04/24/2024

Month: June 2018

Leap Solutions Asia คว้า 3 ใบรับรองมาตรฐานจาก SAP การันตีคุณภาพ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า

Leap Solutions Asia ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชั้นนำในประเทศไทยและ ระดับภูมิภาคผ่านการรับรองมาตรฐาน “SAP Outsourcing Operations Partner” โดยสำนักงานใหญ่บริษัท SAP ในประเทศเยอรมัน 3 ใบรับรองด้วยกัน ประกอบด้วย SAP Certified in Cloud Operations:ใบรับรองมาตรฐานความสามารถที่จะดูแลระบบโครงสร้างและบริการของกลุ่มผลิตภัณฑ์ SAP ในลักษณะแบบออนดีมานด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ SAP Certified in Hosting Services:ใบรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวกับทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญที่สามารถดูแลและให้บริการระบบของ SAP ให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ SAP Certified in SAP HANA Operations:ใบรับรองมาตรฐานเกี่ยวกับพาร์ทเนอร์มีความสามารถในการปฏิบัติงานกับโซลูชั่นต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ SAP HANA ได้ตามคุณภาพมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Pic1
คุณอดิศักดิ์ จาบทะเล Operation Director, Leap Solutions Asia

โดยเอกสารการรับรองทั้ง 3 ใบเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจองค์กรที่ใช้บริการ SAP บนคลาวด์หรือการรับบริการ Outsource ของ Leap Solutions Asia ว่าบริษัทได้ผ่านการรับรองการให้บริการมาตรฐานระดับสากล ตอบโจทย์การใช้งานระบบ ERP ช่วยให้การวางแผนงานและการดำเนินธุรกิจของลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น

การออกใบรับรองมาตรฐานระดับสากล ทางบริษัท SAP ได้ส่งทีมงานเพื่อตรวจสอบประเมินการทำงานและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ประกอบด้วย

  •     การประเมินศูนย์ข้อมูล (Data Center) ระบบ SAP บนคลาวด์ของ Leap Solutions Asia ทำงานบนศูนย์ข้อมูลของบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด ที่ได้รับมาตรฐาน SAP Certified Provider of Infrastructure Operations ซึ่งทาง SAP ประเมินศูนย์ข้อมูลของทางบริษัทฯโดยพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถของศูนย์ข้อมูลที่พร้อมรองรับระบบ SAP เพื่อให้บริการแก่ธุรกิจองค์กรศูนย์ข้อมูลต้องได้รับมาตรฐานตามข้อกำหนดของ SAP มีระบบในการตรวจสอบการเข้าถึงของศูนย์ข้อมูลและความปลอดภัย เป็นต้น
  •       การประเมินบุคลากร (People) SAP จะประเมินบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญโซลูชั่น SAP ที่ให้บริการ โดยบุคลากรทั้งวิศวกรด้านระบบและผู้ดูแลระบบของทาง Leap Solutions Asia ต้องได้รับใบรับรองมาตรฐานของ SAP ตามจำนวนและข้อกำหนด เพื่อที่ให้มั่นใจว่าบุคลากรที่จะคอยให้บริการและให้คำปรึกษานั้นมีความรู้ความสามารถในการให้บริการโซลูชั่นของ SAP อย่างแท้จริง
  •     การประเมินกระบวนการทำงาน (Process) SAP ใช้กระบวนการตามมาตรฐาน ISO 27001 (Information Security Management System) และ ISO 20000 (Services Management System) เป็นมาตรฐานในการประเมินและตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลทั้งหมดได้รับการเก็บรักษาและดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มข้น ประกอบกับทุกๆขั้นตอนในการให้บริการถูกดำเนินการตามมาตรฐานที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆที่จะกระทบกับระบบ SAP ของธุรกิจองค์กร

Pic2

คุณอดิศักดิ์ จาบทะเล Operation Director กล่าวว่าปัจจุบันการให้บริการ Cloud ถือเป็นเรื่องที่ธุรกิจองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศเริ่มให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการให้บริการระบบ SAP ซึ่งถือว่าเป็นระบบ IT ขนาดใหญ่ ในส่วนของบริษัท Leap Solutions Asia ได้ให้บริการระบบ SAP บนคลาวด์รวมถึงดูแลระบบ SAP ตั้งแต่ระดับData Center จนถึงระบบ SAP Basis Managed Services ยาวนานต่อเนื่องมากกว่า 15 ปี ทำให้มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญความสามารถในการให้บริการ แก้ไขปัญหาและดำเนินการเกี่ยวกับโซลูชั่น SAP ต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดีและมีคุณภาพ

อีกทั้งการที่บริษัทได้รับใบรับรองมาตรฐานสากลทั้ง 3ใบเป็นการตอกย้ำและรับประกันความสามารถในการให้บริการโซลูชั่นจาก SAP อย่างแท้จริง รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อลูกค้าว่าเราจะให้บริการโซลูชั่นที่ยอดเยี่ยมด้วยแนวคิดที่ว่า “เราดูแลระบบ SAP ของลูกค้าเสมือนดูแลระบบ SAP ของเราที่ต้องดูแลให้ดีที่สุดสมกับที่ลูกค้าได้ไว้วางใจนำระบบมาให้พวกเราดูแล”

Scan4You บริการให้อาญชากรไซเบอร์เข้ามาทดสอบประสิทธิภาพของมัลแวร์ถูกจับกุมแล้ว

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เทรนด์ไมโคร ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ FBI ในการค้นหา จับกุม และนำตัวผู้กระทำผิดเข้ารับการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับบริการต่อต้านแอนติไวรัสหรือ Counter Antivirus (CAV) ชื่อ Scan4You ซึ่งผลการตัดสินเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พบว่าผู้ต้องหา นาย Ruslans Bondars กระทำผิดจริง ขณะที่นาย Jurijs Martisevs ยอมรับสารภาพ การเข้าจับกุมและการตัดสินโทษครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จร่วมกันระหว่างทีมนักวิจัยจากเทรนด์ไมโครและ FBI

Scan4You นี้เปิดให้อาชญากรไซเบอร์เข้ามาทดสอบการตรวจจับมัลแวร์ของตัวเอง จากเอนจิ้นแอนตี้ไวรัสล่าสุดในท้องตลาดกว่า 30 แบบ เพื่อพัฒนามัลแวร์ให้หลบการตรวจจับได้มากที่สุด

เทรนด์ไมโครได้เริ่มสืบหาต้นตอตั้งแต่ปี 2555 โดยร่วมมือกับ FBI อย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสามารถปิดเว็บดังกล่าวพร้อมทั้งเข้าจับกุมผู้ต้องสงสัยสองรายที่เป็นแอดมินดูแลได้เมื่อพฤษภาคม 2560

“ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีความปลอดภัย และการเป็นส่วนหนึ่งของประชากรโลกที่เฝ้าต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา เราจึงภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก” Ed Cabrera ประธานฝ่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเทรนด์ไมโครกล่าว “ในกรณีนี้ ทั้งเครือข่ายอัจฉริยะที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากทั่วโลกของเรา ร่วมกับทีมนักวิจัยของเทรนด์ไมโครได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งต่อ FBI ในการเข้าจับกุมบริการเถื่อนอย่าง CAV นี้โดยถือเป็นการปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ ที่ช่วยลดศักยภาพของอาชญากรจำนวนนับไม่ถ้วน ทั้งยังได้แสดงตัวอย่างผลของการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ให้เกรงกลัวมากขึ้นด้วยทั้งนี้ เทรนด์ไมโครยังคงมุ่งมั่นที่จะเคียงบ่าเคียงไหล่กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสร้างความปลอดภัยในโลกแห่งการเชื่อมต่อนี้”

นอกจากครั้งนี้แล้ว เทรนด์ไมโครยังมีโอกาสได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ทั่วโลกจนประสบความสำเร็จมาหลายครั้ง โดยข้อมูลจากการสืบสวนของเราได้ช่วยสนับสนุนการสืบสวนของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายกว่า 20 คดีแล้วทั่วโลก โดยเฉพาะการช่วยเหลือตำรวจสากล, ตำรวจสหภาพยุโรป, และหน่วยปราบปรามอาชญากรรมแห่งชาติของอังกฤษหรือ NCA

และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผลจากการประสานงานร่วมกับ NCA เป็นเวลาหลายปี ได้นำไปสู่ความสำเร็จในการเข้าจับกุมผู้อยู่เบื้องหลังบริการ CAV ที่ชื่อกระฉ่อนไปทั่วโลกอย่าง reFUD.me ด้วย

นวัตกรรมวงการสิ่งทอยุคดิจิทัลย้อมสีด้ายระหว่างการปัก

ริโก้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีงานพิมพ์ ได้ร่วมมือกับบริษัทพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีจากสวีเดน คัลเลอร์รีลล์ (Coloreel) เพื่อสร้างเครื่องย้อมสีด้ายที่ถือเป็นการพลิกโฉมอุตสาหกรรมสิ่งทอครั้งสำคัญ

RICOH with Coloreel

การเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะเปิดทางให้ธุรกิจทั้งด้านสิ่งทอ, แฟชั่น, และชุดนักกีฬาสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วยการย้อมสีคุณภาพสูงบนด้ายขณะที่ทอผ้าไปพร้อมกัน ด้วยฟีเจอร์การทำสีบนด้ายสีขาวระหว่างการปักลายนี้ ทำให้ผู้ใช้ออกแบบลายปักผ้าที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของตัวเองได้อย่างอิสระโดยไม่ถูกจำกัดด้วยจำนวนสีด้ายที่มี นั่นหมายความว่า การเพิ่มสีสันได้ดั่งใจทำให้ผู้ผลิตสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นได้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาจุดแข็งที่แตกต่างในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเครื่องย้อมสีด้ายเครื่องแรกที่ใช้เทคโนโลยีใหม่นี้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องเย็บปักผ้าอุตสาหกรรมที่มีในตลาดได้ทุกรุ่น โดยมีกำหนดเริ่มผลิตจริงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปีนี้

ความร่วมมือนี้เป็นผลมาจากการประสานงานอย่างต่อเนื่องระดับนานาชาติ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญจาก ริโก้ ในญี่ปุ่นและอังกฤษ กับวิศวกรของ คัลเลอร์รีลล์ ในสวีเดน ซึ่ง ริโก้ เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาระบบหลักในเครื่องโดยใช้เทคโนโลยีงานพิมพ์อิงก์เจ็ทชั้นสูงของบริษัท เพื่อยกระดับเทคโนโลยีการย้อมสีของ คัลเลอร์รีลล์

ปีเตอร์ วิลเลียม ผู้จัดการทั่วไปกลุ่มธุรกิจงานพิมพ์อุตสาหกรรมของริโก้ กล่าวว่า “การร่วมมือกับ คัลเลอร์รีลล์แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราในการผลักดันตัวเองออกนอกกรอบอยู่ตลอดเวลา และแสดงถึงเจตนาอย่างแรงกล้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และความพยายามที่จะขึ้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฏิรูปเชิงดิจิทัลในวงการสิ่งทอผ่านเทคโนโลยีอันทันสมัยของริโก้

มัทเทียส นอร์ดิน ซีอีโอของ คัลเลอร์รีลล์กล่าวเสริมว่า “เรายังตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่บริษัทระดับโลกอย่างเช่น ริโก้ ที่มีทั้งชื่อเสียงและความยิ่งใหญ่ ตัดสินใจเลือกเป็นลูกค้าทางธุรกิจกับเรา ซึ่งความร่วมมือกับ ริโก้ ได้ยกระดับความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก และเรารู้สึกดีใจมากที่จะเห็นผลลัพธ์จากความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในครั้งนี้”

เท็ตสึยะ โมริตะ ผู้จัดการทั่วไปส่วนงานพัฒนาด้านงานพิมพ์อุตสาหกรรมและเชิงการค้าของ ริโก้ กล่าวว่า “ความร่วมมือนี้เป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราทุกคน โดยเราเล็งเห็นศักยภาพสูงมากจากผลิตภัณฑ์ใหม่และวงการสิ่งทอ ซึ่ง ริโก้ เชื่อมั่นทั้งตัวองค์กร และเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์ของ คัลเลอร์รีลล์”

ประโยชน์ที่ธุรกิจได้รับจากบล็อกเชน

บล็อกเชน (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีที่ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรับรองความถูกต้องให้กับบิตคอยน์ (Bitcoin) ระบบสกุลเงินที่สร้างปรากฏการณ์ให้กับอุตสาหกรรมการเงินอย่างมากเมื่อปี 2008 (พ.ศ. 2551) แกนหลักของเทคโนโลยีนี้คือการกำจัดระบบควบคุมแบบเบ็ดเสร็จจากส่วนกลางด้วยการนำเสนอเครือข่ายแบบกระจายที่มีข้อกำหนดและกฎระเบียบในแบบฉบับของตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึงด้วย จริงๆ แล้วสองสิ่งนี้ไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่ากัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำสิ่งไหนไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า

shutterstock_793377625-2

บล็อกเชนคืออะไร

BitcoinBlockchain เป็นบัญชีแยกประเภทระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความปลอดภัย โดยเชื่อมต่อกับหลายภาคส่วนบนเครือข่ายที่มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายโอนสินทรัพย์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดังกล่าวด้วย โดยเบื้องต้นแล้ว เทคโนโลยีนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือของบิตคอยน์ในการรับรองความถูกต้องของสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ในโลกการเงินจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเงินระดับโลกเมื่อปี พ.ศ. 2551

ทุกธุรกรรมในระบบดิจิทัลจะได้รับการเก็บบันทึกอย่างปลอดภัยในห่วงโซ่ (เชน) ที่เชื่อมต่อกันด้วยคีย์ดิจิทัลที่มีการเข้ารหัสไว้สำหรับใช้แสดงความถูกต้องเมื่อได้รับการตรวจสอบจากเครือข่าย การสร้างสำเนา การแก้ไข หรือการลบธุรกรรมจะได้รับการป้องกันโดยเชนซึ่งมีอยู่ในคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนบนเครือข่าย ยิ่งบล็อกเชนยาวมากเท่าไรและเครือข่ายกว้างไกลมากเพียงใด คีย์ดิจิทัลก็ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นบล็อกเชนจึงมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นไปอีก

แพลตฟอร์มการค้าขายแลกเปลี่ยนแบบใหม่

โดยปกติแล้วรูปแบบของการค้าขายแลกเปลี่ยนจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างกันอย่างน้อยสองคนขึ้นไป (ยกเว้นการแลกเปลี่ยนแบบใช้สินค้าแลกกัน) และมักจะต้องมีคนกลางในการทำให้ข้อตกลงบรรลุผล ตลอดจนช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการซื้อขายโดยแลกกับค่าตอบแทนในการทำหน้าที่คนกลางดังกล่าว (ซึ่งค่าตอบแทนดังกล่าวมีมูลค่ามากถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2014 จากข้อมูลของนักเศรษฐศาสตร์) บล็อกเชนได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบค้าขายดังกล่าวด้วยการนำแต่ละคนหรือกลุ่มต่างๆ มารวมเข้าด้วยกันบนเครือข่ายที่เชื่อถือได้และไม่มีบุคคลที่สามเป็นตัวกลาง ทั้งยังสามารถบันทึกการทำธุรกรรมแต่ละรายการได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

ข้อดีทางธุรกิจ

การใช้ระบบค้าขายแลกเปลี่ยนแบบใหม่นี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นไปที่ความสามารถอย่างน้อย 1 ใน 6 อย่าง ดังนี้

ประสิทธิภาพ

การทำธุรกรรมระหว่างบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องสามารถเสร็จสมบูรณ์ได้โดยตรงและไม่ต้องมีคนกลาง ทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล จึงทำให้การดำเนินธุรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้ ‘สัญญาอัจฉริยะ’ (Smart Contract) เพื่อผลักดันให้การดำเนินการด้านการค้าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสัญญาดังกล่าว แนวทางนี้ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงานได้อย่างมาก อีกทั้งยังช่วยกำจัดเวลาและต้นทุนในการทำธุรกรรมด้วย

ความพร้อมที่จะให้ตรวจสอบบัญชี

เนื่องจากธุรกรรมแต่ละรายการได้รับการเก็บบันทึกอย่างต่อเนื่องและไม่มีกำหนด ดังนั้นจึงสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ตลอดทั้งวงจรชีวิตของสินทรัพย์ สิ่งนี้จะยิ่งมีความสำคัญอย่างมากหากข้อมูลต้นฉบับเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของสินทรัพย์ และข้อดีดังกล่าวนี้ได้รับการยืนยันแล้วจากบริษัท Everledger ในการติดตามตรวจสอบ สามารถอ่านย้อนหลังได้จากนิตยสาร

ความสามารถด้านการติดตาม

การติดตามสินค้าในซัพพลายเชนจะได้รับประโยชน์หากต้องการติดตามตรวจสอบว่าตอนนี้ชิ้นส่วนต่างๆ อยู่ที่ใดบ้าง โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนดังกล่าวจะถูกส่งไปแล้วหรือได้รับจากเจ้าของใหม่เพื่อดำเนินการในด้านอื่นๆ ต่อไป

ความโปร่งใส

ในบางครั้งการขาดความโปร่งใสทางการค้าอาจนำไปสู่ความล่าช้าในการดำเนินธุรกิจและสามารถทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ซึ่งการให้รายละเอียดของการทำธุรกรรมอย่างชัดเจนจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับกระบวนการค้าขาย ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้มั่นคงยิ่งขึ้นตามระดับความโปร่งใสที่มีอยู่ด้วย

ความปลอดภัย

ธุรกรรมแต่ละรายการจะได้รับการตรวจสอบภายในเครือข่ายโดยใช้การเข้ารหัสลับที่ซับซ้อนและได้รับการตรวจสอบอย่างอิสระ ดังนั้นจึงสามารถมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลได้ และข้อมูลที่น่าเชื่อถือดังกล่าวเป็นหนึ่งในพื้นฐานสำคัญของการใช้ประโยชน์จากแนวทาง Internet of Things: IoT ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานเชื่อมโยงสินทรัพย์ที่ใช้งานอยู่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่มีการควบคุมในระบบปิด แนวทางนี้กำลังได้รับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมด้านกลาโหมสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งและการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา

ความเห็น

ด้วยความสามารถในการติดตามสินทรัพย์ครอบคลุมทั้งวงจรชีวิตผู้ออกแบบและผู้ผลิตสินทรัพย์จึงสามารถปรับรูปแบบการบริหารจัดการสินทรัพย์ตลอดวงจรชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลในด้านต่างๆ ไมว่าจะเป็นการจัดส่ง การติดตั้ง การบำรุงรักษา และการรื้อถอน

ที่มา : นิตยสาร CAT MAGAZINE ฉบับที่ 48 เดือนกรกฏาคม-กันยายน 2017

Banner CAT MAG-51 300x300 Pixels

ผู้ให้บริการสื่อสารรวมพลังในปฏิบัติการช่วยเหลือ 13 ผู้ประสบภัยติดถ้ำหลวง

ปฏิบัติภารกิจในการค้นหานักฟุตบอลและโค้ชจำนวน 13 คนที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์อันเป็นเครื่องพิสูจน์ความร่วมมือร่วมใจของคนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะหน่วยงานทุกภาคส่วนได้นำบุคคลากรและเครื่องมือต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่เข้าพื้นที่ เพื่อร่วมมือกันช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง

31501

โดยที่ผ่านมา บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ร่วมกับ สำนักงาน กสทช. พร้อมผู้ให้บริการอีก 4 ราย ได้แก่ ดีแทค เอไอเอส ทรู และทีโอที ประจำในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. แล้ว ซึ่งในขณะนี้ได้เข้าไปแก้ไขให้บริเวณจุดเกิดเหตุทั้งหมดมีสัญญาณติดต่อ ด้วยการหันเสาสัญญาณไปทางปากถ้ำและขยายช่องสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้สามารถรับโทรศัพท์ได้เร็วและกว้างขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่บริเวณปากถ้ำและบริเวณพื้นที่โดยรอบได้อย่างสะดวก พร้อมกันนี้ยังได้ตั้งศูนย์อำนวยการบริเวณปากถ้ำและการสนับสนุนจัดหาอุปกรณ์วิทยุสื่อสาร และรถถ่ายทอดสัญญาณวิทยุสื่อสารพร้อมอุปกรณ์ (Mobile Unit)

ซึ่งเอไอเอสได้ดำเนินการเสริมกำลังเครือข่ายสื่อสารอย่างเต็มที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารให้แก่ทีมช่วยเหลือในการค้นหา พร้อมระดมทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายประจำพื้นที่เพื่อดูแลสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น การส่งรถสถานีฐานเคลื่อนที่ พร้อมทีมวิศวกรเดินทางถึงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเรียบร้อยแล้ว พร้อมเสริมเครือข่ายให้ระบบสื่อสารในบริเวณดังกล่าวเป็นไปอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น ปรับจูนสัญญาณจากสถานีฐานใกล้เคียงด้วยการหันจานสายอากาศ ไปยังบริเวณถ้ำหลวง และดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ (repeater) เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งาน ลากสายออพติกอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของเอไอเอสไฟเบอร์ ที่เชียงราย เข้าไปที่พื้นที่เพื่อเปิดสัญญาน AIS WiFi ช่วยรองรับการใช้งานดาต้าและการสื่อสารด้วย

AIS00

เช่นเดียวกับ CAT ได้ดำเนินการวางสายเคเบิลทองแดง (Drop Wire)  เป็นระยะทางรวมประมาณ 2.3 กิโลเมตรเข้าไปในถ้ำแล้วเสร็จ   เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้ประสานงานโทรศัพท์ติดต่อระหว่างภายในและนอกถ้ำตามที่ได้รับแจ้งขอความร่วมมือ  เนื่องจากการสื่อสารระบบอื่นไม่สามารถใช้ในการติดต่อเข้าไปภายในถ้ำได้ ขณะเดียวกัน CAT ยังได้ดำเนินการวางสายไฟเบอร์ออปติกและจะติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตไวไฟแก่เจ้าหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารกันได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย  โดยระยะในการวางสายของ CAT เป็นเส้นทางที่สั้นและดำเนินการเข้าถึงพื้นที่ได้เร็วที่สุดในขณะนี้  คือประมาณ 1.6 กิโลเมตร

31354

และล่าสุดล่าสุดเพื่อเสริมประสิทธิภาพการติดต่อประสานงาน ทีมงาน CAT ได้เชื่อมสาย fiber optic เพื่อนำอินเทอร์เน็ตเข้าไปใช้งานในถ้ำ ให้ได้ระยะทางสูงสุด 4,000  เมตร

31505

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่รัสเซีย

รายงานวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป ชี้ว่าจุดบริการเน็ตเวิร์ก Wi-Fi จำนวน 7,176 จุด ตามเมืองแข่งขัน FIFA World Cup 2018 จากประมาณ 32,000 จุด ไม่ใช้การเข้ารหัสข้อมูลสื่อสาร แฟนฟุตบอลทั้งหลายตามเมืองเหล่านั้นมีความเสี่ยง ควรมีมาตรการวิธีการป้องกันข้อมูลสำคัญส่วนตัวด้วยตนเอง โดยเฉพาะ เมื่อใดก็ตามที่ใช้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ตามเมืองต่างๆ ที่เป็นเจ้าภาพแข่งขัน FIFA World Cup

งานระดับโลกเช่นนี้มักเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนมากมายทั่วโลกต่างพากันต่อเชื่อมเน็ตเวิร์กกันอย่างหนาแน่นเพื่ออัพโหลดโพสต์ ติดต่อเพื่อนฝูง คนรัก แชร์ความตื่นเต้นบันเทิงกัน ทำให้เน็ตเวิร์กเหล่านี้ถูกใช้เป็นช่องทางในการโอนย้ายถ่ายเทเงิน รวมทั้งข้อมูลอันมีค่าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วย และข้อมูลเหล่านี้เองคือหมายที่มิจฉาชีพ หรือเธิร์ดปาร์ตี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นอาชญากรผู้ร้ายไซเบอร์เท่านั้น ใช้เป็นช่องทางเข้าแทรกแซงเพื่อดึงเอาข้อมูลมาใช้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง

การวิจัยของแคสเปอร์สกี้ แลป นั้นอยู่บนพื้นฐานการวิเคราะห์ Wi-Fi สาธารณะตามจุดต่างๆ ที่ติดตั้งอยู่ใน 11 หัวเมืองที่มีการแข่งขัน FIFA World Cup 2018 ได้แก่ เมือง Saransk, Samara, Nizhny Novgorod, Kazan, Volgograd, Moscow, Ekaterinburg, Sochi, Rostov, Kaliningrad, และ Saint Petersburg ผลการวิจัยพบว่าไม่ใช่ทุกจุดสัญญานต่อเชื่อมไร้สายที่จะใช้วิธีการเข้ารหัสและอัลกอริธึ่มสำหรับตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งเป็นรูปแบบวิธีการที่สำคัญต่อความปลอดภัยของเน็ตเวิร์ก Wi-Fi หมายความว่าแฮกเกอร์เพียงแต่หาทางมาอยู่ใกล้ๆ แอคเซสพอยต์เพื่อเข้าแทรกทราฟฟิกบนเน็ตเวิร์ก ก็สามารถที่จะโจรกรรมข้อมูลมีค่าจากยูสเซอร์ที่ไม่ได้เตรียมการป้องกันตัวไว้ได้แล้ว


ทั้งนี้ มีเมืองจำนวนสามเมืองที่มีอัตราความเสี่ยงของเน็ตเวิร์ก Wi-Fi สูงที่สุด ได้แก่ เมือง Saint Petersburg (37%), เมือง Kaliningrad (35%) และ เมือง Rostov (32%) ในทางตรงข้าม จุดที่ปลอดภัยที่สุดกลับเป็นเมืองเล็กๆ เช่น เมือง Saransk (เพียง 10% มีเป็นระบบเปิด) และ เมือง Samara (17% มีเป็นระบบเปิด) เน็ตเวิร์ก Wi-Fi สาธารณะจำนวนเกือบสองในสามในสถานที่เหล่านี้ใช้ Wi-Fi Protected Access (WPA/WPA2) protocol family สำหรับเข้ารหัสทราฟฟิก ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในโปรโตคอลที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับการใช้ Wi-Fi

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า แม้แต่เน็ตเวิร์ก WPA/WPA2 ที่ว่ากันว่าเสถียรก็ต้องเผชิญกับการโจมตีในลักษณะ brute-force (โจมตีคนที่ใช้พาสเวิร์ดง่ายๆ) และ dictionary attacks (สุ่มพาสเวิร์ดจากคำในพจนานุกรม) รวมทั้ง key reinstallation attacks (แฮกเกอร์ที่อยู่ในบริเวณครอบคลุมสัญญาณเดียวกันกับอุปกรณ์ของคุณ สามารถถอดรหัสและขโมยข้อมูล ไปจนถึงควบคุมทราฟิกข้อมูลของคุณได้ดังใจ) นั่นย่อมหมายถึงความไม่ปลอดภัย

เดนิส เลเกโซ นักวิจัยความปลอดภัยอาวุโส แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “เมื่อไม่มีการเข้ารหัสข้อมูลที่สื่อสาร ผนวกกับความเป็นที่นิยมในความสนใจของหมู่มวลสาธารณชนทั่วโลก อย่าง FIFA World Cup นี้ ทำให้เน็ตเวิร์กการสื่อสารไร้สาย Wi-Fi เป็นเป้าหมายของบรรดาผู้ร้ายอาชญากรไซเบอร์ที่มีความปราถนาจะล้วงเข้ามาลักข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของยูสเซอร์ ถึงแม้ว่าแอคเซสพอยต์กว่าสองในสามในหัวเมืองที่จัดแข่ง FIFA World Cup จะใช้การเข้ารหัสโดยใช้ Wi-Fi Protected Access (WPA/WPA2) protocol family ที่มีความปลอดภัยที่สุดก็ตาม แอคเซสพอยต์เหล่านี้ก็ถือว่ายังไม่ปลอดภัยเพียงพอ ถ้าหากไม่ได้มีวิธีการป้องกันพาสเวิร์ดให้พ้นจากผู้ร้าย งานวิจัยของเราชี้ว่า ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นมีความเกี่ยวโยงกับโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด มิใช่เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง การแข่งขัน FIFA World Cup 2018 เป็นตัวยืนยันว่างานยิ่งใหญ่ระดับโลกเช่นนี้โดยตัวของมันเองแล้วมีความปลอดภัย แต่ตามเมืองต่างๆ ที่ให้บริการ Wi-Fi Hotspot นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และไม่จำเป็นว่าจะมีความปลอดภัยในระดับเดียวกันไปด้วย”

หากท่านเดินทางไปชมการแข่งขัน FIFA World Cup 2018 ตามเมืองต่างๆ ในครั้งนี้ และอาจต้องใช้ Wi-Fi เน็ตเวิร์กสาธารณะ ควรปฏิบัติตามกฎง่ายๆ ในการป้องกันข้อมูลอันมีค่าส่วนตัว ขณะร่วมลุ้นร่วมเชียร์ทีมโปรดในเมืองนั้นๆ ดังนี้

– เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ ให้เชื่อมต่อโดยใช้ Virtual Private Network (VPN) ซึ่งข้อมูลที่เข้ารหัสของคุณจะสื่อสารผ่านเส้นทางที่ได้รับการป้องกัน หมายความว่าผู้ร้ายไซเบอร์จะไม่สามารถอ่านข้อมูลของคุณได้ ถึงแม้ว่าจะไปแอบขโมยแอคเซสของคุณมาได้ก็ตาม เช่น โซลูชั่น สำหรับ VPN อย่าง Kaspersky Secure Connection สามารถสวิตช์ออนได้อัตโนมัติเมื่อใดก็ตามที่การเชื่อมต่อการต่อเชื่อมไม่ปลอดภัย เป็นต้น
– อย่าไว้วางใจเน็ตเวิร์กที่ไม่ต้องใช้พาสเวิร์ดเพื่อเข้าใช้งาน หรือพาสเวิร์ดที่เดาง่าย หรือหาพบได้ง่าย

– แม้ว่าเน็ตเวิร์กบางอันจะใช้พาสเวิร์ดที่แข็งแกร่ง ก็ยังต้องระมัดระวังอยู่ดี ผู้ร้ายไซเบอร์สามารถหาพาสเวิร์ดเข้าเน็ตเวิร์กตามร้านกาแฟได้ง่ายๆ จากนั้นก็เพียงแต่สร้างการเชื่อมต่อหลอกๆ ที่ตั้งให้ใช้พาสเวิร์ดเดียวกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณไปได้ง่ายๆ แล้ว ควรไว้วางใจเฉพาะเน็ตเวิร์กที่มีชื่อและพาสเวิร์ดที่ได้รับมาโดยตรงจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของสถานที่นั้นๆ เท่านั้น

– เพื่อให้การป้องกันเป็นไปอย่างแข็งแกร่งสูงสุด ให้ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi ทุกครั้งที่คุณไม่ได้ใช้งานแล้ว ซึ่งประหยัดแบตเตอรี่ไปในตัว และขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ควรที่จะยกเลิกคำสั่งให้เชื่อมต่อเน็ตเวิร์ก Wi-Fi แบบอัตโนมัติไปเสียด้วยจะดีกว่า

– ถ้าหากคุณไม่มั่นใจถึง 100% ว่าเน็ตเวิร์กไร้สายที่คุณใช้งานมีความปลอดภัยเพียงพอ แต่ยังจำเป็นต้องใช้งานต่อเข้าอินเทอร์เน็ต คุณก็ควรพยายามจำกัดกิจกรรมบนเน็ตให้เป็นเพียงแบบพื้นฐานทั่วไปเท่านั้น เช่น ใช้เพื่อค้นหาข้อมูล คุณไม่ควรทำกิจกรรมออนไลน์ใดๆ ที่ต้องล็อกอินใส่พาสเวิร์ด เช่น โซเชียลเน็ตเวิร์ก หรืออีเมล และแน่นอนว่าอย่าได้ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ หรือใส่รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคารเลย หลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ หรือการเปิดโอกาสให้ข้อมลส่วนตัว ข้อมูลสำคัญ หรือพาสเวิร์ดถูกขโมยแล้วนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด

– หลีกเลี่ยงการตกเป็นเป้าของเหล่าอาชญากรมิจฉาชีพไซเบอร์ คุณควรเปิดอ็อพชั่น “always use a secure connection” (HTTPS) ในการตั้งค่าในเครื่องสื่อสารที่คุณใช้งาน ซึ่งเป็นอ็อพชั่นซึ่งแนะนำให้เปิดใช้งานเมื่อใดก็ตามที่เข้าเว็บไซต์ใดๆ ก็ตามที่คุณคิดว่าอาจจะมีความปลอดภัยไม่เพียงพอเท่าที่ควร

Smart Office Solution โซลูชั่นสำนักงานอัจฉริยะ สำหรับธุรกิจยุคดิจิทัล

ทุกองค์กรต้องการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ แต่บางครั้งต้องมาปวดหัวกับ ปัญหาเดิมๆของมนุษย์ออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็น

-จองห้องประชุม แสนลำบาก ใครจองใช้ห้องบ้างก็ไม่รู้

– จะปรับแสงในห้องประชุมที ต้องลุกไปลุกมา ปิดไฟ ปิดม่าน เพื่อให้ได้บรรยากาศตามต้องการ

d000

-อยากเปลี่ยนบรรยากาศนั่ง ทำงานที่อื่นก็ไม่ได้ เดี๋ยวคนโทรไปที่โต๊ะไม่เจอ

-พื้นที่สำนักงานในเมืองราคาแพง ต้องบริหารการใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า

d002

-ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอแลกบัตรทีเดียวไปได้ทุกชั้น

-กล้องวงจรปิดทำได้แค่ตามหาผู้กระทำผิดเมื่อเกิดความเสียหายแล้วเท่านั้น

d003

จะดีกว่า ไหมที่เราจะมีโซลูชั่น ที่เปลี่ยนออฟฟิศแบบเดิมๆให้กลายเป็น Smart Office ที่ แสนสะดวกสบายเพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีทันสมัย บรรยากาศน่าทำงานสามารถ ย้ายไปนั่งทำงานที่จุดใดของออฟฟิศก็ได้โดยไม่ขาดการติดต่อสื่อสาร

ระบบห้องประชุมอัจฉริยะ

ด้วยระบบห้องประชุมยุคใหม่พนักงานสามารถจองหรือเช็คตารางการใช้ห้องได้จาก จอแสดงผลหน้าห้อง หรือใช้ application เพื่อการจองห้องประชุมผ่านอุปกรณ์โมบาย

d005

ภายในห้องยังมีระบบควบคุม แสงสว่าง การเปิดปิดม่านปรับแสง ควบคุม อุณหภูมิ และระบบระบายอากาศ ช่วยให้การประชุมดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปรับแต่ง ดังกล่าวสามารถบันทึกเป็นธีมบรรยากาศห้องแต่ละแบบ ซึ่ง สามารถเลือกใช้ ได้อย่างรวดเร็ว

d006

นั่งทำงานที่ไหนก็ได้

โซลูชั่นสำหรับออฟฟิศยุคดิจิทัลช่วยสร้างอิสระให้กับการทำงาน ออฟฟิศสามารถเตรียมพื้นที่ส่วนกลาง เช่น Co-Working Space, Business Center หรือThink Pod  เพื่อให้พนักงานเปลี่ยนบรรยากาศการทำงาน โซลูชั่น นี้ยังมีระบบปลั๊กไฟอัจฉริยะที่ สามารถปิดเปิดได้ตามการขอใช้พื้นที่ รวมถึงมีระบบโทรศัพท์ IP Phone ที่สามารถ กำหนดเบอร์ต่อ ภายในตามพื้นที่ ที่พนักงานคนนั้นนั่งทำงานอยู่

d008

ด้วยฟังก์ชั่น Space Occupancy ระบบจะสามารถตรวจสอบการใช้พื้นที่ จากคลื่นความร้อนที่แพร่ออกมาจากตัวพนักงาน และแสดงพื้นที่ว่างบนหน้าจอให้พนักงานคนอื่นทราบอัตโนมัติระบบนี้ยังสามารถเก็บสถิติการใช้พื้นที่ หากพื้นที่ไหนคนไม่นิยมใช้ก็สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์อื่นได้ตามความเหมาะสม

d009

ลูกค้าสามารถขอรหัส WiFi ได้ด้วยตัวเอง

สำหรับลูกค้าที่มาประชุม หรือติดต่องาน สามารถขอใช้ Wi-Fi ได้ด้วยตัวเอง ด้วยการใช้ บัตรผ่านเข้าออกแตะที่อุปกรณ์ Access Control เพื่อขอรหัสใช้ Wi-Fi  ไม่ต้องกวนฝ่ายไอที

d010

ระบบควบคุมการเข้าอาคารอัจฉริยะ

ผ่านระบบ Web Check In บนอินเทอร์เน็ต โดยระบบจะ สร้างสิทธิเพื่อให้สามารถเข้าอาคารได้เฉพาะในพื้นที่และช่วงเวลาที่ ระบุไว้แล้วค่อยไปรับบัตรผ่านหน้าเคาเตอร์

หากผู้มาติดต่อ อยู่ในพื้นที่เกินกำหนด หรือเข้าพื้นที่อื่นที่ไม่ได้ขอไว้ระบบ Visitor Tracking จะสามารถตรวจสอบตำแหน่ง จากบัตรผ่านจะแจ้งผู้เกี่ยวข้องได้ทันที

d012

ระบบกล้องวงจรปิดยุคใหม่

แล้วสวัสดิภาพและความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงทรัพย์สินขององค์กรและระบบ วงจรปิดยุค ใหม่ ไม่ใช่แค่กล้องสำหรับดูภาพเมื่อเกิดเหตุร้ายแล้วเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ ป้องกันและแจ้งเตือนเหตุการณ์น่าสงสัยต่างๆเช่น ตรวจจับวัตถุตุ ต้องสงสัย ที่วางอยู่ นานผิดสังเกต ตรวจจับการโจรกรรมหรือสับเปลี่ยนวัตถุ ตรวจจับบุคคลที่ เดิน ป้วนเปี้ยนอยู่ในพื้นที่ นานผิดสังเกต เพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

d013

นอกจากนี้ระบบกล้องวงจรปิดยุค ใหม่ยังเป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจด้วยไม่ว่า จะเป็น การนับจำนวนคน การตรวจจับ ความหนาแน่น ของบุคคลในพื้นที่ หรือระบบตรวจจับ ใบหน้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในธุรกิจค้าปลีก การทำโฆษณา หรือในระบบขนส่ง มวลชนเป็นต้น

d014

ด้วยโซลูชั่น Smart Office จาก DCS ไม่เพียงช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีเท่านั้น แต่ยังช่วยองค์กรประหยัดค่า ใช้จ่าย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า และดูแลความปลอดภัย สำหรับธุรกิจยุค ดิจิทัลได้อย่างสมบรูณ์แบบ

d017

CAT สนับสนุนเทคโนโลยี IoT อีกหนึ่งแรงเสริม เพื่อร่วมผลักดัน โรงเรียนนายร้อย จปร. ให้ก้าวสู่ Smart Academy

พลโท สิทธิพล ชินสำราญ ผู้บัญชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) ลงนามร่วมกับ พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการศึกษาและพัฒนาระบบโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก

บันทึกข้อตกลงการศึกษาและพัฒนาระบบโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร เกิดขึ้นจากเจตนารมณ์ของ จปร. และ CAT ที่ต้องการร่วมกันพัฒนา  IoT & Big Data Platform and Applications เพื่อพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Internet of Thing (IoT) ตั้งแต่การพัฒนาระบบโครงข่ายสื่อสัญญาณ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการศึกษา ด้วยการกำหนดแนวทางการวางแผนการดำเนินงานในการพัฒนาในลักษณะ Road Map รวมทั้งกำหนดรูปแบบของระบบโครงข่าย ระบบสื่อสัญญาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อรองรับการศึกษาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ยังจะมีการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นการต่อยอดและช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่บุคลากรได้นำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกทางหนึ่ง โดย CAT ให้การสนับสนุนระบบสื่อสารโทรคมนาคมและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระบบ Low Power Wide Area Network (LPWAN), เครือข่ายอินเทอร์เน็ต, Cloud Computing และบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ my เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมบนพื้นฐานเทคโนโลยี Internet of Things (IOT) ระหว่างสองหน่วยงาน

พลโท สิทธิพล ชินสำราญ ผู้บัญชาการ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า กล่าวว่า “โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการในด้านการเรียนการสอนและการวิจัยให้แก่ จปร. ซึ่งต่อจากนี้ทั้ง CAT และ จปร. จะได้ร่วมกันกำหนด Road Map ในการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้โดยมุ่งเน้นในการเรียนรู้และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้ในการค้นคิดนวัตกรรมและต่อยอดความรู้เพิ่มเติมให้กับบุคลากรทั้งอาจารย์และนักเรียนของโรงเรียน”

พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT กล่าวว่า “โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถือเป็นแหล่งผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการทหารที่สำคัญของประเทศ ซึ่งจากความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี และยังจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคณาจารย์ของ จปร. และบุคลากรของ CAT ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่มความหลากหลายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรงเรียนฯ จะสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจาก CAT ได้อย่างสะดวกและทั่วถึง ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมภารกิจของ รร.นายร้อย จปร.”

ความคืบหน้าเกี่ยวกับ 5G และการเติบโตของการขยายโครงข่าย Cellular IoT

ในรายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด มีการเปิดเผยความคืบหน้าเกี่ยวกับ 5G เชิงพาณิชย์ และการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

โดยอีริคสันคาดการณ์ว่าในปีนี้จำนวน Cellular IoT จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเดือนพฤศจิกายนปี 2560 และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องไปถึงจำนวน 3.5 พันล้านชิ้นภายในปี 2566 โดยปัจจัยสำคัญคือการที่ประเทศจีนได้การดำเนินการและวางแผนนำมาใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยการให้บริการ Massive IoT ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเทคโนโลยี NB-IoT และ Cat-M1 จะเป็นตัวผลักดันสำหรับการเติบโตนี้ สร้างโอกาสแก่ผู้ให้บริการในการพัฒนาประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายทั่วโลกได้ริเริ่มให้บริการธุรกิจ IoT ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ LTE (หรือ 4G) ไปแล้วกว่า 60 ตัวอย่าง โดยการนำ IoT ไปใช้งาน เช่น การจัดการระบบขนส่งและควบคุมขบวนยานพาหนะในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในขณะที่ประเทศจีนใช้ในการสร้างมหานครอัจฉริยะ (Smart City) และการเกษตร เป็นต้น

5G เชิงพาณิชย์พร้อมให้บริการภายในปีนี้

อีริคสันคาดการณ์ว่า 5G จะเริ่มต้นที่ภูมิภาคอเมริกาเหนือเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากผู้ให้บริการรายสำคัญในสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนนำ 5G มาใช้ตั้งแต่ปลายปี 2561 ถึงต้นปี 2562 โดยภายในปี 2566 คาดการณ์ว่าจะมีผู้สมัครใช้งาน 5G สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานทั้งหมดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ รองลงมาคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 34 เปอร์เซ็นต์ และภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์

อีริคสันคาดการณ์ว่าปี 2563 การใช้งาน 5G จะเริ่มมีความสำคัญเป็นอย่างมากทั่วโลก  และภายในปี 2566 จะมีผู้ใช้งานบนโครงข่าย 5G ถึงหนึ่งพันล้านราย เพื่อที่จะยกระดับการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เทียบเท่ากับ 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดจะอยู่บนโครงข่าย 5G

ในปี 2566 ปริมาณการใช้ข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า เป็นจำนวนถึง 107 เอ็กซะไบต์ (EB) ต่อเดือนหรือเทียบเท่ากับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดทั่วโลกดูวีดีโอสตรีมมิ่งพร้อมกันเป็นเวลา 10  ชั่วโมงติดต่อกัน นอกจากนี้ปริมาณการใช้ข้อมูลทั่วโลกผ่านเครือข่าย 5G จะมีมากถึงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าการใช้ 4G/3G/2G ในวันนี้รวมกันถึง 1.5 เท่า     

5G จะถูกนำมาใช้ในเขตเมืองมีความหนาแน่นของประชากรสูงก่อนเฉกเช่นเดียวกับ 2G, 3G และ 4G ทั้งนี้เนื่องจากต้องการสร้างบริการอินเตอร์ความเร็วสูงทั้งแบบเคลื่อนที่และประจำที่ยกระดับการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและ Fixed Wireless Access หลังจากนั้นก็จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค และสาธารณสุข เป็นต้น

เฟรดดริก เจดดริงค์ รองประธานบริหารและหัวหน้างานฝ่ายธุรกิจเครือข่าย กล่าวว่า ปี 2561 จะเป็นปีที่สำคัญที่จะมีการให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ รวมทั้งจะมีการนำ Cellular IoT มาใช้งานจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคประชาชนทั่วไปและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคโทรคมนาคมและและหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐร่วมมือกันในเรื่องของคลื่นความถี่ มาตรฐาน และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอุปกรณ์ที่สามารถรองรับเทคโนโลยี 5G รุ่นแรกจะพร้อมใช้งานตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2561 เป็นต้นไป โดยสมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่จะรองรับเทคโนโลยี 5G ในย่านความถี่ ช่วง 3.5 GHz จะเปิดตัวประมาณต้นปีหน้า ขณะที่สมาร์ทโฟนที่จะรองรับคลื่นความถี่ในย่านที่สูงขึ้นจะถูกเปิดตัวประมาณกลางปี 2562

อัพเดทสถานการณ์ในประเทศไทย

นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เทคโนโลยี LTE (หรือ 4G) จะเป็นเทคโนโลยีหลักที่สำคัญในประเทศไทยไปจนถึงปี 2566 โดยสัดส่วนปริมาณการใช้งานเทคโนโลยี LTE (หรือ 4G) และ 5G รวมกันจะอยู่ที่ประมาณ 76 เปอร์เซ็นต์ของการใช้งานทั้งหมดในประเทศไทย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งมีสัดส่วนการสมัครใช้งานของ LTE (หรือ 4G) อยู่เพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น”

นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราคาดการณ์ว่า 5G จะเกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างปี 2563 ถึง 2565 และมีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการ โดยในประเทศไทยเราประเมินว่าเทคโนโลยี 5G จะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการได้สูงขึ้นถึง 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ของรายได้ที่คาดการณ์ไว้ภายในปี 2569  โดยอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมด้านพลังงานและสาธารณูปโภค และความปลอดภัยด้านสาธารณะ จะเป็นภาคส่วนที่ผู้ให้บริการสามารถสร้างรายได้จาก 5G ได้มากที่สุด”

การสมัครใช้งานข้อมูล

จากผลสำรวจบ่งชี้ว่ารูปแบบการใช้งานข้อมูลแบบทั่วไปและการใช้งานแบบระยะยาวของแพ็คเกจใหญ่จะดึงดูดความสนใจและเพิ่มสัดส่วนการใช้งานของลูกค้าได้ดี อีริคสันได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจาก App Annie พบว่าช่วงระยะเวลาหนึ่งปี (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ถึงเมษายน 2561) สัดส่วนของผู้สมัครใช้งานแพ็คเกจสูงกว่า 5 กิกกะไบต์ (GB) ต่อเดือน เติบโตขึ้นถึง 46 ถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนคืออัตราการเติบโตของการใช้ข้อมูลของผู้บริโภค การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟน และแพ็คเกจข้อมูลที่น่าสนใจจากผู้ให้บริการ”

การใช้งานแอพพลิเคชั่น

การใช้ข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยการบริโภคข้อมูลประเภทวิดีโอและโซเซียลมีเดียเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ อีริคสันได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจาก App Annie พบว่าช่วงระยะเวลาหนึ่งปี (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ถึงเมษายน 2561) คนไทยใช้ Facebook ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ประมาณ 58 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผู้สมัครใช้งาน Instagram เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะเวลาหนึ่งปี

ห้องเรียนแห่งอนาคต โครงการนำร่องเพื่อเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนยุคดิจิทัล โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานมากกว่า 60 ปี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ผลิตทรัพยากรบุคคลเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากมองย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2501 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้นิสิตของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาฝึกหัดก่อนจะสำเร็จไปเป็นครู ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและแสวงหาเทคโนโลยีการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้งาน เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือให้นักเรียนได้รับความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนอย่างเต็มที่ รวมถึงมีความสุขกับการเรียนรู้ไปพร้อมกัน

เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเรียนการสอนในปัจจุบัน ที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล จึงเป็นที่มาของโครงการ “ห้องเรียนแห่งอนาคต” Pilot Project of Future Classroom’s Fujitsu Learning Project of Tomorrow ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม และบริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด โดยนำโซลูชั่นไอทีเพื่อการศึกษาอันทันสมัยจากประเทศญี่ปุ่น มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ เป็นแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ฟูจิตสึได้ให้การสนับสนุนทั้งทางด้านซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ อันได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เซิร์ฟเวอร์ ตลอดจนการฝึกอบรมครูผู้สอน เพื่อให้สามารถใช้งานระบบดังกล่าวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

“เรามองว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องสำคัญและเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเรียนการสอน นอกจากการเรียนรู้จากตำราเรียนแล้ว เทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ สิ่งทีฟูจิตสึให้การสนับสนุนแก่โรงเรียนเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความยืดหยุ่น สามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี” อาจารย์พรพรหม ชัยฉัตรพรสุข ผู้อำนวยการและรองคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โครงการนี้ได้สร้างมิติใหม่แห่งการเรียนการสอน เนื่องจากมีระบบที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบสองทาง เพื่อให้ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามต่างๆ ในห้องเรียนผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตได้ทันที สร้างบรรยากาศให้ครูและนักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น และทำให้ครูสามารถดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคลได้อย่างทั่วถึง”

โซลูชั่นที่ใช้งาน
ระบบที่ติดตั้งใช้งานนั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตฟูจิตสึสำหรับครูและนักเรียน ทำงานร่วมกับเซิร์ฟเวอร์ฟูจิตสึ ซึ่งติดตั้งโปรแกรม Learning Repository อันประกอบด้วย
• Fujitsu Opinion Sharing System เปรียบเสมือนกระดานดำอิเล็กทรอนิกส์ในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือซักถามข้อสงสัยต่างๆ สามารถวาดรูปผ่านปากกา Stylus ทำกราฟแสดงผล ทำแบบทดสอบ หรือตั้งคำถามที่สามารถวัดผลความเข้าใจของนักเรียนได้ทันทีในห้องเรียน หากนักเรียนคนไหนตอบไม่ถูกหรือไม่เข้าใจ ก็สามารถอธิบายเพิ่มเติมในคาบเรียนได้เลย ช่วยให้เกิดการเรียนการสอนแบบร่วมมืออย่างแท้จริง
• Learning Management System ระบบสนับสนุนบทเรียน เป็นซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น และถูกนำมาประยุกต์ใช้สนับสนุนบทเรียนสำหรับการสอนในระดับมัธยมศึกษา และยังพัฒนาปรับแต่งระบบสนับสนุนการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับใช้ในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม โดยเฉพาะ

โซลูชั่น
• ARROWS Tab Q555

• ARROWS Tab Q704/H

• ARROWS Tab Q584/H

• PRIMERGY TX120 S3 PC

• Chietama (Learning Repository)

Fujitsu Opinion Sharing System

Learning Management System

การนำไปใช้งาน
“ตลอดระยะเวลาของโครงการนำร่องนี้ อาจารย์หลายท่านของโรงเรียนได้มีการประยุกต์ใช้โซลูชั่นการเรียนแบบสองทาง และคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนในหลายวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ศิลปะ และพละศึกษา” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยศักดิ์ ชั่งใจ ที่ปรึกษาผู้อำนวยโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยมกล่าว “เนื่องจากระบบซอฟต์แวร์ของฟูจิตสึมีความยืดหยุ่นสูง เอื้อให้อาจารย์แต่ละท่านนำไปปรับใช้กับวิชาที่ตนเองสอนอยู่ได้อย่างหลากหลาย ถือเป็นการสอดรับกับแนวนโยบายของโรงเรียน ที่ต้องการให้นักเรียนสามารถใช้ความคิดได้อย่างอิสระ เช่นเดียวกับอาจารย์ก็ต้องมีอิสระในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาได้เช่นกัน”

ตัวอย่างของการนำไปใช้ในการเรียนการสอนจริงที่โรงเรียนได้เคยจัดกิจกรรมสาธิตการใช้งานแก่สื่อมวลชนได้แก่ การใช้ในวิชาศิลปะ โดยครูผู้สอนสามารถใช้ระบบ Learning Repository ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตประจำตัวของครูและนักเรียน ซึ่งนักเรียนจะได้รับการบ้านให้ฝึกวาดภาพโดยใช้โปรแกรมวาดภาพต่างๆ โดยใช้ปากกา Stylus วาดภาพบนหน้าจอของเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ระหว่างการเรียนการสอนครูสามารถมองเห็นการวาดภาพของนักเรียนทุกคนในห้องได้จากแท็บเล็ตของตัวเอง และสามารถเขียนคำแนะนำในการวาดภาพและส่งกลับให้นักเรียนได้ทันที ขณะที่นักเรียนก็มีความสนุกสนานในการวาดภาพ และนำคำแนะนำของครูไปปรับแก้ผลงานการวาดรูปของตัวเองได้เลยทันทีเช่นกัน

ประโยชน์ที่ได้รับ
“ผลตอบรับจากคณาจารย์และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า นักเรียนให้ความสนใจและกระตือรือร้นระหว่างการเรียนในชั้นเรียนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความสุขในการเรียนและสนใจเข้าร่วมชั้นเรียนมากยิ่งขึ้น” อาจารย์พรพรหมกล่าว “หลังจากนี้ เราจะนำอุปกรณ์และโปรแกรมทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ฟูจิตสึ ไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด”

การเกิดขึ้นของโครงการห้องเรียนแห่งอนาคต ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม และบริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด ช่วยสร้างสีสัน สร้างความสนุกให้กับการเรียนการสอน สร้างส่วนร่วมในการเรียนรู้ระหว่างการเรียนของนักเรียนได้มากขึ้น เช่นเดียวกับเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูดูแลเอาใจใส่นักเรียนแต่ละคนได้อย่างทั่วถึง ถือเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้แก่การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง

ผลลัพธ์
• นักเรียนมีความกระตือรือร้นระหว่างคาบเรียนมากขึ้น

• นักเรียนมีความสุขในการเรียนและสนใจเข้าร่วมชั้นเรียนมากขึ้น

• ครูสามารถดูแลเอาใจใส่นักเรียนได้อย่างทั่วถึง

บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด
อาคาร เอ็กเชน ทาวเวอร์ ชั้น 22-23 เลขที่ 388 ถนนสุขุมวิท
เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. + 66 (0) 2302 1500 แฟ็กซ์ + 66 (0) 2302 1555
http://th.fujitsu.com

You may have missed