04/26/2024

Month: November 2017

GIO Backup บริการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์ตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพและลดต้นทุน

  

000

นอกเหนือจากการขับเคลื่อนองค์กรด้วยระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์แบบและมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งแล้ว การสำรองข้อมูล ถือเป็นหัวใจหลักในการบริหารงานระบบไอทีของทุกองค์กรในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ระบบไอทีขององค์กรในปัจจุบันต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ อันตรายจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่หรือแรนซัมแวร์ ที่สามารถสร้างความเสียหายต่อข้อมูลขององค์กรได้อย่างคาดไม่ถึง นอกจากความสูญเสียในแง่มูลค่าของข้อมูลแล้ว ความเสียหายต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของธุรกิจนั้นไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้

ด้วยเหตุนี้ องค์กรจึงจำเป็นต้องมีระบบการสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถสำรองข้อมูลได้อย่างรวดเร็วไม่กระทบต่อการทำงานของระบบไอทีโดยรวม และสามารถเรียกคืนข้อมูลกลับมาได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหนึ่งในกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติทางด้านไอทีที่องค์กรในปัจจุบันควรปฏิบัติคือ การมีระบบสำรองข้อมูลภายนอกองค์กร (Off-Site Backup)

จุดเด่นของบริการคลาวด์จาก ลีพ โซลูชั่น เอเชีย (LEAP GIO Cloud)

  • ตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูลคุณภาพสูงของบริษัท ที.ซี.ซี. เทคโนโลยี จำกัด ให้บริการโดยทีมงานที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง
  • เกิดจากความร่วมมือกับ IIJ ผู้ให้บริการคลาวด์จากประเทศญี่ปุ่น ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบและพัฒนาบริการคลาวด์ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
  • ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC/20000-1:2011
  • ด้านระบบบริหารจัดการการให้บริการคลาวด์
  • ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013 ด้านระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศสำหรับบริการคลาวด์
  • รับประกัน SLA Uptime ที่ 99.99%
  • บริการให้คำแนะนำจากวิศวกรมืออาชีพ ที่พร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง

ความท้าทายของระบบสำรองข้อมูลภายนอกองค์กร

แม้การสำรองข้อมูลจะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับหลายองค์กร แต่เมื่อกล่าวถึงการสำรองข้อมูลแบบ Off-Site Backup ที่ผ่านมา องค์กรส่วนใหญ่จะเลือกใช้การสำรองข้อมูลด้วยระบบเทปแบ็กอัพ ซึ่งเป็นโซลูชันที่มีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลต่อ GB ต่ำ แต่มีข้อจำกัด คือมีความเร็วในการสำรองข้อมูลที่ช้ามาก โอกาสเกิดความเสียหายของม้วนเทปจากการขนส่งสูง มีความยุ่งยากในการค้นหา รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาที่สูง และที่สำคัญที่สุดคือมีความล่าช้าในการเรียกคืนข้อมูล

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและความนิยมในการใช้งานบริการด้านไอทีผ่านระบบคลาวด์ ปัจจุบันโซลูชันในการสำรองข้อมูลภายนอกองค์กรได้มีการพัฒนาสู่ระบบคลาวด์หรือที่รู้จักกันในชื่อ Backup as a Service (BaaS) ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการในการสำรองข้อมูลภายนอกองค์กรได้อย่างลงตัวด้วยประสิทธิภาพที่เหนือกว่าการสำรองข้อมูลด้วยเทปแบ็คอัพแบบเดิมในทุกๆ ด้าน

GIO Backup บริการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์เพื่อธุรกิจองค์กร

ในฐานะบริษัทผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์ บริษัท ลีพ โซลูชั่น เอเชีย มีความรู้ความชำนาญและเข้าใจความต้องการด้านการสำรองข้อมูลเป็นอย่างดี ล่าสุดได้เปิดตัวบริการ GIO Backup บริการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์เพื่อธุรกิจองค์กรด้วยปริมาณข้อมูลที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์กรต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเก็บรักษาข้อมูลด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าการนำโซลูชันเทปแบ็คอัพมาใช้งานจะสามารถตอบสนองความต้องการด้านพื้นที่การจัดเก็บได้ แต่ยังคงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามมา เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่เทปจะสูญหายในระหว่างการขนส่ง บวกกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานไม่ได้และความเสียหายที่เรียกคืนข้อมูลไม่ได้

องค์กรต่างๆ คาดหวังกับระบบการสำรองข้อมูลที่สามารถเรียกคืนข้อมูลกลับมาในระยะเวลาอันสั้น โดยมีความเสี่ยงในการสูญหายของข้อมูลที่น้อยที่สุด ทำให้บริการ GIO Backup สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้อย่างลงตัว

เพื่อสร้างบริการสำรองข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง วางใจได้ในเสถียรภาพ และความปลอดภัยของข้อมูล ลีพ โซลูชั่น เอเชีย ได้พัฒนาบริการ GIO Backup บนโซลูชันการสำรองข้อมูลระดับโลกของ NetApp ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำด้านโซลูชันการจัดเก็บข้อมูลระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์ ผสานเข้ากับ LEAP GIO Cloud ซึ่งเป็นระบบคลาวด์ ที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์การให้บริการคลาวด์ของประเทศญี่ปุ่น โดยตั้งเซิร์ฟเวอร์อยู่ในศูนย์ข้อมูลภายในประเทศไทย ทำให้สามารถตอบโจทย์ด้านขีดจำกัดความเร็วในการเชื่อมต่อเพื่อการสำรองข้อมูลระหว่างระบบของลูกค้าและ GIO Backup

001

NetApp AltaVault คือ โซลูชันจาก NetApp ที่ ลีพ โซลูชั่นเอเชีย เลือกนำมาใช้งาน อันประกอบด้วยการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ 1. ซอฟต์แวร์แบ็คอัพ 2. ระบบ NetApp AltaVault และ 3. ระบบคลาวด์ของ ลีพ โซลูชั่น เอเชีย (LEAP GIO Cloud) แต่ละองค์ประกอบมีหน้าที่การทำงาน ดังนี้

1 ซอฟต์แวร์แบ็คอัพ

ในกรณีที่องค์กรมีการใช้งานซอฟต์แวร์แบ็คอัพระดับเอ็นเทอร์ไพรซ์อยู่แล้ว โซลูชัน NetApp AltaVault สามารถทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์เหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ หรือหากองค์กรยังไม่มีซอฟต์แวร์แบ็คอัพก็สามารถนำ NetApp SnapMirrorมาติดตั้งใช้งานเพิ่มเติมได้

2 ระบบ NetApp AltaVault

เป็นการติดตั้งระบบ NetApp AltaVault ระบบของผู้ใช้ในรูปแบบของ Virtual Appliance โดยติดตั้ง NetApp AltaVault (Software) ในลักษณะอุปกรณ์เสมือนบนระบบ Virtualization แล้วเชื่อมต่อกับระบบเก็บข้อมูลที่มีอยู่แล้วของลูกค้า ระบบ NetApp AltaVault มีฟังก์ชันในการจัดการข้อมูลซ้ำและบีบอัดข้อมูล (Deduplication Compression) การเข้ารหัสข้อมูลเพิ่มความปลอดภัยแคชขนาดใหญ่สำหรับพักข้อมูลเพื่อเตรียมส่งขึ้นสู่ระบบคลาวด์

3 ระบบคลาวด์ของ ลีพ โซลูชั่น เอเชีย (LEAP GIO Cloud)

ระบบคลาวด์ของ ลีพ โซลูชั่น เอเชีย มีการติดตั้งซอฟต์แวร์ StorageGrid เพื่อทำให้ NetApp AltaVault สามารถเชื่อมต่อระบบสำรองข้อมูลของลูกค้า มายังระบบคลาวด์ของลีพ โซลูชั่นได้โดยมีการสื่อสารเพื่อรับส่งข้อมูลผ่านโปรโตคอลการเข้ารหัส

002

ให้บริการแบบ One Stop Service

การเริ่มต้นใช้งานนั้น ทีมงานของ ลีพ โซลูชั่น เอเชีย จะช่วยลูกค้าในการให้คำปรึกษาในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการสำรองข้อมูลตั้งแต่ การคัดเลือกข้อมูลและวิธีการที่เหมาะสม การประมาณการระยะเวลาการจัดเก็บ รวมถึงปริมาณข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เพื่อนำมาประเมินแพ็กเกจการให้บริการทีเหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้า

หลังจากการประมาณการและเลือกเพ็กเกจใช้งานเรียบร้อยการติดตั้งและเริ่มใช้งานระบบดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น โดยที่ทีมงานของ ลีพ โซลูชั่นเอเชีย จะเป็นผู้ดำเนินการให้ลูกค้าเองทั้งหมด หน้าที่ของฝ่ายไอทีขององค์กรมีเพียงการตั้งค่า Backup Server การกำหนด Policy และ Data ที่จะจัดเก็บ ซึ่งทีมงานของ ลีพ โซลูชั่น เอเชีย พร้อมให้คำปรึกษา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้ฝ่ายไอทีของลูกค้า และเพื่อให้ฝ่ายไอทีของลูกค้านำเวลาไปใช้กับการพัฒนาระบบ ที่สอดคล้องกับการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรมากยิ่งขึ้น

004

จุดเด่นของ GIO Backup

  • ระบบสามารถติดตั้งและพร้อมทำงานได้ภายในเวลา 30 นาที
  • พื้นที่การเก็บข้อมูล 10-40TB
  • ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์แบ็คอัพข้อมูลชั้นนำในตลาดได้อย่างลงตัว
  • ฟังก์ชัน Deduplication Compression ที่สามารถช่วยลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วยการจัดการกับข้อมูลซ้ำ และบีบอัดข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้สามารถบีบอัดข้อมูลได้มากถึง 30 เท่า ลด Data Volume ได้ 90% รวมถึงมีการทำ WAN Optimization ทำให้ข้อมูลที่ถูกส่งขึ้นสู่คลาวด์มีขนาดเล็ก สามารถโอนข้อมูลได้เร็วขึ้นถึง 4 เท่า
  • มีความปลอดภัย เพราะข้อมูลจะได้รับการเข้ารหัสด้วย FIPS 140-2 encryption ก่อนการจัดเก็บและโอนย้ายขึ้นสู่ระบบคลาวด์ ช่วยลดความเสี่ยงในการแบ็คอัพสู่ระบบคลาวด์ได้เป็นอย่างดี
  • เรียกคืนข้อมูล (Restore) เร็วกว่าเทป 32 เท่า เพราะ 95% ของข้อมูลเป็นการดึงจาก local cache ของระบบ AltaVault ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ระบบของลูกค้า
  • ควบคุมได้จากส่วนกลาง ทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรสามารถควบคุมและจัดการข้อมูลได้จากส่วนกลาง
  • ช่วยลดต้นทุน ด้วยราคาประหยัดกว่าการสำรองข้อมูลลงเทป ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา จัดเก็บ และการขนย้าย เป็นต้น
  • ลูกค้าสามารถดูได้ว่าข้อมูลของตนเองเก็บอยู่ที่ไหน

GIO Backup ถือเป็นบริการสำรองข้อมูลบนระบบคลาวด์หรือ Backup as a Service ที่เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเปลี่ยนระบบสำรองข้อมูลภายนอกองค์กร (Off-Site Backup) จากระบบเทปแบ็คอัพไปสู่ระบบคลาวด์เพื่อยกระดับความมั่นคงให้แก่ระบบไอที และความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กรไปพร้อมกัน

สำหรับท่านใดที่สนใจรายละเอียดผลิตภัณฑ์ GIO Backup
สามารถติดต่อได้ที่บริษัท ลีพ โซลูชั่น เอเชีย จำกัด
Main Line: 02-080-9800, sales@leapsolutions.co.th, www.leapsolutions.co.th

“ตงเฟิง”ผนึกกำลัง “หัวเว่ย” ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างเทคโนโลยีไอซีที-ยานยนต์

ฉี เว่ย ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนงานไอที แผนกสารสนเทศระดับองค์กรแห่งตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป กล่าวว่า “เมื่อมองย้อนกลับไปที่งานที่ผมทำในช่วงปีที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาส่วนใหญ่กับทีมงานหัวเว่ย ในแง่ของผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นแล้ว หัวเว่ยสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงในแง่ของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เมื่อมีฟีดแบคส่งไปยังฝ่าย R&D ทางทีมงานก็จะรีบดำเนินการตรวจสอบและปรับปรุงอย่างรวดเร็ว ส่วนความร่วมมือระดับบุคคลนั้น ทีมงานของหัวเว่ยสามารถรับมือกับความเห็นที่แตกต่างกันได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขั้นตอนของการร่วมมือกันนั้น ตงเฟิงยังได้รับประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการที่มีค่าจากโครงการที่โดดเด่นของหัวเว่ยหลายโครงการ ปัจจุบัน เราได้นำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในโครงการภายในของบริษัท และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงเชื่อมั่นว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจากความร่วมมือกับหัวเว่ย”

dongfeng_motor_logo_download

ตงเฟิงจับมือกับหัวเว่ยในปี 2015 เพื่อจัดตั้งโครงการนำร่องระบบคลาวด์ภายในองค์กรระบบแรกของพวกเขา และได้เปลี่ยนศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิมไปเป็นศูนย์ข้อมูลคลาวด์เพื่อให้สอดรับกับความต้องการด้านบริการแบบจำเพาะเจาะจงสำหรับบริษัทในเครือกว่า 300 แห่งของกลุ่มบริษัท

ตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป ก่อตั้งขึ้นในปี 1969 และได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในองค์กรธุรกิจที่เป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมยานยนต์จีน บริษัทมีฐานธุรกิจสำคัญกระจายอยู่ในจีน 4 แห่ง ได้แก่ ซื่อหยาง เสียงหยาง อู่ฮั่น และกว่างโจว โดยพวกเขาได้กำหนดแผนกลยุทธ์ธุรกิจ “based in Hubei, influencing the whole country, facing the world” นอกจากนี้ตงเฟิงยังติดอันดับ 109 บนทำเนียบ Fortune Global 500 ในปี 2015 อีกด้วย

ความท้าทาย

ภาคการผลิตของจีนมีการชะลอตัวลงจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจระดับมหภาคและปัจจัยอื่นๆ ขณะที่ตงเฟิง มอเตอร์ ก็กำลังเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะชะลอตัวและการปรับโครงสร้างธุรกิจ

ด้วยเหตุนี้ ตงเฟิง กรุ๊ป จึงวางแผนงานระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 ของตนเอง โดยในด้านของการพัฒนาระบบสารสนเทศนั้น ทางกลุ่มบริษัทได้เสนอให้ใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อนำดาต้าเซ็นเตอร์ SDN ไปปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะช่วยรองรับงานบริการพัฒนาระบบสารสนเทศของกลุ่มบริษัทโดยรวมได้เป็นอย่างดี

ในส่วนของการพลิกโฉมบริการห่วงโซ่เชิงยุทธศาสตร์ทั้งหมดให้เป็นดิจิทัลนั้น จะมีงานสนับสนุนที่คอยรองรับการพัฒนาบริการรูปแบบดั้งเดิม อาทิ การผลิต การตลาด การซื้อ และการเงินในระบบของตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป ทั้งหมด

ส่วนงานสนับสนุนด้านสารสนเทศจะช่วยให้บริษัทรุดหน้าตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในสมาร์ทคาร์และรถยนต์ที่มีระบบเครือข่ายเชื่อมต่อถึงกันในยุคแห่งอินเทอร์เน็ต

 

โซลูชั่น

ในแง่การพลิกโฉมบริการนั้น ตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป ได้มุ่งมั่นคิดค้นโมเดลธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการหลอมรวมอย่างลึกซึ้งระหว่างรถยนต์กับอินเทอร์เน็ต โดยตงเฟิงได้จับมือเป็นพันธมิตรกับหัวเว่ยในปี 2015 และอยู่ในระหว่างดำเนินโครงการนำร่องระบบคลาวด์ภายในองค์กรโครงการแรก เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของบริษัทในเครือกว่า 300 แห่งและเคลื่อนย้ายศูนย์ข้อมูลดั้งเดิมไปบนระบบคลาวด์ โดยในเบื้องต้นได้เกิดผลสำเร็จแล้ว 4 ด้าน ดังนี้

คลาวด์ส่วนบุคคลที่ตอบสนองข้อกำหนดด้านบริการอันรวดเร็ว:

บริษัทได้ตั้งโจทย์ไว้ว่าคลาวด์ส่วนบุคคลต้องช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูง โดยทำให้บริการต่างๆมีความราบรื่นขึ้น การใช้งานมีความยืดหยุ่นขึ้น และสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ใช้หรือเงื่อนไขบริการ โซลูชั่นศูนย์ข้อมูลคลาวด์จากหัวเว่ยนำเสนอบริการดาต้าเซ็นเตอร์เสมือน (VDC) ที่ให้ความสำคัญกับงานบริการ และสอดรับกับโครงสร้างปัจจุบันของบริษัท การแยก VDC ต่างๆให้เป็นเอกเทศจะช่วยให้ฝ่าย Tier-2 สามารถทำงานอย่างมีอิสระและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ความทุ่มเทของทีมงานไอทียังช่วยให้บริษัทในเครือของตงเฟิงกว่า 10 แห่งสามารถใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งผ่านทางการดำเนินงานของ VDC ซึ่งถือเป็นการวางรากฐานบริการคลาวด์คอมพิวติ้งให้มีความแข็งแกร่ง

แพลตฟอร์มการจัดการอัตโนมัติแบบครบวงจรและแสดงผลได้:

เป็นเวลายาวนานที่การดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลจำเป็นต้องพึ่งพาการลงทุนด้านบุคลากรเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังไม่สามารถดูแลรักษาได้อย่างทั่วถึง ดังนั้นโซลูชั่นศูนย์ข้อมูลคลาวด์ของหัวเว่ยจึงนำเสนอแพลตฟอร์มการจัดการอัตโนมัติแบบครบวงจรและแสดงผลได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในขั้นตอนการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน โครงสร้างแบบรวมศูนย์ยังมอบประโยชน์อีกมากมาย ซึ่งรวมถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เพิ่มขึ้นและงาน O&M ที่สะดวกสบายขึ้น โดยจากการประเมินในเบื้องต้นของตงเฟิง พบว่า ต้นทุนด้านไอทีของบริษัทลดลงราว 30% นอกจากนี้ การทำงานในขั้นตอนหลังจากนี้ก็มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

 

รับประกันความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ E2E:

ตงเฟิง กรุ๊ป มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยของระบบคลาวด์เป็นอย่างมาก ดังนั้นศูนย์ข้อมูลคลาวด์ของหัวเว่ยจึงสร้างหลักประกันความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ E2E ทั้งจากฝั่งผู้ใช้งาน, เครือข่าย, ข้อมูล และแพลตฟอร์มคลาวด์ เพื่อการันตีความปลอดภัยของโครงสร้าง ข้อมูลองค์กร และบริการทั้งหมดขององค์กร

 

สถาปัตยกรรมแบบเปิดและรวมศูนย์:

ในที่สุด ระบบปฏิบัติการคลาวด์ Huawei FusionSphere ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรมแบบเปิด OpenStack โดยระบบดังกล่าวช่วยให้สามารถบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรและฟังก์ชั่นการสร้างระบบเสมือนที่ทรงพลัง, เครื่องมือและองค์ประกอบของบริการคลาวด์ที่หลากหลาย รวมถึงอินเทอร์เฟส API แบบเปิดสำหรับคลาวด์คอมพิ้วติ้งและการปรับปรุงระบบ อีกทั้งสนับสนุนการเข้าถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และไฮเปอร์ไวเซอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งความสามารถเหล่านี้สอดคล้องกับความต้องการสถาปัตยกรรมแบบเปิดและรวมศูนย์ที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการลงทุนอย่างคุ้มค่าและการพิจารณาศักยภาพในการพัฒนาของตงเฟิง กรุ๊ปในอนาคต

ประโยชน์ที่ได้รับ

ตงเฟิงมองว่าการเลือกทำงานร่วมกับหัวเว่ย จะช่วยให้พวกเขาสามารถคว้าโอกาสจากอินเทอร์เน็ต, การเข้าถึงระบบอัจฉริยะ, บิ๊กดาต้า, การขับเคลื่อนเองอย่างอัตโนมัติ ตลอดจนโอกาสเชิงกลยุทธ์อื่นๆ จากบรรดาอุตสาหกรรมเกิดใหม่ โดยการจับกระแสคลื่นลูกใหม่ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม สำหรับหัวเว่ยแล้ว ความร่วมมือกับตงเฟิงครั้งนี้จะช่วยขยายบทบาทของบริษัทในด้านเทคโนโลยี IoV ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผลิตภันฑ์และเทคโนโลยีของหัวเว่ยถูกนำไปใช้ในยานพาหนะเพิ่มขึ้น

ในฐานะผู้ให้บริการโซลูชั่นไอซีทีระดับโลก หัวเว่ยมีความเข้าใจตลาดอย่างชัดเจน, มีข้อได้เปรียบอันแข็งแกร่งในด้านการวิจัยและพัฒนา, มีแบรนด์สินค้าที่ทรงอิทธิพลในวงกว้าง อีกทั้งสามารถรับประกันการให้บริการได้อย่างครอบคลุม โดยหัวเว่ยได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยี IoV และโดเมนยานพาหนะอันชาญฉลาดนี้มาเป็นระยะเวลานาน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นเป็นองค์กรชั้นนำในด้านโมดูล IoV

ปัจจุบันมีบริษัท 197 แห่งที่ติดทำเนียบ Fortune Global 500 และองค์กรชั้นนำระดับโลก 45 จาก 100 แห่ง ที่วางใจเลือกหัวเว่ยเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์เพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้ที่

เปลี่ยนโดรนให้เป็นโมเดลธุรกิจทำเงิน บนเวที DATATHON ครั้งที่ 2

โลกแห่งธุรกิจทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตล้วนขับเคลื่อนและแข่งขันกันด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีและการใช้ประโยขน์จากข้อมูล(Data) การปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และสามารถเข้าถึงข้อมูล ได้อย่างรวดเร็วมากเท่าใด โอกาสในการมีชัยเหนือคู่แข่งทางธุรกิจยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้นเท่านั้น จากแนวคิดดังกล่าวทำให้เวที DATATHON ครั้งที่ 2 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Drone as a Service ตั้งเป้าเปลี่ยนอากาศยานไร้คนขับ(Drone) เป็นโมเดลธุรกิจ พร้อมผลักดันสตาร์ทอัพทั้งไทยและต่างประเทศ ใช้เทคโนโลยีเด่นอย่าง Cloud และ Big Data Analytics สร้างคุณค่าที่มากกว่าอากาศยานไร้คนขับ โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงาน ดรีม ออฟฟิต ซี อาเซียน และบริษัท  ทีซีซี เทคโนโลยี จำกัด (ทีซีซีเทค) รวมถึง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บริษัท โธธ-โซเชี่ยล จำกัด และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

shutterstock_639967132-2

ดรีมออฟฟิศ ภายใต้การบริหารงานโดยนายวิเชฐ ตันติวานิช ป ระธานกรรมการบริหาร ซี อาเซียน กล่าวว่าโครงการ DATATHON #2 คือกระบวนการกลั่นไอเดียสตาร์ทอัพและประกวด (Pitching) พร้อมเปิดเวทีแข่งขัน สำหรับสตาร์ทอัพที่มีความสนใจด้านอากาศยานไร้คนขับ ในหัวข้อ “นวัตกรรมใหม่ของอากาศยานไร้คนขับ หรือ Drone as a Service” เพื่อผลักดันแนวคิดสร้างสรรค์การให้บริการในรูปแบบใหม่ ซึ่งเวทีดังกล่าวจะเกิดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 2 ธันวาคม 2560

ด้านนายวรดิษฐ์ วิญญรัตน์ กรรมการบริหารและรักษาการกรรมการผู้จัดการบริษัท ทีซีซี เทคโนโลยี จำกัด กล่าว “ทีซีซีเทค ในฐานะผู้สนับสนุนหลัก ด้านเทคโนโลยีให้กับโครงการดาต้าธอนครั้งที่ 2 โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์พร้อมขยายโอกาสให้สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เราเชื่อว่า Drone Technology จะช่วยให้โดรนเป็นมากกว่าความบันเทิง (ของเล่นหรือแค่ FLY-ING” Camcorder)  วันนี้ทางเราได้จัดเตรียมคลาวด์แพลตฟอร์ม – “ลีพ จีโอ พับลิก” สำหรับนักพัฒนาให้ได้สร้างสรรค์แอพพลิเคชันบนคลาวด์ ซึ่งเป้าหมายใหญ่ของเวทีดาต้าธอนครั้งที่ 2 นี้ คือ การพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถในการแข่งขันของสตาร์ทอัพ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์เป็นวงกว้างกับทุกภาคส่วน”

ทั้งนี้ นายวิไลศร บุปผาวรรณ รองอธิบดีกรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  กล่าวว่า “วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี และ นวัตกรรม คือปัจจัยสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว และ มั่นคง การสร้างความแข็งแกร่งด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจให้ทันต่อโลกอุตสาหกรรมที่ทันสมัย และ ผลักดันเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นพันธกิจที่สำคัญของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ DATATHON ครั้งที่ 2 นี้ ทางลาวมุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการทางความคิดสร้างสรรค์ของ 2 ประเทศ ใช้เทคโนโลยีคลาวด์มาช่วยยกระดับ Drone ให้เกิดคุณค่าที่มากกว่าอากาศยานไร้คนขับ”

ฝั่งผู้เชี่ยวชาญภาคการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ เรืองวิเศษ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เผย “Drone หรือ อากาศยานไร้คนขับเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและถูกจับตามองในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายภาพมุมสูง การถ่ายทอดภาพวิดีโอ การสำรวจจัดทำแผนที่ เป็นต้น ด้วยโอกาสทางธุรกิจดังกล่าวหากนำมาพัฒนาและประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยจะก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางนวัตกรรมสอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การเร่งสร้างนักวิจัยที่มีองค์ความรู้ใหม่ด้านอากาศยานไร้คนขับ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุปกรณ์ (Hardware) และ ระบบปฏิบัติการ (Software) เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ”

shutterstock_359747378-2

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โธธ-โซเชี่ยล จำกัด นายกล้า ตั้งสุวรรณ กล่าวเสริม “ปฏิเสธไม่ได้ว่า โลกยุคปัจจุบันนี้ Data เป็นส่วนสำคัญที่ทุกองค์กรใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ การวิเคราะห์Data อย่างมีศักยภาพย่อมนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ดังนั้นการพัฒนาต่อยอดทางด้านการวิเคราะห์ Data ไม่ว่าจะเป็นในส่วนการวิเคราะห์ Social Data ที่โธธ โซเชียลดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบันรวมถึงค่าย DATATHON ครั้งนี้จะทำให้ Startups ใน ASEAN มีความได้เปรียบใน ระดับเวทีโลกนี้ครับ

Datathon

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ “สนช” กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างระบบนวัตกรรมของประเทศ ได้เล็งเห็นศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับของประเทศ โดยที่ผ่านมา สนช. ได้สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้านอากาศยานไร้คนขับมาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และเปิดโอกาส ให้ผู้ประกอบการไทยและสตาร์ทอัพ ให้สามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอากาศยานไร้คนขับให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติประเทศได้อย่างแท้จริงในลักษณะของ application and solution ด้านเกษตรอัจฉริยะ (smart farming) ด้านการสำรวจทรัพยากร (survey) และด้านการติดตามและตรวจสอบ (monitoring) เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ (public service)

เกี่ยวกับโครงการ DATATHON #2: ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยเสริมศักยภาพของอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ถือเป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพมีเวทีแสดงศักยภาพทางความคิดและไอเดียใหม่ๆ พร้อมกับการผนวกเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต่างต้องช่วยกันส่งเสริม เนื่องจากการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับให้สามารถทดแทนแรงงานทำงานที่มีความเสี่ยงได้ ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้นั้น จะเกิดประโยชน์เป็นวงกว้างโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม

สมาชิกในทีมผู้เข้าแข่งขันประกอบด้วย นักคิด นักสร้างสรรค์ นักการตลาด-ประชาสัมพันธ์ โดยมีสมาชิกอย่างน้อย 2 คน มีความรู้ ความสามารถการพัฒนาชิ้นงานเทคโนโลยีได้ และอย่างน้อย 1 คน สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี  ไม่จำกัดอายุ เพศ และระดับการศึกษา โครงการ DATATHON         ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี ขณะนี้มีผู้สมัครผ่านเข้ารอบจำนวน 40 คน แบ่งเป็น 8 ทีม มาจากบุคคลหลายอาชีพ จากประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนลาว ตลอดทั้ง 3 วันของโครงการ DATATHON โดยวันแรกจัดปฐมนิเทศและปรับกระบวนคิดเพื่อให้นวัตกรรมทางความคิดเหล่านี้เป็นจริงขึ้นได้ (Prototype) ภายใต้เครื่องมือทางธุรกิจของโครงการ DATATHON ส่วนวันที่สองทุกทีมจะได้ร่วมเวิร์คช็อปกับผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในประเทศและต่างประเทศจากสายงานต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Prototype ร่วมกับทีมพี่เลี้ยง ซึ่งในวันสุดท้ายจัดให้มีการแข่งขันไอเดียนวัตกรรมหาผู้ชนะพร้อมมอบรางวัลรวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท

Coca-Cola นำเทคโนโลยีสุดไฮเทคมาใช้ที่โรงานในมาเลเซีย

โรงงานแห่งใหม่ของโคคา – โคลาใน Bandar Enstek ประเทศมาเลเซียที่มีมูลค่า 500 ล้านริงกิตได้มีการผนวกระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานลงไปด้วยมากมาย ตั้งแต่การนำหุ่นยนต์มาใช้, โกดังเก็บสินค้าที่มาพร้อมเทคโนโลยี Data – driven ทำให้สามารถช่วยในการบริหารจัดการพื้นที่โกดังได้ดียิ่งขึ้น และอื่น ๆ อีกมากมาย

First_PowerStore_System_in_BGzMmby_large

โดยเทคโนโลยีดิจิตอลที่นำมาใช้ในการทรานสฟอร์มโรงงาน ณ Bandar Enstek นั้น จะทำให้โรงงานดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำอัดลมที่รองรับความต้องการของประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ภายใต้เครื่องหมายฮาลาล (Halal) ด้วย

Gareth McGeown ซีอีโอของ Coca-Cola Bottles ประจำประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไนกล่าวว่า เขารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นการนำเทคโนโลยีทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิตในมาเลเซีย ซึ่งถือเป็นการยกระดับให้สินค้าภายใต้เครื่องหมายฮาลาลให้ก้าวสู่การผลิตระดับเวิลด์คลาสได้อีกทางหนึ่ง

โดยเป้าหมายหลักของการพัฒนาครั้งนี้คือ PowerStore ซึ่งเป็นระบบอัจฉริยะผลงานของ Swisslog Malaysia นั่นเอง ประโยชน์ที่ได้จากการผนวกความสามารถระบบ PowerStore คือการช่วยให้โรงงานพร้อมสำหรับก้าวสู่ Industry 4.0 มากขึ้น โดยจะมีการ ผนวก PowerStore เข้าไปในซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มชื่อ SynQ ของ Swisslog อีกที และ SynQ

จะเชื่อมต่อและซิงโครไนส์ข้อมูลได้อัตโนมัติไปยังเครื่องมือ หุ่นยนต์ พนักงาน หรือกระบวนการต่าง ๆ ได้โดยอัตโนมัติ

ความสามารถหนึ่งที่เห็นได้เด่นชัดคือการเพิ่มพื้นที่ความจุ และประสิทธิภาพให้กับการบริหารโกดัง เมื่อเทียบกับการใช้ระบบเครน AR/RS แบบดั้งเดิม โดยทางโคคา – โคลา มาเลเซียคาดการณ์ว่า

เมื่อโปรเจ็คนี้เสร็จสมบูรณ์จะทำให้โรงงานแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคได้เลยทีเดียว

ส่วน Swisslog นั้นถูกเลือกให้เป็นพาร์ทเนอร์ด้วยเหตุผลของความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโรโบติกส์ และ Intralogistics ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงาน เพิ่มพื้นที่จัดเก็บ และช่วยให้การจัดส่ง

Koh Seng Teck ผู้บริหารด้าน Warehouse & Distribution Solutions (WDS) ของ Swisslog ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผยว่า Swisslog มีความสัมพันธ์อันดีกับโคคา-โคลามานานมาก  โดยเคยช่วยนำเทคโนโลยีอัตโนมัติต่าง ๆ เข้ามาทำให้โคคา-โคลาประสบความสำเร็จในหลาย ๆ ตลาด เช่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเม็กซิโกด้วย

 

 

ตามไปดูแนวคิด “มาเลเซีย” เจ้าแรกของเอเชียใช้คลาวด์สร้างโปรเจ็คยักษ์รถไฟ MRT

ถือเป็นอีกหนึ่งการนำคลาวด์เทคโนโลยีมาใช้อย่างชาญฉลาดกับโครงการวางระบบก่อสร้างทางรถไฟ Mass Rapid Transit ใน Klang Valley ความยาว 51 กิโลเมตรของมาเลเซีย โดยการพัฒนาครั้งนี้ใช้งบก่อสร้าง 32,000 ล้านริงกิต หรือประมาณ 7.57 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับโครงการก่อสร้างในเส้นทาง Sungai Buloh-Serdang-Putrajaya หรือ SSP นี้คาดว่าจะสามารถเพิ่มผลผลิตขึ้น 35% ในด้านการออกแบบก่อสร้างเมื่อเทียบกับโครงการ ก่อนหน้าอย่างสาย SBK โดย Poh Seng Tiok ผู้อำนวยการด้านการวางแผนและออกแบบของ Malaysia Mass Rapid Transit Corporation (MRTC) อธิบายว่า วัตถุประสงค์หลักของโปรเจ็คคือการเพิ่มความแม่นยำในการก่อสร้าง ลดปัญหาการออกแบบใหม่ และหวังใช้เพื่อปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเวนเดอร์แต่ละรายได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ การนำกระบวนการดิจิตอลเข้ามาช่วยยังลดความท้าทายในการจัดการกับข้อมูลเก่า ๆ อีกด้วย

โดย MRTC เป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่มีการนำคลาวด์มาใช้เพื่อประสานการทำงานของข้อมูลในโปรเจ็คการก่อสร้าง

ด้านพาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการคลาวด์แก่ MRTC ก็คือ Bentley Systems ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์แบบ ISV (independent software vendor) ของไมโครซอฟท์ ซึ่งทำให้ MRTC สามารถใช้ Azure ได้ในโปรเจ็คนี้นั่นเอง โดย มร. Poh กล่าวว่า ตอนนี้ทุกโปรเจ็คสามารถทำงานร่วมกันได้แบบไดนามิก และสามารถใช้โมเดลแบบองค์รวมเพื่อนำไปสู่การออกแบบร่วมกันแม้จะมีเวนเดอร์ภายนอกหลาย ๆ เจ้า ซึ่งทำให้โปรเจ็คที่มีความซับซ้อนสูงมากโปรเจ็คนี้สามารถลดการรวมกระจุกของข้อมูลได้นั่นเอง

นอกจากนั้น ยังสามารถให้หน่วยงานที่ปรึกษาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยตรงจากฐานข้อมูลเพื่ออัปเดตข้อมูลการออกแบบ ทำให้ที่ปรึกษาสามารถได้เห็นข้อมูลการออกแบบที่อัปเดตที่สุด และช่วยลดความผิดพลาดของการให้คำปรึกษาลงได้

ทั้งนี้ มาเลเซียคาดว่าโปรเจ็คดังกล่าวจะเสร็จตามกำหนดภายในงบประมาณที่กำหนด และสามารถเพิ่ม Productivity ได้ถึง 35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับโปรเจ็คก่อนหน้าอย่างสาย SBK มากไปกว่านั้น การทำงานบนคลาวด์ยังสามารถรีวิวการออกแบบในระบบเวอร์ชวลได้ตลอดเวลาด้วย ซึ่งทำให้ทีมสามารถมองเห็นและบริหารจัดการกันได้บนโมเดลเดียวกัน

Construction_of_MRT_-_done_large

ความท้าทายของการรวมแพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน

มร. Poh กล่าวว่า การใช้แพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์นี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้งาน 1,500 คนใน the Common Data Environment (CDE) เข้ามาเปิดใช้เอกสาร 45,000 ฉบับอย่างไฟล์งานออกแบบร่วมกันได้ แม้จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่มากถึง 750 กิกะไบต์

นอกจากนั้นยังทำให้การตัดสินใจทำด้วยความมั่นใจมากขึ้น และสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพในการออกแบบได้ร่วมกัน ซึ่งลดโอกาสที่จะเสียเวลาในการออกแบบลงได้

ข้อดีอีกข้อหนึ่งคือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ความท้าทายหรือขีดจำกัดต่าง ๆ ที่ MRTC ก็ประสบปัญหาไม่แพ้โปรเจ็คอื่น ๆ โดยหนึ่งในความท้าทายนั้นคือการที่มีการเปลี่ยนแปลงไซต์งานจำนวนมากระหว่างการก่อสร้าง

อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่สุดคือเรื่องของข้อมูลที่ต้องมั่นใจได้ว่ากำลังทำงานอยู่บนข้อมูลที่อัปเดตล่าสุดเท่านั้น และการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์บางทีอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้สูงหากข้อมูลล่าสุดไม่ได้ถูกดึงขึ้นมาทำงานบน Common Data Environment ซึ่งความผิดพลาดเหล่านี้จะนำไปสู่การก่อสร้างที่ล่าช้า และเกิดค่าใช้จ่ายจากการเปลี่ยนแบบไปมานั่นเอง

นั่นจึงเป็นที่มาว่า การใช้เมโธโดโลจีอย่าง BIM (Building Information Modelling) ในโครงการก่อสร้าง และนำคลาวด์กับโมเดล 3 มิติมาใช้จะช่วยให้โปรเจ็คระดับนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

มร.Poh ชี้ว่า BIM methodology นั้นมีความเสถียรมากพอที่จะเปลี่ยนจากการใช้งาน 2D CAD ร่วมกับเอกสาร ไปสู่การทำงาน CAD แบบสามมิติร่วมกับการแชร์ข้อมูลในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมกล่าวด้วยว่าความสำเร็จของโครงการก่อสร้างของ MRTC ที่นำคลาวด์มาใช้และทำให้เวนเดอร์ทุกฝ่ายเข้าถึงข้อมูลได้แบบไร้รอยต่อนี้แสดงให้เห็นว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้จริงสำหรับระบบการทำงานร่วมกันแบบ Seamless ของทีมงานจำนวนมาก

ประเด็นนี้จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานที่รัฐบาลท้องถิ่นตั้งเป้าไว้ว่าจะเพิ่มให้ได้มากกว่านี้ภายในปี 2020 ซึ่งอาจหมายความว่า MRTC ต้องนำแพลตฟอร์มนี้มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวิศวกร รวมถึงเรื่องของ Productivity ว่าจะต้องดีขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น การได้ดูโมเดลจำลองก่อนจะช่วยให้วิศวกรสามารถตรวจสอบได้ว่า การออกแบบครั้งนี้โอเคหรือไม่ ซึ่ง MRTC พบว่า การตัดสินใจรับ BIM Maturity เลเวล 2 สำหรับรถไฟสาย KVMRT SSP  รวมถึงการใช้ Common Data Environment (CDE) นั้นสามารถลดกระบวนการทำงานแบบแมนนวลลงได้

“นี่เป็นโปรเจ็คแรกของเอเชียที่นำ BIM Level 2 และวิธีการทำงานแบบแอดวานซ์มาใช้ ซึ่งเชื่อว่าจะกลายเป็นมาตรฐานของรัฐบาลชั้นนำหลาย ๆ ประเทศในโปรเจ็คระดับใหญ่ต่อไป”

“โปรเจ็คการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่มีรายละเอียดสูง และต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากจะได้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มคลาวด์ที่สามารถแชร์ข้อมูลและการทำงานร่วมกันได้นี้ ซึ่งในภาพรวมแล้วจะส่งผลดีต่อประชาชนในเมืองและเศรษฐกิจ” อัลเบอร์โต กรานาโดส รองประธานของไมโครซอฟท์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวพร้อมเสริมว่า

“ภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจจะได้เห็นผลกระทบจาก Digital Transformation ชัดขึ้น รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ที่ Go Digital แล้วนั้นจะเริ่มเห็นประโยชน์จากข้อมูลอินไซต์แบบเรียลไทม์ ผ่านเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง MRTC เองก็มีระบบของ Bentley System อย่าง ProjectWise และ AssetWise ให้ใช้งานแล้วเช่นกัน”

ที่มา https://computerworld.com.sg/tech/infrastructure/how-cloud-bursts-through-construction-challenges-in-malaysias-new-mrt-system/

แรนซั่มแวร์รุนแรงกว่าเดิม และมุ่งเน้นเจาะระบบในทุกๆ แพลตฟอร์ม

SophosLabs (SophosLabs 2018 Malware Forecast) รายงานซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับเทรนด์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับแรนซั่มแวร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้า Sophos ทั่วโลกในช่วงวันที่ 1 เมษายน จนถึง 3 ตุลาคม 2560พบข้อเท็จจริงที่สำคัญมากคือ ขณะที่พบการโจมตีด้วยแรนซั่มแวร์อย่างหนักหน่วงบนระบบวินโดวส์ในช่วง 6 เดือนล่าสุด และยังพบด้วยว่าแพลตฟอร์มอื่นทั้งแอนดรอยด์, ลีนุกส์, และMacOS ก็ไม่สามารถรับมือกับภัยแรนซั่มแวร์นี้ได้เช่นกัน

ransomwares

“แรนซั่มแวร์เริ่มแพร่กระจายแบบไม่เจาะจงแค่วินโดวส์แพลตฟอร์มอีกต่อไป แม้จะเคยพุ่งเป้าไปที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้วินโดวส์เป็นหลัก แต่ปีนี้ SophosLabsได้มองเห็นความถี่ที่เพิ่มขึ้นของการโจมตีแบบเข้ารหัสข้อมูลบนอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการประเภทอื่นของลูกค้า Sophos ทั่วโลก” DorkaPalotayนักวิจัยด้านความปลอดภัยของ SophosLabsและอาสาสมัครวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับแรนซั่มแวร์ในรายงาน SophosLabs 2018 Malware Forecast กล่าว

 

รายงานฉบับนี้ยังได้ติดตามรูปแบบการเติบโตของแรนซั่มแวร์ โดยพบว่า WannaCryที่มีการแพร่กระจายอย่างรุนแรงเมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น ถือเป็นแรนซั่มแวร์ที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งที่ Sophos ช่วยเหลือลูกค้าของตนในการป้องกัน ถือว่าล้มอดีตแชมป์แรนซั่มแวร์เดิมอย่าง Cerberที่เคยระบาดหนักเมื่อต้นปี 2559 โดย WannaCryเป็นแรนซั่มแวร์ที่พบจากการตรวจติดตามของ SophosLabsคิดเป็น 45.3 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด ขณะที่ Cerberคิดเป็น 44.2 เปอร์เซ็นต์

001

“ถือเป็นครั้งแรกที่เราพบแรนซั่มแวร์ที่มีพฤติกรรมเหมือนเวิร์ม ซึ่งช่วยให้แพร่กระจาย WannaCryได้รวดเร็วมาก แรนซั่มแวร์ตัวนี้ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนวินโดวส์ที่เคยมีแพ็ตช์ออกมาก่อนหน้าแล้วในการติดเชื้อและกระจายตัวเองบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ควบคุมได้ยากมาก” Palotayกล่าวเสริม “แม้ว่าลูกค้าของเราจะได้รับการปกป้องจาก WannaCryอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่เราก็ยังต้องเฝ้าติดตามอันตรายนี้ต่อไปเพื่อศึกษาธรรมชาติการสแกนหาและเข้าโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราคาดกันไว้ว่าในอนาคตจะมีอาชญากรไซเบอร์ที่นำความสามารถของในการกระจายตัวเองดังที่เห็นใน WannaCryและ NotPetyaนี้ไปใช้สร้างแรนซั่มแวร์ตัวใหม่ในอนาคต ซึ่งก็ได้เห็นแล้วจากกรณีของแรนซั่มแวร์Bad Rabbit ที่มีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายกับ NotPetyaด้วย”

 

ในรายงาน SophosLabs2018 Malware Forecastนี้ยังได้กล่าวถึงการเริ่มต้นระบาดและจุดสิ้นสุดของแรนซั่มแวร์NotPetyaที่สร้างความเสียหายอย่างหนักในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่ง NotPetyaนี้เริ่มต้นจากการระบาดผ่านตัวติดตั้งซอฟต์แวร์ทางบัญชีสัญชาติยูเครน ทำให้เป็นการจำกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่มีการโจมตี นอกจากนี้ยังสามารถแพร่ตัวเองผ่านช่องโหว่ EternalBlueได้เหมือน WannaCryแต่เมื่อมองเหตุการณ์ครั้ง WannaCryที่ได้เข้าไปติดเชื้อคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้แพ็ตช์วินโดวส์ทันท่วงทีเกือบทั้งหมดทั่วโลกแล้ว จึงไม่สามารถมองเห็นเป้าหมายที่แท้จริงของคนปล่อยNotPetyaได้ ทั้งนี้เนื่องจากการโจมตีมีข้อผิดพลาดและการข้ามขั้นตอนมากมาย ยกตัวอย่างเช่น บัญชีอีเมล์ที่เหยื่อจะต้องใช้ติดต่อผู้โจมตีนั้นไม่สามารถใช้งานได้ จนทำให้เหยื่อไม่สามารถถอดรหัสและกู้ข้อมูลที่โดนเล่นงานไปแล้วได้ เป็นต้น

 

“NotPetya ได้โจมตีอย่างหนักหน่วงและรวดเร็วมากสร้างความเสียหายแก่ธุรกิจปริมาณมหาศาลเนื่องจากเป็นการทำลายข้อมูลบนคอมพิวเตอร์โดยตรงแบบกู่ไม่กลับ นอกจากนี้ NotPetya ยังหยุดการโจมตีอย่างกระทันหันให้หลังจากเริ่มต้นระบาดเพียงไม่นานนัก” Palotayอธิบาย “เราสงสัยว่า ครั้งนั้นอาชญากรไซเบอร์คงเพียงแค่อยากทดลองอะไรบางอย่าง หรือวัตถุประสงค์จริงไม่ใช่การเรียกค่าไถ่ แต่เป็นการจงใจสร้างความเสียหายกับข้อมูลอย่างถาวร แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามSophos แนะนำอย่างจริงจังว่าอย่าจ่ายค่าไถ่ให้เจ้าของแรนซั่มแวร์ แล้วปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุดแทน เช่น การสำรองข้อมูล และอัพเดตแพ็ตช์ให้เป็นรุ่นล่าสุดอยู่เสมอ”

 

เมื่อกลับมามองที่ดาวรุ่งในอดีตอย่าง Cerber ที่มีการขายชุดโค้ดของตัวเองในเว็บตลาดมืด ถือว่าเป็นภัยร้ายที่อันตรายอย่างมาก ทั้งนี้เพราะผู้สร้าง Cerberยังคงบริการอัพเดตโค้ดตัวเองให้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจูงใจให้แฮ็กเกอร์วันนาบีนำไปใช้ฟรีโดยเก็บเปอร์เซ็นต์ค่าหัวคิวจากค่าไถ่ที่ได้รับเมื่อพิจารณาจากฟีเจอร์ล่าสุดของ Cerber แล้ว ทำให้ไม่ใช่แค่เป็นเครื่องมือในการโจมตีอย่างเดียว แต่เป็นการแจกอาวุธร้ายให้แก่อาชญากรไซเบอร์ทั่วโลก“โมเดลธุรกิจของเว็บตลาดมืดนี้มีลักษณะคล้ายกับการทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่ที่เปิดให้สาธารณะชนระดมทุนเพื่อพัฒนาสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าของโค้ดได้รับกำไรงามอย่างต่อเนื่องจนเป็นแรงจูงใจให้ขยันอัพเดตโค้ดจนถึงทุกวันนี้” Palotayสรุป

 

อาชญากรด้านแรนซั่มแวร์ยังคงให้ความสนใจแพลตฟอร์มแอนดรอยด์อย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ของ SophosLabsแล้ว ปริมาณการโจมตีลูกค้าของ Sophos ที่ใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2560

002

“แค่ในกันยายนเดือนเดียวนั้น พบว่ามัลแวร์บนแอนดรอยด์ที่ SophosLabsตรวจพบกว่า 30.4 เปอร์เซ็นต์ล้วนเป็นแรนซั่มแวร์ทั้งสิ้น ซึ่งเราคาดว่าตัวเลขนี้จะพุ่งขึ้นเป็นประมาณ 45 เปอร์เซ็นต์ในเดือนตุลาคม” Rowland Yu นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ SophosLabsและอีกหนึ่งอาสาสมัครวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับแรนซั่มแวร์ในรายงาน SophosLabs 2018 Malware Forecastกล่าวเสริม “สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้แรนซั่มแวร์บนแอนดรอยด์ระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ นั้นเชื่อว่าเป็นเพราะสามารถรีดไถเงินจากเหยื่อได้มากกว่าการขโมยข้อมูลผู้ติดต่อ หรือ SMS ไปขาย, การบังคับแสดงโฆษณา, หรือแม้แต่การแฮ็คแอพอีแบงกิ้งแบบแต่ก่อนที่ต้องใช้เทคนิคและความรู้ที่ซับซ้อนกว่า อีกหนึ่งข้อเท็จจริงสำคัญที่พบก็คือ เรามักพบแรนซั่มแวร์บนแอนดรอยด์ในตลาดแอพที่อยู่นอก Google Play ซึ่งทำให้เราพยายามย้ำให้ผู้ใช้เฝ้าระวังเกี่ยวกับที่มา และตัวตนของแอพที่แท้จริงที่ตัวเองกำลังกดดาวน์โหลดอยู่เสมอ”

 

ในรายงานของ SophosLabs ฉบับนี้ ยังได้อธิบายถึงการโจมตีแอนดรอยด์สองประเภทที่กำลังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ อันได้แก่ การล็อกหน้าจอโทรศัพท์โดยไม่ได้เข้ารหัสข้อมูลภายใน กับการล็อกหน้าจอพร้อมทั้งเข้ารหัสล็อกข้อมูลบนเครื่องพร้อมกันด้วย ซึ่งแรนซั่มแวร์บนแอนดรอยด์ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ารหาข้อมูลของผู้ใช้ แต่จะใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการล็อกหน้าจอพร้อมข้อความขู่ที่ดูน่าเชื่อถือให้คนสิ้นหวังและยอมโอนเงินค่าไถ่ให้แทน ยิ่งมองที่ความถี่ของการใช้งานสมาร์ทโฟนต่อวันของผู้ใช้ปัจจุบันแล้วยิ่งเพิ่มโอกาสในการทำเงินเป็นอย่างมาก “Sophos แนะนำให้สำรองข้อมูลบนโทรศัพท์เป็นประจำ ลักษณะเหมือนที่ทำกับบนคอมพิวเตอร์ปกติทั้งนี้เพื่อรักษาข้อมูลให้ปลอดภัยอยู่เสมอ โดยไม่ต้องยอมจ่ายค่าไถ่เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อีกครั้ง เรามองเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของแรนซั่มแวร์บนแอนดรอยด์ และจะขึ้นเป็นกลุ่มมัลแวร์บนแพลตฟอร์มอุปกรณ์พกพาที่พบมากที่สุดในปีหน้า” Yu กล่าว

 

สำหรับรายงานฉบับเต็มพร้อมแผนภาพอธิบายประกอบอย่างละเอียดนั้น สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.sophos.com/en-us/en-us/medialibrary/PDFs/technical-papers/malware-forecast-2018.pdf?la=en

Baania, ZipEvent และ Refinn คว้ารางวัลจากเวที Krungsri RISE 2X

Krungsri RISE 2X โครงการความร่วมมือของบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด และไรส์ อะคาเดมี่ ประกาศตัวผู้ชนะแล้วภายในงาน Demo Day เพื่อนำเสนอผลงานของเหล่าสตาร์ทอัพ ที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมเร่งรัดพัฒนาสตาร์ทอัพแบบเข้มข้น

000

ทั้งนี้ Krungsri RISE  เป็นหนึ่งในโครงการด้านการส่งเสริมและพัฒนาการสร้างนวัตกรรมของบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในเครือกรุงศรี กรุ๊ป ได้ต่อยอดความสำเร็จในการให้ความสนับสนุนฟินเทคสตาร์ทอัพในปีที่แล้ว ผ่านโครงการ กรุงศรี ไรส์ รุ่น 2 ภายใต้แนวคิด “เร่งโตสองเท่า” (Accelerate 2X Potential) ช่วยเร่งสปีดการเติบโตของธุรกิจฟินเทคแบบก้าวกระโดดเป็นสองเท่าตัว พัฒนาองค์ความรู้และการลงทุนให้กับธุรกิจฟินเทคสตาร์ทอัพ ยกระดับขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่เข้าสู่ภาคธุรกิจดิจิทัล ติวเข้มทุกหลักสูตร อัดแน่นทุกเนื้อหาและกิจกรรม ก้าวล้ำด้วยวิธีทำธุรกิจนำเทรนด์

 

โดยทีมสตาร์ทอัพในโครงการ ทั้ง 10 ทีม ได้แก่ AIYA, Baania, Bigstone, Carpool, Horganice, Jabjai for School, Refinn, SetRobot, QueQ และ ZipEvent

 

ผู้ชนะ Krungsri RISE 2X ประกอบด้วย

  • รางวัล FinTech Innovation Award ได้แก่ Baania เว็บไซต์รวมช้อมูลโครงการบ้าน คอนโด ทาวโฮม ที่ดิน ครบทุกช่วงราคา พร้อมข้อมูลเชิงลึกในการตัดสินใจซื้อ รับรางวัลเดินทางไปศึกษาดูงานที่สหรัฐอเมริกา พร้อมพบปะกับนักลงทุนและเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของบริษัทผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก

012

  • รางวัล Rising Star Award ได้แก่ ZipEvent ระบบบริหารจัดการอีเว้นท์ที่ครบถ้วนที่สุดสำหรับผู้จัดงาน และผู้ออกบูธ ได้รับรางวัลเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมพบปะกับนักลงทุนและเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของบริษัทผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกเช่นกัน

009

  • รางวัล Popular Award ได้แก่  Refinn เว็บไซต์ที่ช่วยให้เรื่องรีไฟแนนซ์เป็นเรื่องง่าย

007

Fujitsu โชว์วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีที่งาน Fujitsu World Tour 2017 – Asia Conference Bangkok

Fujitsu โชว์วิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีที่งาน Fujitsu World Tour 2017Asia Conference Bangkok

เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำอย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) และ Internet of Things (IoT) เริ่มก่อให้เกิดการปฏิรูปทางด้านดิจิตอลสำหรับองค์กรธุรกิจและสังคมในวงกว้าง โดยมีการประสานงานร่วมกันอย่างกว้างขวางระหว่างภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และประเทศต่างๆ ในลักษณะที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับข้อมูล และนำไปสู่บริการและรูปแบบธุรกิจที่แปลกใหม่

IMG_3426

ฟูจิตสึมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคดิจิทัล เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงจัดการประชุม Fujitsu World Tour 2017 – Asia Conference ที่โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน ภายใต้หัวข้อ “Human Centric Innovation : Digital Co-creation

ในการประชุมนี้ มีการจัดแสดงเทคโนโลยีล่าสุดมากมาย ตั้งแต่ AI และ IoT ไปจนถึงระบบรักษาความปลอดภัยและระบบคลาวด์ และมีการนำเสนอข้อมูลโดยผู้บริหารภาคอุตสาหกรรมในสาขาต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่แนวคิดและแผนงานสำหรับการทำงานร่วมกันอย่างกว้างขวาง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตสำหรับภูมิภาคเอเชีย Fujitsu World Tour เป็นการประชุมที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุด ครอบคลุมกว่า 20 ประเทศในกว่า 6 ทวีป เริ่มต้นในเดือนมีนาคม และปิดฉากลงในเดือนพฤศจิกายน โดยมีการจัดแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยี บริการ และโซลูชั่นระดับสุดยอดของฟูจิตสึ ที่จะเรียนรู้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยปรับปรุงธุรกิจและขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างไร พร้อมรับทราบข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรม ร่วมเสวนาในหัวข้อสำคัญ ศึกษากลยุทธ์ทางด้านดิจิทัลและแนวทางการปรับใช้ รับรู้ถึงแนวคิดใหม่ๆ และแรงบันดาลใจในการลงมือปฏิบัติ ก้าวออกจากกรอบเดิมๆ ปฏิรูปธุรกิจไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจากฟูจิตสึ

ภายในงาน นอกเหนือจากการโชว์เทคโนโลยีและบริการต่างๆ ยังมีลูกค้าที่นำโซลูชั่นจาก Fujitsu ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กร ตัวอย่างเช่น การขึ้นมาเล่าถึงการพัฒนาธุรกิจปูนซีเมนต์ไปสู่การเป็น Digital Connected Plant ของ บริษัท สยามซิตี้ ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ซิสโก้จับมือตำรวจสากล (INTERPOL) ต่อสู้อาชญากรรมทางไซเบอร์

ซิสโก้ ผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก และองค์การตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นองค์กรตำรวจระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศข้อตกลงในการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับภัยคุกคาม โดยนับเป็นก้าวแรกของความร่วมมือในการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ร่วมกัน

ภายใต้การทำงานของศูนย์อาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกของ  INTERPOL (INTERPOL’s Global Cybercrime Center) ซึ่งเป็นศูนย์อาชญากรรมทางไซเบอร์ระดับโลกของตำรวจสากล (The Complex for Innovation  หรือ IGCI) ในสิงคโปร์ ทั้งสององค์กรจะพัฒนาแนวทางความร่วมมือในการแบ่งปันข้อมูล นอกจากจะช่วยให้สามารถตรวจจับภัยคุกคามทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังปูทางสู่ความร่วมมือในอนาคตในส่วนของการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนความรู้

Cisco John N. Stewart & INTERPOL Noboru Nakatani at Agreement Signing [Resize]

นายโนโบรุ นากาทานิ ผู้อำนวยการบริหารของ IGCI กล่าวว่า “การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเชี่ยวชาญระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์  ไม่มีประเทศหรือบริษัทใดที่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้เพียงลำพัง  ข้อตกลงระหว่างตำรวจสากลและซิสโก้จะช่วยให้เรา รวมถึงหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในประเทศสมาชิก 192 ประเทศ สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถตรวจจับและป้องกันการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

นายจอห์น เอ็น. สจ๊วต รองประธานอาวุโสและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของซิสโก้ กล่าวว่า “ปัจจุบัน อาชญากรรมทางไซเบอร์มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในทุกที่ทั่วโลก ดังนั้นฝ่ายป้องกันทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกันเพื่อรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว  ความสามารถในการตรวจสอบและข้อมูลข่าวกรองด้านภัยคุกคามที่รอบด้าน ครอบคลุมโดเมนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด มีความสำคัญอย่างมากต่อการตรวจจับ วิเคราะห์ และป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ  เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับตำรวจสากลในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคาม และขยายโอกาสในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในด้านอื่นๆ เพื่อต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลก”

นายนาวีน เมนอน ประธานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของซิสโก้ กล่าวว่า “ข้อตกลงความร่วมมือนี้ได้รับการลงนามในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงในเวทีโลก ในการเป็นศูนย์กลางสำหรับการต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้  เราเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่มีความหลากหลาย ขณะที่แต่ละประเทศมีระดับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน  โครงการริเริ่มนี้นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการสร้างกลยุทธ์แบบครบวงจร เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านดิจิทัล และผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องหวาดกลัวภัยคุกคามและการโจมตีทางดิจิทัล”

เทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยที่เหนือชั้นและแนวทางด้านสถาปัตยกรรมของซิสโก้ช่วยให้ลูกค้าปกป้ององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยครอบคลุมตั้งแต่เครือข่ายไปจนถึงอุปกรณ์ลูกข่ายและระบบคลาวด์  กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรของซิสโก้ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อให้ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน สามารถตรวจจับภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที และหยุดยั้งภัยคุกคามดังกล่าวได้ทั่วทุกจุด นับเป็นการพลิกโฉมระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง  นอกจากนี้ ซิสโก้สามารถปิดกั้นภัยคุกคามกว่า 19.7 พันล้านครั้งในแต่ละวันผ่านทางระบบ Collective Security Intelligence ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มงาน Cisco Talos Security Intelligence and Research Group

ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างซิสโก้และตำรวจสากลจะส่งเสริมโครงการต่างๆ ของตำรวจสากลในการต่อสู้กับ “อาชญากรรมทางไซเบอร์โดยแท้” และอาชญากรรมที่อาศัยช่องทางไซเบอร์ เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกสามารถระบุการโจมตีทางไซเบอร์และกลุ่มคนร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Wi-Fi NOW งานประชุมและมหกรรมแสดงสินค้าด้าน Wi-Fi ชั้นนำของโลก กำลังจะเปิดฉากที่กรุงเทพ 28-30 พ.ย. นี้

เครือข่ายไร้สายถือเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ การให้บริการลูกค้า การใช้ชีวิตประจำกัน รวมถึงยังเป็นปัจจัยในการสรา้งโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจอีกด้วย ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้บริหารในอุตสาหกรรมเครือข่ายไร้สายระดับโลกจึงจะมารวมตัวกันที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าร่วมงาน Wi-Fi NOW การประชุมและมหกรรมแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรม Wi-Fi ชั้นนำของโลก ในวันที่ 28-30 พ.ย. นี้ เพื่อเร่งการใช้งานและการเติบโตของ Wi-Fi ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

001

000

 Claus Hetting ซีอีโอและประธานของ Wi-Fi NOW เปิดเผยว่า “Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาล ด้วยอุปกรณ์ 8 พันล้านเครื่องที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ เรื่องราวการเติบโตของ Wi-Fi ยังคงน่าทึ่ง และสิ่งที่เราได้เห็นนั้นเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ Wi-Fi NOW รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ Wi-Fi ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยการจัดงานที่กรุงเทพมหานครในครั้งนี้”

Google, Reliance Jio Infocomm จากอินเดีย, Wi2 จากญี่ปุ่น, CAT Telecom ของประเทศไทย, Qualcomm, Ruckus Wireless, Mojo Networks, Cambium Networks รวมถึงผู้ให้บริการโซลูชั่นและบริการ Wi-Fi ชั้นนำระดับภูมิภาคและท้องถิ่นอื่น ๆ อีกมากมายจะเข้าร่วมมหกรรมในครั้งนี้ด้วย

Claus Hetting เพิ่มเติมว่า การที่ Wi-Fi NOW เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ก็เพราะชื่อเสียงในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมการบริการ Wi-Fi ระดับภูมิภาค ทั้งโครงการ Pukhet City Wi-Fi และโครงการวิลเลจ บรอดแบนด์ ของรัฐบาลไทย นับเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นในการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต้นทุนต่ำซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและธุรกิจ”

002

สำหรับกำหนดการประชุมนั้นมีทั้งข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเป็นผู้นำด้านการเชื่อมต่อ Wi-Fi สมาร์ทโฮม, การปรับปรุงมาตรฐานและเทคโนโลยี Wi-Fi ล่าสุด คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโมเดลธุรกิจของ Wi-Fi สาธารณะ และการสาธิตการเชื่อมต่อ Wi-Fi ไร้สายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

มหกรรม Wi-Fi NOW นี้ จะจัดขึ้นที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต ใจกลางกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 28-30 พ.ย. 2560 สามารถศึกษากำหนดการ ตั๋วเข้าชม และการลงทะเบียนเข้างานได้ที่ http://www.wifinowevents.com/apac/ ผู้เข้าชมชาวไทยที่สนใจเข้าร่วมชมงานสามารถติดต่อผู้จัดงานเพื่อรับส่วนลดได้แล้ววันนี้

You may have missed