03/28/2024

Month: September 2016

ป้ายโฆษณาอัจฉริยะทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์

เอเจนซี่ยักษ์ใหญ่อย่าง M&C Saatchi ในกรุงลอนดอนดึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาสู่วงการโฆษณา สร้างเป็นบิลบอร์ดอัจฉริยะที่สามารถนำเสนอโฆษณาที่ปรับปรับรูปแบบได้ด้วยตัวมันเอง โดยทาง M&C Saatchi เปรียบเทียบว่า แคมเปญดังกล่าวนี้ถือเป็นวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอดของวงการโฆษณาเลยทีเดียว

โดยบิลบอร์ดดังกล่าวได้จำลองเรื่องราวของกาแฟแบรนด์หนึ่งขึ้นมา ในชื่อ Bahia จากนั้นก็ใช้โฆษณาดังกล่าวดึงดูดผู้คน และวิเคราะห์คนเหล่านั้นผ่านทางสีหน้าท่าทาง เช่น พวกเขาดูมีความสุข เศร้า หรืออยู่ในอารมณ์ธรรมดา ๆ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ เบื้องหลังจากพัฒนาโฆษณาชิ้นนี้มีการใช้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm)* ในการพิจารณาว่า เทคนิคใดในโฆษณาที่ประสบความสำเร็จสามารถทำให้ผู้บริโภคสนใจได้ ส่วนเทคนิคตัวใดที่ไม่ประสบความสำเร็จในการดึงดูด หรือสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคก็จะถูกคัดออกไป

ai-poster

โดยแคมเปญดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับ Posterscope และ Clear Channel UK บนถนนออกฟอร์ดและ Clapham Common

*ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm – GA) เป็นเทคนิคทางปัญญาประดิษฐ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการค้นหา การเพิ่มประสิทธิภาพ และการเรียนรู้ (Search, Optimization, and Learning) ด้วยการเลียนแบบทฤษฎีการวิวัฒนาการทางธรรมชาติ โดยขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมมีจุดเด่นในด้านความทนทานต่อความผิดพลาดในการค้นหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลที่มีความซับซ้อนและยากที่จะสร้างแบบจำลองด้วยสมการคณิตศาสตร์ เนื่องจากเป็นกระบวนการค้นหาที่ไม่มีความเฉพาะเจาะจงกับแบบจำลองหรือลักษณะเฉพาะของข้อมูลแบบใดแบบหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การจัดตารางเวลา (Timetable Scheduling) การออกแบบระบบควบคุมอัตโนมัติ (Control System Design) การออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบท่อส่งก๊าซ (Gas Pipeline Optimization) และการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมได้ (Genetic Based Machine Learning) เป็นต้น

โดยหลักการของขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม เป็นการเลียนแบบกระบวนการวิวัฒนาการตามธรรมชาติ เพื่อพัฒนาหรือทำการ “วิวัฒนาการ” คำตอบที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา (อ้างอิงจาก https://kapitaennem0.wordpress.com/2013/07/17/genetic-algorithm/)

ไอเอฟเอส เผยทิศทางธุรกิจไตรมาสสี่ เจาะกลุ่มอุตสาหกรรมนำระบบอีอาร์พีหนุน Thailand 4.0

นายศรีดาราน อรูมูแกม รองประธาน ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   บริษัท ไอเอฟเอส ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับองค์กรชั้นนำระดับโลก จากประเทศสวีเดน  กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยช่วงไตรมาสที่สี่ของปี 2559 ว่า ใน      ไตรมาสที่สี่ของปีนี้บริษัท ไอเอฟเอสจะมุ่งลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยคาดว่า กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ทราสฟอร์เมชั่นมากที่สุดในประเทศไทย   เนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและก้าวไปสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ ทั้งนี้อุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0  โดยบริษัทฯ จะเข้าไปช่วยปรับปรุง และเสริมประสิทธิภาพด้วยการนำระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร หรืออีอาร์พี ที่ครอบคลุมการใช้งานอย่างครบวงจร และที่สำคัญมีความคล่องตัวในการใช้งานผ่านเดสก์ทอป แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน นอกจากนั้นยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงแนวโน้มและเชื่อมโยงกับระบบคลาวด์ ซึ่งสามารถดูข้อมูลแบบเรียล ไทม์ ด้วยโซลูชั่นของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือไอโอที

sridharan-3

ไอดีซี คาดการณ์ว่าจุดติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางของไอโอที (IoT) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 13,000 ล้านชุดในปลายปี 2559 จนถึง 30,000 ล้านชุดในปี 2563 และอุตสาหกรรมที่ไอดีซี คาดการณ์ว่าจะมีการใช้จ่ายงบประมาณไปกับโซลูชันไอโอที (IoT) มากที่สุด คืออุตสาหกรรมด้านการผลิต การขนส่ง พลังงานและสาธารณูปโภค รวมถึงร้านค้าปลีกที่มีรูปแบบการใช้งาน ไอโอที (IoT) อย่างครอบคลุม

“เรากำลังก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0  คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า  จะเป็นการบูรณาการโลกของการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อทางเครือข่ายในรูปแบบ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ ไอโอที ( Internet of Things (IoT)) ทุกหน่วยของระบบการผลิต ตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์หน่วยต่างๆ เหล่านี้จะถูกติดตั้งระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันอย่างอิสระเพื่อการจัดการกระบวนการผลิตทั้งหมดจะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละรายเป็นจำนวนมากในเวลาพริบตาเดียว โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจร แบบสมาร์ท แฟคตอรี่”

นอกจากกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าอื่นๆ  อาทิ อุตสาหกรรมด้านอากาศยาน  และยุทโธปกรณ์การรบ (Aerospace & Defense)  อุตสาหกรรมการให้บริการ (service provider)    อุตสาหกรรมด้านยานยนต์     ค้าปลีก การจัดการสินทรัพย์   อุตสาหกรรมด้านพลังงานและสาธารณูปโภค    อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ    และการก่อสร้าง โดยไอเอฟเอส มีแผนขยายพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญโซลูชั่นสำหรับลูกค้าญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ และการขยายตลาดในประเทศเมียนมาร์และกัมพูชา  ทั้งนี้คาดว่า บริษัท ไอเอฟเอสในประเทศไทย จะมีอัตราการเติบโต 10%  ในปี 2559

ตลาดอีอาร์พีในประเทศไทยนั้นยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลไทยกำลังผลักดันนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เศรษฐกิจอยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และนวตกรรม ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง   โดยการ์ทเนอร์ได้คาดการณ์การเติบโตของตลาดอีอาร์พีในประเทศไทย จะมีอัตราการเติบโตที่ 14.91 %   ระหว่างปี 2559 – 2563

นายศรีดาราน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกลุ่มการบินและอากาศยาน  เป็นตลาดหลักของบริษัท ไอเอฟเอส ทั่วโลก  โดยในเดือนตุลาคมนี้ ทางบริษัทฯ     ได้เข้าร่วมงาน แอร์ไลน์ แอนด์ แอโรสเปซ  เอ็มอาร์โอ แอนด์ ไฟลท์ โอเปอเรชั่นส์ ไอที คอนเฟอเรนซ์  (Airline & Aerospace MRO & Flight Operations IT Conference)  ที่จัดขึ้นโดยแอร์คาฟท์ คอมเมิร์ซ ( Aircraft Commerce)  ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย  ซึ่งเป็นงานประชุมระดับโลกด้านไอทีของกลุ่มการบินและอากาศยานเพียงงานเดียว ที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านไอทีและการบริหารจัดการและการซ่อมบำรุงด้านการบิน

สำหรับกลุ่มลูกค้าปัจจุบันของไอเอฟเอฟในประเทศไทย  ประกอบด้วย  อุตสาหกรรมการผลิต     อุตสาหกรรมด้านอากาศยาน  และยุทโธปกรณ์การรบ (Aerospace & Defense)  อุตสาหกรรมการให้บริการ (service provider)    อุตสาหกรรมด้านยานยนต์     ค้าปลีก การจัดการสินทรัพย์   อุตสาหกรรมด้านพลังงานและสาธารณูปโภค    อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ    และการก่อสร้าง

“เอเชีย” ขึ้นแท่นทวีปผู้นำการลงทุน IoT ที่มีค่า ROI สูง

พบตัวเลขบริษัทในเอเชียประสบความสำเร็จกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เพิ่มสูงขึ้น โดยอ้างอิงจากรายงาน Barometer Report ของบริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ โวดาโฟน พบว่า มีบริษัทในเอเชียที่นำ IoT ไปประยุกต์ใช้แล้วได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนคืนมาสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์แล้ว ในขณะที่ระดับโลก ตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ราว 63 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือได้ว่าสูงไม่แพ้กันเลย

ทั้งนี้ ประเทศผู้นำด้านการใช้ IoT ในเอเชียได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทในประเทศเหล่านี้มองเทคโนโลยี IoT เป็นหนึ่งในเครื่องมือสู่ความสำเร็จขององค์กรในอนาคต และให้ความสำคัญกับการลงทุนด้าน IoT ในเซกเมนต์ต่าง ๆ ค่อนข้างมาก

รายงานจากโวดาโฟนระบุด้วยว่า ปัจจุบันมีบริษัทถึง 68 เปอร์เซ็นต์อนุญาตให้พนักงานแอคเซสเข้าถึงข้อมูลด้าน IoT บนอุปกรณ์สื่อสารได้ และ 51 เปอร์เซ็นต์พบว่าพนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังจากนำเทคโนโลยี IoT มาปรับใช้

นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในองค์กรยังทำให้หลายบริษัทสามารถอำนวยความสะดวกให้แก่คู่ค้า หรือลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วย โดยพบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลด้าน Data Analytics มาใช้ประกอบการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าได้นั่นเอง

iot2

ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็มีการสำรวจของ Circle Research จากกลุ่มตัวอย่าง 1,100 คนพบว่า บริษัท 56 เปอร์เซ็นต์มีการผนวกข้อมูล Iot เข้าไปในระบบคลาวด์, ERP และแอปพลิเคชันเพื่อการธุรกิจแล้วด้วย

“รายงานในปีนี้แสดงให้เห็นว่า เรากำลังก้าวเข้าสู่การใช้งานเทคโนโลยี Internet of Things พร้อม ๆ กับการตระหนักถึงมูลค่าที่แท้จริงทางธุรกิจที่สร้างได้จากเทคโนโลยี IoT ดังกล่าว” Justin Nelson, หัวหน้าฝ่าย IoT ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของโวดาโฟนกล่าว

โซลูชั่น IoT เพื่อการเกษตรยุคอนาคตจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เมื่อเร็วๆ นี้ Intel มีการจัดงาน Intel IOT Solutions Conference 2016 ภายในงานมีการนำเสนอโซลูชั่น IoT เพื่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตในยุคอนาคตมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือบูธของทีมวิจัย MJU Smart Farming & Solutions จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยที่อาจไม่ค่อยมีใครพูดถึงนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยีเท่าไรนัก แต่เมื่อเราได้เห็นโซลูชั่นต่างๆ จากบูธนี้ เห็นได้เลยว่า ในแง่ของงานวิจัยและนวัตกรรมนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่ธรรมดาจริงๆ 

000

โดยสิ่งที่ทีมวิจัย MJU Smart Farming & Solutions จากคณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำแสดงในงานนี้นั้นได้แก่ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในด้านการจัดการข้อมูลการเพาะปลูกเพื่อ พัฒนาคุณภาพผลผลิต  โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญจากมาหวิทยาลัยมาค่อยให้ข้อมูลภายในบูธ

008

นอกจากนี้ ผศ.ดร.จตุภัทร วาฤทธิ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการให้ข้อมูลการพัฒนาระบบ MJU Smart Farmiวว่า “เราได้จัดทำระบบ Mobile Application โดยเน้นเรื่องการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม ซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตและผลผลิตดีขึ้นได้จริง เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป ปัจจัยการผลิตแตกต่างกัน สิ่งที่เราเน้นคือการรวบรวมข้อมูล Solutions โดยในอนาคตเราจะจัดทำเป็นศูนย์กลางข้อมูล Data Center ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตรต่อไป ขณะที่เรากำลังอยู่ในยุค IOT (Internet of Things) ดังนั้น เราจึงควรดึงศักยภาพของโลกออนไลน์มาใช้กับภาคการเกษตรเพื่อให้เกษตรกรไทยได้ รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ขอขอบคุณ Intel ที่ได้สนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้และช่วยสร้างเครือข่ายที่จะทำให้เกิดความ ร่วมมือต่อไปในอนาคตด้วยครับ ทีมวิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.โชติพงษ์ กาญจนประโชติ ดร.สมนึก สินธุปวน อ.อลงกต กองมณี คุณพัชรี ยางยืน และนักศึกษา ป.โทอีก 2 ท่าน ได้จัดนิทรรศการแสดงผลงาน Smart Farming Solutions สำหรับ ข้าว ข้าวโพด และ เห็ด ซึ่งเป็น Highlight ด้าน IOT solutions การเกษตรของงานนี้ ได้รับความสนใจและจะมีการขยายความร่วมมือกับภาคส่วนเอกชน IOT ต่อไป ถือเป็นการเปิดตัวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่จะเป็นผู้นำด้าน IOT เกษตรในระดับภูมิภาคต่อไป”

 006

ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย ได้ร่วมเป็นวิทยากรในส่วนของภาคเอกชน กล่าวว่า “ผลงานของแม่โจ้ได้สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการไอทีของไทย และทำให้ทราบว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นแหล่งวิชาการเกษตรของไทยได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศรองรับภาคการ เกษตรไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงจากแปลงทดลองข้าวโพดของซันสวีท การนำเสนอของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงได้รับความสนใจอย่างมาก ในงาน Intel IOT Solutions Conference 2016 และทำให้ได้ทราบว่า ศักยภาพองค์ความรู้ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ น่าชื่นชมและภาคภูมิใจมาก”

ภายในบูธมีโซลูชั่น IoT เพื่อการเกษตรนำมาแสดงหลายชิ้นไม่ว่าจะเป็น ระบบการติดตามและเก็บข้อมูลภาวะแวดล้อมในโรงเรือนเพาะเห็ด ระบบวัดระดับควบคุมการจ่ายน้ำในแปลงนาข้าว โดยมีการติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆ ไว้ในแปลงนา ในโรงเรือนเพาะเห็ด โดยมีการส่งข้อมูลระยะไกลจากเซนเซอร์ไปยังตัวรับผ่านคลื่นวิทยุ แทนการใช้เครือข่ายไร้สาย ซึ่งให้ระยะการส่งสัญญาณไกลกว่ามาก โดยสามารถแจ้งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูกและเก็บข้อมูลเหล่าเป็นข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการเพาะปลูกในอนาคต

009

ตัวอย่างในแปลงนานั้น นำไปใช้ในประยุกต์ในแปลงนาที่ใช้วิธีการปลูกแบบแก้ลงข้าว กล่าวคือ จะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รากและลำต้นข้าวแข็งแรงส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และการสร้างผลผลิต โดยเริ่มต้นจากการขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 ซม. ในช่วงหลังปักดำจนกระทั่งข้าวอยู่ในช่วงตั้งท้องออกดอก จึงจะเพิ่มระดับน้ำในแปลงอยู่ที่ 7-10 ซม. จากนั้นจะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 1 ในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้น หรือข้าวมีอายุประมาณ 35-45 วันเป็นเวลา 14 วัน หรือจนกว่าระดับน้ำในแปลงลดลงต่ำกว่าผิวแปลง 10-15 ซม.หรือดินในแปลงนาแตกระแหง จากนั้นถึงปล่อยน้ำเข้านา จนกระทั่งข้าวแตกกอสูงสุด หรือข้าวอายุประมาณ 60-65 วัน ก็จะปล่อยให้ข้าวขาดน้ำครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลาอีก 14 วัน  ทำให้การทำนาแบบนี้ต้องการความเอาใจใส่ และต้องมีการควบคุมน้ำในแปลงนาให้ได้ระดับตามที่กำหนดไว้ นั่นจึงทำให้ระบบการควบคุมน้ำโดยใช้เทคโนโลยี IoT ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้จึงมีประโยชน์มากสำหรับการทำนาแบบแกล้งข้าว

รวมถึงมีการนำโดรนมาเพื่อใช้ในการถ่ายภาพแปลงเพาะปลูก และพัฒนาโซลูชั่นการประมวลผลภาพ (Image Processing) มาให้เพื่อวิเคราะห์สุขภาพของพืชในแปลงเพาะปลูก โดยดูจากสีของใบพืชเป็นต้น

001

 

Codesoft TCM-8815 จอทัชสกรีนขนาด 15 นิ้วสำหรับระบบ POS

tcm-8815_17-2015-fb-new-by-cps

จอทัชสกรีน 15 นิ้ว สำหรับงานขายหน้าร้าน ติดตั้งร่วมกับระบบ POS ที่มีอยู่ได้อย่างลงตัว แข็งแรง ทนทาน ขนาดกะทัดรัด สามารถปรับมุมก้มเงยได้ 4°~90° องศา ติดตั้งง่าย สามารถเก็บซ่อนสายไฟไว้ใต้ฐานจอได้ ติดตั้งได้ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแขวนผนัง รองรับความละเอียดการแสดงผล 1024 x 768 พิกเซล สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมด้านข้างจอไม่ว่าจะเป็น เครื่องอ่านบัตร หรือเครื่องอ่านลายนิ้วมือ

ติดต่อสอบถาม :
บริษัท คอมพิวเตอร์ เพอริเฟอรัล แอนด์ ซัพพลายส์ จำกัด
244 ซอยพัฒนาการ 53 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม. 10250
โทรศัพท์: 0-2322-7986, 0-2322-9535, 0-2722-4040
โทรสาร: 0-2322-7990

http://www.cps.co.th

http://www.facebook.com/cps.co.th

Banner-CPS.-v1

คนไอทีเมียนมาร์ลุ้นรัฐบาลเห็นชอบแผนสร้าง ICT Park

สภาคอมพิวเตอร์แห่งเมียนมาร์ (The Myanmar Computer Federation) หวังรัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการแผนพัฒนา “ICT Park” ในพื้นที่ขนาด 300 เอเคอร์ ทางตอนเหนือของกรุงย่างกุ้งเพิ่ม หลัง MICT Park ในเมือง Hlaing ประสบ ความสำเร็จอย่างสูง

โดยประธานของ MCF อย่าง U Khun Oo เผยว่า เขาหวังว่ารัฐบาลคณะปัจจุบันจะให้การสนับสนุนแผนดังกล่าว พร้อมระบุว่า “เราพยายามผลักดันให้เกิดการอนุมัติแผนการสร้าง ICT Park มาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้รับ ความเห็นชอบ ดังนั้นเราจึงหวังว่า จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน” พร้อมกันนั้นเขายังบอกด้วยว่า หากรัฐบาลอนุมัติ โปรเจ็คดังกล่าวก็พร้อมจะดำเนินการได้โดยทันที

unnamed

โดย ที่ตั้งของ ICT Park จะอยู่ที่เมือง Thanlyin ซึ่งทาง MCF ได้มีการซื้อที่ดินขนาด 300 เอเคอร์เอาไว้แล้วเรียบร้อย อีกทั้งเมืองดังกล่าวยังเป็นที่ต้ังของท่าเรือ Thilawa ซึ่งเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศเมียนมาร์ด้วย โดยใน ICT Park จะมีการจัดแบ่งเป็นโซนต่าง ๆ เช่น โซนธุรกิจ ศูนย์อบรม คอลล์เซนเตอร์ และศูนย์ซอฟต์แวร์ ซึ่งจะมีการเชิญให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมต่อไป

ขณะที่ U Zaw Min Oo เลขาธิการของของ MCF ได้เคยเผยกับสื่อเมียนมาร์ไทม์เอาไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมาว่า โครงการนี้จะสามารถสร้างงานและกระตุ้นให้เกิดการแชร์ไอเดียด้านเทคโนโลยีได้อย่างกว้างขวาง และเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตด้านเทคโนโลยีของเมียนมาร์อย่างมากด้วย

ที่มา เมียนมาร์ไทม์

ไอดีซีชี้ ธุรกิจใน APAC ต้องปรับตัวรับการแข่งขันบริษัทสายพันธุ์ใหม่

shutterstock_121698013-r

ผลสำรวจจากไอดีซี (IDC) ชี้ ธุรกิจในภูมิภาคเอเชียถึง 47 เปอร์เซ็นต์วิตกกังวลถึงอนาคตขององค์กรในการรับมือกับ บรรดานักธุรกิจสายพันธ์ใหม่อย่างกลุ่ม “Digital Disuptors” ซึ่งมีความคล่องตัวสูง และเชี่ยวชาญในสมรภูมิ การตลาดดิจิตอล

ถือเป็นผลสำรวจที่น่ากังวลพอสมควรกับหัวข้อ ‘The Promise of Digital Transformation in Asia Pacific’s Leading Institutions’ ที่จัดทำขึ้นโดยไอดีซี ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทโซลูชันทางเทคโนโลยีอวาย่า (avaya) โดยผลสำรวจนี้ ได้สอบถามความคิดเห็นจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีและเจ้าของธุรกิจกว่า 1,500 คนใน 13 ประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) พบว่า ปัจจุบันมีภาคธุรกิจจำนวนมากประสบปัญหาในการ ปรับเปลี่ยนองค์กรให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล โดยมีองค์กรระดับเอนเทอร์ไพรส์ถึง 57 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่า บริษัทจำเป็น ต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน ขณะที่อีก 53 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า ขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะ และ 50 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า มีปัญหาในการทำงานแบบ cross-team collaboration ด้วย

shutterstock_61608172-r

โดยไอดีซีได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2018 ที่จะถึงนี้ โผรายชื่อของ 20 บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอาจเป็น ชื่อของกลุ่มธุรกิจสายพันธ์ใหม่นี้ถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี ก็มีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ภาคธุรกิจใน APAC กำลังเริ่มพัฒนาตนเองมากขึ้นเพื่อรับมือกับการมาถึง ของยุค Digital Transformation ได้ ยกตัวอย่างเช่น 63 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการลงทุนด้าน customer-facing application ส่วนอีก 60 เปอร์เซ็นต์เน้นไปที่การพัฒนาทักษะให้กับพนักงานเพิ่มเติม

shutterstock_80969749-r

“การหาพนักงานที่มีทักษะด้านแพลตฟอร์มสามมิติ และสามารถสร้างนนวัตกรรมในด้านอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องที่ท้าทายมากในยุคนี้” Sami Ammous ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมการขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของอวาย่ากล่าว

นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ถึงความแตกต่างระหว่างธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยว่า ในประเทศอย่างอินเดีย ไทย หรือฟิลิปปินส์นั้นมองว่านวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับภาคธุรกิจ  (41 เปอร์เซ็นต์และ 39 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ) ขณะที่ในประเทศอย่างสิงคโปร์ หรือญี่ปุ่นกลับมองเห็นความสำคัญนี้เพียง 14 และ 15 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับเท่านั้น

 ที่มา http://www.computerworld.com.sg/resource/applications/half-of-companies-in-asia-fear-digital-disruptors-idc/

NEC จับมืออินโดนีเซียสร้างโครงข่ายใต้น้ำ ยาว 5,300 กิโลเมตรเชื่อมยุโรป-อเมริกา

NEC บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านไอที และเทคโนโลยีเครือข่ายจากแดนปลาดิบจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัท PT. Telekomunikasi Indonesia, Tbk หรือ Telkom พัฒนาโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำความเร็วสูงเชื่อมสามทวีป คาดแล้วเสร็จต้นปี 2018

โดยโครงการดังกล่าวมีชื่อว่า the Indonesia Global Gateway Cable System หรือ IGG ซึ่งเป็นโครงข่ายไฟเบอร์ ออปติคขนาดยักษ์ที่มาพร้อมสายไฟเบอร์ 4 คู่ความเร็ว 100 กิกะบิตต่อวินาที (ความยาวคลื่นเท่ากับ 80) และมี ระยะทางที่สายไฟเบอร์ลากผ่านใต้น้ำนี้ประมาณ  5,300 กิโลเมตร ซึ่งจะเชื่อมต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ต ในเมืองใหญ่ของอินโดนีเซียที่อยู่บริเวณเลียบชายฝั่ง เช่น Dumai, Batam, Jakarta, Madura, Bali, Makassar, Bilikpapan, Takaran และ Mando รวมถึงเชื่อมไปยังสิงคโปร์ด้วย

0801-01

นอกจากนั้นยังมีการออกแบบให้โครงการดังกล่าวทำการเชื่อมต่อกับโครงการเคเบิลใต้น้ำที่ลากมาจากทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกาด้วยอีกทางหนึ่ง โดยในด้านทวีปยุโรปจะเชื่อมกันที่เมือง Dumai ของอินโดนีเซีย ส่วนสายเคเบิล ที่ลากมาจากอเมริกานั้นจะไปเชื่อมกันที่เมือง Manado นั่นเอง

ที่มา ComputerWorld Singapore

จับจังหวะธุรกิจอาหารบุกตลาดสายช้อปออนไลน์

ThinkstockPhotos-592406664.jpg

Highlight

  • อาหารและเครื่องดื่มเป็นหนึ่งในสินค้าที่คนไทยนิยมซื้อผ่านช่องทางออ นไลน์ โดยผลสำรวจของอีไอซีชี้ว่าลูกค้าเกินครึ่งซื้ออาหารออนไลน์เป็นประจำทุก เดือน สถานการณ์ตลาดที่เริ่มคึกคักทำให้ผู้จำหน่ายอาหารออนไลน์นำเอากลยุทธ์การขาย ต่างๆ มาใช้และยังร่วมมือกับผู้เล่นรายอื่นเพื่อสร้างความได้เปรียบให้แก่ตนเอง อย่างไรก็ดี ภาวะการแข่งขันกำลังส่งสัญญาณชัดเจนขึ้น อีไอซีจึงแนะให้ธุรกิจปรับตัวเพื่อ ก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ และพิชิตใจผู้บริโภคให้ได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยมีช่องทางจำหน่ายอาหารออนไลน์ควรพิจารณา ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจหากไม่อยากตกเทรนด์โดยไม่รู้ตัว

 

ผู้บริโภคไทยเริ่มหันมาช้อปปิ้งอาหารและเครื่องดื่มผ่านช่องทาง ออนไลน์เนื่องจากสะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการซื้อผ่านช่องทางดั้งเดิม แม้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่จะยังคงคุ้นชินกับการเลือกซื้ออาหารและวัตถุดิบ ประกอบอาหารจากตลาด ร้านอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ แต่จากผลสำรวจล่าสุดของอีไอซีพบว่าปัจจุบันผู้บริโภคราว 20% ซื้ออาหารผ่านช่องทางออนไลน์ และกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวซื้ออย่างน้อยเดือนละครั้ง (รูปที่ 1) โดยเหตุผลอันดับต้นๆ ที่ทำให้ช่องทางดังกล่าวเป็นที่นิยม คือ บริการส่งสินค้าถึงบ้าน สะดวกและประหยัดเวลา มีส่วนลดและโปรโมชั่นดีกว่าที่ร้าน นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้บริโภคอายุระหว่าง 20-40 ปี โดยเฉพาะพนักงานบริษัทและผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวมีแนวโน้มซื้ออาหารออ นไลน์บ่อยกว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่น (รูปที่ 2) โดยจะสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเป็นหลัก รองลงมาคือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือ

 

ผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า กลุ่มดังกล่าว และพยายามสร้างฐานลูกค้าใหม่ด้วยการยื่นข้อเสนอพิเศษต่างๆ มากมาย สังเกตได้ว่าร้านค้าปลีกและร้านอาหารชื่อดัง เช่น Tesco Lotus, Tops, CP Freshmart, MK Restaurant และ KFC ต่างเพิ่มบริการช้อปปิ้งอาหารออนไลน์ให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับลูกค้า อีกทั้งยังได้นำกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆ มาใช้เพื่อเพิ่มยอดการใช้งาน อาทิ มอบส่วนลดแก่สินค้าบางชนิดหรือออกโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะช่วงเวลา เพิ่มความยืดหยุ่นในการบริการโดยให้ลูกค้าสามารถกำหนดวันเวลาและสถานที่รับ สินค้าได้ เร่งจัดส่งสินค้าภายในหนึ่งวันหากลูกค้าสั่งซื้อก่อนเวลาที่กำหนด ยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมการจัดส่งเมื่อมียอดสั่งซื้อรวมเกินเพดานขั้นต่ำ รวมไปถึงเพิ่มช่องทางการชำระเงินให้หลากหลายขึ้น เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต กระเป๋าเงินออนไลน์ (E-wallet) และการชำระเงินเมื่อได้รับสินค้า (cash on delivery) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

 

ธุรกิจสตาร์ทอัพก็เข้ามารุกตลาดช้อปปิ้งอาหารออนไลน์เช่นเดียวกัน โดยมีโมเดลธุรกิจและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแตกต่างกันออกไป อาทิ Happy Fresh ทำตัวเป็นคนกลางรับซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านจำหน่ายวัตถุดิบ ประกอบอาหารที่ไม่มีบริการจัดส่งสินค้าเป็นของตนเอง เช่น Big C, Gourmet Market และ Home Fresh Mart โดยเน้นอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าด้วยบริการจัดส่งที่รวดเร็ว ในขณะที่ Food Panda เลือกเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้ออาหารตามสั่งและอาหารปรุงสำเร็จจากร้าน ต่างๆ ตั้งแต่ร้านอาหารจานด่วน ไปจนถึงภัตตาคาร เช่นเดียวกับ Ginja ที่แม้ว่าจะไม่มีแอพพลิชั่นเป็นของตนเอง แต่ก็สร้างจุดเด่นโดยการใช้ Facebook Messenger เป็นช่องทางในการสั่งซื้ออาหาร ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้สะดวกโดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นแยกต่าง หาก อีกทั้งยังไม่คิดค่าจัดส่งและไม่มีขั้นต่ำของการสั่งซื้อในบางกรณีอีกด้วย นอกจากนี้ ร้านจำหน่ายอาหารออนไลน์บางรายยังมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าบางกลุ่มเป็นพิเศษ เช่น Green Shop Cafe และ Happy Farmers ที่รวบรวมอาหารออร์แกนิกมาจำหน่ายเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพโดย เฉพาะ

 

ในระยะหลังพบว่าผู้ประกอบการเริ่มจับคู่เป็นพันธมิตรกันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและเตรียมพร้อมรับมือกับผู้เล่นรายใหม่ เช่น Wongnai แอพพลิเคชั่นรีวิวและแนะนำร้านอาหารได้ร่วมมือกับแอพพลิเคชั่นรับส่งสินค้า อย่าง Lineman เพื่อให้บริการจัดส่งอาหารจากร้านชื่อดัง นับว่าเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารที่มีรายได้ เพิ่มขึ้นจากการขายออนไลน์โดยที่ไม่ต้องสร้างระบบขึ้นมาเอง ในขณะที่ Lineman ก็สามารถสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่เพิ่มเติมจากบริการอื่นๆ เช่น ส่งพัสดุ เอกสาร และสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ ส่วน Wongnai ก็สร้างจุดเด่นให้กับธุรกิจด้วยฟังก์ชั่นเสริมคือรับสั่งอาหาร โดยอีไอซีมองว่าพันธมิตรทางธุรกิจมีแนวโน้มขยายตัวและครอบคลุมรูปแบบการ บริการที่กว้างขึ้น อีกทั้งโอกาสในตลาดที่ยังมีอยู่อีกมากจะดึงดูดให้ผู้เล่นในธุรกิจอื่นๆ เข้ามาทำตลาดแข่งกับผู้เล่นรายเดิม เช่น กรณีของ Uber ที่เริ่มต้นจากการเป็นพันธมิตรกับแอพพลิชั่นรีวิวและจองโต๊ะอาหารอย่าง Zomato เพื่อให้บริการรถโดยสารไปยังร้านในเมืองใหญ่ๆ เช่น ลอนดอน นิวยอร์ค และซิดนีย์ ต่อมา Uber ได้เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจจึงสร้างแอพพลิเคชั่น UberEats เพื่อให้บริการรับสั่งและส่งอาหารจนกลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของเจ้าตลาดเดิม ในลอนดอนอย่าง Deliveroo และ Menulog ในออสเตรเลีย

 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจช้อปปิ้งอาหารออนไลน์ในไทยยังมีข้อจำกัดเรื่องความครอบคลุมของพื้นที่ ให้บริการและความไม่มั่นใจของผู้บริโภค จึงยังไม่สามารถบุกตลาดได้อย่างเต็มที่ ผู้ประกอบการหลายรายให้บริการเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อีกทั้งบางแอพพลิชั่นยังสามารถใช้งานได้แค่บางพื้นที่ของกรุงเทพฯ เท่านั้น ในขณะที่ผลสำรวจของอีไอซีชี้ว่าผู้ใช้บริการสั่งซื้ออาหารออนไลน์กระจายตัว อยู่ทุกภูมิภาค ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาขยายพื้นที่บริการให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความไม่มั่นใจในคุณภาพของอาหารที่จำหน่ายทางออนไลน์โดยเฉพาะ ความสดใหม่ของสินค้า ผู้ประกอบการจึงควรมีกระบวนการคัดสรรสินค้าที่ดี เลือกใช้บรรจุภัณฑ์และควบคุมอุณภูมิอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้อาหารสูญเสีย คุณภาพระหว่างการจัดส่ง และนำนโยบายรับคืนสินค้ามาใช้เหมือนซูเปอร์มาร์เก็ต Sainsbury’s และ Morrisons ในอังกฤษที่ให้ลูกค้าสามารถปฏิเสธการรับมอบสินค้าที่สั่งซื้อทางออนไลน์ได้ หากไม่พึงพอใจในคุณภาพ

 

Implication.png

Implication.gif

  • พิจารณาเพิ่มช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์ให้อยู่ในโมเดลธุรกิจ แม้ว่าผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะไม่มีทรัพยากรเพียงพอต่อการพัฒนาระบบร้านค้าออนไลน์ขึ้นมาเอง แต่ก็สามารถเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ เช่น เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นรับสั่งอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่หันมาช้อปปิ้งผ่านช่องทางดังกล่าว มากขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการควรเลือกพันธมิตรที่ไว้ใจได้และต้องมั่นใจว่าการเข้าไปอยู่ใน ธุรกิจจำหน่ายอาหารออนไลน์จะสามารถมอบความสะดวกให้แก่ลูกค้าและรักษาคุณภาพ ของตนเองเอาไว้ได้ เพราะอาหารและเครื่องดื่มเป็นสินค้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงรสชาติและเน่าเสีย ง่าย หากผู้บริโภคไม่พึงพอใจก็จะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของแบรนด์ได้
  • มองหาโอกาสในการนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ๆ นอกจากอาหารและเครื่องดื่มทั่วไปที่สามารถนำมาวางจำหน่ายทางออนไลน์แล้ว อีไอซีมองว่าสินค้าศักยภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างความแตกต่างให้ แก่ธุรกิจและเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ คือ อาหารตามเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษจีน สารทจีน และไหว้พระจันทร์ รวมไปถึงอาหารที่ตอบโจทย์ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารออร์แกนิก อาหารฮาลาล และอาหารปลอดกลูเตน อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต จำหน่าย หรือจัดส่งอาหารออนไลน์ควรศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคให้รอบคอบ เพราะอาหารกลุ่มดังกล่าวมักมีลักษณะพิเศษที่ต้องทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัว สินค้าและบริการพอสมควร

 

รูปที่ 1: จำนวนผู้บริโภคที่ซื้ออาหารและเครื่องดื่มออนไลน์แบ่งตามความถี่ในการสั่งซื้อ
หน่วย: คน (ทั้งหมด = 5,083 คน)

 

20160906_pic1.jpg

 

รูปที่ 2: ความถี่ในการสั่งซื้ออาหารและเครื่องดื่มออนไลน์แบ่งตามอายุและอาชีพของผู้บริโภค

หน่วย: คน (ทั้งหมด = 5,083 คน)

 

20160906_pic2.jpg

 

ที่มา: ผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มโดยอีไอซี (มิถุนายน 2016)

วีรวรรณ ฉายานนท์
Economic Intelligence Center (EIC)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จากัด (มหาชน)
EIC Online: www.scbeic.com

พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคว้าแชมป์ อัจฉริยะนักแกะรอยภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ปีที่ 3

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT จัดการแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016 รอบชิงชนะเลิศเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2559 ที่ผ่าน เพื่อเฟ้นหาแชมป์อัจฉริยะนักแกะรอย ภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ปีที่ 3 โดยมีนิสิต นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมชิงชัย และได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดทีมจำนวน 10 ทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศลุ้นแชมป์คว้าเงินทุนการศึกษากว่า 100,000 บาท ซึ่งทีมที่คว้าแชมป์อันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม 1′ or ‘1’ = ‘1 (วันออร์วันอีคัววัน) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

bir_9692

พันเอกสรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) ประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016 กล่าวว่า “การแข่งขัน CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016” ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันมา เป็นปีที่ 3 แล้ว ด้วย CAT เล็งเห็นถึงปัญหาของการก่ออาชญากรรมบนโลกออนไลน์ที่ส่งผลกระทบสำคัญของระบบเศรษฐกิจ และความปลอดภัย ต่อความมั่นคงของประเทศที่มีสถิติสูงขึ้นในทุกๆ ปี และผลกระทบก็มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วยซึ่งเปลี่ยนไปจาก ในอดีตที่เพียงแค่สร้างความไม่สะดวกให้แก่ผู้ใช้งาน การสร้างชื่อเสียงหรือจุดสนใจให้กับตัวเอง การทำลายระบบ การทำลายชื่อเสียง และในปัจจุบันที่ไปถึงขั้นเรียกเงินจากเหยื่อที่โดนคุกคาม ซึ่งกสท โทรคมนาคม ในฐานะ องค์กรภาครัฐผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศได้ตระหนักถึงภัยคุกคามของ ปัญหาดังกล่าว กอรปกับการเล็งเห็นว่าการจัดการกับปัญหาอย่างยั่งยืนและมีระบบนั้นควรต้องเริ่มปลูกฝังจาก กลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้แก่ กลุ่มนิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการพัฒนาทางด้านความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAT จึงได้ริเริ่มโครงการ CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST ขึ้นเพื่อมุ่งหวังที่จะปลูกฝังให้นิสิต นักศึกษาตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามต่างๆ บนโลกออนไลน์ ตื่นตัวก้าวทันเทคโนโลยีและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์อย่างมีจรรยาบรรณ ในการ ใช้ทักษะความรู้ความสามารถในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยของระบบ เทคโนโลยีในระดับประเทศต่อไป

iam_7719

นางสาวกัณณิกา วรคามิน ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT กล่าวว่า การคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมนั้น ถูกคัดเลือกมาจากหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี แต่ยังคงไม่ทิ้งหัวใจหลักของกิจกรรมคือต้องมีความรู้ และ ความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่าย และมีจรรยาบรรณที่ดีเป็นหลักสำคัญ ซึ่งในปีนี้ การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST 2016  จะถูกพิจารณาภายใต้ แนวคิด “SOC Intelligent เฟ้นหาคนอย่างคุณ” โดยสุดยอด 10 ทีมนั้นจะได้รับการอบรมความรู้ที่จำเป็น ต้องใช้ในการทำโจทย์การแข่งขัน ซึ่งเป็นการอบรมที่ไม่สามารถศึกษาได้จากในสถาบันการศึกษาหรือศึกษาค้นคว้า เองในอินเทอร์เนททั่วไป ทำให้เกิดความเสมอภาคกันไม่มีการได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันไม่ว่าจะเป็นทีมแชมป์เก่า ที่มีประสบการณ์ในการแข่งขันในปีก่อนๆมาแล้ว หรือจะเป็นทีมที่พึ่งเข้าร่วมแข่งขันในปีนี้เป็นปีแรกก็ตาม

brd_6751 brd_6750

ในปีนี้มีการพัฒนาโจทย์การแข่งขันให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งทีมนักศึกษาจะถูกสวมบทบาทสมมติเป็น Security Analyst ซึ่งปฏิบัติงานเฝ้าระวังและตอบสนองต่อเหตการณ์ภัยคุกคามต่างๆ ตลอด 24×7 โดยปฏิบัติงาน ประจำอยู่ที่ศูนย์ Security Operation Center (SOC) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 แห่งแรก ในประเทศไทย โดยต้องใช้ความรู้ความสามารถรวมถึงปฏิภาณไหวพริบในการสืบสวนแกะรอยภัยคุกคามและค้นหา คำตอบให้ได้ภายในเวลาการแข่งขันที่กำหนด 3 ชั่วโมง จนได้ผู้ชนะ 3 อันดับ ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ, รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง และรองชนะเลิศอันดับสอง พร้อมรับเงินรางวัลทุนการศึกษามูลค่า 60,000 บาท, 40,000 บาท และ 30,000 บาท ตามลำดับ ซึ่งจากการขับเคี้ยวกันอย่างเข้มข้นภายในเวลาที่กำหนดกับการแก้โจทย์ สุดหินซึ่งเป็นสถานการณ์จริงที่เกิด ขึ้นในศูนย์ Security Operation Center (SOC) จนได้ผู้ชนะแชมป์อัจฉริยะ นักแกะรอยภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ปีที่ 3 นั่นคือ ทีม 1′ or ‘1’ = ‘1 (วันออร์วันอีคัววัน) ที่ประกอบด้วย 4 สมาชิกจาก รั่วสถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้แก่ วีรภัทร ทรัพย์สมบูรณ์, นพณัฐ พลอยวงศ์, สัตยา สิงห์กุล และภูภัฎ ทองอยู่ 4 หนุ่มน้อยที่สามารถพิชิตโจทย์ได้ทันเวลา และค้นหาร่องรอย การโจรกรรมได้ถูกต้อง จนได้รางวัลชนะเลิศ รับทุนเงินทุนการศึกษามูลค่า 60,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร

วีรภัทร ทรัพย์สมบูรณ์ ตัวแทนทีม 1′ or ‘1’ = ‘1 (วันออร์วันอีคัววัน) กล่าวว่า “การโจรกรรมบนโลก ไซเบอร์ หรือแฮคเกอร์ (Hacker) นั้น ไม่อยากให้มองเป็นสิ่งไม่ดีไปทั้งหมด เพราะ Hacker มี 2 ด้าน ทั้งด้านร้าย และด้านดีอยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้ด้านไหน ซึ่งปัจจุบันจะเห็นว่าเกิดปัญหา Hacker ที่ทำลายระบบ การทำงานทั้งของ องค์กรใหญ่ๆ และราชการ รวมไปถึงการแฮคเข้าสู่ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทั่วไป จนเกิดความเสียหายและ ผลกระทบรุนแรงมากมาย จึงอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่นำเอาทักษะความสามารถในการแฮคมาใช้ในทางที่เป็น ประโยชน์ต่อสังคมดีกว่านำมาทำร้ายกัน ถ้าเรามองเห็นช่องโหว่ของระบบแทนที่จะหาโอกาสทำลายหรือหากำไร จากช่องโหว่นั้น มาเป็นการอุดช่องโหว่ป้องกันและแก้ไขระบบไปด้วยกันดีกว่า เพื่อให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ของไทยปลอดการโจรกรรมและพัฒนาก้าวหน้าทันสมัยยิ่งขึ้นทัดเทียมนานาประเทศ”

iam_7737

นอกจากนี้ทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดันหนึ่งได้แก่ ทีม iSasP Reborn และทีม NyanHack จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเช่นเดียวกัน ซึ่ง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดีๆ อย่าง CAT CYFENCE CYBERCOP CONTEST จะมีส่วนช่วยในการ ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบุคลากรสายไอทีที่มีความรู้ความสามารถในด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและมีจรรยาบรรณที่ดี อันจะเป็นส่วนสำคัญให้ประเทศมีระบบสารสนเทศที่เข้มแข็งต่อไป อย่างยั่งยืน

You may have missed