04/20/2024

Month: April 2017

ปูนซีเมนต์นครหลวง ก้าวสู่ “โรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ” (Digital Connected Plant) รองรับ Industrial Internet of Things: IIoT

หลังจากนำเสนอการก้าวสู่ระบบ ERP ด้วย SAP S4 HANA บนไฮบริดคลาวด์ไปเมื่อเร็วๆ นี้ เรื่องราวของปูนซีเมนต์นครหลวงยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพื่อตอบรับกับการแข่งขันทางธุรกิจและความต้องการของลูกค้า โครงการการปฏิวัติระบบไอทีของปูนซีเมนต์นครหลวง ยังครอบคลุมไปถือการก้าวสู่การเป็น โรงงานดิจิทัลอัจฉริยะ(Digital Connected Plant) รองรับ “อินดัสเตรียล อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ อินดัสเตรียล ไอโอที (Industrial Internet of Things: II ถือเป็นบริษัทแรกในประเทศไทยที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินงานเป็นระบบดิจิทัล

PENG4372-2

ภายใต้โครงการนี้ ปูนซีเมนต์นครหลวงได้ติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน Pervasive Network และระบบเชื่อมต่อไร้สายครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ภายในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงงาน 3 จังหวัดสระบุรี นับเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมในการติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำจากซิสโก้ และบริการติดตั้งระบบจากฟูจิตสึ

Edit 04 2.mp4_20170428_132342.532

การติดตั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ IIoT หรือ อินดัสเตรียล อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ อินดัสเตรียล ไอโอที (Industrial Internet of Things) ของปูนซีเมนต์นครหลวง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนระบบงานแบบเดิมที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก รวมถึงเอกสารที่เป็นกระดาษ พร้อมปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในองค์กร โดยอาศัยการทำงานร่วมกันกับผู้เชี่ยวชาญผ่านการเชื่อมต่อระยะไกล (Remote Expert Collaboration) และเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) ปูนซีเมนต์นครหลวงได้ติดตั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อ WiFi และความถี่วิทยุ (RF) ที่หลากหลายรุ่นตามจุดต่างๆ ภายในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรง 3 โดยความร่วมมือจากฟูจิตสึ รวมถึงแอ็คเซสพอยต์ Cisco Aironet® 1532E จำนวน 374 เครื่องสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร และสวิตช์เครือข่าย Cisco® Industrial Ethernet (IE) 4000 Series จำนวน 40 เครื่อง จากซิสโก้ ภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนด (เดือนมีนาคม 2560)

008

หลังจากที่ดำเนินการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ เครือข่ายดังกล่าวสามารถรองรับอุปกรณ์พกพาได้อย่างไม่จำกัดจำนวน สามารถเชื่อมต่อได้ทุกเวลา ด้วยอัตราความเร็วเฉลี่ย 1.3-1.5 กิกะบิตต่อวินาที

005

006

007

009

011

นอกเหนือจากการลดระยะเวลาการทำงานที่หยุดชะงักอย่างไม่คาดคิด ลดค่าบำรุงรักษารายปี และปัญหาอุปกรณ์ที่ขาดประสิทธิภาพแล้ว ปูนซีเมนต์นครหลวงจะใช้เครือข่ายนี้เป็นรากฐานสำหรับการติดตั้งโซลูชั่น IIoT ในอนาคต เช่น ระบบตรวจสอบติดตามตำแหน่งที่ตั้งแบบเรียลไทม์ของพนักงาน ผู้รับเหมา และอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพงานในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับบุคลากรและเครื่องจักรภายในโรงงาน ความร่วมมือกับซิสโก้ และฟูจิตสึ ช่วยให้ปูนซีเมนต์นครหลวงสามารถพัฒนาระบบดิจิตอลที่ยั่งยืน ควบคู่ไปกับการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรที่ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด

ธุรกิจอาเซียนให้ความสำคัญกับ “ความพอใจลูกค้า – นโยบาย BYOD” เป็นเรื่องสำคัญสูงสุด

มีการสำรวจจากฟอร์เรสเตอร์ คอนซัลติง (Forrester Consulting) ในนามของเดลล์ (Dell) ชี้ว่า ผู้บริหารฝ่ายไอที
และองค์กรชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าและประเด็นเรื่องซีเคียวริตี้อย่างมากหากจะให้พนักงานนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้งาน

customer-service-ts-100648_CZYq59t

การสำรวจจากฟอร์เรสเตอร์พบว่าองค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าาจะเลือกทางไหนดี
ระหว่างการมุ่งหน้าทำรายได้ให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางการเงินกับการหาพื้นที่เฉพาะ (ตลาด Niche) ให้กับตนเองในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลที่กำลังมาถึง

โดย 63 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่า สิ่งที่ธุรกิจให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือการสร้างประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นและมีถึง 71 เปอร์เซ็นต์ของภาคธุรกิจและผู้บริหารไอทีใน SEA มองว่าการลดค่าใช้จ่ายในองค์กรเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุด

การเข้าใจถึงความหลากหลายของเครื่องมือ (Device) ก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมา โดยมองว่าเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาคนทำงานที่มีประสิทธิภาพเอาไว้ได้

“การทำงานในปัจจุบันมีการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับพนักงานให้ทำงานได้ดีที่สุด
ผู้บริหารฝ่ายไอทีและองค์กรธุรกิจจึงอยู่ระหว่างการทำ Workforce Transformation ด้วยการเลือกเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องเพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น”  Rakesh Mandal ผู้อำนวยการและผู้จัดการทั่วไปแผนก Client Solutions ของเดลล์ประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเกาหลีกล่าว

นอกจากนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถาม 81 เปอร์เซ็นต์ แสดงความกังวลเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมายกรณีนโยบาย Bring Your Own Device (BYOD) และ 44 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าการรั่วไหลของข้อมูลภายในองค์กรก็มาจากอุปกรณ์ที่พนักงานนำเข้ามาใช้นั่นเอง

ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์พีซีเป็นเครื่องใหม่ว่าจะช่วยปรับปรุงระบบซีเคียวริตี้ให้กับองค์กรได้นั้นก็มีถึง 75 เปอร์เซ็นต์

เทรนด์หนึ่งที่พบก็คือ พนักงานยุคใหม่ต้องการทำงานจากสถานที่อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ออฟฟิศมากขึ้น และต้องการใช้อุปกรณ์ในการทำงานที่หลากหลายซึ่งในจุดนี้ พวกเขาต้องการวงรอบในการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เร็วขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าและอยากให้องค์กรช่วยสนับสนุนอุปกรณ์เหล่านั้นให้กับเขาด้วย

อย่างไรก็ดี ในการจัดซื้อ 53 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ยกประเด็นความยุ่งยากซับซ้อนของการติดต่อกับเวนเดอร์ว่าเป็นตัวการทำให้การบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและ 53 เปอร์เซ็นต์มองว่า การที่ระบบซีเคียวริตี้ของพีซีรั่วไหลบ่อย ๆ เป็นปัญหาสำคัญขององค์กร

รายงานดังกล่าวจึงได้แนะนำด้วยว่าภาคธุรกิจควรจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พีซีแบบครบวงจรโดยผู้นำองค์กรต้องโฟกัสไปที่การเปลี่ยนวิธีการทำงานของบริษัท และ CIO ต้องจัดเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ให้พร้อมสรรพนั่นเอง

ที่มา https://www.computerworld.com.sg/tech/it-management/southeast-asia-prioritises-employee-device-security-customer-experience/

 

ที่มา https://www.computerworld.com.sg

ปูนซีเมนต์นครหลวงสร้างปรากฏการณ์ Mission Impossible ปฏิวัติระบบไอทีก้าวสู่ SAP S4 Hana บนไฮบริดคลาวด์น 6 เดือน

บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ชั้นนำในประเทศไทย ปรับปรุระบบไอทีครั้งใหญ่ ตั้งบริษัท  อินทรี ดิจิตอล เพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ด้านไอทีเพื่อสร้างพัฒนาการทางดิจิทัล เพื่อเป้าหมายในการสร้างองค์กรให้พร้อมในอนาคต โดยหนึ่งในพาร์ทเนอร์สำคัญได้แก่เอ็นไอไอที เทคโนโลยีส์ ได้เป็นผู้ออกแบบ ส่งมอบ และจัดการในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานระบบไฮบริดคลาวด์

002

การพัฒนาและเติบโตด้านดิจิตอลเทคโนโลยีของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงนั้น มีอินทรี ดิจิตอล ซึ่งเป็นบริษัทด้านดิจิตอลเทคโนโลยีในกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงได้ทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อน โดยเริ่มต้นจากโครงการอินทรีสมาร์ท โดยโครงการนี้ได้นำระบบ SAP S4 HANA ที่ทันสมัยที่สุด นำมาใช้งานเป็นแห่งแรกในเอเชีย โดยระบบ SAP ดังกล่าวได้ติดตั้งลงโครงสร้างพื้นฐาน และดาต้าเซ็นเตอร์แบบคลาวด์ผสมผสานโดยใช้ชื่อว่า “INSEE DIGITAL Cloud Data Centre” โดยระบบโครงสร้างพื้นฐาน และดาต้าเซ็นเตอร์แบบคลาวด์ผสมผสานนี้สามารถดำเนินการติดตั้งได้สำเร็จเรียบร้อยอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 6 เดือน ทำให้กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงสามารถปรับมาใช้โมเดลธุรกิจใหม่ และเปิดเส้นทางสู่ดิจิตอลเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโครงสร้างพื้นฐาน และดาต้าเซ็นเตอร์แบบคลาวด์ผสมผสานนี้ จึงทำให้กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงประสบความสำเร็จในการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือแห่งใหม่ที่ประเทศบังกลาเทศ รวมถึงการควบรวมในประเทศศรีลังกา และเวียดนามในปัจจุบันได้อย่างรวดเร็ว และคุ้มค่า

Picture

คุณอิฑยา ศิริวสุกาญจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทรี ดิจิตอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง กล่าวว่า “ระบบดิจิตอลเทคโนโลยีเป็นช่องทางเพื่อนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงสำหรับธุรกิจ รวมถึงทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบธุรกิจ โดยการใช้ดิจิตอลเทคโนโลยี อาทิเช่น ระบบคลาวด์ ทำให้เราสามารถกำหนดรูปแบบการให้บริการ และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเป็นโอกาสในการเติบโตทางด้านธุรกิจ และขยายตัวในระดับภูมิภาคได้ ซึ่งอินทรี ดิจิตอลตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงได้ร่วมมือกับเอ็นไอไอที เทคโนโลยีส์ ในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามความเหมาะสม เพื่อตอบโจทย์ความจำเป็นทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง”

 

มร. อานูป ราชา หัวหน้าธุรกิจประจำภูมิภาคเอเชีย บริษัท เอ็นไอไอที เทคโนโลยีส์ จำกัด   กล่าวว่า “ในแง่กลยุทธ์ที่บริษัทมุ่งเน้นนั้น จะให้บริการช่วยเหลือลูกค้าด้านการปรับขนาดโครงการด้านดิจิตอลด้วยความฉับไวโดยใช้ขีดความสามารถของระบบคลาวด์ เราภาคภูมิใจ และยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ความร่วมมือนี้สามารถช่วยให้กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงสามารถพัฒนาปรับปรุง และเป็นประโยชน์จนผลิดอกออกผลได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น”

 

โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลเทคโนโลยี ซึ่งได้รับการดูแลโดยอินทรี ดิจิตอล  โดยระบบดังกล่าวทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหลักสำหรับรองรับโครงการด้านดิจิตอลใหม่ๆ ของกลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง ปัจจุบันทั้งสองบริษัทกำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นได้ในการนำเทคโนโลยีด้าน IoT อาทิเช่น การบริหารจัดการรถขนส่ง  รวมถึงการนำโปรแกรมหุ่นยนต์มาใช้เป็นประโยชน์

เวียดนามลุยตลาดพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับรถยนต์ คาดทำรายได้กว่า 7000 ล้านบาท

อีกหนึ่งประเทศที่วงการสตาร์ทอัป และเทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็คือเวียดนาม โดยล่าสุด บริษัท FPT Software บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ของเวียดนามได้ออกมาเผยตัวเลขคาดการณ์ของปีนี้ว่าอาจทำรายได้จากการขายโซลูชันเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ทะลุ 200 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6,892 ล้านบาท และมีแผนจะว่าจ้างพนักงานเพิ่มอีก 8,000 ตำแหน่งภายในปี ค.ศ. 2020 ด้วย

fptsoft

โดยการประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นบนเวทีสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีออโตโมบิล และโรบ็อทในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ทางบริษัทจัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร นักศึกษาเข้าร่วมงานดังกล่าวกว่า 300 คน ซึ่งทาง FPT Software เผยว่า บริษัทโฟกัสไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์สมัยใหม่ และเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหลัก

โดยในปีที่ผ่านมา FPT Software ได้มีการเปิดแผนกผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำหรับโซลูชันด้านยานยนต์ โดยมีพนักงานราว 1,000 คน และมีโปรเจ็คด้านยานยนต์กว่า 150 โปรเจ็ค โดยผู้ว่าจ้างมาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ บริษัทมีแผนจะว่าจ้างวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์อีกกว่า 1,000 ตำแหน่งภายในปีนี้ด้วย

ที่มา http://bizhub.vn

ดีป้า แถลง เร่งจัดทำโครงสร้างบทบาทหน้าที่ให้สอดรับกับภารกิจใหม่

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ด.ศ.) แถลงภารกิจหน้าที่มุ่งสรรหาพนักงาน สรรหาคัดเลือกผู้อำนวยการ และจัดทำโครงสร้างบทบาทหน้าที่ให้สอดคล้องกับภารกิจใหม่ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560  โดยมุ่ง 5 กลุ่มงานสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มงานศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล กลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล กลุ่มยุทธศาสตร์และบริหาร กลุ่มขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ ซึ่งต้องให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 23 กรกฎาคม 2560 

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวถึงโครงสร้างการทำงานของ
ดีป้าว่า 
ขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาคัดเลือกพนักงานเดิมจากซิป้า (สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ) เพื่อจะมาเป็นพนักงานดีป้า ตามโครงสร้างองค์กรใหม่ที่จัดทำขึ้นสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ภารกิจขององค์กร และการสรรหาคัดเลือกผู้อำนวยการตามมา เนื่องจากโดยตำแหน่งผู้อำนวยการปัจจุบันเป็นตำแหน่งชั่วคราวที่ได้รับแต่งตั้งจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงการทำงาน 1 เดือนครึ่งที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการเสร็จไปแล้วหลายเรื่อง โดยเฉพาะโครงสร้างใหม่ของดีป้าซึ่งแบ่งการทำงานเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.กลุ่มงานศูนย์พัฒนาดิจิทัลและนวัตกรรม นับเป็นกลุ่มงานพิเศษ ที่จะดำเนินโครงการตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนดิจิทัลไทยแลนด์ ตัวอย่างเช่น โครงการพิเศษว่าด้วยเรื่องของดิจิทัล ปาร์ค ด้วยการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆตามบทบาทหน้าที่ด้านการส่งเสริมของสำนักงาน

2.กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นการนำดิจิทัลเทคโนโลยี และนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม โดยแบ่งเป็นฝ่ายงานต่างๆ ได้แก่

ฝ่ายงานที่ 1 ฝ่ายส่งเสริมการพัฒนากำลังดิจิทัล

ฝ่ายงานที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาชุมชน

ฝ่ายงานที่ 3 ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคง ให้เป็นไปตามพรบ.ที่กำหนด คือให้เร่งพัฒนากำลังคน และบุคลากรแรงงานด้วยเป็นการเพิ่ม Workforce มาเป็น Up Skill เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับการเปลี่ยนแปลงรองรับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)

3.กลุ่มงานเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีรองผู้อำนวยการและฝ่ายงานต่างๆ ดูแล ซึ่งประกอบด้วย 3 ฝ่าย ได้แก่

ฝ่ายที่ 1 ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรแนวใหม่

ฝ่ายที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรม S Curve

ฝ่ายที่ 3 ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัล ดูแลด้านการส่งเสริมการลงทุน และส่งเสริมการตลาด

4.กลุ่มยุทธศาสตร์และการบริหาร ซึ่งดูแลงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ข้อมูลให้เป็นไปตามที่พรบ.กำหนด

5. กลุ่มการทำงานที่ขึ้นตรงกับผู้อำนวยการ เพื่อขับเคลื่อนการใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีนวัตกรรมในพื้นที่ ซึ่งจะแบ่งการทำงานออกเป็นฝ่ายประกอบด้วย ฝ่ายส่งเสริมสนับสนุนบริการในพื้นที่ภาคเหนือในสาขาภาคเหนือตอนบน สาขาภาคเหนือตอนล่าง ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนบริการในพื้นที่ภาคอีสานในสาขาภาคอีสานตอนบน สาขาภาคอีสานตอนกลาง และสาขาภาคอีสานตอนล่าง ฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนบริการในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกในสาขาภาคกลางตอนบน สาขาภาคกลางตอนล่าง สาขาภาคตะวันออก และฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนบริการในพื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ สาขาภาคใต้ตอนบน สาขาภาคใต้ตอนล่าง โดยการดำเนินงานของกลุ่มนี้จะพัฒนาเฉพาะส่วนกลางคงไม่ได้ ต้องมีการขยายพื้นที่ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของการขยายผลการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะกำหนดให้มีกลุ่มการทำงานเป็นจังหวัด เป็นสาขา รวมทั้งหมด 12 สาขา 72 จังหวัด ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าไม่นับรวมกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

หลังจากการคัดเลือกพนักงานเข้าปฏิบัติงานตามโครงสร้างดังกล่าว ภายในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ แล้วดีป้าจึงจะรับสมัครบุคคลภายนอกที่เหมาะสมเข้าเสริมทัพในส่วนงานต่างๆต่อไป

ทีซีซีเทค โชว์เทคโนโลยีคลาวด์

พบกับทีซีซีเทคได้ในงานณ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ พร้อมข้อเสนอพิเศษของบริการคลาวด์และอินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่บูธของทีซีซีเทค

TCCT LOGO-2

พบกับทีซีซี เทคโนโลยี (ทีซีซีเทค) ผู้นำและผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้ที่งาน April Series 2017 ในวันที่ 26-27 เมษายน 2560 ณ ห้องวายุภักษ์ 2-4 โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ การเข้าร่วมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้เข้าร่วมงานและตัวแทนองค์กรกว่า 1,000 ราย ในการขับเคลื่อนองค์กรและประเทศสู่การเป็น “ประเทศไทย 4.0” และนำเสนอโปรโมชั่นพิเศษของบริการคลาวด์และอินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่บูธของทีซีซีเทค

สำหรับงาน April Series 2017 ประกอบด้วย 3 เวทีหลัก ได้แก่ “Education ICT Forum 2017” (เวทีสำหรับสถาบันและระบบการศึกษา) “Healthcare Technology Summit 2017” (เวทีสำหรับบริการด้านสาธารณสุขสำหรับประชาชน) และ “Innovation School Summit 2017” (เวทีด้านการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา)

พบกับเราได้ที่บูธของทีซีซีเทค และข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tcc-technology.com หรือโทรศัพท์ 02-626-0000.

DCS จับมือ N.E.X.T สร้างสรรค์สื่อโฆษณาเสียงอัจฉริยะคว้ารางวัล Thailand ICT Excellence awards 2017

ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด (DCS) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ได้ผสานองค์ความรู้กับ บริษัท เอ็น.อี.เอ็กซ์.ที จำกัด (N.E.X.T) ผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีด้านสื่อวิทยุ ให้บริการธุรกิจสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงด้วยเทคโนโลยีและระบบการจัดการแบบครบวงจร เพื่อพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อโฆษณาประเภทเสียงที่ไม่ต้องการพื้นที่การขายในร้านค้า สามารถตอบสนองความต้องการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น ร้านค้า เจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้ใช้บริการ พนักงาน และสอดคล้องไปกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

DSC02223

Adaptive In-Store Radio หรือ สื่อโฆษณาเสียงอัจฉริยะ ถูกพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดของเครื่องส่งสัญญาณเสียง “ติ๊งต่อง” ในร้านสะดวกซื้อให้กลายเป็นสื่อโฆษณาเสียงที่สามารถโฆษณาสินค้าได้มากกว่า 1,000 ครั้งต่อวัน พร้อมกับนวัตกรรมการวัดผลการเข้าถึงของสื่อโฆษณานอกบ้านแบบปัจจุบันทันด่วนรายแรกของประเทศไทยอีกด้วย โดยเครื่องจะทำการตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ทางเข้าร้านค้า หรือบริเวณที่มีพื้นที่การแข่งขันทางการขายสูง

Adaptive In-Store Radio เป็นนวัตกรรมการบริหารจัดการสื่ออย่างครบวงจร ทั้งระบบ Hardware, Software และ Network เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ทำงานได้ครบวงจร ระบบจะช่วยควบคุมการเผยแพร่สื่อโฆษณา ณ ร้านค้า ทำการเปิดเสียงโฆษณา เมื่อมีผู้เข้ามาใช้บริการในร้านค้า ด้วยระบบการตรวจจับความเคลื่อนไหวของคน (Human Sensor) และ ปิดเสียงโฆษณา เมื่อระบบ Sensor ไม่พบความเคลื่อนไหว และเปลี่ยนเป็นเสียงเพลงภายในร้านค้า ไม่เพียงเท่านี้ สื่อโฆษณาเสียงอัจฉริยะ ยังทรงประสิทธิภาพด้วย
• ระบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Business Intelligence) ตรวจสอบและวัดผลการเข้าถึงสื่อในมุมมองต่าง ๆ
• กล่องรับ-ส่งสัญญาณและจัดเก็บ Content ที่ป้องกันไฟฟ้ากระชากได้อัตโนมัติ และกลับมาทำงานได้ เมื่อไฟฟ้ากลับมาปกติ
• ระบบบริหารจัดการการขายโฆษณาสำหรับผู้ขายโฆษณา ผ่าน web application
• ระบบการบริหารจัดการการวางแผนการเผยแพร่สื่อโฆษณาที่มีความซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเต็มไปด้วยเงื่อนไข
• ระบบการส่งสื่อโฆษณาไปยังกล่องรับ-ส่งสัญญาณและจัดเก็บ Content ที่ร้านค้าพร้อม ๆ กันทั่วประเทศ ผ่านการเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เนื่องจากระบบเป็นการสื่อสารไร้สาย กล่องจึงมีความสามารถในการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในสภาวะความไม่เสถียรของระบบเครือข่ายไร้สาย
• ระบบการตรวจสอบสถานะการทำงานของกล่องรับสัญญาณและเนื้อหาของแต่ละจุดที่ติดตั้งแบบ Real-time

ปัจจุบัน Adaptive In-Store Radio มีการติดตั้งในโมเดิร์นเทรด และร้านสะดวกซื้อชั้นนำรวมทั้งสิ้นกว่า 2,354 สาขา

การร่วมกันนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ มาพัฒนาให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงและเป็นผู้ริเริ่มในธุรกิจจาก ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ (DCS) และ เอ็น.อี.เอ็กซ์.ที (N.E.X.T) ทำให้บริษัทฯ ได้คว้ารางวัลชนะเลิศจากการประกวด Thailand ICT Excellence awards 2017 ประเภทโครงการนวัตกรรม (Innovation Projects) ซึ่งจัดโดย สมาคม การจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการผสานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบกระบวนการทำงานที่มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT สนับสนุน พร้อมยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรในประเทศไทยให้มีศักยภาพเพิ่มขึนอย่างมีคุณภาพ เป็นการต่อยอดสร้างโอกาสทางธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคและสังคมไปพร้อมๆ กัน

องค์กรใน APAC มากกว่าครึ่งไม่ทำแบบประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐาน

พบความเข้าใจเรื่องการทำแบบประเมินความเสี่ยงขององค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาค APAC และญี่ปุ่นอาจมีความคลาดเคลื่อน โดยมีเพียง 45% ขององค์กรที่ทำแบบประเมินตามมาตรฐาน ขณะที่อีก 55% จะทำแบบประเมินเมื่อเกิดปัญหาด้านซีเคียวริตี้ขึ้นเท่านั้น

การสำรวจดังกล่าวจัดทำโดยบริษัท LoyRhythm ในประเด็นเรื่อง “Exploring Cyber Security Maturity in Asia” พบข้อมูลที่น่าสนใจว่า 80 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) นั้นมีความมั่นใจในระบบซีเคียวริตี้ขององค์กรว่าจะสามารถป้องกันการบุกรุกของผู้ไม่ประสงค์ดีได้ และมี 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวที่เชื่อมั่นว่า อย่างน้อยภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ บริษัทของพวกเขาจะไม่ถูกเจาะระบบอย่างแน่นอน

security_KerZK87

โดยการศึกษาดังกล่าวได้สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในวงการไอทีระดับผู้มีอำนาจตัดสินใจจำนวน 400 คนในฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ (จัดทำโดย Frost & Sullivan) อย่างไรก็ดี รายงานชิ้นนี้ยังพบด้วยว่า แม้ว่าองค์กรส่วนมากจะมั่นใจในความแข็งแกร่งของระบบซีเคียวริตี้ที่องค์กรใช้งานอยู่ แต่ก็มีถึง 55 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เคยทำแบบประเมินความเสี่ยง หรือบอกว่าจะทำก็ต่อเมื่อมีช่องโหว่เกิดขึ้น หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดช่องโหว่ขึ้นเท่านั้น

ในจุดนี้ Bill Taylor-Mountford รองประธาน LoyRhythm ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น กล่าวว่า “น่าตื่นเต้นที่เราได้ทราบว่า องค์กรขนาดใหญ่ใน APAC มีความมั่นใจว่าจะสามารถปกป้องข้อมูลจากการรุกรานได้ อย่างไรก็ดี องค์กรเหล่านี้ต้องตระหนักด้วยว่า ความมั่นใจเหล่านั้นจะไม่ได้เกิดมาจากความเข้าใจเรื่องการทำแบบประเมินความเสี่ยงจากภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ที่ผิดพลาดจากสิ่งที่ควรจะเป็น”

เหตุที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากข้อมูลจากงานวิจัยชี้ด้วยว่า ส่วนหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้จะทำการประเมินความเสี่ยงด้านภัยคุกคามก็ต่อเมื่อมีปัญหาด้านซีเคียวริตี้เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น โดยกำแพงสำคัญที่ทำให้องค์กรไม่ตระหนักในการทำแบบประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นมาจากปัญหาด้านงบประมาณ รวมถึงการขาดประสบการณ์ด้านการถูกเจาะระบบที่รุนแรงที่บริษัทในภูมิภาคนี้ยังไม่เคยเจอนั่นเอง ซึ่งในจุดนี้ เขายังชี้ด้วยว่า การประเมินความเสี่ยงที่ทำอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสามารถช่วยให้องค์กรเข้าใจได้ว่าจุดที่องค์กรอยู่นั้นอยู่ในระดับใดใน Security Maturity Model

“อดีตที่ผ่านมา และซอฟต์แวร์ด้านการตรวจจับภัยคุกคามอาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วในสงครามด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยุคหน้า ซึ่งการจะรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น องค์กรต้องยกระดับรูปแบบการจัดการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้โดยการดึงทั้ง security intelligence, analytics และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำงานร่วมกัน และนี่ไม่ใช่ช้อยส์ให้องค์กรเลือก แต่คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ” Charles Lim นักวิเคราะห์จาก Frost & Sullivan กล่าวปิดท้าย

ที่มา http://www.computerworld.com.sg

เปลี่ยนสมาร์ทโฟนเป็นเครื่องวิเคราะห์โมเลกุลได้แล้วด้วย Changhong H2

ในเมื่อมนุษย์เราเข้าสู่ยุค Mobile-First ที่ซึ่งสมาร์ทโฟนกลายเป็นของคู่กาย และใช้เชื่อมต่อสู่โลกอินเทอร์เน็ตมากกว่าคอมพิวเตอร์พีซี ดังนั้นจะแปลกอะไรหากเราจะใช้อุปกรณ์คู่กายชิ้นนี้ในการวิเคราะห์โมเลกุลของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเสียเลย

21-sensor

นั่นจึงเป็นที่มาของเซนเซอร์แบบใหม่ “Changhong H2” ผลงานการพัฒนาของสามบริษัทได้แก่ Analog Devices Inc (ADI), Consumer Physics และ Sichuan Changhong Electric Co. (Changhong) ที่ร่วมกันพัฒนาเซนเซอร์ในการสแกนวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อนำผลมาตรวจสอบได้ว่า แท้จริงแล้ว วัตถุนั้นผลิตขึ้นมาจากอะไรกันแน่

โดยเซนเซอร์ดังกล่าวสามารถสแกนได้ทั้งของเหลว อาหาร ยา หรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งจากความสามารถนี้ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ในด้านการตรวจสอบข้อมูลอาหารและยาเลยทีเดียว เพราะเท่ากับเป็นการมอบอำนาจให้อยู่ในมือผู้บริโภคอย่างแท้จริง แถมผู้ผลิตก็จะไม่สามารถปลอมปนสารเคมีบางชนิดเข้ามาได้อย่างสะดวกอีกต่อไปแล้ว

สำหรับสิ่งที่ทำให้ปัญญาประดิษฐ์ ศูนย์กลางที่ทำหน้าที่ประมวลผลเหล่านี้ฉลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากเซนเซอร์แล้วก็คือ การที่มันวิเคราะห์ภาพต่าง ๆ ที่อัปโหลดขึ้นมาบนอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา เพราะ ยิ่งมีคนอัปภาพ อัปข้อมูลเข้ามามากเท่าไร มันก็จะยิ่งฉลาดขึ้นมากเท่านั้น

ที่มา https://www.springwise.com

ดีป้า มุ่งสานต่อโครงการ Digital Startup

การส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ทางด้านดิจิทัล หรือ Digital Startup นับว่าเป็นกระแสที่มาแรงเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการมุ่งเน้นการสร้างธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดเป็นสินค้าและบริการบนพื้นฐานของการสร้างสรรค์นวัตกรรมผสมผสานเข้ากับการทำธุรกิจ  ทั้งยังเป็นการส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นส่วนช่วยสร้างกำลังคนทางด้านดิจิทัลรุ่นใหม่จำนวนมากที่จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศในอนาคต

โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือดีป้า ได้เห็นความสำคัญและต้องการสร้างความเข้าใจให้กับธุรกิจดิจิทัลในกลุ่มคนรุ่นใหม่และบุคคลทั่วไปให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งเป็นการสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรม และเพื่อให้เกิด Digital Entrepreneurship ตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจ ภายใต้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัลที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตและประสบความสำเร็จในธุรกิจได้

คุณมีธรรม 1-2

นายมีธรรม ณ ระนอง รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษปฏิบัติหน้าที่แทนรองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจทิจิทัล กล่าวว่า ปัจจุบันดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ การแพทย์ หุ่นยนต์ การเงิน การศึกษา การออกแบบ การท่องเที่ยว ซึ่งประเทศไทยยังขาดบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจทัล หรือดีป้า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงขออาสาเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มธุรกิจ Digital Startup โดยการจัดให้มีโครงการ Digital Startup ขึ้นมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ พัฒนาศักยภาพ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถใช้งานได้จริง ทั้งสามารถต่อยอดไปสู่การดำเนินธุรกิจได้  Digital Startup เป็นโครงการหนึ่งที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม เพื่อสามารถต่อยอดสู่การเป็น Digital Entrepreneurship ได้

บรรยากาศ 1

โดยโครงการ Digital Startup ได้ดำเนินการเฟ้นหาผู้ที่มีไอเดียดีน่าสนใจเพื่อต่อยอด และพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้ได้โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 ทีม ซึ่งผ่านคัดเลือกมาจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และปัจจุบันดีป้าได้ดำเนินการคัดเลือกเหลือ 40 ทีม ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรม Level up camp ขึ้นมาเพื่อเพิ่มศักยภาพอย่างเข้มข้นให้กับผู้เข้ารอบ 40 ทีมนี้  พร้อมกับมีพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมและเข้าสู่การแข่งขันต่อไปในรอบสุดท้ายให้เหลือเพียง 10 ทีม  เพื่อไปฝึกงานกับบริษัทหรือองค์กรชั้นนำในต่างประเทศ พร้อมกับกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์พัฒนาผลงานที่สามารถใช้งานได้จริง โดยการจัดกิจกรรม Level Up Camp ครั้งนี้มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2560  ณ  โรงแรมอมรพันธ์วิลล่า จังหวัดระยอง

You may have missed