04/19/2024

Month: December 2016

2017 ภัยไซเบอร์จะฉลาดมากขึ้น เกิดขึ้นเองได้และยากที่ค้นเจอมากขึ้น

มร. เดอริค แมนคี นักกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทั่วโลกแห่งฟอร์ติเน็ต เห็นว่า “นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ คลาวด์คอมพิวติ้งและไอโอทีจะส่งผลให้มีโอกาสการเกิดภัยคุกคามในบริเวณที่กว้างมากขึ้น นอกจากนี้ ทั่วโลกยังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญและมีปัญหาเรื่องข้อบังคับด้านภัยไซเบอร์ จึงเกิดเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของอุตสาหกรรม  ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อนั้นจะไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องส่วนตัว กลุ่มบุคคลทางการเมืองแต่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางธุรกิจอีกด้วยในอนาคตจึงจำเป็นที่จะต้องเกิดความรับผิดชอบร่วมกันในหลายระดับ ตั้งแต่ผู้ขายอุปกรณ์ ภาครัฐบาลและภาคของผู้บริโภค หากยังไม่การดำเนินการใดๆ ที่ชัดเจนอย่างรวดเร็วจะเกิดความเสี่ยงและส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิตอลทั่วโลก”

000

ทั้งนี้ ทีมวิเคราะห์ฟอร์ติการ์ตแล็ปส์ของฟอร์ติเน็ตได้เผยเทรนด์ 6 ประการที่เป็นกลวิธีที่อาชญากรไซเบอร์จะใช้และเป็นแนวโน้มภัยที่จะเกิดขึ้นในปีคศ. 2017(โดยมีรายละเอียดที่ blog) และมีบทสรุปได้ ดังนี้:

  1. ภัยจะฉลาดมากขึ้น ภัยจะเป็นออโต้มเมทและเหมือนเป็นการกระทำโดยมนุษย์

ที่ผ่านมา มัลแวร์ส่วนใหญ่ยังไม่ฉลาด เนื่องจากจะถูกโปรแกรมให้ทำงานเพื่อวัตถุประสงค์จำนวนหนึ่งเท่านั้น แฮกเกอร์จะชี้เป้าให้มัลแวร์และจะกระทำการนั้นสำเร็จหรือไม่ก็ตาม โดยมี 2 วิธีคือ ส่งมัลแวร์ไปที่เหยื่อในจำนวนมากพอ หรือให้เวลามัลแวร์ในการจำลองตนเองขึ้นมาเพื่อแพร่พันธ์ในอุปกรณ์นั้นอีก

ปีหน้านี้ ภัยจะฉลาดมากขึ้น และมีความเก่งกาจสามารถจะทำงานเอง จะเป็นมัลแวร์ใหม่ที่เรียนรู้จากสถานการณ์ ซึ่งมันจะเข้าใจสิ่งแวดล้อมนั้นๆ และจะตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อไป เราจะเห็นภัยมัลแวร์ที่สร้างมาให้มีพฤติกรรมเหมือนเป็นมนุษย์ ซึ่งจะมีความสามารถในการดัดแปลง ระบุหาเหยื่อ หาวิธีที่จะคุกคาม เรียนรู้เองจากความสำเร็จที่ผ่านๆ มา เพื่อจะพัฒนาการคุกคามของตนเองให้ดีขึ้นรวมทั้งหาวิธีที่ให้รอดจากการโดนดักจับ

  1. ผู้ผลิตไอโอทีจะต้องรับผิดชอบด้านความปลอดภัยรั่วไหล

อุปกรณ์ไอโอทีปัจจุบันจะเป็นประเภท headless ซึ่งจะไม่สามารถเพิ่ม Security client หรืออัปเดทซอฟท์แวร์หรือเฟิร์มแวร์ของเขาได้  ในปัจจุบัน แฮกเกอร์มีเทคนิคการใช้ Default usernames คู่กับ passwords หรือใช้ Hardcoded backdoors และมีกลยุทธ์อีกมากในการคุกคามไอโอที ได้แก่ Coding errors, back doors, และช่องโหว่ต่างๆ ที่เกิดจาก Junk code ที่ใช้ในการเปิดใช้การสื่อสารและเชื่อมโยงของไอโอที

ดังนั้น เรื่องความปลอดภัยของไอโอทีจะเป็นเรื่องที่ใหญ่มากเกินกว่าหน่วยงานรัฐบาลจะเพิกเฉยได้ ถ้าผู้ผลิตไอโอทีไม่สามารถป้องกันอุปกรณ์ไอโอทีให้ดีขึ้น จะส่งผลแก่เศรษฐกิจดิจิตอลทั่วโลก ผู้บริโภคอาจลังเลในการซื้อสินค้าไอโอทีเนื่องจากกลัวด้านความปลอดภัย  เราจะเห็นการเรียกร้องจากผู้บริโภคผู้ขายและกลุ่มที่มีผลประโยชน์อื่นๆ ให้สร้างและบังคับใช้มาตรฐานความปลอดภัย เพื่อให้ผู้ผลิตอุปกรณ์รับผิดชอบต่อพฤติกรรมของอุปกรณ์ไอโอทีของพวกเขา

  1. การมีจำนวนอุปกรณ์ไอโอทีถึง 2 หมื่นล้านชิ้นนี้จะเปิดโอกาสให้ภัยเข้าสู่คลาวด์

จุดอ่อนของคลาวด์ไม่ได้อยู่ที่โครงสร้างของคลาวด์ แต่เป็นเรื่องจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงเข้ามาที่คลาวด์  เราอาจจะเห็นการโจมตีที่ออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ปลายทางโจมตีและละเมิดผู้ให้บริการระบบคลาวด์มากขึ้นองค์กรจะนำโครงสร้างซีเคียวริตี้แฟบริคและกลยุทธ์ด้านการจัดส่วน (Segmentation) มาสร้าง จัดการและบังคับใช้นโยบายการรักษาความปลอดภัยที่จะใช้กับสิ่งแวดล้อมอุปกรณ์จริง สิ่งแวดล้อมเสมือนและระบบไพรเวทคลาวด์ที่เชื่อมโยงระหว่างไอโอทีไปคลาวด์ให้ทำงานอย่างราบรื่น

  1. จะเกิดภัยที่สมาร์ทซิตี้

ปีหน้านี้ จะเกิดความนิยมใช้ระบบอาคารอัตโนมัติ (Building automation) และการจัดการแบบอัตโนมัติมากมาย และหลายประเทศกำลังสร้างสมาร์ทซิตี้ จะมีการเชื่อมโยงโครงข่ายของสมาร์ทซิตี้มากมาย อาทิ บริการฉุกเฉิน การควบคุมสัญญาณไฟจราจร อุปกรณ์ไอโอที (อาทิ รถไร้คนขับ) ที่ช่วยทำการลงคะแนนเสียงโหวต การชำระบิล การส่งสินค้า เหล่านี้อาจตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ได้มากขึ้น  ดังนั้น มีโอกาสสูงที่อาจเกิดการหยุดชะงักการทำงานของระบบขนาดใหญ่ซึ่งเป็นระบบที่หลอมรวมเข้าหากันและนี่จะเป็นปัญหาที่รุนแรงและมีความเสียหายที่มีมูลค่าสูงที่อาชญากรไซเบอร์ต้องการ

  1. แรนซัมแวร์จะเป็นเกทเวย์มัลแวร์

ในปี 2016 เราได้เห็นการเจริญเติบโตของบริการRansomware-as-a-service (RaaS) มาแล้ว ทำให้แรนซัมแวร์จะแพร่กระจายต่อไปในปีหน้า

  • ซึ่งคาดว่าจะเห็นการโจมตีที่เน้นเป้าหมายสำคัญระดับสูง เช่น ดารา บุคคลสำคัญทางการเมืองและองค์กรขนาดใหญ่
  • แรมซัมแวร์จะทำงานโดยอัตโนมัติมากขึ้น
  • แรนซัมแวร์จะช่วยให้แฮกเกอร์สามารถรีดไถเงินก้อนเล็กก้อนน้อยจากเหยื่อที่มีจำนวนมากไปพร้อมๆ กันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะกำหนดเป้าหมายไปที่อุปกรณ์ไอโอที เช่น การเรียกค่าไถ่ที่จะปลดล็อครถ ปลดล็อคสัญญาณเตือนไฟไหม้ที่บ้าน หรือปลดล็อคฮาร์ดไดรฟ์
  • แรนซัมแวร์จะยังคงมุ่งเป้าหมายไปที่อุตสาหกรรมและองค์กรให้บริการสาธารณสุขเนื่องจากข้อมูลของผู้ป่วยด้านการแพทย์มีค่ามาก และสามารถนำไปปลอมแปลงได้ นอกจากนี้ ธุรกิจที่รวบรวมข้อมูลมากๆ จะตกเป็นเหยื่อแรนซัมแวร์ อาทิ สำนักงานกฏหมาย หน่วยงานราชการ สถาบันการเงินเป็นต้น
  1. เทคโนโลยีจำเป็นต้องทดแทนความเชี่ยวชาญของมนุษย์ที่ขาดแคลนอยู่นี้

ปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะทางโลกไซเบอร์หมายความว่ามีหลายองค์กรหรือประเทศที่กำลังมองหาโอกาสที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิตอลทั่วโลกนี้  จำเป็นต้องก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลด้วยความเสี่ยง เนื่องจากพวกเขายังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านภัยคุกคามหรือมีการฝึกอบรมที่จำเป็นในการพัฒนานโยบายการรักษาความปลอดภัย และป้องกันทรัพย์สินที่สำคัญที่รับ-ส่งกันอย่างอิสระระหว่างเครือข่ายหรือแม้กระทั่ง ศักยภาพขององค์กรตนในการระบุภัยและการตอบสนองต่อการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้นในทุกวันนี้ได้

คาดว่า องค์กรที่รอบคอบจะมองหาบริการจากผู้เชี่ยวชาญที่มีปรสบการณ์ที่จะแนะนำวิธีการต่อสู้ภัย หรือให้ผู้ให้บริการแบบแมนเน็จด์ซีเคียวริตี้เป็นผู้จัดหาโซลูชั่นทั้งหมดให้  เขาอาจจะย้ายโครงข่ายทั้งหมดไปอยู่บนคลาวด์ แต่เขายังสามารถเพิ่มบริการด้านความปลอดภัยด้วยการคลิคเม้าส์อย่างสบายๆ เพียง 2-3 ครั้ง

สรุปการคาดการณ์และแนวโน้มภัยคุกคาม

ไอโอทีและระบบคลาวด์จะยังคงมีบทบาทอย่างมากในการคาดการณ์  แต่มีแนวโน้มบางประการที่เห็นได้ชัดเจน  ทั้งโลกธุรกิจและบุคคลกำลังใช้ดิจิตอลอย่างมากมายและรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นผิวและโอกาสในการโจมตี   นอกจากนี้ ทุกอย่างได้กลายเป็นเป้าหมายของภัยและทุกสิ่งก็สามารถกลายเป็นอาวุธไปได้  ภัยคุกคามจะชาญฉลาดมากขึ้นทำงานอย่างอิสระและยากที่จะตรวจสอบพบมากขึ้น  สุดท้ายภัยคุกคามรูปแบบเก่าจะกลับมาเกิดอีกและกลับจะใช้เทคโนโลยีใหม่ที่จะผลักดันประสิทธิภาพของกระบวนการตรวจสอบและการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้นไปอีก

infographic_2017-threat-predictions-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9f%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b9%87%e0%b8%95

ขอเสียงคนได้โบนัสกันหน่อย!!! JobsDB รายงานผลการจ่ายโบนัสในประเทศไทย ประจำปี 2559

บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เว็บไซต์หางานชั้นนำของเอเชีย เผยผลการจ่ายโบนัสในประเทศไทย ประจำปี 2559 ระดับตำแหน่งงาน กลุ่มอุตสาหกรรมและพฤติกรรม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายโบนัส พบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์และบริการด้านการเงินเป็นอุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสสูงสุดทั้งแบบการันตีและแบบพิจารณาตามผลงานมีนัยยะไม่แตกต่างจากปี 2558

นางสาวนพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) กล่าวว่า จ๊อบส์ ดีบี ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการจ่ายโบนัส จากผู้หางานที่เป็นสมาชิกของ jobsDB จำนวน 642 ราย ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2559  โดยหวังให้ข้อมูลนี้เป็นเสมือนแนวทางการจ่ายโบนัสในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสายงาน  และสำหรับผู้หางานและพนักงาน ก็สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกทำงานในองค์กร และอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เช่นกัน

bonus-report-th-01

“ผลสำรวจระบุว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ และระดับหัวหน้างาน ได้รับโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานมากที่สุด คือ 4.15 เดือน และ 4.12 เดือน ตามลำดับ ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูง 3.96 เดือน และผู้บริหารระดับกลาง 3.89 เดือน ในส่วนของการได้รับโบนัสแบบการันตี พนักงานในระดับหัวหน้างาน ได้โบนัสสูงสุด 2 เดือน ผู้บริหารระดับกลาง 1.99 เดือน พนักงานระดับปฏิบัติการ 1.82 เดือน และผู้บริหารระดับสูง 0.96 เดือน”

bonus-report-th-05

เมื่อพิจารณาการจ่ายโบนัสทั้งสองแบบเป็นรายอุตสาหกรรม ผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า อุตสาหกรรมที่มีการจ่ายโบนัสสูงสุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยองค์กรในอุตสาหกรรมนี้มีการจ่ายโบนัสแบบการันตีและพิจารณาตามผลงานเฉลี่ยสูงสุดทึ่ 2.35 และ 4.74 เดือนตามลำดับ นอกจากนี้องค์กรในอุตสาหกรรมบริการด้านการเงินจ่ายโบนัสแบบการันตีสูงเป็นอันดับสองโดยเฉลี่ยที่ 1.39 เดือน ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเคมี/ปิโตรเคมี/พลาสติก/กระดาษ เฉลี่ยที่ 1.35 เดือน

นอกจากนี้อุตสาหกรรมบริการด้านการเงินยังครองตำแหน่งอันดับสองสำหรับการจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานโดยจ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 3.94 เดือน ตามด้วยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 3.65 เดือน

นางสาวนพวรรณเปิดเผยว่า สำหรับการสำรวจการจ่ายโบนัสจากฝั่ง ผู้ประกอบการไทย พบว่าผู้ประกอบการกว่า 59% มีการการันตีการจ่ายโบนัสสูงสุดให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการ

bonus-report-th-02

“ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรคงไม่ผิดหวัง ถึงแม้ว่าบริษัทหลายแห่งไม่ได้กำหนดโบนัสแบบการันตีให้ผู้บริหารระดับนี้ แต่ผู้บริหารในกลุ่มนี้ได้รับผลตอบแทนรวมสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพนักงานในตำแหน่งอื่นๆ กล่าวคือในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงได้รับผลตอบแทนโบนัสเฉลี่ยประมาณ 1.94 เดือน พนักงานระดับปฏิบัติการ และหัวหน้างานได้รับโบนัสเฉลี่ยที่ 1.45 เดือน  และผู้บริหารระดับกลางจะได้รับเฉลี่ยที่ 1.5 เดือน”

รายงานยังแสดงให้เห็นอีกว่าการจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารระดับสูงแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทงาน โดยงานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นประเภทงานที่การันตีจ่ายโบนัสแก่ผู้บริหารระดับสูงจนน่าประหลาดใจถึง 10 เดือน ตามมาด้วยงานการค้าและกระจายสินค้าที่จ่ายโบนัสเฉลี่ย 4 เดือน ขณะที่งานวิศวกรรม ค้าส่งและค้าปลีก รวมไปถึงงานการผลิตจ่ายโบนัสพนักงาน 3 เดือน

แนวโน้มการจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหลายบริษัทจะระบุว่ามีการจ่ายโบนัสให้พนักงานในทุกๆ ระดับ  โดย 75% ของบริษัทกล่าวว่าจะจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานให้กับพนักงานระดับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ขณะที่ 77% จ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานให้พนักงานระดับปฏิบัติการและระดับหัวหน้างาน

bonus-report-th-06

เมื่อสำรวจช่วงเวลาในการจ่ายโบนัสไปยังผู้ประกอบการไทย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กำหนดการจ่ายโบนัสในช่วงเวลาเดียวกัน โดย 3 ใน 5 ของบริษัทที่สำรวจจ่ายโบนัสแบบการันตีในเดือนธันวาคม และ 2 ใน 5 ของบริษัทเลือกจ่ายโบนัสให้พนักงานในเดือนมกราคมและเดือนมิถุนายน ตามลำดับ ส่วนโบนัสแบบที่พิจารณาตามผลงาน ครึ่งหนี่งของบริษัทที่สำรวจระบุว่าจ่ายโบนัสในเดือนธันวาคม ขณะที่ 23% ของบริษัทที่สำรวจจ่ายในเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม

“หากเปรียบเทียบการจ่ายโบนัสของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกัน พบว่ามีเพียง 5% เชื่อว่าพวกเขาจ่ายโบนัสแบบการันตีสูงกว่า และอีก 9% เชื่อว่าพวกเขาจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานดีกว่าที่อื่น ขณะที่ 40% และ 41% เชื่อว่าพวกเขาจ่ายโบนัสพนักงานในระดับเดียวกันกับอุตสาหกรรม อีก 55% ยอมรับว่าพวกเขาจ่ายโบนัสพนักงานต่ำกว่าหากเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม 50% กล่าวว่าพวกเขาจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานต่ำกว่าบริษัทอื่น”

โบนัสมีผลกับความภักดีต่อองค์กรของพนักงานหรือไม่?

ผู้ประกอบการไทยยังคงมีความเชื่อมั่นที่เป็นบวกในประเด็นของการสรรหาว่าจ้างและการรักษาพนักงานในองค์กร  โดย 7 ใน 10 ของผู้ประกอบการเชื่อว่าการจ่ายโบนัสแบบการันตีมีประโยชน์ในการสรรหาบุคลากร ขณะที่ 6 ใน 10 ของผู้ประกอบการเชื่อว่าโบนัสช่วยรักษาพนักงานในองค์กร ในส่วนของโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานนั้น 6 ใน 10 ของผู้ประกอบการเชื่อว่าการจ่ายโบนัสดังกล่าวช่วยในการสรรหาบุคลากร และ 6.5 ใน 10 ของผู้ประกอบการเชื่อว่าการจ่ายโบนัสดังกล่าวจะช่วยรักษาพนักงานในองค์กรได้

bonus-report-th-04

ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อโบนัส?
โบนัสที่พนักงานได้รับไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งและอายุงานในตำแหน่งงานปัจจุบัน พฤติกรรมนี้พบเห็นได้ในจำนวนปีที่พนักงานทำงานในองค์กรเดิม และระยะเวลาของประสบการณ์ในตำแหน่งนั้น

ทัศนคติมีผลต่อโบนัสหรือไม่?
พนักงานยังได้ตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมกับจำนวนโบนัสที่พวกเขาได้รับอย่างน่าประหลาดใจ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้:

  • พนักงานที่ชอบทำงานที่มีความเสี่ยงสูงมักได้รับรางวัลตอบแทนสูงกว่าพนักงานที่ทำงานความเสี่ยงน้อยแต่ได้เงินเดือนคงที่
  • พนักงานที่เอาชนะความท้าทายต่างๆ ในการทำงานได้รับโบนัสมากกว่าพนักงานที่ไม่เผชิญความท้าทายใดๆ
  • พนักงานที่คิดว่าพวกเขาทำงานได้หลายหน้าที่ได้ดีเมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่นมีแนวโน้มได้โบนัสสูงกว่า

โบนัสที่พนักงานได้รับในแต่ละปี ถูกนำไปใช้อย่างไร

จากการสำรวจการใช้โบนัสของพนักงาน พบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจนำไปลงทุน  29% บอกว่าเก็บไว้เป็นเงินออม  และ 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจ จะนำไปชำระหนี้และบัตรเครดิต และอีก 11% นำไปซื้อของขวัญให้ตนเองและคนสำคัญ

bonus-report-th-03

“โจตัน” ผู้ผลิตสีระดับโลกขยายการเติบโตด้วยไอเอฟเอส

บริษัท โจตัน ซึ่งเป็นผู้ผลิตสีชั้นนำของโลกได้ตัดสินใจขยายชุดซอฟต์แวร์ไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่น     (IFS Applications™)เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจและผู้ใช้ของตน ซึ่งข้อตกลงครั้งนี้ได้ครอบคลุมสิทธิ์ใช้งานที่มีมูลค่าถึง 17.7ล้านโครนนอร์เวย์ (ประมาณ 73.63 ล้านบาท)

บริษัท โจตัน ผู้ผลิตสีสัญชาตินอร์เวย์แห่งนี้มีโรงงานผลิต 37แห่งตั้งอยู่ในทุกทวีปและมีสำนักงานในประเทศต่างๆ กว่า 100ประเทศ ส่งผลให้บริษัทเป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ด้านผลิตภัณฑ์สีและเคลือบผิวที่สำคัญที่สุดของโลก บริษัทแห่งนี้มีการขยายตัวอย่างเข้มแข็งยาวนานตลอดระยะเวลาหลายปีผ่านทางสำนักงานทั่วโลกและด้วยการเดินหน้าเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปีที่แล้วได้เปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศบราซิล และกำลังเดินหน้าสร้างโรงงานในประเทศโอมาน ฟิลิปปินส์ และเมียนมาร์

jotun

ทั้งนี้ บริษัท โจตัน ใช้งานไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่นมาตั้งแต่ปี 2548เพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจที่สำคัญ เช่น การผลิต การเงิน การจัดซื้อ และการบริหารจัดการซัพพลายเชน และเพื่อผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพและการดำเนินงานที่โปร่งใสในองค์กรทั่วโลกของตนเพิ่มมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงตัดสินใจติดตั้งไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่น 9(IFS Applications 9)

แพลตฟอร์มใหม่ดังกล่าวจะได้รับการนำไปใช้ในไซต์งานต่างๆ กว่า 200แห่งทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานที่สำคัญทางธุรกิจ รวมถึงการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ การสแกนบาร์โค้ดภายในคลังสินค้า การบริหารจัดการใบสั่งงานผ่านระบบมือถือ และแอพต่างๆ สำหรับสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ โซลูชั่นไอเอฟเอสยังมีเครื่องมือฝึกอบรมที่ออกแบบขึ้นมาสำหรับช่วยพนักงานของบริษัท โจตัน ให้สามารถเรียนรู้และใช้งานแพลตฟอร์มใหม่ได้อย่างรวดเร็วด้วย

“จากการทำงานร่วมกับไอเอฟเอสมาเป็นเวลาหลายปี เรามั่นใจว่าไอเอฟเอส แอพพลิเคชั่น 9 เป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมให้องค์กรของเราขยายตัวไปทั่วโลก” นาย มอร์เตน ฟอน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท โจตัน กล่าว และว่า “การลงทุนในคุณสมบัติเพิ่มเติมของแอพพลิเคชั่นจะช่วยให้เราสามารถเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงานจำนวนมากทั่วโลกด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อผลักดันให้เกิดผลกำไรในท้ายที่สุด”

“เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นองค์กรชั้นนำระดับโลกอย่างบริษัท โจตัน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของไอเอฟเอส และข้อตกลงในครั้งนี้ถือเป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความเชี่ยวชาญที่ไอเอฟเอสมีในอุตสาหกรรมเฉพาะทางซึ่งเราให้ความสำคัญอยู่ โดยในกรณีนี้จะเน้นไปที่กระบวนการผลิตเป็นหลัก” นายเกลนน์ เอิร์นเนสเซน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ไอเอฟเอส สแกนดิเนเวีย กล่าว และว่า “ข้อตกลงครั้งนี้ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่ดีของบริษัท ไอเอฟเอส กับกลุ่มธุรกิจระดับโลกซึ่งมีสำนักงานและพนักงานเป็นจำนวนมากที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและผลักดันให้องค์กรเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ผลสำรวจกลุ่มมิลเลนเนียลทั่วเอเชีย ชี้ทิศทางสู่ก้าวต่อไปของไลฟ์สไตล์โลกดิจิทัลปี 2020

ผลสำรวจของไมโครซอฟท์ด้านพฤติกรรมออนไลน์ของกลุ่มมิลเลนเนียลชาวเอเชียในยุคโมบายเฟิร์ส คลาวด์เฟิร์ส พบว่าคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้มีความเข้าใจอันดีและตระหนักถึงความเสี่ยงที่มากับโลกไซเบอร์เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะการใช้อุปกรณ์และบริการด้านดิจิทัลนั้นก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันอย่างไม่เคยมีมาก่อน

ออนไลน์โพลครั้งนี้จัดทำขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 โดยได้ทำการสำรวจกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีสัญชาติเอเชียอายุไม่เกิน 25 ปี ทั้งที่ทำงานแล้วและยังศึกษาอยู่ จาก 14 ประเทศที่มีสำนักงานไมโครซอฟท์จัดตั้งอยู่ ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ฮ่องกงและไต้หวัน

ภูมิภาคเอเชียประกอบด้วยเยาวชนกว่า 1.1 พันล้านคนซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของประชากรเยาวชนทั่วโลก[1] จึงอาจกล่าวได้ว่า คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้กำหนดวิธีการทำงานของแรงงานในอนาคต รวมถึงการใช้ชีวิตในแต่ละวันขึ้นใหม่ ในโลกที่มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้นทุกขณะ

ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นถึงความนิยมในอุปกรณ์ดิจิทัลของบรรดาคนกลุ่มนี้ ซึ่งผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทุกคนล้วนเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง โดยกลุ่มมิลเลนเนียลเลือกใช้โน้ตบุ๊ค หรือแล็บท็อปเนื่องจากมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าเดสก์ท็อป พีซี และแท็บเล็ต นอกจากนี้กว่า 40%ของผู้ตอบแบบสอบถามยังเป็นเจ้าของเครื่องเกมส์อย่างน้อย 1 เครื่อง ขณะที่ความนิยมในอุปกรณ์ดิจิตอลไฮเทคชนิดสวมใส่ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้นซึ่งมีเพียง 17% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอุปกรณ์ดิจิตอลไฮเทคดังกล่าว

ผลการสำรวจยังบ่งบอกอีกว่า กลุ่มมิลเลนเนียลกลุ่มนี้ตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง โดยมากกว่า 1 ใน 3 ของคนกลุ่มนี้ ต้องการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนมากที่สุดเป็นอันดับแรก ตามด้วยแล็บท็อปและแท็บเล็ต (19.3% และ 13.3% ตามลำดับ)

เราค้นพบ 6 ผลสำรวจสำคัญเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ในแบบดิจิทัลของกลุ่มมิลเลนเนียลชาวเอเชียดังนี้

  1. กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการความคล่องตัวสูง: กลุ่มมิลเลนเนียลเลือกใช้โน้ตบุ๊ค หรือแล็บท็อปเนื่องจากมองว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างประสิทธิภาพการทำงานไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนมากกว่าเดสก์ท็อป พีซี และแท็บเล็ต
  2. กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการใช้เทคโนโลยีอย่างคล่องแคล่ว: ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือโน้ตบุ๊ค พวกเขาอยากให้ทุกอุปกรณ์ของเขาสามารถใช้จอแบบสัมผัสได้
  3. กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์เพื่อความสะดวกยิ่งกว่าเดิม: พวกเขาต้องการเก็บไฟล์บนคลาวด์เพื่อให้สามารถเข้าถึงไฟล์เหล่านี้ได้จากทุกอุปกรณ์และทุกที่
  4. กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยมากขึ้น: ผู้ร่วมการสำรวจส่วนใหญ่ไม่ชอบหากขาดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในวิถีชิวิตดิจิทัลของพวกเขา ซึ่งในความเป็นจริงกว่า 70% ของคนกลุ่มนี้ยินดีจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ดังนั้น เทคโนโลยีที่พวกเขาอยากให้เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้คือ การผสานอุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเทคโนโลยีไบโอเมทริกส์ อาทิ การสแกนม่านตา เป็นต้น
  5. กลุ่มมิลเลนเนียลต้องการความง่ายในโลกเทคโนโลยีที่ซับซ้อน: ผู้ตอบแบบสอบถาม 610 คนรู้สึกว่าความท้าทายถัดจากเรื่องของความปลอดภัยในโลกดิจิทัล คือการที่ต้องจำรหัสผ่านจำนวนมาก
  6. กลุ่มมิลเลนเนียลเชื่อว่า เทคโนโลยีจะทำให้อนาคตพวกเขาดีกว่าเดิม: ผลการศึกษาพบว่า 70% ของเยาวชนกลุ่มนี้เชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้ อาทิ ความไม่เท่าเทียมกัน โรคภัยบางอย่างและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เรากำลังเผชิญในปัจจุบัน

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างยังได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมถึงพัฒนาการของอุปกรณ์ดิจิทัล ที่ตนอยากให้เกิดขึ้นจริงภายในปี 2020 เช่น การแสดงผลด้วยภาพแบบโฮโลกราฟฟิก ผู้ช่วยส่วนตัวเสมือน การสั่งงานอุปกรณ์โดยตรงผ่านความคิด ระบบควบคุมการทำงานด้วยท่าทาง และซอฟท์แวร์ที่ช่วยให้ตนก้าวข้ามข้อจำกัดทางภาษา

MS_Millenials CS6

วินโดวส์ 10 ผู้บุกเบิกยุคของ พีซีที่ทำได้มากกว่า

ด้วยแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตแบบดิจิทัลในยุคโมบายเฟิร์ส คลาวด์เฟิร์ส ไมโครซอฟท์ได้สร้างพันธกิจที่จะสร้างยุคของ “พีซีที่ทำได้มากกว่า” หรือยุคที่เทคโนโลยีมีความเรียบง่ายมากขึ้นแต่ยังคงทรงพลังมากพอที่จะช่วยให้ผู้ใช้ บรรลุศักยภาพของตนเอง

วินโดวส์ 10 เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 โดยไมโครซอฟท์ได้พัฒนาแพลตฟอร์มให้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถการใช้งานที่หลากหลายให้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานเพื่อทำงานหรือเพื่อสร้างความเพลิดเพลิน โดยพลิกโฉมให้การสั่งงานอุปกรณ์มีความง่ายดาย วินโดวส์เวอร์ชั่นนี้จะช่วยให้ทุกคนทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้สะดวกรวดเร็วกว่า ด้วยนวัตกรรมอย่าง Cortana, Windows Hello, Microsoft Edge, Continuum, Xbox และอีกมากมาย สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แท็บเล็ต และโทรศัพท์

กุนเทอร์ ไวเมอร์ ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจวินโดวส์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไมโครซอฟท์กล่าวว่า “ด้วยจำนวนอุปกรณ์มากกว่า 110 ล้านเครื่องที่ใช้วินโดวส์ 10 รวมทั้ง 12 ล้านเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะสำหรับสำนักงาน วินโดวส์ 10 มีอัตราการใช้งานมากกว่าทั้ง วินโดวส์ 7 และวินโดวส์ 8 ซึ่งวินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดนี้สามารถตอบโจทย์จินตนาการของกลุ่มลูกค้าส่วนบุคคลและธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น เราตื่นเต้นแทนผู้ใช้งานที่จะได้ค้นพบยุคใหม่ของพีซีที่ทำได้มากกว่าด้วยวินโดวส์ 10 ที่ทำให้การใช้งานข้ามอุปกรณ์หลากหลายมีความคล่องตัว และราบรื่นที่สุด”

1 ใน 4 ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความพร้อมสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิตอล

ผู้นำที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือผู้ที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในองค์กรและเทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อนำองค์กรสู่ความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล

“ Leaders 2020 study” ผลการศึกษาล่าสุดโดย SAP และ Oxford Economics พบว่า ปัจจุบัน เกือบ 1 ใน 4 ของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นผู้นำด้านดิจิตอลอย่างแท้จริง ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ 16 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัทที่มีผลการดำเนินงานระดับสูงเหล่านี้ มีการเติบโตของรายได้ที่สูงกว่า มีความร่วมมือจากพนักงานที่มากกว่า และมีวัฒนธรรมองค์กรที่ครอบคลุมมากกว่า

shutterstock_59466736-2

องค์กรที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงเหล่านี้ ล้วนมีผู้บริหารที่สื่อสารกับพนักงานทั่วทั้งองค์กรด้วยกลยุทธ์แบบดิจิตอล มีการพัฒนาการบริหารจัดการและพัฒนาทักษะของพนักงานให้ทันสมัย และปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์บริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากผลการศึกษา Leaders 2020 study ยังยืนยันถึงผลประโยชน์ของธุรกิจจากการมีความหลากหลายในองค์กร ซึ่งแสดงให้เห็นจากความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้นำในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอล และกลุ่มผู้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อความสำคัญของความหลากหลายในองค์กร ผู้นำด้านดิจิตอลทั่วโลกและผู้เข้าร่วมการสอบถามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้วนเห็นว่าความหลากหลายในองค์กรมีผลกระทบด้านบวกต่อวัฒนธรรมภายในองค์กร (66 เปอร์เซ็นต์ และ 62 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) แต่มีเพียงกลุ่มผู้นำด้านดิจิตอลเท่านั้นที่เห็นผลประโยชน์ในด้านการเงิน (37 เปอร์เซ็นต์ ต่อ 25 เปอร์เซ็นต์)

บริษัทต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มมีความหลากหลายในองค์กรมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดย 3 ใน 4 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองเห็นการพัฒนาด้านความหลากหลายในองค์กรที่เพิ่มขึ้นภายในองค์กรของตนเอง และ 42 เปอร์เซ็นต์ มองเห็นการเพิ่มขึ้นของผู้นำจากกรรมการบริหาร และจากผู้บริหารระดับอาวุโส เปรียบเทียบกับ 67 เปอร์เซ็นต์ และ 34 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม มีสัดส่วนน้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กล่าวว่า บริษัทของพวกเขามีการจัดตั้งโปรแกรมส่งเสริมความหลากหลายในองค์กรขึ้นแล้ว โดยสามารถขยายโปรแกรมดังกล่าวเข้าไปได้อีกหลายภาคส่วน โดยเฉพาะในหมู่ผู้บริหารอาวุโส และระดับคณะกรรมการบริหาร

นอกจากนี้ ผลการศึกษา Leaders 2020 study ยังพบว่า มีเพียง 61 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 55 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก) ที่เริ่มเกิดการตัดสินใจทางธุรกิจต่างๆโดยใช้ดาต้าเป็นตัวขับเคลื่อน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าแปลกใจว่ามีเพียง 62 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 59 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก) มีความรู้สึกว่าพนักงานในองค์กรของตนนั้น เพียบพร้อมด้วยทักษะที่จำเป็นในการก้าวให้ทันตามเทคโนโลยีดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

นายสก๊อต รัสเซล ประธานและกรรมการผู้จัดการของเอสเอพี ตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “กลุ่มแรงงานที่มีความหลากหลายนั้นสร้างเสริมให้เกิดไอเดียที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความแข็งแกร่ง และในทางกลับกัน ยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจอันลึกซึ้งหลายๆอย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้จากความหลากหลายในองค์กรเท่านั้น นับเป็นความบังเอิญเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่การใช้ประโยชน์จากดาต้าเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ และการรักษาความหลากหลายของแรงงานในองค์กร จะเกิดขึ้นพร้อมกันในองค์กรที่มีประสิทธิภาพการดำเนินงานในระดับสูง”

จากผลสำรวจ Leaders 2020 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถูกเผย ณ งานประชุม SuccessConnect 2016 ที่จัดขึ้นโดย SAP SuccessFactors เพื่อกลุ่มผู้บริหารสาย HR และ C-suite ในสิงคโปร์นั้น แสดงให้เห็นว่า การเป็นผู้นำด้านดิจิตอลนั้น มีข้อดีดังต่อไปนี้

  • สมรรถภาพด้านการเงินแข็งเกร่งขึ้น: 76 เปอร์เซ็นต์ ของผู้บริหารที่ได้รับการจัดประเภทว่าเป็นผู้นำด้านดิจิตอลนั้น มีรายได้และการเติบโตของผลกำไรที่แข็งแกร่ง คิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พนักงานมีความพึงพอใจและมีส่วนร่วมมากขึ้น: การเป็นผู้นำด้านดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่เพียงแต่สามารถช่วยขับเคลื่อนได้มากกว่าสมรรถภาพด้านการเงินได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีด้วยเช่นกัน โดยพบว่า 87 เปอร์เซ็นต์ ของผู้นำด้านดิจิตอลมีพนักงานที่พึงพอใจมากขึ้น เมื่อเทียบกับสัดส่วนเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมการสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านดิจิตอลยังมีจำนวนพนักงานที่พึงพอใจจะทำงานกับองค์กรอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะได้รับข้อเสนอจากบริษัทอื่นก็ตาม โดยคิดเป็น 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • กลยุทธ์การว่าจ้างที่เติบโตมากขึ้น: ผู้นำด้านดิจิตอลนั้นมีแนวโน้มที่จะลงทุนในด้านการว่าจ้างพนักงานมากกว่า และมีกลยุทธ์การว่าจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพพนักงาน และการรักษาพนักงานในขั้นที่สูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น 56 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำด้านดิจิตอล จะแต่งตั้งพนักงานในองค์กรเข้าไปทำตำแหน่งที่ต้องการคน มากกว่าจะว่าจ้างบุคลากรจากภายนอก โดยคิดเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า คนยุคมิลเลนเนียมนั้นสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในองค์กรได้เร็วขึ้น โดย 22 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารจากผลการศึกษา Leaders 2020 study ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ล้วนเป็นคนยุคมิลเลนเนียม เปรียบเทียบกับสัดส่วน 17 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสัดส่วนของผู้บริหารรุ่นใหม่ในภูมิภาคจะเพิ่มสูงขึ้น แต่มีสัดส่วนผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียง 45 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่มองว่าผู้นำองค์กรควรมีการทำงานร่วมกับพนักงานเพื่อพัฒนาอาชีพของพวกเขาให้สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นขั้นสำคัญในการฝึกฝนพนักงานในยุคมิลเลนเนียม ผู้บริหารรุ่นใหม่เหล่านี้ กลับให้ความสำคัญกับความหลากหลายในองค์กรในแง่ของผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นจากบริษัทที่ให้คุณค่ากับความหลากหลายในองค์กร และใช้เวลาในการสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นจริง

“จากรายงานของ PwC หัวข้อ “Millennials at Work: Reshaping the Workplace” คนยุคมิลเลนเนียมจะมีสัดส่วนคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานทั่วโลกภายในปี 2020[1] ดังนั้น การเริ่มฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารรุ่นใหม่น่าจะเป็นใบเบิกทางที่ดีสู่การเป็นผู้นำด้านดิจิตอล ตราบใดที่ประสบการณ์การทำงานของคนรุ่นเก่าไม่ได้ถูกละเลยไปด้วย การดำเนินงานอย่างสมดุลนี้ ต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างคนรุ่นเก่าและใหม่ ความหลากหลายของคนแต่ละยุคจึงมีความสำคัญไม่ต่างจากความหลากหลายด้านอื่นๆในองค์กร ทั้งคนยุเบบี้ บูมเมอร์, เจนเอ็กซ์, และคนยุคมิลเลนเนียม ล้วนนำมาซึ่งมุมมองที่แตกต่างกันในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาพลังและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กรให้คงอยู่ ความเชื่อของเราในการทำงานอย่างใกล้ชิดกับคนยุคมิลเลนเนียมนั้น ส่งผลให้เห็นในการนำบุคลากรที่อยู่ในเจนเนอเรชั่นที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 เจนเนอเรชั่น มาทำงานร่วมกันที่เอสเอพี เพื่อช่วยให้ลูกค้าทุกท่านดำเนินธุรกิจได้ง่ายขึ้น” นายสก๊อต รัสเซล กล่าวเสริม

“ก้าวการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจดิจิตอลในปัจจุบัน ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาที่ช้าลงแต่อย่างใด ทั้งนี้ องค์กรที่ไม่มีการอัพเกรดวิธีการทำงานสู่การเป็นผู้นำด้าดิจิตอลนั้น ต้องพบเจอกับความเสี่ยงที่ก้าวไม่ทันคู่แข่ง เทคโนโลยียังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างการเติบโต สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างโอกาสในการเปลี่ยนโฉมธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับบริษัททุกขนาด” นายสก๊อต รัสเซล กล่าวปิดท้าย

ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในภาวะธุรกิจดิจิตอลที่มีความหวัง แต่ผู้นำของบริษัทต่างๆไท่ควรหยุดการเติบโตไว้เพียงเท่านี้ ผลการสำรวจจาก Leaders 2020 study พบว่า บริษัทต่างๆในภูมิภาคนี้ยังไม่มีการทุ่มเทด้านทรัพยากรที่มากพอในการพัฒนาผู้นำในอนาคต รวมถึงทักษะของพนักงาน และการมีส่วนร่วมของพนักงาน นอกจากนี้ ผลสำรวจดังกล่าว ยังเผยถึงส่วนที่จำเป็นซึ่งบริษัทต่างๆสามารถพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำให้กับพนักงานของตน รวมถึงพัฒนาสมรรถภาพของธุรกิจได้ ดังต่อไปนี้

  • สื่อสารวิสัยทัศน์ด้านดิจิตอลให้คนในองค์กรได้รับรู้ในทุกระดับ การแบ่งปันข้อมูลด้านทิศทางการดำเนินงานแบบดิจิตอลให้ทุกคนในองค์กรรับทราบ คือหนึ่งในคุณสมบัติของผู้นำที่ดี
  • อัพเดททักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารและพนักงานอย่างต่อเนื่อง เช่น ความจำเป็นในการปรับใช้ทักษะด้านดิจิตอลมีความจำเป็นอย่างมากในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล
  • ลดระดับขั้นขององค์กรให้ต่ำลง ลดความติดขัดด้านขั้นตอนทางราชการ เพื่อการทำงานที่รวดเร็วขึ้น
  • เพิ่มความหลากหลายในองค์กร ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายในองค์กรสู่การสร้างความสำเร็จในเวทีเศรษฐกิจระดับโลก
  • ฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารรุ่นใหม่ เนื่องจากพวกเขาเป็นแรงงานหลักของอนาคต คำแนะนำของพวกเขาจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล

ไซเซล คว้ารางวัลแบรนด์ด้านเน็ตเวิร์คระดับโลก 14 ปีซ้อน

ไซเซล คอมมูนิเคชั่นได้รับเลือกเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำระดับโลก จากรัฐบาลไต้หวัน  ซึ่งถือเป็นปีที่ 14 ของบริษัทที่ได้รับเกียรตินี้ ไซเซลยังได้รับการยอมรับในฐานะแบรนด์เครือข่ายชั้นนำในบรรดา 20 แบรนด์ โดยมีมูลค่าแบรนด์ที่สูงขึ้นเกือบ 5% ต่อปี โดยการฉลองรางวัลดังกล่าวได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ไทเป อินเตอร์เนชั่นแนล คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ ประเทศไต้หวัน

top20_prfinal_w800

รางวัลแบรนด์ไต้หวันยอดเยี่ยมจัดขึ้นโดย สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรม กระทรวงเศรษฐกิจ ในไต้หวันและบริษัทที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์ อินเตอร์แบรนด์โดยผลสำรวจรายปีระบุว่า ผู้ชนะทั้ง 20 รายในอุตสาหกรรมแต่ละชนิดในไต้หวัน และได้มีการจัดการโดยใช้วิธีการประเมินค่าแบรนด์ โดยจำแนกจากกลุ่มบริษัทชั้นนำระดับโลก 100 ราย

ในการรีแบรนด์ดิ้ง ได้มีการประกาศในเดือนกันยายน ปี 2016 ไซเซลได้มีการให้คำจำกัดความด้วยสโลแกน “Your Networking Ally” ซึ่งนำเสนอนวัตกรรมและโซลูชั่นเครือข่ายที่ให้ความสำคัญกับลูกค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายและเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น

นายกอร์ดอน หยาง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของไซเซล กล่าวว่า  รางวัลที่เราได้รับมาในช่วงเวลาที่เหมาะสม และเรากำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในช่วง 18 เดือน เราได้รับการยอมรับในเรื่องของการทำเวิร์คช๊อป และบูธแค้มป์ ทั่วโลก โดยมีสมาชิกของไซเซลได้เข้าไปมีส่วนร่วม มีความผูกพัน และได้รับแรงบันดาลใจในวัตถุประสงค์ใหม่ของแบรนด์ และร่วมเป็นแรงผลักดันของทีม ที่ช่วยให้เรานำเสนอสัญญาและสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าได้รับรู้ถึงทุกสัมผัสในเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

ด้วยภาพลักษณ์ที่สดใส เปี่ยมด้วยพลัง มีส่วนอย่างมาในการสร้างความตื่นตัวของโลกออนไลน์ และช่วยให้มีการเข้าชมทั้งในเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดียของไซเซล เพิ่มขึ้นถึง113%

ช่วงเวลาแห่งการมอบความสุขและช้อปปิ้งสินค้าบน Facebook และ Instagram

ช่วงเทศกาลถือเป็นช่วงเวลาแห่งปีที่ทุกคนต่างเฝ้ารอ ในช่วงเวลาแห่งการส่งความสุขและมอบของขวัญให้แก่กัน ผู้คนไม่เพียงแต่แบ่งปันช่วงเวลาที่น่าจดจำเหล่านี้บน Facebook และ Instagram พวกเขายังมองหาประสบการณ์ช้อปปิ้งที่ดีที่สุดอีกด้วย

ถือเป็นโอกาสอันสำคัญอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจต่างๆ ที่จะสร้างการรับรู้ และเพิ่มยอดขายในหมู่นักช้อปตัวยง และนี่คือผลสำรวจที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คนในช่วงเทศกาลนี้

facebook_thai-festive-season-insights_infographics_1

ฤดูกาลของมือถือ

ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไอเดียเรื่องของขวัญหรือถ่ายรูปเซลฟี่วันคริสต์มาส มือถือเป็นสิ่งคู่กายเสมอ ผลสำรวจพบว่าในช่วงเทศกาลนั้น 88 เปอร์เซ็นต์ของ Facebook โพสต์ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเกิดขึ้นบนมือถือ

ผู้คนยังแบ่งปันช่วงเวลาสุดโปรดของพวกเขาเพิ่มมากกว่าที่เคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านวิดีโอ ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โพสต์คอนเทนต์บน Facebook ระหว่างช่วงเทศกาล มากกว่าปกติถึง 31 เปอร์เซ็นต์ โดยมีการโพสต์วิดีโอบนมือถือมากกว่าปกติถึง 2.2 เท่า

facebook_thai-festive-season-insights_infographics_2

ผู้คนเริ่มแชร์และช้อปเร็วขึ้นกว่าเดิม

ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มพูดคุยกันเรื่องช่วงเวลานี้ของปี และตามหาของขวัญแทนใจที่ใช่ ตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่ช่วงเทศกาลจริงๆ เสียด้วยซ้ำ

ชาวไทยและสิงคโปร์เริ่มเข้าสู่เทศกาลคริสต์มาสตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยพวกเขาเริ่มโพสต์บน Facebook มากขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์และ 32 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในประเทศฟิลิปปินส์ ผู้คนเริ่มโพสต์มากขึ้น 21 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่เดือนกันยายน

สำหรับช่วงเวลาแห่งการส่งความสุขที่เกิดเร็วขึ้นกว่าเดิมนี้ ไม่ได้หยุดเพียงแค่โพสต์บน Facebook ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มช้อปสินค้าออนไลน์เร็วกว่าที่คนส่วนใหญ่คาดคิด จะเห็นได้ว่ามีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นถึง 55 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเทศกาลบน Facebook[1]

เมื่อเจาะลึกถึงการช้อปออนไลน์ผ่าน Facebook ในช่วงเทศกาล ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สิงคโปร์ เริ่มจับจ่ายผ่านช่องทางนี้ตั้งแต่เดือนกันยายน (ยอด Conversion เพิ่มขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์) และในเดือนพฤศจิกายน ผู้คนในอินโดนีเซียและไทย ซื้อสินค้าบน Facebook มากขึ้นคิดเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ และ 48 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

ดังนั้น ธุรกิจทั้งหลายจึงต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าถึงผู้คนก่อนช่วงเทศกาลคริสต์มาส เพื่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มแรงจูงใจในการซื้อสินค้าให้มากขึ้นด้วย

facebook_thai-festive-season-insights_infographics_4

เชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายในทุกช่องทางการช้อป

ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องสื่อสารเพื่อให้อยู่ในใจผู้บริโภคตลอดเวลา โดยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านทุกช่องทางการซื้อขาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการสร้างแบรนด์ หรือกระตุ้นยอดขายก็ตาม

และนอกเหนือจากการใช้โฆษณาที่เน้นตัวผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว ในช่วงเทศกาลปลายปี ธุรกิจต่างๆ สามารถเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ ผลักดันให้เกิดความต้องการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงเก็บข้อมูลผู้ใช้ เพื่อต่อยอดธุรกิจผ่านทาง Facebook

ผู้คนเลือกซื้อของขวัญช่วงเทศกาลในหลากหลายช่วงเวลา ธุรกิจสามารถเลือกเจาะจงได้ว่าจะเพิ่มยอดขายหรือพฤติกรรมที่ต้องการ ก่อนเข้าสู่ช่วงเทศกาลหรือระหว่างช่วงเทศกาล

–         12 ธันวาคม เป็นวันที่มีการซื้อสินค้าออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูงที่สุด ด้วยยอด Conversion บน Facebook ที่สูงกว่าปกติถึง 2.4 เท่า

–         ในเดือนมกราคม ยอด Conversion บน Facebook สูงกว่าช่วงเวลาธรรมดาถึง 1.6 เท่า

ข้อคิดสำหรับนักการตลาด

ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงผู้คนผ่านทาง Facebook และ Instagram ที่ซึ่งพวกเขากำลังใช้เวลาส่งความสุขในช่วงเทศกาล ไปพร้อมๆ กับช้อปสินค้าที่ถูกใจ

 รักษาแบรนด์ให้อยู่ในใจของลูกค้าเสมอ

สร้างการรับรู้ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวแบรนด์ของคุณผ่านวิดีโอโฆษณา อย่าลืมปรับการตั้งค่าวิดีโอของคุณให้เหมาะกับการดูผ่านมือถือ ออกแบบให้เข้าใจง่ายแม้ปิดเสียง จับความสนใจอย่างรวดเร็ว และบอกความเป็นแบรนด์ของคุณพร้อมกับจุดขายตั้งแต่ช่วงแรก

แหวกและแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ

เมื่อฤดูกาลช้อปเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ นำเสนอสินค้าของคุณให้โดดเด่นและน่าสนใจยิ่งขึ้นกับกลุ่มคนที่ใช่ ผ่านการเจาะกลุ่มเป้าหมายแบบกำหนดเองและกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกัน (Custom Audience, Lookalike Audience targeting) ลองกระตุ้นกลุ่มนักช้อปที่สนใจด้วยโฆษณาแบบไดนามิก และจัดการโฆษณาของคุณบน Facebook, Instagram และเครือข่ายโฆษณา Audience Network ให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เกาะกระแสให้ถูกช่วงเวลา

ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงปีใหม่ไปแล้ว ผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมองหาสินค้าราคาพิเศษและโปรโมชั่นดีๆ คุณอาจเพิ่มยอดขายได้ด้วยการนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องกัน หรือแนะนำสินค้าที่อยู่ในลิสต์ที่ชาวไทยต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้ากีฬาสำหรับคนรักสุขภาพ อุปกรณ์นวัตกรรมช่วยจัดการบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ลองดูว่าผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉลิมฉลองช่วงเทศกาลอย่างไร

ไทย

  • 90 เปอร์เซ็นต์ของการโพสต์บน Facebook เกิดขึ้นบนมือถือ
  • โพสต์ Instagram เพิ่มขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์
  • โพสต์วิดีโอบน Facebook ผ่านทางมือถือ เพิ่มขึ้นถึง 98 เปอร์เซ็นต์
  • ช้อปสินค้าออนไลน์บน Facebook เพิ่มขึ้นถึง 58 เปอร์เซ็นต์

อินโดนีเซีย

  • 92 เปอร์เซ็นต์ของการโพสต์บน Facebook เกิดขึ้นบนมือถือ
  • โพสต์ Instagram เพิ่มขึ้นถึง 39 เปอร์เซ็นต์
  • โพสต์วิดีโอบน Facebook ผ่านทางมือถือ เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
  • ช้อปสินค้าออนไลน์บน Facebook เพิ่มขึ้นถึง 47 เปอร์เซ็นต์

 ฟิลิปปินส์

  • 84 เปอร์เซ็นต์ของการโพสต์บน Facebook เกิดขึ้นบนมือถือ
  • โพสต์ Instagram เพิ่มขึ้นถึง 21 เปอร์เซ็นต์
  • โพสต์วิดีโอบน Facebook ผ่านทางมือถือ เพิ่มขึ้นถึง 69 เปอร์เซ็นต์
  • ช้อปสินค้าออนไลน์บน Facebook เพิ่มขึ้นถึง 51 เปอร์เซ็นต์

 มาเลเซีย

  • 91 เปอร์เซ็นต์ของการโพสต์บน Facebook เกิดขึ้นบนมือถือ
  • โพสต์ Instagram เพิ่มขึ้นถึง 17 เปอร์เซ็นต์
  • โพสต์วิดีโอบน Facebook ผ่านทางมือถือ เพิ่มขึ้นถึง 89 เปอร์เซ็นต์
  • ช้อปสินค้าออนไลน์บน Facebook เพิ่มขึ้นถึง 58 เปอร์เซ็นต์

เวียดนาม

  • 80 เปอร์เซ็นต์ของการโพสต์บน Facebook เกิดขึ้นบนมือถือ
  • โพสต์ Instagram เพิ่มขึ้นถึง 42 เปอร์เซ็นต์
  • โพสต์วิดีโอบน Facebook ผ่านทางมือถือ เพิ่มขึ้นถึง 3.4 เท่า
  • ช้อปสินค้าออนไลน์บน Facebook เพิ่มขึ้นถึง 31 เปอร์เซ็นต์

 สิงคโปร์

  • 90 เปอร์เซ็นต์ของการโพสต์บน Facebook เกิดขึ้นบนมือถือ
  • โพสต์ Instagram เพิ่มขึ้นถึง 12 เปอร์เซ็นต์
  • โพสต์วิดีโอบน Facebook ผ่านทางมือถือ เพิ่มขึ้นถึง 46 เปอร์เซ็นต์
  • ช้อปสินค้าออนไลน์บน Facebook เพิ่มขึ้นถึง 86 เปอร์เซ็นต์

ฟูจิตสึประกาศวิสัยทัศน์ “Fujitsu Asia Conference 2016” การเปลี่ยนแปลงโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล

fujitsu-%e0%b9%81%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7-87

มร. อิจิ ฟูรูคาวา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมด้วย มร. โตชิโอะ ฮิโรเซะ (Toshio Hirose) Corporate Executive Officer SVP, Head of Asia Region Fujitsu Limited (ที่ 2 จากซ้าย)   และ มร.โยชิคูนิ ทาคาชิเกะ (Yoshikuni Takashige) รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ทางด้านการตลาด บริษัท ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด จำกัด (ที่ 1 จากซ้าย)  ได้ร่วมกันประกาศวิสัยทัศน์องค์กรในงานสัมมนา “Fujitsu Asia Conference 2016”  ชูแนวทางหลักมุ่งเน้นไปที่  “นวัตกรรมเพื่อมนุษยชาติ : การเปลี่ยนแปลงที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ” Human Centric Innovation – Driving Digital Transformation” และแนวโน้มนวัตกรรมดิจิตอลที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจและสังคม พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีที่จะเชื่อมการใช้งานเข้าด้วยกัน อาทิ คลาวด์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things – IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data) เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานได้จริง ตอบโจทย์ สอดคล้องกับความต้องการของโลกดิจิทัล ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ณ โรงแรม เรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์

กรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh ประเทศเวียดนามบุกเบิกเครือข่ายสาธารณสุขทางไกล เพื่อการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือด้านสุขภาพในที่ห่างไกล

กรมอนามัยในจังหวัด Quang Ninh ได้ขยายการบริการในการดูแลรักษาสุขภาพที่จำเป็นให้กับประชาชนในชนบท โดยการจัดเตรียมการเข้าถึงที่เพิ่มมากขึ้นของแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ผ่านทางเครือข่ายสาธารณสุขทางไกล ที่เชื่อมต่อกับโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพชุมชน (Community Healthcare Centres: CHCs) 24 แห่

.ด้วยความช่วยเหลือของเทคโนโลยีการการสื่อสารร่วมกันผ่านวิดีโอของ Polycom ทั้งแบบติดตั้งประจำห้อง และแบบพกพาเคลื่อนที่ กรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh สามารถให้คำปรึกษาและติดตามการรักษาแก่ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ห่างไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตรได้ อีกทั้งยังมีการใช้โพลีคอมในการปรับปรุงวิธีการฝึกอบรม และใช้ในการประสานงานสำหรับแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลด้วย

การจัดตั้งการเชื่อมต่อสำคัญระหว่างโรงพยาบาลกลางและโรงพยาบาลประจำจังหวัด

จังหวัด Quang Ninh อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเวียตนาม และเป็นขอบเขตชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีพื้นที่เป็นภูเขามากกว่า 6,000 ตารางกิโลเมตร สำหรับประชากรในพื้นที่นั้น การเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพหมายถึงการเดินทางระยะไกลไปยังโรงพยาบาลกลางหรือศูนย์การแพทย์ เนื่องจากการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านการรักษาในพื้นที่ชนบท ทำให้การวินิจฉัยและการให้คำ ปรึกษาสำหรับผู้ป่วยอาการซับซ้อนเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่บ่อยครั้ง

“สำหรับการวินิฉัยของเคสการแพทย์ที่ยากมากกว่านั้น ผู้ป่วยจะต้องถูกส่งตัวเป็นระยะทางที่ไกลมากจากโรงพยาบาลในภูมิภาคไปยังโรงพยาบาล Back Mai หรือ โรงพยาบาลกลาง Viet Duc ด้วยเหตุนี้เครือข่ายสาธารณสุขทางไกลจึงเป็นการเชื่อมต่อสำคัญที่จะช่วยให้สามารถจัดการดูแลผู้ป่วยและวินิจฉัยอาการเบื้องต้นได้” นายแพทย์ Vu Xuan Dien ผู้อำนวยการกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh กล่าว

“เครือข่ายสาธารณสุขทางไกลได้เปลี่ยนแปลงระดับของการบริการของเราต่อชุมชนในจังหวัดอย่างสมบูรณ์ และยังลดความกดดันจากปริมาณงานที่ต้องแบกรับของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเราอีกด้วย” นายแพทย์ Vu Xuan Dien ผู้อำนวยการกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh กล่าว

live-surgery-5

นับตั้งแต่ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับเครือข่ายสาธารณสุขทางไกลในปี 2015 ทางกรมอนามัยก็ได้ปรับปรุงการฝึกอบรมและการประสานงานกับแพทย์ในพื้นที่ชนบท ซึ่งช่วยให้สามารถโอนย้ายเคสฉุกเฉินและข้อมูลการวินิจฉัยไปยังหน่วยงานด้านศัลยกรรมได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งยังบริการผู้ป่วยเป็นจำนวนมากในขณะที่ลดปริมาณงานของโรงพยาบาลประจำจังหวัดให้น้อยลงบรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพในหลายระดับกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh มีเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนการทำงาน เพื่อ ให้มั่นใจในประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากร และลดต้นทุน ในขณะที่ยังสามารถให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพเครือข่ายสาธารณสุขทางไกลได้ส่งผลถึงการปฏิรูปอย่างชัดเจนในการใช้งานทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอย่างดีที่สุดทางกรมไว้วางใจในเทคโนโลยี ที่ช่วยในการปรับปรุงความสามารถสำหรับการบริหารจัดการ และการควบคุมดูแลของโรงพยาบาลอื่น ๆในจังหวัด อีกทั้งยังลดเหตุการณ์การระบาดของโรคต่างๆ เนื่องด้วย

การสามารถเข้าไปแทรกแซงยับยั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีทักษะความสามารถที่จำเป็นตัวอย่างเช่น เมื่อ มีคำสั่งหรือคำแนะนำปรึกษาที่ต้องประกาศออกมาทันที ในตอนนี้พนักงานทั้ง 300 คนสามารถติดต่อเข้าสู่การประชุมผ่านวิดีโอ ทำให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลความรู้ได้อย่างรวดเร็วประเด็นนี้นับว่าสำคัญมากเป็นอย่างยิ่งในการจัดการกับภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม เช่นเดียวกับการระบาดของโรค ทั้งนี้ ข้อมูล,กระบวนการ และเกณฑ์วิธีจะสามารถถูกแบ่งปันและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีการสนับสนุนด้านการรักษาพยาบาลอย่างถูกต้องให้กับพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

“เครือข่ายสาธารณสุขทางไกลได้เปลี่ยนแปลงระดับของการบริการของเราต่อชุมชนในจังหวัดอย่างสมบูรณ์ และยังลดความกดดันจากปริมาณงานที่ต้องแบกรับของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของเราอีกด้วย” นายแพทย์ Vu Xuan Dien ผู้อำนวยการกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh กล่าวไว้การประสานงานร่วมมือที่ดีมากยิ่งขึ้นผ่านเทคโนโลยีได้ส่งผลดีต่อทางกรมในหลายระดับ นับตั้งแต่หน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการไปจนถึงการรักษาพยาบาลผู้ป่วย รวมถึงการจัดเตรียมการฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่:

  • หัวหน้าทีมไม่จำเป็นต้องเดินทางระยะไกลเพื่อ เข้าร่วมการประชุมที่สำคัญ และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ กับอีกสามถึงสี่ชั่วโมงต่อประชุมหนึ่งครั้งแนว
  • ทางด้านเทคนิค, การเคลื่อน ย้าย, การสนับสนุนทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน และการประสานงานในช่วงระหว่างเหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ สามารถดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการประสานงานแบบพบหน้ากันระหว่างทีมดูแลต่างๆโปรแกรมการฝึกอบรมดำเนินการได้สะดวกยิ่งขึ้นกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh ได้เน้นย้ำถึงโปรแกรมการฝึกอบรมที่ต่อเนื่องสำหรับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และฝ่ายบริหารจัดการ โดยโปรแกรมดังกล่าวได้ดำเนินการรวดเร็วมากยิ่งขึ้นผ่านการประสานงานที่บ่อยครั้งมากขึ้น โดยในปี 2016 มีแพทย์และพนักงานกว่า 1000 คนจากโรงพยาบาลในเครือที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้งานเทคโนโลยีช่วยประสานงานนี้ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและหน่วยงานทางการแพทย์จะถูกจัดขึ้น ที่ส่วนกลางเท่านั้น

“ด้วยเทคโนโลยีของ Polycom เรามีการประชุมออนไลน์ 32 ครั้งโดยมีเจ้าหน้าที่ 7,000 คนเข้าร่วม ในการประชุม 19 ครั้ง สำหรับการอัพเดตงานที่ดำเนินการอยู่ และแนวทางของการบริหารจัดการของการควบคุมและป้ องกันโรคระบาด ซึ่งนับเป็น 300 คนโดยเฉลี่ยในการประชุมแต่ละครั้งกับการประชุมเพื่อฝึกอบรมออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญอีก 13 ครั้ง สำหรับเจ้าหน้าที่กว่า 1,000 คน” นายแพทย์ Dien กล่าว

r0205658v2-copy

การปฏิรูปการประสานงานสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพท่ามกลางเทคโนโลยีการประสานงานนี้ที่ได้ดำเนินการกระจายไปตามอุปกรณ์อำนวยความสะดวกของกรมอนามัย ผลงานสำหรับติดตั้งในห้องของ Polycom® RealPresence® Group 500 และ Polycom®HDX® 7000 สำหรับการประชุมผ่านวิดีโอแบบคมชัดสูง และการแบ่งปันเนื้อหาสื่ออย่างเต็มรูปแบบ ช่วยให้การสนทนาและการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับทีมที่ส่งไปตามภูมิภาคต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ “ที่สำคัญ เราต้องการเทคโนโลยีที่มีเสถียรภาพและง่ายต่อการดำเนินการสำหรับเจ้าหน้าที่ของเราทุกคน เช่นเดียวกับการสนับสนุนงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่เรากำลังมองหากันอยู่” นายแพทย์ Dien กล่าว

ผลงาน Polycom RealPresence Group Series 500 ได้ถูกปรับปรุงเพิ่มเติมด้วย Polycom® UC Board™ สำหรับใช้ในห้องวินิจฉัยในโรงพยาบาล ตัวอย่างเช่น กระดานขาวสำหรับการจดบันทึก และการดูภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ ส่วนการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยแบบเสมือนจริง และการถ่ายทอดสดการผ่าตัดสามารถกระทำได้ผ่าน Polycom® RealPresence® Utility Cart 500 ซึ่งเป็นหน่วยการประสานงานผ่านวิดีโอ ที่สามารถเข็นไปมาภายในบริเวณที่ครอบคลุม ช่วยให้ผู้ใช้สามารถพาผู้เชี่ยวชาญไปยังสถานที่ใดก็ได้ที่พวกเขาต้องการ

“โซลูชั่นของ Polycom ช่วยปรับปรุงหลายแง่มุมของขั้นตอนการดำเนินงาน เช่น ด้านการสาธารณสุขทางไกล ด้านการประสานงานการดูแล ด้านศึกษาทางการแพทย์ และการบริหารจัดการการสาธารณสุขในระยะไกล” Ron Emerson ผู้อำนวยการใหญ่แผนกการแพทย์และสาธารณสุข ของ Polycom กล่าว “ด้วยเทคโนโลยีวิดีโอและเสียงที่มีความคมชัดสูง และการใช้งานชุดประชุมวิดีโอแบบเคลื่อนที่ภายในกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh นั้น ไม่เพียงแต่กลายเป็นศูนย์กลางของการดูแลสุขภาพอย่างยอดเยี่ยม แต่ยังสร้างเส้นชีวิตที่สำคัญให้กับผู้ ป่วยและแพทย์ในชุมชนชนบท”

“ด้วยเทคโนโลยีของ Polycom เรามีการประชุมออนไลน์ 32 ครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ 7,000 คนเข้าร่วม ในการประชุม 19 ครั้ง สำหรับการอัพเดตงานที่ดำเนินการอยู่ และแนวทางของการบริหารจัดการของการควบคุมและป้องกันโรคระบาด ซึ่งนับเป็น 300 คนโดยเฉลี่ยในการประชุมแต่ละครั้ง กับการประชุมเพื่อฝึกอบรมออนไลน์โดยผู้ เชี่ยวชาญอีก 13 ครั้ง สำหรับเจ้าหน้าที่กว่า 1,000 คน” นายแพทย์ Vu Xuan Dien ผู้อำนวยการกรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh กล่าว

เป้าหมายในอนาคต

กรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh วางแผนจะขยายการใช้งานสื่อสารร่วมกันผ่านวิดีโอไปยังมือถือ และแท็บเล็ตส่วนบุคคล สำหรับการเชื่อมต่อในขณะเดินทาง การพัฒนานี้ จะช่วยให้แพทย์สามารถทำการตรวจสุขภาพได้อย่างง่ายดาย และได้รับข้อมูลทางการแพทย์ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

“กรมอนามัยจังหวัด Quang Ninh ภาคภูมิใจที่ได้เริ่มดำเนินการโครงการสาธารณสุขทางไกลนี้ในเวียตนาม เพื่อการให้บริการกับชุมชนและพนักงานของเราอย่างต่อเนื่องได้ดีมากยิ่งขึ้น” นายแพทย์ Dien กล่าวเพิ่มเติม

My Passport & My Book ลุคใหม่ไฉไลกว่าเดิม

เวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ปอเรชั่น (เวสเทิร์น ดิจิตอล) (NASDAQ: WDC) ประกาศเปิดตัว My Passport®, My Passport for Mac, และ My Book® ฮาร์ดไดรฟ์ไลน์ท็อปฮิตที่มียอดขายระดับแถวหน้าของวงการมานานกว่าทศวรรษ วันนี้นำเสนอในรูปโฉมใหม่ล่าสุดผนวกเทคโนโลยีชั้นนำเข้ากับงานดีไซน์ โดยการจับมือกับ fuseproject มือฉมังด้านงานดีไซน์การันตีด้วยถ้วยรางวัล ผลิตภัณฑ์โฉมใหม่ถูกพัฒนาและผลิตเพื่อให้สอดรับกับความต้องการของผู้ใช้งาน ช่วยให้การใช้งานฮาร์ดไดรฟ์ชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ มีประสิทธิภาพ มาพร้อมการปกป้องข้อมูลขั้นสูงด้วยการการเข้ารหัสฮาร์ดแวร์และการตั้งพาสเวิร์ด เพื่อให้ผู้ใช้งานปลื้มปริ่มกับฮาร์ดไดรฟ์ของพวกเขาเท่าที่พวกเขาหวงแหนเนื้อหาที่ถูกจัดเก็บไว้ในนั้น

wd_2016-12-20_ig_rga_resize_1

“เนื่องจากตลาดสโตเรจยังคงเป็นภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการการเติบโตอย่างรวดเร็ว และในมุมด้านการออกแบบเพื่อให้สอดรับกับสไตล์ของผู้ใช้งานก็มีมากขึ้น ทีมงานจึงมุ่งเน้นไปที่การออกแบบและการเพิ่มอรรถรสแห่งประสบการณ์การใช้งาน My Passport และ My Book ยกไปสู่อีกระดับหนึ่ง” Jim Welsh รองประธานอาวุโส แผนกธุรกิจคอนเทนต์ โซลูชั่นส์ของ       เวสเทิร์น ดิจิตอล กล่าวและเสริมว่า “ด้วยรูปลักษณ์โฉมใหม่นี้ เราต้องการมีส่วนร่วมกับผู้ใช้งาน ต้องการสื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบว่า สโตเรจนั้นมีความสำคัญในชีวิตของพวกเขาอย่างไร ให้พวกเขาได้รู้สึกว่ามีพลังอำนาจมากขึ้นในการใช้สอยประโยชน์ที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การปกป้องไฟล์ รวมถึงความเพลิดเพลินไปกับความทรงจำต่างๆ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตพวกเขา”

“วิธีการที่เราใช้ข้อมูลกำลังเปลี่ยนแปลง มันกำลังกลายเป็นไปในเชิงของโภคภัณฑ์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ” Yves Béhar ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบหลักของ fuseproject แสดงความคิดเห็นและเสริมอีกว่า “Western Digital อยู่ในจุดที่เชื่อมระหว่างเรื่องของกายภาพแห่งชีวิตและโลกแห่งดิจิตอล และเราต้องการสร้างสรรค์สุนทรียะแห่งความงามที่มีคุณภาพและเป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อมระหว่างสองสิ่งนี้”

ส่วนหนึ่งของผลงานการสร้างสรรค์สุนทรียะแห่งความงามที่มีคุณภาพ ได้กลายมาเป็น My Passport ลุคใหม่ที่มาพร้อมสีสันสะดุดตาถึง 6 สี ได้แก่ ดำ, เหลือง, แดง, ขาว,  ส้ม และน้ำเงิน  พร้อมคุณสมบัติและฟีเจอร์โดดเด่นของฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา สนองไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานที่มักเดินทางบ่อยๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ยังมี My Passport for Mac สำหรับคอแมค มาในสีดำเท่แบบมีสไตล์ ขณะที่ My Book ฮาร์ดไดรฟ์สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะที่คุณไว้วางใจได้เต็มร้อย นอกจากจะมาในมาดใหม่แล้วยังนำเสนอความจุสูงสุดถึง 8TB เต็มอิ่มสำหรับการจัดเก็บรูปถ่าย วิดีโอ เพลง และไฟล์งานต่างๆ โดยฮาร์ดไดรฟ์ใหม่ทุกรุ่นมาพร้อมโซลูชั่นการสำรองข้อมูลอัตโนมัติที่ไร้รอยต่อ ใช้งานได้ง่าย รวมทั้งระบบปกป้องข้อมูลด้วยรหัสผ่านเพื่อให้ข้อมูลที่มีค่ามีความปลอดภัยเสมอ

wd_2016-12-20_ig_mypassport_red_1 wd_2016-12-20_wdfmy_book_resize

ผลิตใหม่ทั้งหมดของ WD® ประกอบด้วย:

  • ฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา My Passport – ฮาร์ดไดรฟ์ขนาดพกพาที่คุณไว้วางใจและชื่นชม มาในลุคใหม่เข้ากับฝ่ามือผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะเหม็ง
  • ดีไซน์ใหม่เด่นสะดุดตาและกิมมิคด้านล่างตัวไดรฟ์
  • ปกป้องข้อมูลด้วยด้วยการตั้งพาสเวิร์ดและการเข้ารหัสฮาร์ดแวร์ 256-bit AES
  • สำรองข้อมูลอัตโนมัติด้วยซอฟต์แวร์ WD Backup™
  • มีรุ่นความจุสูงสุด 4TB
  • ฮาร์ดไดรฟ์ My Passport for Mac – มิตรแท้ที่ดีงามที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์ MacBook® ของคุณพกพา ดีไซน์ใหม่เด่นสะดุดตาและกิมมิคด้านล่างตัวไดรฟ์
  • ปกป้องข้อมูลด้วยด้วยการตั้งพาสเวิร์ดและการเข้ารหัสฮาร์ดแวร์ 256-bit AES
  • ฟอร์แมตแล้วสำหรับระบบปฏิบัติการ Mac OS® X และ Time Machine® พร้อมใช้งานและสำรองข้อมูลได้ง่ายดาย
  • มีรุ่นความจุสูงสุด 4TB
  • ฮาร์ดไดรฟ์สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะ My Book – เชื่อถือได้ดีเยี่ยม ความจุสูง ดีงามทั้งสำหรับคอมพิวเตอร์พีซีและ Mac®
  • ปกป้องข้อมูลด้วยด้วยการตั้งพาสเวิร์ดและการเข้ารหัสฮาร์ดแวร์
  • สำรองข้อมูลอัตโนมัติด้วยซอฟต์แวร์ WD Backup™
  • มีรุ่นความจุสูงสุด 8TB

 ราคาและการวางจำหน่าย

ฮาร์ดไดร์ฟขนาดพกพา My Passport และ My Passport for Mac รับประกันสินค้าตามเงื่อนไขกำหนดนาน 3 ปี พร้อมวางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ววันนี้ผ่านบริษัทตัวแทนจัดจำหน่ายและร้านค้าที่ได้รับการแต่งตั้งในประเทศไทย ราคาแนะนำของ My Passport โฉมใหม่ เริ่มต้นที่ 2,390 บาท และราคาแนะนำของ My Passport for Mac เริ่มที่ 2,390 บาท

สำหรับ My Book ฮาร์ดไดรฟ์สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะลุคใหม่ รับประกันสินค้าตามเงื่อนไขกำหนดนาน 2 ปี พร้อมวางจำหน่ายในประเทศไทยแล้วเช่นกัน โดยจำหน่ายผ่านบริษัทตัวแทนจัดจำหน่ายและร้านค้าที่ได้รับการแต่งตั้งในประเทศไทย ราคาแนะนำของ My Book เริ่มต้นที่ 4,290 บาท

You may have missed