลิตภัณฑ์เพื่อให้บรรลุถึงการร่วมมือสมัยใหม่ (Modern Collaboration) เราเชื่อว่าการที่การ์ทเนอร์ให้การยกย่องความพยายามของเราในเรื่องนี้จะส่งผลตอบสนองในการผลักดันให้เราลงทุนในเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมการยกระดับประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลของเราให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น”

จุนอิชิ คุโด้ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ กล่าวว่า “เราเชื่อว่าการสื่อสารแบบบูรณาการและการร่วมมือ (Unified Communications and Collaboration: UC&C) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจ เรามุ่งมั่นนำเสนอโซลูชั่น UC&C รูปแบบใหม่ซึ่งสามารถตอบโจทย์ด้านสื่อโซเชียลที่ซับซ้อนได้ ผ่านการรวบรวมความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและทรัพยากรต่าง ๆ ของบริษัทภายใต้เอ็นทีทีกรุ๊ป ซึ่งเรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับการกย่องจากการ์ทเนอร์ และถือเป็นเครื่องการันตีว่าเรามีความล้ำหน้าที่ชัดเจนในการเล็งเห็นและนำเสนอโซลูชั่น UC&C แก่ตลาดที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้”

มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ ยังคงคุกคามองค์กรอย่างต่อเนื่อง

บริษัท เช็คพอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด  ผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชันความปลอดภัยระดับโลก ได้เผยแพร่ในส่วนตอนแรกของรายงานสรุปความปลอดภัยในปี  พ.ศ. 2562  โดยเน้นยุทธวิธีหลักๆ ที่อาชญากรคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อโจมตีองค์กรทั่วโลกในอุตสาหกรรมต่างๆ และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์เพื่อปกป้ององค์กรของตนจากการโจมตีและภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5

 

ในตอนแรกของรายงานสรุปความปลอดภัยปี 2562 ได้เปิดเผยแนวโน้มหลักๆ ของมัลแวร์และเทคนิคที่นักวิจัยของเช็คพอยท์พบในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญดังนี้:

  • มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ยึดหัวหาดการโจมตีเป็นส่วนใหญ่: มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ติดสี่อันดับแรกของมัลแวร์ที่ชุกชุมที่สุดและส่งผลกระทบต่อองค์กรทั่วโลกจำนวน 37% ในปี 2561 แม้ว่ามูลค่าของสกุลเงิน cryptocurrency ทั้งหมดเริ่มตก แต่บริษัทต่างๆ จำนวน 20% ยังคงถูกโจมตีทุกสัปดาห์จากมัลแวร์ที่แอบขุดบิตคอยน์  และเมื่อเร็วๆ นี้ มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ยังได้พัฒนาไปอย่างมากโดยอาศัยช่องโหว่ที่รู้จักดีและหลบเลี่ยงระบบแซนด์บ็อกซ์และระบบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อแพร่กระจาย

 

  • โทรศัพท์มือถือคือเป้าเคลื่อนที่: องค์กรจำนวน 33% ทั่วโลกถูกโจมตีโดยมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือ โดยมัลแวร์ 3 ประเภทแรกที่ติดอันดับได้พุ่งเป้าการโจมตีที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในปี  2561 พบหลายกรณีที่มัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือถูกติดตั้งไว้ล่วงหน้า และมีแอพจากแอพสโตร์ซึ่งแท้จริงแล้วคือมัลแวร์เสียเอง

 

  • บ็อตเน็ตอเนกประสงค์ที่โจมตีหลายรูปแบบ: บ็อตเป็นประเภทของมัลแวร์ที่พบมากเป็นอันดับสาม โดยมีองค์กรจำนวน 18% ที่ถูกบ็อตใช้เป็นฐานในการโจมตีแบบระดมยิง หรือดีดอส (DDoS) และเป็นฐานในการเผยแพร่มัลแวร์อื่นๆ การติดมัลแวร์ประเภทบ็อตมีผลทำให้องค์กรเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ถูกโจมตีด้วย ดีดอสในปี 2561

 

  • แรนซัมแวร์โจมตีน้อยลง: แรนซัมแวร์ลดลงอย่างมากในปี 2561 โดยส่งผลแค่ 4% ขององค์กรทั่วโลก

 โทนี่

“ตั้งแต่มัลแวร์ขุดบิตคอยน์ที่เป็นดาวรุ่ง ไปจนถึงการรั่วไหลของข้อมูลจำนวนมากและการโจมตีแบบดีดอสในปีที่ผ่านมาบริษัทต่างๆ ทั่วโลกต้องเผชิญกับการทำลายล้างทางคอมพิวเตอร์โดยไม่มีหยุดหย่อน  ตัวการที่สร้างภัยคุกคามมีทางเลือกมากมายที่จะหาเป้าหมายและสร้างรายได้จากองค์กรในทุกภาคส่วน และตอนแรกของรายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ได้แสดงให้เห็นเทคนิคการหลบซ่อนที่ใช้กันมากยิ่งขึ้น” นายโทนี่ จาร์วิส ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวและว่า  “การโจมตีในยุคที่ 5 จากหลายจุดที่รวดเร็วและในวงกว้างเช่นนี้เริ่มเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ องค์กรต้องใช้กลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์แบบหลายชั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เครือข่ายและข้อมูลขององค์กรถูกยึดครอง รายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ได้ให้ความรู้ ข้อมูลเชิงลึก และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันการโจมตีเหล่านี้”

แผงผังแสดงประเภทของการโจมตีทางคอมพิวเตอร์ที่พบมากที่สุดทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค
แผงผังแสดงประเภทของการโจมตีทางคอมพิวเตอร์ที่พบมากที่สุดทั่วโลกและจำแนกตามภูมิภาค

 

รายงานสรุปความปลอดภัย ปี 2562 ของบริษัท เช็คพอยท์ อาศัยข้อมูลจากหน่วยข่าวกรอง เทรดคลาวด์ (ThreatCloud)  ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามและแนวโน้มของการโจมตีจากเครือข่ายเฝ้าระวังทั่วโลก นอกจากนี้ยังอาศัยข้อมูลจากการสืบสวนของเช็ค พอยท์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ไอทีและและผู้บริหารระดับสูงที่ประเมินความพร้อมของตนต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน  ในรายงานได้สำรวจภัยคุกคามใหม่ล่าสุดในภาคธุรกิจต่างๆ และให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของแนวโน้มที่สังเกตจากการแพร่กระจายของมัลแวร์ จากจุดที่ข้อมูลรั่วไหล และจากการโจมตีระดับชาติ  นอกจากนี้ยังมีบทวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญระดับนักคิดชั้นนำของบริษัท เช็คพอยท์ เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจแก่องค์กรให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่ซับซ้อนในวันนี้และวันข้างหน้า

 

นอกจากนี้เช็คพอยท์ยัง ประกาศแต่งตั้ง นางสาวยุวลักษณ์ แซ่งุ่ย เป็นผู้จัดการประจำประเทศไทย  โดย ยุวลักษณ์ จะเป็นผู้นำในการผลักดันการขยายตัวของกลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชันต่างๆ ของบริษัท เช็คพอยท์ ในประเทศไทย พร้อมขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยบนมือถือและระบบคลาวด์

ยุวลักษณ์_1

“ประเทศไทยกำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนสำคัญของการเติบโตอย่างรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะกลายมาเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อเทคโนโลยีในทุกด้าน ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้ร่วมงานกับบริษัท เช็คพอยท์ และมีความมุ่งมั่นเต็มเปี่ยมที่จะเติบโตไปพร้อมๆ กับบริษัท เช็คพอยท์ รวมถึงลูกค้าของบริษัทฯ เพื่อปูทางให้พร้อมรับมือกับเส้นทางสายดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่มีความปลอดภัยในประเทศไทย”  นางสาวยุวลักษณ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีส์ กล่าว

หัวเว่ย คลาวด์ จัดโอเพ่นเดย์ โชว์ศักยภาพ AI เสริมสมรรถนะอุตสาหกรรม

HUAWEI CLOUD ธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ย เตรียมจัดงานโอเพ่นเดย์ ภายใต้ชื่อ “Huawei Cloud AI Open Day Thailand 2019” ระยะเวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ชั้น 39 อาคารจี ทาวเวอร์ ถนนพระรามเก้า นำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)  โดยภายในงาน ลูกค้า ผู้ให้บริการเครือข่าย พันธมิตร ตลอดจนนักศึกษา จะได้พบกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ https://varpevent.com/e/2019/huawei/cloud-ai-day/

2 photo

“ตลอดช่วงหนึ่งสัปดาห์ของการจัดงาน ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสกับเทรนด์ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์และ AI เรียนรู้ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และทดลองใช้งานแอพพลิเคชั่นล้ำสมัยในภาคอุตสาหกรรม การจัดงานในครั้งนี้ยังถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นกับบรรดาผู้นำและผู้เชี่ยวชาญในวงการ ตลอดจนเปิดโอกาสในการสร้างพันธมิตรใหม่ๆ อีกด้วย” มร. โซเลอร์ ซุน รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

สำหรับเทคโนโลยีที่เป็นไฮไลท์สำคัญภายในงาน ประกอบด้วยชิพ AI, บริการคลาวด์และโซลูชั่น AI แบบครบทุกระดับ (Full-stack AI) ที่ครอบคลุมการใช้งานหลากหลายด้าน นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จและนวัตกรรมอัจฉริยะต่างๆ ของบริการคลาวด์ด้าน AI เช่น Optical Character Recognition (OCR) เป็นการรู้จำตัวอักขระด้วยแสงและภาพ, การค้นหาภาพ, การวิเคราะห์วิดีโออัจฉริยะ, แพลตฟอร์มพัฒนาระบบ AI ที่เรียกว่า ModelArts และ HiLens เป็นต้น สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ การขนส่ง, การบริหารจัดการแคมปัส, เกม, รถยนต์อัจฉริยะ และการบริหารงานหน้าร้านค้าปลีก โดยมีตัวอย่างการใช้งานเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้

AI OPEN DAY Poster

  • เมือง+AI: โซลูชั่น Traffic Intelligent Twins ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรที่แออัด, การควบคุมดูแลรถยนต์อัจฉริยะ, การตรวจตราปัญหาความรุนแรง, การส่งเสริมความปลอดภัยด้านการขนส่งภายในเมืองและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • แคมปัส+AI: หุ่นยนต์จะทำหน้าที่ตรวจตราดูแลภายในบริเวณพื้นที่ขนาดใหญ่และประมวลผลเพื่ออนุญาตการเข้าพื้นที่ภายในเวลาเสี้ยววินาทีโดยใช้อัลกอริธึ่มระบบการจดจำที่แม่นยำ นอกจากนี้ ยังสามารถปรับปรุงการแสดงผลโฆษณาได้แบบเรียลไทม์ด้วยระบบจดจำใบหน้า และการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงความแม่นยำในด้านการตลาดที่ดีขึ้น
  • โลจิสติกส์+ AI: กล้องที่มี “สมอง” มีความสามารถมากกว่าแค่บันทึกภาพคนงาน แต่ยังสามารถรายงานและแสดงหลักฐานความรุนแรง รวมถึงบันทึกภาพความเสียหายที่เกิดจากการกระทำด้วยความประมาทหรือปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในขั้นตอนการจัดส่งขนถ่ายสินค้าได้ด้วย
  • การขนส่ง+AI: ระบบจดจำใบหน้าเป็นความสามารถพื้นฐานของ AI ในการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องภายในสนามบิน ด่านศุลกากร และร้านค้าปลีก ซึ่งผู้เข้าชมงานจะได้ทดลองสัมผัสขั้นตอนการขึ้นเครื่องทั้งหมดด้วยระบบการจดจำใบหน้า ตลอดจนไฟสัญญาณจราจรที่ควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะแบบเรียลไทม์เพื่อลดปัญหาการจราจรแออัด
  • งานค้าปลีก+AI: การจดจำลักษณะท่าทางของลูกค้าด้วยเทคโนโลยี AI จะแสดงตัวอย่างแอพพลิเคชั่นที่มีทักษะความสามารถสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมค้าปลีก โดยผู้เข้าชมจะสามารถสั่งกาแฟได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องสั่งผ่านแคชเชียร์
  • ชิพ AI Ascend: การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI ของหัวเว่ยนั้น ทำให้ได้นวัตกรรมชิพสองรุ่น คือ Ascend 910 และ Ascend 310 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสำหรับการประมวลผลแบบนิวรอลเน็ทเวิร์ค พร้อมชุดเครื่องมือการพัฒนา และการฝึกอบรมด้านคลาวด์

นอกจากนี้ ผู้ที่มาในงานยังจะได้รับชมและทดลองควบคุมหุ่นยนต์เล่นฟุตบอลด้วย HiLens ระบบกล้องอัจฉริยะ ตลอดจนการทำงานของเทคโนโลยี AI ในการรู้จำตัวอักขระไทยด้วยแสงและภาพ (Thai OCR) ที่อาจมีลักษณะจากการพิมพ์ไม่สมบูรณ์เช่นตัวอักษรไทยที่มีลายเส้นเอนเอียงหรือผิดรูปบนเอกสารที่มีพื้นหลังซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ

เทคโนโลยี AI ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่อยู่โดยลำพัง แต่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่จะช่วยยกระดับผลิตภาพของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเทคโนโลยี AI จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกอุตสาหกรรม ทุกองค์กร และทุกสาขาอาชีพโดยการเพิ่มประสิทธิภาพเป็นทวีคูณ เราจำเป็นต้องคิดถึงหนทางใหม่ ๆ ในการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และในอนาคต AI จะพลิกโฉมโลกของเราตั้งแต่การแปลแบบเรียลไทม์ไปจนถึงการศึกษาเฉพาะรายบุคคล การดูแลป้องกันด้านสุขภาพไปจนถึงการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ระบบการเดินทางขนส่งอัจฉริยะไปจนถึงการขับขี่ยานพาหนะแบบไร้คนขับ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่เว็บไซต์

https://intl.huaweicloud.com/about/blogs/20190108170204512.html

 

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่านทางลิงก์ด้านล่างนี้

https://varpevent.com/e/2019/huawei/cloud-ai-day/

Fortinet ร่วมก่อตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของ World Economic Forum

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ระดับองค์กร ได้อ้างถึงการประชุมเศรษฐกิจโลก “เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม” (World Economic Forum: WEF) ประจำปีคศ. 2018 ว่า ภัยคุกคามทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและการปฏิรูปติจิทัลในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก ในปัจจุบัน การโจมตีทางไซเบอร์ได้เพิ่มสูงขึ้นมากทั้งในด้านความซับซ้อนและปริมาณ ซึ่งในขณะที่องค์กรต่างๆ เริ่มมีการนำเอาอุปกรณ์ไอโอที (IoT) และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ มาใช้มากขึ้น รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่เข้ามามีบทบาทในการใช้งาน อาชญากรไซเบอร์ก็มีความรอบรู้ทางเทคนิคในการโจมตีโดยใช้เอไอในกิจกรรมของตนมากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นการขยายพื้นผิวของโอกาสที่จะถูกโจมตีแบบดิจิทัลมากขึ้นและขยายช่องโหว่ต่างๆ กว้างมากขึ้น อันเป็นภัยคุกคามต่อบุคคล บริษัท องค์กรและรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

 Fortinet joins the center cybersecurity of WEF

กลุ่มเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการบังคับใช้กฎหมายในฟอรัมเห็นว่า แม้เทคโนโลยีบลอคเชนจะมีความปลอดภัยอยู่ระดับหนึ่ง แต่ยังมีภัยที่น่าเป็นห่วงอยู่ อันได้แก่ ภัยเรียกค่าไถ่แรนซัมแวร์ ภัยที่ทำงานแบบโซเชียลเอ็นจิเนียริ่ง เว็บไซต์ตลาดมืดออนไลน์ (Darknet markets) รวมถึงภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซี  พวกเขายังคาดการณ์อีกด้วยว่า การรวมตัวของไอโอทีและปัญญาประดิษฐ์ประเภท Offensive AI คลาวด์คอมพิวติ้ง ความปลอดภัยของข้อมูลและภัยคุกคามที่มาช่องทางออนไลน์นั้นจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของภัยไซเบอร์ที่มีอัตราการเติบโตสูงในปีคศ. 2019  นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากธุรกิจการลงทุนได้ออกมาเตือนว่า ในขณะที่ภัยคุกคามมีมากขึ้น การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยไซเบอร์และการวัดผลการป้องกันนั้นจะยากขึ้นและสำคัญยิ่งขึ้นเช่นกัน

 429PoBLasRVUBOA5WB7VhjM6VzgZhq7eTp_2z4_ZLNo

ในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ ทางเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัมจึงได้สร้างศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Center for Cybersecurity) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้นำจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการ ผู้บังคับใช้กฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระ ภายใต้การสนับสนุนของเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัมและมีเป้าหมายคือการสร้างแพลตฟอร์มระดับโลกครั้งแรกให้กับรัฐบาล ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ในการประสานทำงานร่วมกันในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งนี้ การประชุมประจำปีครั้งแรกของศูนย์ฯ ได้สิ้นสุดลงไปเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้โดยมีการเรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป และขอให้ก้าวข้ามความท้าทายสำคัญ 3 ประการ อันได้แก่ การขาดความไว้วางใจ การขาดความร่วมมือ และสภาวะที่ขาดทักษะที่เพียงพอ

 

ศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังได้ประกาศว่า เอคเซนเชอร์ (Accenture) ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) และสเบอร์แบงค์ (Sberbank) เป็นพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้งของศูนย์ฯ และได้รับสิทธิ์เป็นกรรมการถาวรในคณะกรรมการของศูนย์ฯ  ทั้งนี้ กรรมการอื่นๆ จะประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กร อุตสาหกรรมจากประเทศต่างๆ ในวาระท่านละ 2 ปี   โดยนายฟิล เควด ประธานบริหารด้านความปลอดภัยข้อมูล (Chief Information Security Officer: CISO) แห่งฟอร์ติเน็ตเห็นว่า “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนมีความสำคัญมาก”

 Ken Xie_Fortinet

นายเคน ซี ผู้ก่อตั้ง ประธานและซีอีโอของฟอร์ติเน็ตกล่าวย้ำว่า“ ฟอร์ติเน็ตเชื่อมั่นในความสำคัญของการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันข้อมูลเพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งนี้ การที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ครั้งนี้ นับว่ามีนัยยะสำคัญต่อความร่วมมือกันที่ดีในระดับโลกเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นก้าวสำคัญในภารกิจของฟอร์ติเน็ตที่มุ่งมั่นรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการ รวมถึงองค์กรของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย”

อุตสาหกรรมการผลิตไทยมีแนวโน้มเติบโต 1.6 ล้านล้านบาทจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

เมื่อเร็วๆ นี้ ซิสโก้ และ บ. เอ.ที. เคียร์เน่ (A.T. Kearney) เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่าอุตสาหกรรมภาคการผลิตของไทยคาดการณ์ว่าจะเติบโตถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์(หรือ 1.6 ล้านล้านบาท) ในทศวรรษหน้าจากการปรับใช้เทคโนโลยียุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution หรือ 4IR)

รายงานการศึกษาดังกล่าว มีชื่อว่า “เร่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในอาเซียน: แผนปฏิบัติการสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต (Accelerating 4IR in ASEAN:  An Action Plan for Manufacturers)ระบุว่า การเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากผลผลิตที่มีมูลค่าสูงถึง 3.5 – 4 หมื่นล้านดอลลาร์ (หรือ 1 – 1.3 ล้านล้านบาท) และการขยายช่องทางรายได้อื่นๆด้วยไลน์สินค้าใหม่ๆ และการปรับปรุงคุณภาพสินค้า โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้หากภาคการผลิตปรับใช้เทคโนโลยี 4IR

4ir

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีจุดเด่นที่ระบบอีโคซิสเต็มส์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อบุคลากรและเครื่องจักรเข้าด้วยกัน โดยอาศัย 5 เทคโนโลยีหลักที่ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในห่วงโซ่มูลค่าด้านการผลิต  เทคโนโลยีที่ว่านี้ได้แก่ IoT, AI, ระบบการพิมพ์ 3 มิติ, เทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูง และอุปกรณ์สวมใส่

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ภาคการผลิตในอาเซียน (สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) รวมถึงประเทศไทย ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัล โดยมีรูปแบบการดำเนินงานที่ยังล้าสมัย และการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR ยังมีความช้าและไม่ต่อเนื่อง จาก 5 สาเหตุหลักดังต่อไปนี้:

  • แรงงานยังมีราคาถูก: ค่าจ้างแรงงานในโรงงานของประเทศต่างๆ ในอาเซียน (ยกเว้นสิงคโปร์)ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และเป็นอุปสรรคต่อการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR แม้กระทั่งในบริษัทระดับโลกหลายบริษัทที่มีการดำเนินงานในภูมิภาคนี้
  • ยังไม่มีความต้องการของลูกค้าในตอนนี้: ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันยังไม่ได้สร้างแรงผลักดันให้แก่ผู้ผลิตในการสร้างกระบวนการผลิตที่คล่องตัวและไร้รอยต่อ
  • ไม่สามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ: การเข้าถึงบุคลากรที่เชี่ยวชาญและมีทักษะยังคงเป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญสำหรับภาคการผลิต เพราะบุคลากรเหล่านั้นมีค่าจ้างที่สูงเกินไปสำหรับผู้ผลิตหลายราย
  • อีโคซิสเต็มส์ของซัพพลายเออร์มีความซับซ้อนและแยกออกเป็นส่วนๆ: ภาคการผลิตมักไม่แน่ใจเกี่ยวกับการดำเนินการในสภาพแวดล้อมของซัพพลายเออร์ 4IR ที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
  • เป้าหมายทางธุรกิจเป็นแบบระยะสั้นและไม่ชัดเจน: การจัดซื้อและติดตั้งเทคโนโลยีใหม่อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จึงเป็นเรื่องยากที่ภาคการผลิตจะสามารถระบุเเป้าหมายทางธุรกิจที่เหมาะสม

นาย นาวีน เมนอน ประธานประจำภูมิภาคอาเซียนของซิสโก้ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมภาคการผลิตเป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 21 ของจีดีพีปีงบประมาณ 2561 ของภูมิภาค อุตสาหกรรมการผลิตเป็นที่รู้กันดีว่ามีผลกระทบสูงสุด โดยมีการคาดการณ์ว่าทุกหนึ่งดอลลาร์ที่ใช้ในภาคการผลิตนั้น จะมีการเพิ่มมูลค่าอีก 1.81 ดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสำหรับการจ้างพนักงาน และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอีก 4 งาน ดังนั้นการเร่งปรับใช้เทคโนโลยี 4IR จะช่วยให้ภูมิภาคอาเซียนรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งปัจจุบันขึ้นอยู่กับกับค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำ และทำให้ภาคธุรกิจนี้ยังคงเติบโต และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจ”

vatsun cisco

นาย วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและอินโดจีนของซิสโก้ กล่าวว่า “เป็นที่แน่นอนว่าภาคการผลิตของไทยจำเป็นต้องปรับใช้เทคโนโลยี 4IR แต่ความท้าทายที่สำคัญก็คือ จะต้องค้นหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเร่งการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าว โดยมี 3 ประเด็นหลักที่ควรพิจารณา ได้แก่ โอกาสระยะสั้นทางด้าน 4IR ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับบริษัท, ผู้ผลิตสามารถปรับใช้โซลูชั่นอย่างยั่งยืนและเหมาะสมได้อย่างไร และจะสามารถจัดการกับปัญหาการดำเนินงานที่หยุดชะงักเพื่อรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจได้อย่างไร”

รายงานฉบับนี้แนะนำแผนปฏิบัติการ 6 ข้อ ที่จะรองรับการพัฒนาด้าน 4IR สำหรับภาคการผลิตของไทย:

  • มุ่งเน้นปัญหาสำคัญ: ระบุปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข
  • ระบุการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม: ไม่ตื่นเต้นไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ โซลูชั่นที่ไม่เหมาะสม และฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น แต่ให้ศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาและกรณีการใช้งาน 4IR ที่จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่น
  • ดำเนินโครงการนำร่องโดยอาศัยการทำงานร่วมกัน: พัฒนาโซลูชั่นร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี และทดสอบและเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการนำร่อง โดยอาศัยการกำกับดูแลที่เหมาะกับเป้าหมาย
  • สร้าง Partner Ecosystem: เลือกกลยุทธ์ความร่วมมือที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว
  • สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น: ควรมุ่งเน้น 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพและปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น, ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัจฉริยะ, แพลตฟอร์ม IoT แบบอเนกประสงค์ และระบบวางแผนด้านทรัพยากรและการผลิตแบบครบวงจร
  • รองรับการปรับเปลี่ยนอย่างยั่งยืน: ปรับใช้เครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพ กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงความสามารถที่เฉพาะเจาะจง ดัชนีชี้วัด และการปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยมุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

รายงานฉบับนี้เน้นย้ำว่าภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิต  อย่างไรก็ดี ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในภาคการผลิต  กลยุทธ์ระดับชาติในประเทศเหล่านี้ รวมถึงประเทศไทย มักมุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร และการสร้างอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแกร่งเพื่อส่งเสริมการลงทุน อย่างไรก็ตามมีการสนับสนุนที่จำกัดสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR ในอุตสาหกรรมภาคการผลิต เพราะส่วนใหญ่ภาคการผลิตครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งไม่เพียงแต่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่มากขึ้น ยังต้องให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทต่างๆ และภาครัฐให้มากขึ้น โดยครอบคลุมทั่วภูมิภาคผ่านการค้าและการลงทุน

นาย นิโคไล ดอบเบอร์สไตน์ พาร์ทเนอร์ของบริษัท เอ ที เคียร์เน่ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมการผลิตของไทยมีโอกาสที่ดีมากในการเป็นผู้นำการพัฒนาระบบการผลิตโดยดิจิทัล และก้าวสู่เวทีระดับโลกด้วยการปรับใช้เทคโนโลยี 4IR  อย่างไรก็ดี ภาคการผลิตจำเป็นต้องใช้แนวทางที่มุ่งเน้นสองทาง กล่าวคือ แนวทางระยะสั้นที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาท้าทายที่เฉพาะเจาะจง และรับมือกับโอกาสด้วยการปรับใช้โซลูชั่นแบบเฉพาะจุด ส่วนแนวทางระยะกลางและระยะยาว จะต้องสร้างความสามารถด้านการผลิตที่ก้าวล้ำและยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร และโครงสร้างพื้นฐานที่ปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และสานต่อวิสัยทัศน์ระยะยาวเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด”

เทรนด์ไมโครออกรายงานทำนายสถานการณ์ด้านความปลอดภัยประจำปี 2019

ทุก ๆ ปี เทรนด์ไมโครจะทำรายงานประจำปีในชื่อ Security Predictions Report ซึ่งการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยที่ใกล้เคียงความเป็นจริงนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก ทั้งบริษัทและผู้ใช้ระดับคอนซูเมอร์ทั้งหลายจึงจำเป็นต้องพิจารณาว่าคำแนะนำด้านความปลอดภัยไหนบ้างที่ควรนำมาประยุกต์ใช้

20180418011902518-909-ofHO53O

อย่างไรก็ดี เทรนด์ไมโครมองว่าการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยที่ดีนั้นประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลักด้วยกัน ได้แก่

1. การคาดการณ์ใด ๆ ก็ตาม ควรระบุข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

2. การคาดการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว หรือน่าจะไม่ได้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ ไม่มีประโยชน์ แม้คำแนะนำบางอย่างจะสามารถนำไปวางแผนจัดการตามกำหนดเวลา เช่น ภายใน 1 – 2 ปีได้ แต่ถ้าบอกให้ทราบกะทันหันเกินไป ก็ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถจัดการบางอย่างได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงทีได้เช่นกัน โดยเฉพาะถ้าจำเป็นต้องมีการลงทุนจัดซื้อ หรือเปลี่ยนแปลงในระดับสถาปัตยกรรม

3. ยิ่งมีความน่าจะเป็นมากเท่าไร ยิ่งมีผลต่อความสามารถในการจัดการรับมือมากเท่านั้น ดังนั้น การคาดการณ์ที่มีความน่าจะเป็นเพียง 1% จึงไม่มีประโยชน์ ส่วนการคาดการณ์ที่มีความน่าจะเป็น 100% จะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน รวมทั้งต้องพิจารณาด้วยว่าการคาดการณ์ที่ชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นแน่นอนนั้น จะยังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกหรือไม่ด้วย

4. ต้องอยู่บนรากฐานของข้อเท็จจริง โดยมีสูตรสำเร็จของการคาดการณ์อยู่ที่ข้อมูลหนึ่งส่วน และการวิเคราะห์สองส่วน จำเป็นที่ต้องมีการวิเคราะห์ควบคู่กับข้อมูลเสมอเพื่อให้การคาดการณ์ด้านความปลอดภัยมีความหมาย การคาดการณ์นั้นไม่ใช่แค่การคำนวณทางสถิติ และแค่เรื่องของสถิตินั้นก็เป็นแค่ข้อมูลดิบ ไม่ใช่ข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างไรก็ดี การทำนายนั้นควรมาจากการวิเคราะห์ที่มีรากฐานจากการเฝ้าสังเกตสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง แม้จะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มตัวอย่างชัดเจน โดยต้องวิเคราะห์หาเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น และเป็นข้อมูลที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งเทรนด์ไมโครได้เปรียบตรงที่เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยขนาดใหญ่ที่มีที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก และจากการอยู่เบื้องหลังการค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยหรือ CVE จำนวนมากจนถือเป็นองค์กรที่มีข้อมูลเรื่องอันตรายทางไซเบอร์มากที่สุดในโลกในปีนี้ จึงมีแหล่งข้อมูลสำคัญมากพอที่จะคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

รายงานการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยประจำปี 2019

การคาดการณ์เรื่องสถานการณ์ความปลอดภัยประจำปีนี้ ครอบคลุมหลายบริเวณตั้งแต่คลาวด์, คอนซูเมอร์, การมีส่วนร่วมของพลเมืองทางดิจิตอล, วงการผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย, โรงงานอุตสาหกรรมและกลุ่ม SCADA, โครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์, และระบบบ้านอัจฉริยะ โดยมีการคาดการณ์เหตุการณ์ที่สำคัญมากอย่างการโจมตีแบบหลอกลวงด้วยอีเมล์ทางธุรกิจหรือ BEC และการที่เป้าหมายในการโจมตีเริ่มหันไปหาบุคคลในตำแหน่งถัดลงมาตามแผนผังโครงสร้างองค์กร อันเนื่องมาจากเหล่าอาชญากรไซเบอร์เริ่มพบความลำบากในการใช้เทคนิค BEC รูปแบบเดิม เพราะเหล่าผู้บริหารต่างตื่นตัวและออกมาป้องกันตัวเองจากการโจมตีลักษณะดังกล่าวมากขึ้น ตัวอย่างของระบบความปลอดภัยที่ป้องกัน BEC นั้นได้แก่ การใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเขียนเมล์ของผู้บริหารที่จำเพาะ อย่างเช่น ระบบ Writing Style DNA ของเทรนด์ไมโคร

การคาดการณ์เหล่านี้ค่อนข้างนำไปใช้ได้จริง ด้วยทูลและเทคนิคต่างๆ ที่เสนอในรายงานนี้ ให้กลุ่มผู้บริหารสามารถนำไปใช้พิจารณาในการเลือกลงทุนหรือติดตั้งตามความเหมาะสมและลำดับความสำคัญขององค์กรตนเอง

ทั้งนี้ เทรนด์ไมโครยินดีอย่างยิ่งที่จะรับฟังความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับรายงานฉบับนี้ เนื่องจากประโยชน์ที่ผู้อ่านได้รับก็ถือเป็นประโยชน์ที่มีผลต่อการพัฒนาของเทรนด์ไมโครด้วยเช่นกัน

รายงานพิเศษ : Mapping the Future:Dealing With Pervasive and Persistent Threats  เทรนด์ไมโคร คาดการณ์ภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 ซึ่งจะมีการคุกคามและโจมตีต่อเนื่องเข้มข้นกว่าเดิม

การคาดการณ์ด้านความปลอดภัยประจำปี 2019 ของเทรนด์ไมโคร มาจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้, เทรนด์ของตลาด, และผลกระทบของอันตรายในวงกว้าง ซึ่งมีการแบ่งประเภทตามบริเวณหลักที่ได้รับผลกระทบไว้ดังต่อไปนี้

1. กลุ่มผู้ใช้ระดับคอนซูเมอร์

การโจมตีในลักษณะหลอกลวงทางจิตวิทยาผ่านอีเมล์และข้อความต่างๆ จะเข้ามาแทนที่การโจมตีระบบผ่านช่องโหว่แบบตรงๆ ในอดีต เรียกว่าการโจมตีที่เน้นการหลอกลวงหรือฟิชชิ่งจะเพิ่มขึ้นในปี 2019 อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ปัจจุบันซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ (OS) ที่มีการใช้งานในตลาดนั้นมีความหลากหลายมาก จนถือได้ว่าไม่มีโอเอสใดเลยที่ครองส่วนแบ่งตลาดเกินครึ่ง (โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีก่อน) ดังนั้น อาชญากรไซเบอร์จึงปรับตัวจากการเน้นโจมตีช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่ง มาเจาะตัวคนผู้ใช้ที่มักมีช่องโหว่ทางอารมณ์เหมือนๆ กันแทน ทำให้มีแนวโน้มการโจมตีแบบฟิชชิ่งมากขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งเห็นได้จากปริมาณ URL ของเว็บที่เกี่ยวกับการหลอกลวงดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ชุดโค้ดสำหรับใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบต่างๆ กลับพบการพัฒนาน้อยลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

2. กลุ่มผู้ใช้ระดับองค์กร

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจากการเปิดให้พนักงานทำงานจากบ้านหรือระยะไกลนั้น กำลังคุกคามองค์กรเหมือนกับสมัยที่ BYOD ได้รับความนิยมใหม่ๆ โดยพนักงานที่ทำงานแบบเชื่อมต่อผ่านเน็ตจากบ้านนั้นจะเป็นการเปิดจุดเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อันเป็นที่มาของเทรนด์สองประการได้แก่ ความท้าทายในการจัดการการทำงานภายนอกสำนักงาน ที่องค์กรจะต้องพยายามรักษาความสามารถในการมองเห็นการเคลื่อนไหวของข้อมูลบริษัทไม่ว่าพนักงานจะเข้าถึงผ่านแอพบนคลาวด์ หรือซอฟต์แวร์ประสานงานทั้งโปรแกรมแชท, ประชุมผ่านวิดีโอ, และการแชร์ไฟล์จากบ้าน และประการที่สองได้แก่การนำอุปกรณ์อัจฉริยะมาใช้ในบ้านมากขึ้น จนทำให้พนักงานมองว่าถ้านำมาใช้กับการทำงานด้วยก็จะยิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นเช่นกัน จนนำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีส่วนผสมของอุปกรณ์ที่หลากหลาย

3. หน่วยงานภาครัฐ

ยังคงต้องคอยรับมือกับการแพร่กระจายของข่าวหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะระหว่างที่มีแรงกดดันจากการเลือกตั้งต่าง ๆ เมื่อมองย้อนไปถึงบทบาทที่มีอิทธิพลอย่างมากของสังคมออนไลน์ต่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่าน ๆ มา โดยเฉพาะการแพร่กระจายข่าวเท็จนั้น เป็นการสร้างความท้าทายต่อการจัดการการเลือกตั้งของประเทศอื่น ๆ ในอนาคตเป็นอย่างมาก ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้ข่าวหลอกลวงนั้นมีผลกระทบมากและต่อเนื่อง เช่น แรงจูงใจ, เครื่องมือที่นำมาใช้ได้, และความสามารถในการเข้าถึงแต่ละแพลตฟอร์ม ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลได้แสดงความพยายามในการควบคุมแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากมาย แต่ก็ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะสามารถปิดกั้นการกระจายข่าวเท็จบนเน็ตได้อย่างทันท่วงที

4. วงการผู้ผลิตผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัย

ด้านความปลอดภัยอาชญากรไซเบอร์จะใช้เทคนิคที่หลากหลายในการแฝงและฝังตัวเอง เพื่อที่จะต่อกรกับเทคโนโลยีที่ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการนำแมชชีนเลิร์นนิ่งมาใช้ป้องกันอันตรายทางไซเบอร์ เรียกว่าเหล่าผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามจะหาเทคนิคที่แพรวพราวเพื่อรับมือหรือ ปรับตัวเข้ากับรูปแบบของระบบความปลอดภัยใหม่ด้วยเช่นกัน โดยมีการมองหารูปแบบการใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของระบบต่าง ๆ แบบที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง ยึดแนวการ คิดนอกกรอบเป็นเทรนด์ใหม่ที่สร้างความท้าทายในกลุ่มแฮ็กเกอร์ ทำนองว่าใครคิดวิธีแหกคอกได้จะได้รับการยกย่องให้เป็นเทพ พร้อมมีการเรียบเรียงเทคนิควิธีแฮ็กดังกล่าวเป็นเอกสารที่เข้าใจง่ายและแบ่งปันกันในวงการมืดอย่างรวดเร็วตัวอย่างเช่น การใช้ประโยชน์จากไฟล์สกุลที่คนทั่วไปมองข้ามอย่าง.URL, .IQY, .PUB, .ISO, และ .WIZ, การลดการพึ่งพาไฟล์ Executable หันมาใช้ลักษณะ ไร้ไฟล์หรือ Fileless ไปจนถึงสคริปต์ Powershell และมาโคร, มัลแวร์ที่มีการลงลายเซ็นแบบดิจิตอลเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

5. ระบบควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม

การโจมตีระบบ ICS ตามโรงงานอุตสาหกรรมจริงในวงกว้างนั้นจะกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมากขึ้น เนื่องจากหลายประเทศที่มีการพัฒนาความสามารถทางด้านไซเบอร์มีแนวโน้มจะสนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลังการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศเล็ก ๆ ประเทศอื่น ไม่ว่าจะเพื่อความได้เปรียบทางด้านการเมืองหรือการทหาร หรือแม้แต่แค่ทดสอบความสามารถของตนเองกับประเทศที่ยังไม่มีศักยภาพพอที่จะต่อต้านการโจมตีเหล่านี้ได้ หรือแม้แต่ด้วยแรงจูงใจอื่น ๆ ที่คาดไม่ถึงไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างประปา, ไฟฟ้า, หรือแม้แต่ระบบควบคุมทางอุตสาหกรรมหรือ ICS ที่ใช้กันในโรงงานผู้ผลิตต่าง ๆ ซึ่งช่องโหว่ในกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เห็นได้จากการที่ทาง EU NIS Directive ออกกฎหมายเพิ่มเติมให้ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ปฏิบัติตาม เพราะการโจมตีระบบ ICS ที่สำเร็จ ย่อมส่งผลตั้งแต่การปิดทำการของผู้ให้บริการ, สร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์และเครื่องจักร, สร้างความเสียหายทางการเงินทางอ้อม, และที่ร้ายแรงที่สุดคือ ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยและสุขภาพของพลเมือง

6. โครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์

จะมีการค้นพบช่องโหว่บนซอฟต์แวร์เกี่ยวกับคลาวด์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Docker, โปรแกรมด้านคอนเทนเนอร์, หรือตัว Kubernetes เอง, หรือแม้แต่ระบบที่ดูแลคอนเทนเนอร์อยู่เบื้องหลัง ที่มีการนำมาใช้ติดตั้งบนระบบคลาวด์อย่างแพร่หลาย ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการค้นพบช่องโหว่บน Kubernetes จำนวนหนึ่ง และเริ่มจะพบปัญหาด้านความปลอดภัย ระดับวิกฤติในช่วงก่อนสิ้นปี นอกจากนี้ทาง Kromtech ยังพบอิมเมจ Docker มากกว่าหลายสิบรายการที่ถูกดาวน์โหลดสู่สาธารณะมากถึง 5 ล้านครั้งในช่วงปีที่ผ่านมาก่อนที่เจ้าของจะรู้ตัวแล้วดึงออกยิ่งมีองค์กรย้ายระบบของตัวเองขึ้นไปอยู่บนคลาวด์มากเท่าไร เราก็จะยิ่งเห็นการค้นพบช่องโหว่บนโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์มากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมผู้พัฒนาโอเพ่นซอร์สที่มองหาประโยชน์จากการเจาะดูซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับคลาวด์

7. ระบบสมาร์ทโฮม

อาชญากรไซเบอร์จะแย่งกันเข้ามาเจาะระบบ IoT จนได้ชื่อว่าเป็น สงครามฝังซอมบี้โดยเราท์เตอร์จะยังเป็นเหยื่ออันโอชะของผู้โจมตีที่จ้องเข้ามาควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อจำนวนมากด้านหลังเราท์เตอร์ ซึ่งจะดุเดือดนองเลือดเหมือนเทศกาลแร้งรุมทึ้งผู้ใช้ระบบควบคุมบ้านอัจฉริยะในช่วงต้นทศวรรษ 2000 นี้ตัวอย่างเช่น การโจมตีผ่านเราท์เตอร์ที่เข้าถึงอุปกรณ์อัจฉริยะภายในบ้าน หรือการโจมตีที่เจาะจงเล่นงาน IoT นั้น มักใช้ซอร์ทโค้ดเดียวกันกับตัวมัลแวร์ Miraiหรือมัลแวร์ที่มีพฤติกรรมคล้ายกัน ซึ่งมีการสแกนอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติเพื่อค้นหาอุปกรณ์เหยื่อที่เข้าโจมตีได้ และเนื่องจากจำนวนอุปกรณ์ที่จะฝังซอมบี้นั้นมีจำนวนจำกัด และโค้ดมัลแวร์ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้ให้เป็นเครื่องมือในการโจมตีแบบ Denial of Service (DDoS) ก็หน้าตาเหมือน ๆ กันอาชญากรไซเบอร์ทั้งหลายจึงพยายามเขียนโค้ดเพิ่มเติมเพื่อปิดกั้นแฮ็กเกอร์รายอื่นไม่ให้มาใช้วิธีเดียวกันในการติดเชื้ออุปกรณ์

สำหรับรายงานฉบับเต็มสามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่  https://documents.trendmicro.com/assets/rpt/rpt-mapping-the-future.pdf

วัฒนธรรมองค์กรยุคดิจิทัล

การแข่งขันทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต้องปรับตัวเข้าสู่องค์กรในยุคดิจิทัล (Digital Organization) แต่การเปลี่ยนไปสู่แนวทางดังกล่าว การลงทุนจัดซื้อจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใหม่ๆ มาติดตั้งใช้งานอาจไม่เพียงพอ ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ลงลึกไปจนถึงแก่นและหัวใจสำคัญของการดำเนินงาน นั่นก็คือ “วัฒนธรรมขององค์กร” อันประกอบด้วยแนวทางหลักๆ ได้แก่

shutterstock_1099306955-2

ปรับวิสัยทัศน์และกระบวนการคิดของบุคลากร
การเริ่มต้นสู่องค์กรยุคดิจิทัล ต้องเริ่มที่ความคิดของบุคลากรทุกคนในองค์กร ไม่ใช่เฉพาะพนักงานเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงผู้บริหารทุกระดับด้วย เพราะการนำองค์กรด้วยวิสัยทัศน์ จะทำให้ทุกคนพร้อมเดินไปในทางเดียวกัน ในฐานะผู้บริหารต้องทำให้คนในองค์กรมองเห็นว่า แนวคิดขององค์กรยุคใหม่จะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างไร และจำเป็นต้องมีปัจจัยเสริมอะไรบ้าง

เปลี่ยนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล
คงเป็นไปได้ยาก หากต้องการเปลี่ยนสู่องค์กรยุคดิจิทัล แต่ระบบงานภายในยังยึดติดกับรูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ อยู่ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารในรูปแบบกระดาษ ข้อมูลประเภทเดียวกันแต่ถูกเก็บกระจัดกระจายอยู่ในหน่วยงานต่างๆ การนัดหมายทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยการติดบอร์ดหรือต้องทำหนังสือเวียน เหล่านี้ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน สิ้นเปลืองทรัพยากร เสียเวลา และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย การเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารถึงกัน การจัดทำระบบข้อมูลกลางขององค์กร และการติดต่อสื่อสารที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ คือสิ่งจำเป็น

เสริมทักษะดิจิทัลให้พนักงาน
แนวคิดมี ระบบมี แต่พนักงานใช้ไม่เป็น อาจทำให้สิ่งที่ทุ่มเทไปเปล่าประโยชน์ การทำให้พนักงานทุกคนรับรู้ว่า ปัจจุบันองค์กรมีเทคโนโลยีดิจิทัลอะไรมาใช้งานบ้างแล้ว และเทคโนโลยีดังกล่าวมีการใช้งานอย่างไร ถือเป็นสิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องผลักดัน ตัวพนักงานเองก็ต้องมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และที่สำคัญผู้บริหารก็ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงต้องสามารถนำมาใช้อย่างเหมาะสม

การปรับตัวสู่องค์กรยุคดิจิทัล ต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรทุกคนในองค์กร วิสัยทัศน์ต้องชัดเจน ผู้นำต้องเข้มแข็ง และพนักงานทุกคนทุ่มเททั้งกายและใจที่จะปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล

ดังคำที่ว่า “ถ้าใจพร้อมอะไรก็เป็นไปได้”

ขอบคุณบทความดีๆ จากนิตยสาร  CAT MAGAZINE

Banner-CATMAG53

AI ในอาเซียน

AI เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงมายาวนาน ซึ่งในอดีตดูจะเป็นเรื่องไกลตัวและเพ้อฝัน จนกระทั่งในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ AI เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราอย่างมาก ผลการสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดย IDC บริษัทวิจัยการตลาดและให้คำปรึกษาด้าน IT ชั้นนำของโลก ระบุว่าการนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้ในภูมิภาคอาเซียนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายบริษัทนำปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ได้อย่างอัจฉริยะของระบบคอมพิวเตอร์ (AI/Cognitive Intelligence) เข้ามาฝังไว้ในกระบวนการทำงานมากขึ้น

มีผู้ตอบแบบสำรวจถึง 52% จัดลำดับให้ความต้องการค้นหาข้อมูลข่าวสารความเข้าใจเชิงลึกทางธุรกิจ (Business Insights) ได้ดีขึ้นเป็นพลังผลักดันที่สำคัญที่สุดในการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ เหตุผลนี้ถูกเลื่อนจากอันดับ 3 ในปีก่อนขึ้นมา เผยให้เห็นว่าตลาดในภูมิภาคนี้มีกำลังมีวุฒิภาวะ (Maturity) เพียงพอที่จะนำ AI มาช่วยขยายธุรกิจได้ เหตุผลอื่นในลำดับต้นๆ ที่เป็นตัวผลักดันการนำ AI เข้ามาใช้มีเรื่องของความต้องการเพิ่มความเป็นอัตโนมัติในกระบวนการทำงาน (51%) และปรับปรุงความสามารถในการผลิต (42%)

อินโดนีเซียเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของภูมิภาคในการนำ AI เข้ามาใช้ถึง 24.6% ขององค์กรทั้งหมดในประเทศ ตามด้วยอันดับสองคือประเทศไทย (17.1%) สิงคโปร์ (9.9%) และมาเลเซีย (8.1%) ประเภทการใช้งานในระดับต้นๆ ในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ใช้สร้าง Algorithm ในการคาดการณ์ตลาด (17%) และการบริหารจัดการสินทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นอัตโนมัติ (11%)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการนำ AI เข้ามาใช้จะสูงขึ้น แต่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน แต่ก็ยังตามหลังในภูมิภาคเอเชียเหนือ ในเรื่องของการกำหนดให้ AI เป็นวาระหลักในแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Agenda) ของตน อย่างเช่น มีบริษัทมากกว่า 80% ในประเทศจีนและเกาหลีใต้เชื่อว่าการที่ตนมีความสามารถในเชิง AI จะเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ (Critical) ต่อการประสบความสำเร็จและการมีความสามารถเชิงแข่งขันในอนาคตอันใกล้ เปรียบเทียบกับบริษัทที่เชื่อในเรื่องนี้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียมีไม่ถึง 40%

หันมาดูประเทศของเรา แม้จะอยู่ในอันดับ 2 ของอาเซียน แต่จากการสำรวจพบว่า องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยตอบแบบสำรวจเป็นเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูงอันดับแรกเลยว่าการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เป็นอุปสรรคที่สำคัญมากๆ ประกอบกับมีองค์กรส่วนใหญ่ในบ้านเรา เห็นว่าความสามารถของ AI เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการอยู่รอดในเชิงการแข่งขันขององค์กรของตนในอนาคต

 

ขอบคุณบทความดีๆ จากนิตยสาร  CAT MAGAZINE

Banner-CATMAG53

 

You may have missed