04/23/2024

Month: August 2015

Logitech G29 Driving Force Racing Wheel

A5_G29-2

โลจิเทค เปิดตัว พวงมาลัยรถแข่งโลจิเทค จี รุ่นล่าสุด เพื่อตอบสนองเกมการขับขี่ที่ร้อนแรงภายใต้รูปลักษณ์ของคอนโซลแห่งอนาคตชนิดคอเกมแข่งรถต้องร้องว้าวและไม่ต้องรอคอยอีกต่อไป ด้วย “โลจิเทค จี 29 (Logitech G29 Driving Force Racing Wheel)” ไว้รองรับผู้ชื่นชอบการเล่นเพลย์สเตชั่น 3 และ 4

 

พวงมาลัย โลจิเทค จี 29 ถูกออกแบบให้ตรงตามหลักวิศวกรรม ทั้งระบบแรงต้าน (Force Feedback) ที่ติดตั้งมอเตอร์สองตัวซึ่งสามารถจำลองการขับขี่เสมือนอยู่ในรถได้อย่างสมจริง ระบบเฟืองเฉียง (Helical Gearing) ช่วยให้การขับขี่เข้าโค้งได้ราบรื่น ไร้เสียงรบกวน และแม่นยำ อุปกรณ์แอนตี้แบ็คแลช (Anti-Backlash) ช่วยให้พวงมาลัยและคันเหยียบมีความแน่น เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมระดับสูงสุด พวงมาลัยหุ้มด้วยวัสดุหนังเย็บมือ เกียร์บนพวงมาลัย (paddle shifters) และคันเหยียบทำจากเหล็กสแตนเลส การติดตั้งชุดลูกปืนเหล็กที่ให้ความทนทานในการใช้งานได้ยาวนาน และสัมผัสซ้ำถึงประสบการณ์การขับขี่รถแข่งได้อย่างสมจริง

https://www.youtube.com/watch?v=Lb1N6oGwkVY

จากการปรับปรุงรูปแบบการดีไซน์ของพวงมาลัยรุ่น จี 27 มาสู่พวงมาลัยรถแข่ง  จี 29 ซึ่งได้เพิ่มเติมการออกแบบคันเหยียบให้แยกออกจากกัน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเหยียบเบรค เร่งเครื่อง หรือเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่ต่างจากรถยนต์จริง ทั้งยังสามารถควบคุมตำแหน่งของร่างกายขณะขับขี่ได้เหมือนจริงมากขึ้น คันเกียร์ที่มีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งเป็นชุดตกแต่งเพิ่มเติม หรือขายแยกชิ้น การเพิ่มเติมสมรรถนะในการควบคุมการขับขี่ได้มากขึ้นด้วยชุดเกียร์แบบ 6 สปีด และเกียร์ถอยหลัง โดยทุกอุปกรณ์สามารถตั้งอยู่บนโต๊ะ หรือติดตั้งกับเก้าอี้รถแข่งจำลองอย่างเพลย์ซีท (Playseat) ได้อย่างลงตัว

 

สนใจติดตามชมวีดีโอ จี 29  เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Logitech G YouTube channel.

หนุ่มเวียดนามได้รับคัดเลือกเป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมของนิตยสาร Technology Review

quoc-le

นายแล เวียด กว็อก ได้กลายมาเป็นชาวเวียดนามคนแรกที่ได้เข้าไปอยู่ในรายชื่อ 35 นักสร้างสรรค์นวัตกรรมที่อายุน้อยกว่า 35 ปี ของนิตยสาร Technology Review ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัย MIT ในสหรัฐอเมริกา

 

นายกว็อกมีอายุ 32 ปี ทำงานประจำอยู่ที่ Google และได้รับเลือกในการจัดอันดับนี้ เพราะเทคนิคที่เขาคิดค้นขึ้นมา ซึ่งมีแนวคิดว่า “เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยมนุษย์ช่วย และมีการเรียนรู้ที่ถูกต้องแม่นยำได้ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วย”

 

“เทคนิคที่ว่านี้มีการนำไปใช้ในการค้นหาภาพใน Google และซอฟต์แวร์ตรวจจับคำพูด แต่ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะที่นายกว็อกวาดฝันไว้ก็ยังอยู่เกินเอื้อมอยู่ แต่การที่เราได้เห็นเทคนิคที่นายกว็อกคิดค้น เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์ชาญฉลาดมากพอที่จะช่วยคนทำภารกิจในแต่ละวันได้นั้น ก็สร้างความน่าชื่นใจให้เราพอแล้ว” นิตยสารได้เขียนระบุไว้

นายกว็อกเกิดและเติบโตที่อำเภอเฮืองถุย จังหวัดเถื่อ เทียน เว้ ซึ่งอยู่ในภาคกลางของประเทศเวียดนาม หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเว้ โดยนายกว็อกเป็นหนึ่งในเด็กที่อยู่ห้องหัวกะทิ เขาก็ได้ไปศึกษาต่อชั้นอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัย Australian National University และได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดสาขาเครื่องคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ

 

ในระหว่างที่เขาทำวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นายกว็อก “ได้คิดค้นกลยุทธ์ที่เปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์มีการเรียนรู้ด้วยตัวเอง” เขาริเริ่มค้นค้นวิธีการที่เรียกว่า การศึกษาเชิงลึก ซึ่งใช้เครือข่ายของเซลล์ประสาทจำลอง และเพื่อให้เครื่องเรียนรู้ได้เร็วขึ้น เขาได้สร้าง “เครือข่ายเซลล์ประสาทจำลองที่ใหญ่กว่าของเดิมถึง 100 เท่า เพื่อให้ประมวลผลข้อมูลได้มากกว่าเดิมถึงพันๆ เท่า” เทคนิคนี้เองที่ทำให้ Google หันมาสนใจนายกว็อก ซึ่งในที่สุด Google ก็ได้ว่าจ้างให้เขาเข้ามาช่วยทดสอบโปรแกรมของ Google โดยมีนายแอนดรูว์ อึ้ง นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นผู้คอยชี้แนะ

รัฐมนตรีกระทรวงไอซีที เดินหน้าผลักดันงานตามนโยบาย Digital Economy อย่างเป็นรูปธรรม

รมว.กระทรวงไอซีที เดินหน้าภารกิจขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ชูจุดเด่นโครงการระดับชาติ สร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ พร้อมเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการศึกษาสู่ระดับชุมชน

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า หลังจากได้รับฟังการนำเสนอบทบาทภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ แล้ว ได้มอบนโยบายให้ผู้บริหารเร่งดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้มีการวางรากฐานด้านเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ทั้งการยกร่างกฎหมายสำคัญ 8 ฉบับ การจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อจัดทำแผนการพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำหรับช่วงปลายปี 2558 นี้ เป็นการดำเนินงานในระยะที่ 2 ซึ่งต้องทำให้สาธารณชนเข้าใจว่านโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลจะเกิดขึ้นอย่างเป็น รูปธรรม โดยได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ นำเสนอโครงการระดับชาติที่เป็นประโยชน์ในวงกว้างให้สามารถตอบโจทย์การทำงาน ของรัฐบาลทั้งในด้านความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ รวมถึงการสร้างบทบาทของกระทรวงฯ ในการวางโครงข่ายเพื่อเชื่อมโยงการศึกษาไปสู่ระดับชุมชนได้อย่างทั่วถึง

ทั้งนี้ ปัจจุบันคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งภายในเดือนกันยายนนี้จะมีการพิจารณาบทบาท พันธกิจ เป้าหมาย รวมทั้งอัตรากำลังคนของคณะทำงานด้านต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อ ไป โดยจะดำเนินการคู่ขนานไปกับโครงการระดับชาติของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับ ภารกิจหลักในภาพรวมของกระทรวงฯ ซึ่งจะมีการพิจารณารายละเอียดและติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างต่อ เนื่อง

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโครงการที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น ด้านกฎหมาย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบางโครงการอาจจะต้องมีการทบทวนรายละเอียดอีกครั้งก่อนที่จะเดินหน้าต่อไป ขณะที่การจัดทำร่างแผนแม่บท (Road Map) การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จะเร่งผลักดันให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ โดยในด้านของการสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ กระทรวงฯ โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA จะเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับ ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน การส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน ขณะที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความ ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ

นายอุตตม กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการให้บริการภาคประชาชนในรูปแบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) การบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ซึ่งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA อยู่ในระหว่างการบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐเพื่อ อำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจและประชาชนให้สามารถเข้าถึงบริการด้านต่างๆ ของภาครัฐ ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาอยู่ในระหว่างการดำเนินการเรื่องข้อมูลด้านทรัพยากร ทางอากาศ จากในระดับจังหวัดให้ลงลึกไปในระดับอำเภอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อชุมชนและภาคการเกษตร ส่วนสำนักงานสถิติแห่งชาติจะต้องเร่งดำเนินการในเรื่องจัดทำระบบข้อมูลสถิติ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เพื่อให้รัฐบาลใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจในเชิงนโยบาย หรือยุทธศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารประเทศ เช่น การทำธุรกิจชุมชนโดยคนในชุมชน

สำหรับรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงฯ โดยในส่วนของ บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) และ บมจ.ทีโอที (TOT) นั้น ได้มอบหมายให้ผู้บริหารทั้ง 2 หน่วยงานเดินหน้าแผนการฟื้นฟูองค์กรให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะกรณีข้อพิพาทกับเอกชน ให้เร่งเจรจาให้มีความคืบหน้าและหาข้อยุติร่วมกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่ บจ.ไปรษณีย์ไทย จะต้องปรับปรุงยุทธศาสตร์ด้านการบริการ โดยใช้เครือข่ายที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นจุดแข็งในการแข่งขัน

นอกจากนี้ กระทรวงฯ จะต้องมีบทบาทที่ชัดเจนในการอำนวยความสะดวกด้านการวางโครงข่ายเชื่อมโยงการ ศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการศึกษาออกไปสู่ชนบทเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอด ชีวิตของประชาชนในระดับชุมชน ส่วนในด้านความมั่นคงของประเทศที่มีเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร (ICT) เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น การแฮ็กเว็บไซต์ การลิงค์ข้อมูลกลางต่างๆ รวมถึงเว็บไซต์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและจะต้องมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ โดยจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศอย่างใกล้ชิดและ ต่อเนื่อง

ที่มา : กระทรวงไอซีที

บรูไนต้องการผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเพื่อพัฒนาไอซีทีของประเทศ

หนังสือพิมพ์ The Brunei Times รายงานว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลอาวุโสของประเทศบรูไนระบุว่า ประเทศบรูไนกำลังต้องการผู้เชี่ยวชาญและนักชำนาญงานเฉพาะทางในสายไอซีที เพื่อร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมแขนงนี้ของประเทศให้ล้ำหน้ายิ่งขึ้น

 

นางฮาจาห์ อิสมาวาติ ฮาจิ อิสเมล ผู้จัดการประจำหน่วยงานพัฒนาบุคลากรไอซีทีของหน่วยงานรัฐบาลด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการสื่อสารของประเทศบรูไน ดารุสซาเล็ม (AITI) กล่าวไว้ว่า AITI กำลังจะส่งนักศึกษาจากสถาบันการเรียนระดับอุดมศึกษาของประเทศไปฝึกงานในบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ในประเทศสิงคโปร์

002-ฺBrunei

โดยนางฮาจาห์ อิสมาวาติ ก็คาดหวังว่า นักเรียนเหล่านี้จะได้ใช้ทักษะและความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากประเทศสิงคโปร์ในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีของประเทศบรูไน

 

“เราหวังว่า การที่นักศึกษาได้ไปมีประสบการณ์ทำงานในบริษัทที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งใหม่จะเป็นการจุดประกายให้พวกเขามีแรงปรารถนาที่จะทำแบบนั้นบ้างในบรูไน” เธอกล่าว

 

เธอยังคาดหวังให้นักศึกษากลับมาแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้มา และบอกเล่าประสบการณ์การทำงานในสิงคโปร์ด้วย

 

ฮาจาห์ อิสมาวาติ บอกว่า AITI เชื่อว่า การที่นักศึกษาได้ไปฝึกงานกับบริษัทน้องใหม่นั้นน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าไปฝึกงานในบริษัทที่ตั้งมาสักระยะแล้ว

 

“เราต้องการให้นักศึกษาเห็นการจัดการและการดำเนินงานภายในบริษัทเหล่านี้ และได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานด้วย” นางฮาจาห์ อิสมาวาติ กล่าว

 

“โดยนักศึกษาจะได้รับมอบหมายงาน และต้องรับมือกับลูกค้าด้วยตนเอง พร้อมกับจะต้องทำโครงการให้เสร็จก่อนที่การฝึกงานจะสิ้นสุดลง” เธอกล่าว

 

นอกจากนี้ นางฮาจาห์ อิสมาวาติยังได้หวังอีกว่า การที่นักศึกษาได้เข้าไปทำงานในองค์กรน้องใหม่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขากลับมาก่อตั้งบริษัทไอซีทีของตัวเองบ้าง

 

AITI ยังได้มองหาช่องทางที่จะขยายโปรแกรมการฝึกงานในอนาคต โดยนางฮาจาห์ อิสมาวาติ กล่าวว่า AITI กำลังพิจารณาในการส่งนักศึกษาไปฝึกงานที่ประเทศมาเลเซีย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย  และ AITI ก็ยังต้องการจะขยายขอบเขตของการฝึกงานให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมไอซีทีในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น

 

โครงการฝึกงานนี้เป็นการอบรมนักศึกษาในหลายๆ ด้าน เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การพัฒนาเว็บไซต์ การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) และการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ ยังมีการส่งนักศึกษาไปฝึกงานด้านมีเดียและการกระจายสัญญาณภาพและเสียงอีก

 

นายฮาจิ ยาห์คุป ฮาจิ เมนูดิน ผู้จัดการใหญ่ของหน่วยงาน AITI กล่าวว่า โครงการฝึกงานมีจุดมุ่งหมายที่จะ “สร้างประสบการณ์วิชาชีพและทางเทคนิค” ให้กับนักศึกษา และเตรียมความพร้อมในด้านทักษะทางเทคนิค และการทำงานในชีวิตจริงให้กับนักศึกษา ทั้งนี้เพื่อที่เยาวชนกลุ่มนี้จะได้ “มีความพร้อมทำงานในอุตสาหกรรมนี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต”

มาเลเซียเผยแผนสร้างนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูล 1,500 คนภายในปี 2020

หน่วยงานไอซีทีระดับชาติของมาเลเซียอย่าง Multimedia Development Corporation (MDeC) ได้เผยแผนการที่จะเพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (data scientists) จากปัจจุบันที่มีอยู่ 80 ให้เพิ่มเป็น 1,500 คนภายในปี 2020 ซึ่งแผนการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันอุดมศึกษารัฐบาล 7 แห่ง และเอกชนอีก 1 แห่ง

BDW_Photo_use_-_done

ดาโต๊ะ ยัสมิน มาห์มุด ซีอีโอของ MDeC กล่าวว่า โครงการริเริ่ม Big Data Analytics (BDA) ระดับประเทศนั้นจะได้รับการสนับสนุนจากโปรแกรมการเรียนวิทยาศาสตร์การข้อมูล ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นมาเพื่อปิดช่องว่างความแตกแต่งที่มีระหว่างจำนวนบุคลากรที่มีทักษะความรู้ด้านวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และความต้องการที่จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลเพิ่มขึ้นในมาเลเซีย

 

โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นไปนี้ มหาวิทยาลัยที่จะเริ่มเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลโดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและธุรกิจทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท มีได้แก่ มหาวิทยาลัย Asia Pacific University (APU), Malaysia Multimedia University (MMU), International Islamic University Malaysia (IIUM), Sunway University, Monash University, University Institute Technology Mara (UiTM) และ University Teknologi Petronas (UTP)

 

“ในปัจจุบัน วงการการวิเคราะห์ข้อมูลในประเทศของเรา มีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพียงแค่ 80 คนเท่านั้นค่ะ” นางยัสมินกล่าว “เพื่อให้บรรลุเป้าการผลิตนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลให้ได้ถึง 1,500 คนภายในปี 2020 นั้น เราต้องการการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในมาเลเซีย ในการเปิดหลักสูตร เพื่อเป็นการกระตุ้นเยาวชนในประเทศให้หันมาสนใจอุตสาหกรรมด้านนี้ ซึ่งมีความต้องการด้านบุคลากรเป็นจำนวนมาก เราต้องมีการผลิตกลุ่มคนทำงานที่มีทักษะด้านนี้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data พร้อมกับเสริมสร้างวัฒนธรรมของการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พร้อมกับสร้างระบบนิเวศด้านการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ให้กับอุตสาหกรรมทุกภาคส่วนประเทศ”

 

เธอกล่าวต่ออีกว่า MDeC จะเปิดตัวหลักสูตรสร้างนักเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การข้อมูลนี้ โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบ Massive Online Blended Learning Approach (MOOC) ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ที่ใช้เนื้อหาหลักสูตรจากมหาวิทยาลัย John Hopkins ร่วมกับ Coursera ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการให้การเข้าถึงการศึกษาระดับโลก “หลักสูตรการวิเคราะห์ข้อมูลนี้เป็นการต่อยอด MyProcert ของ MDeC ซึ่งเป็นการรับรองประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยทุนรัฐบาล”

Intel และ SPRING Singapore จับมือหนุน IoT ในสิงค์โปร์

SPRING Singapore และ Intel Singapore ประกาศจับมือร่วมกันทำโครงการริเริ่มที่จะสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีน้องใหม่ และบริษัท SME ที่สนใจพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการในภาคส่วน Internet-of-Things (IoT) และอุปกรณ์ไอทีแบบสวมใส่ได้ (Wearable)

spring-singapore-intel

จากคำแถลงการณ์ของทั้งสององค์กร โครงการริเริ่มนี้มีเป้าหมายที่จะจัดตั้งระบบนิเวศของบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ ซึ่งสามารถผลิตระบบ IoT รวมถึงบริการและผลิตภัณฑ์ไอทีที่สวมใส่ได้คุณภาพระดับโลก โดยใช้เทคโนโลยีของ Intel ในการพัฒนา

 

ในแถลงการณ์ของ Intel ระบุว่า โครงการริเริ่มนี้มีการจัดการอยู่ภายใต้โครงการ Partnerships for Capability Transformation (PACT) ซึ่งมี Intel ร่วมเป็นสมาชิกอยู่ ในโครงการ PACT นี้เปิดโอกาสให้ Intel ได้ทำงานใกล้ชิดกับ SPRING เพื่อระบุบริษัท SME พร้อมกับให้แนวทางความช่วยเหลือด้านธุรกิจและเทคโนโลยี

 

ในปัจจุบัน มีบริษัทเทคโนโลยีและนวัตกรรมน้องใหม่ที่ร่วมในโครงการนี้ 9 รายด้วยกัน เช่น T-Ware, Connected Health, Newton Circus, gridComm, Trilogy Technologies, NexTan, RFCOM Technologies และ Design Exchange โดยบริษัทเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญสูงในการผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สวมใส่ได้ นอกจากนี้ ยังมีความเชี่ยวชาญในโซลูชั่น IoT สำหรับการติดตามอาการของผู้ป่วยและบุคคลวัยชราจากทางไกล ระบบการจัดการพลังงานภายในบ้าน รวมถึงความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีไร้สาย การผลิต และการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้

 

สมาชิกในโครงการจะร่วมมือกันระบุโครงการ และโอกาสทางธุรกิจในแนวธุรกิจการแพทย์ การจัดการพลังงานในบ้าน และการช่วยให้ผู้ป่วยและบุคคลชราในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ศูนย์นวัตกรรมด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Centre of Innovation for Electronics) ซึ่งตั้งอยู่ในวิทยาลัยโพลีเทคนิคนันยางจะช่วยให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนทางด้านวิศวกรรมแก่โครงการริเริ่มนี้อีกด้วย

กรุงโฮจิมินห์เตรียมสร้าง “Saigon Silicon City”

กรุงโฮจิมินห์ได้ออกใบอนุญาตให้นักลงทุนเข้ามาร่วมสร้าง “ซิลิคอน ซิตี้ แห่งไซ่ง่อน” ในไซ่ง่อน ไฮเทคปาร์ค (Saigon Hi-Tech Park – SHTP)

001 (1)

นิตยสารไซง่อน ไทมส์ ฉบับออนไลน์ รายงานว่า โครงการนี้จะดำเนินการตามโครงแบบของซิลิคอน วัลลีย์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีว่า เป็นศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยีบิ๊กๆ ชั้นนำระดับโลก และบริษัทเทคโนโลยีที่เพิ่งก่อตั้งมากมาย โดยโครงการนี้มีเงินลงทุนประมาณ 860 พันล้านดงเวียดนาม หรือประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอาณาเขตครอบคลุมกว่า 520,000 ตารางเมตร หรือ 325 ไร่

sght

นายหงวน มินห์ เฮียว ชาวอเมริกันเชื้อสายเวียดนาม และประธานกรรมการซิลิคอน ไซ่ง่อนปาร์ค เจเอสซี เป็นตัวแทนบรรดานักลงทุนเพื่อรับใบอนุญาตการลงทุนนี้จากนายเลอ มานห์ ฮา รองประธานคณะกรรมการของประชาชนท้องถิ่น

 

ซิลิคอน ไซ่ง่อน ปาร์ค แห่งนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาอันเกิดจากการร่วมมือระหว่างบริษัทอสังหาริมทรัพย์อย่าง Viet R.E.M.A.X และ Vector Fabrication Viet Nam Co., Ltd พร้อมกับปัจเจกบุคคลนามว่า นายหงวน    ตรัง กวง

 

โดยนายเฮียวกล่าวว่า เขาคาดว่า ไซ่ง่อน ซิลิคอน ซิตี้ จะมาพร้อมกับโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม มีความสะดวกสบาย และมีบริการพร้อมสรรพไว้ให้กับองค์กรทั้งสัญชาติเวียดนามและต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในเมืองไฮเทคนี้ รวมถึงอุตสาหกรรมที่ช่วยซัพพอร์ตเมืองนี้อีกด้วย

 

เขาเล่าว่า โครงการจะเริ่มดำเนินการในเดือนหน้า และจะเริ่มดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในช่วงต้นปี 2016 และคาดการณ์ว่า ไซ่ง่อน ซิลิคอน ซิตี้นี้น่าจะดึงดูดเงินลงทุนได้มากสุดถึง 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

เขายังกล่าวอีกว่า ตอนนี้มีองค์กรกว่า 20 แห่งแสดงความสนใจอยากลงทุน พร้อมกับเสริมว่า การดำเนินการในอนาคตจะช่วยให้ผู้พัฒนาเทคโนโลยีมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้รองรับกับประชาชนท้องถิ่นอีกด้วย

 

เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการแห่งประชาชนยังรับปากอีกว่า จะเพิ่มแรงจูงใจหนักลงทุนให้สูงสุด เพื่อที่จะเร่งการลงทุนในกรุงโฮจิมินห์แห่งนี้

 

“มิลเลเนียม ปาร์ค”

คณะกรรมการบริหารของ SHTP ยังได้ออกใบอนุญาตสร้างโครงการ “มิลเลเนียม ปาร์ค” ซึ่งได้รับการสนับสนุนการสร้างโดยมหาวิทยาลัย หงวน ทัต ถั่น ด้วยเงินลงทุน 900 พันล้านดงเวียดนาม หรือ 41.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

โดยมิลเลเนี่ยม ปาร์ค จะตั้งอยู่บนพื้นที่ 227,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 140 ไร่ ประกอบไปด้วยสวนเรือนกระจก พื้นที่ทดลองวิทยาศาสตร์ และพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ 3 ที่ทางมหาวิทยาลัยร่วมมือกับ SHTP โดยมีโครงการอื่นๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาเทคโนโลยี และศูนย์การเรียนการสอนเทคโนโลยี และมิลเลเนียม ปาร์ค นี้คาดการณ์ว่า จะเริ่มเปิดดำเนินการในช่วงต้นปี 2017

 

นอกจากนี้ ยังมีการรายงานว่า SHTP ในระดับประเทศได้ดึงดูดโครงการลงทุนมาได้ถึง 68 โครงการ ซึ่งมีเงินลงทุนรวมถึง 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2002 โดยองค์กรเหล่านี้มียอดการส่งออกสินค้ารวมสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยอดนำเข้าประมาณ 8,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

D-Link DWA-192 Ultra Wireless AC1900 USB3.0

D-Link DWA-192 Ultra Wireless AC1900 USB3.0 ที่รวมเอาเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐาน AC ร่วมกับทรูพุตที่เร็วกว่าเข้ามาอยู่ภายในแพ๊กเกจ ทรงกลมที่ดูเรียบหรูขนาดเพียง 8x8cm เพื่อให้ความเร็วการส่งต่อข้อมูลที่เร็วและต่อเนื่องกว่าเดิมแก่อุปกรณ์อัจฉริยะของคุณ อุปกรณ์นี้เข้ากับการตกแต่งภายในบ้านได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำให้ความบันเทิงภายในบ้านและการเล่นเกมส์ออนไลน์เป็นไปอย่างสนุกและต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ถือเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะในอุดมคติที่ควรใช้เคียงคู่กับเราท์เตอร์ที่ใช้อยู่ในบ้านปัจจุบัน

 

“อแดปเตอร์ไร้สายในรุ่น AC1900 USB 3.0 ตัวแรก มาพร้อมกับเสาอากาศภายในแบบ 3×3 และเทคโนโลยี D-Link Advanced AC SmartBeamTM โดยอแดปเตอร์ตัวนี้ทำงานร่วมกับเราท์เตอร์ไร้สายที่เชื่อมต่อด้วยมาตรฐาน AC (SmartBeam) เพื่อยกระดับพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณให้ไกลกว่าด้วยการยิงสัญญาณไร้สายระหว่างเราท์เตอร์และอแดปเตอร์โดยตรง ช่วยเพิ่มระยะและคุณภาพของการเชื่อมต่อไร้สาย พร้อมทั้งกำจัดจุดบอดสัญญาณด้วยพร้อมกัน” คุณ Sam Wong กล่าวและเสริมว่า

DWA-192_A1

“ด้วยเทคโนโลยีดูอัลแบนด์ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องคอยแย่งแบนด์วิธซึ่งกันและกัน โดยผู้ที่ท่องเน็ตหรือช็อปปิ้งออนไลน์สามารถใช้ย่านความถี่ 2.4GHz ขณะที่การสตรีมความบันเทิงความละเอียดสูง หรือการโทรศัพท์แบบ Voice over IP (VoIP) สามารถหันไปเชื่อมต่อผ่านย่าน 5GHz ได้ ซึ่งย่านความถี่เหล่านี้สามารถทำความเร็วบน DWA-192 ได้สูงถึง 600Mbps และ 1300Mbps ตามลำดับ

 

ติดตั้งให้พร้อมเชื่อมต่อได้ง่าย

สำหรับการเริ่มใช้งาน DWA-192 เพียงแค่เสียบปลั๊กผ่านพอร์ต USเพื่อเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย ซึ่งอแดปเตอร์นี้มาพร้อมกับปุ่ม Wireless Protected Setup (WPS) ที่ช่วยติดตั้งให้ใช้งานกับเราท์เตอร์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเข้ารหัสข้อมูลตัวล่าสุดที่มาพร้อมกันยังช่วยให้ข้อมูลที่สื่อสารบนเครือข่ายของคุณปลอดภัยและป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังมีไฟ LED ที่แสดงสถานะการเชื่อมต่อของ DWA-192 ทำให้ผู้ใช้ทราบว่ายังมีการเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์อยู่หรือไม่เพียงแค่เหลือบมองเท่านั้น

 

ด้วยการทำงานบนมาตรฐาน 802.11ac ทำให้อแดปเตอร์นี้รองรับมาตรฐานเครือข่ายไร้สายที่เก่ากว่าทั้งหมด ได้แก่ 802.11g/b/n ได้ด้วย โดยทำงานร่วมกับเราท์เตอร์ไร้สายมาตรฐาน AC ที่รองรับเทคโนโลยี Advanced AC SmartBeam จะทำให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

D-Link DIR-890L Wireless AC3200 Tri Band Gigabit Cloud Router

D-Link DIR-890L Wireless AC3200 Tri Band Gigabit Cloud Router เป็นเราท์เตอร์ประสิทธิภาพสูงตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยี SmartConnect ที่เร่งความเร็วการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณไร้สายแบบ AC นอกจากนี้ D-Link ยังภูมิใจนำเสนอเทคโนโลยีที่เพิ่มทรูพุตที่รวมกันได้มากถึง 3.2Gbps และการบุกเบิกเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ล่าสุดเพื่อยกระดับการใช้งานออนไลน์อีกด้วย

DIR-890L_A1

ฟีเจอร์เครือข่ายที่ฉลาดกว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานไร้สาย

ด้วยฟีเจอร์ Advance AC SmartBeamTM เราท์เตอร์จะยิงการเชื่อมต่อไร้สายไปยังอุปกรณ์แบบอัจฉริยะ ด้วยเสาอากาศภายนอกแบบ High-Gain ถึง 6 เสา ทำให้เร่งความเร็วและเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมเครือข่ายชนิดที่ว่าไม่มีสัญญาณขาดตอนระหว่างการเคลื่อนที่จากห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่งภายในบ้าน และด้วยฟีเจอร์ Advanced Quality of Service (QoS) ช่วยให้กระจายแบนด์วิธได้อย่างมีประสิทธิภาพแก่กลุ่มอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ นอกจากนี้ยังมีพอร์ตอีเธอร์เน็ตระดับกิกะบิตถึง 4 พอร์ตที่ให้การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบใช้สายแก่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ถึง 4 เครื่อง เทคโนโลยี SmartConnect ใหม่นี้ยกระดับความเร็วการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณไร้สายมาตรฐาน AC ซึ่งให้ทรูพุตถึง 3200Mbps โดยที่อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน หรือเก่ากว่าที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยจะไม่ส่งผลกระทบกับประสิทธิภายโดยรวมของเราท์เตอร์ ฟีเจอร์นี้ทำงานโดยผสานอินเทอร์เฟซไร้สายทั้งหมดมาอยู่ในชื่อเครือข่าย Wi-Fi เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายได้ง่ายและสะดวกพร้อมทั้งได้แบนด์วิธที่เสถียรด้วยพร้อมกัน

 

การเชื่อมต่อที่เสถียรบนย่านความถี่ทั้งสามย่านพร้อมกันด้วยเทคโนโลยี Tri-Band

ด้วยเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐาน AC ล่าสุด ทำให้อุปกรณ์สามารถใช้อัตราเร็วการส่งต่อข้อมูลได้สูงถึง 3.2Gbps (1300AC + 1300AC + 600N) โดยอุปกรณ์เครือข่ายสามารถทำงานบนย่านความถี่ 2.4GHz ร่วมกับอีกสองย่านความถี่ที่ใช้ 5GHz ได้พร้อมกันด้วยเทคโนโลยี Tri-band สมาชิกในครอบครัวจะสามารถใช้งานออนไลน์ได้พร้อมกัน ทั้งท่องเว็บ แชท อีเมล์บนย่านความถี่ 2.4GHz ขณะที่สตรีมหนังความละเอียดสูง เล่นเกมส์ออนไลน์ หรือเปิดวิดีโอคอลบนย่านความถี่ 5GHz ได้ เราท์เตอร์ตัวนี้รองรับ IPv6 และมีฟีเจอร์ QoS ขั้นสูงที่จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญกว่าอย่างการสตรีมหนังไม่ขาดตอน รวมทั้งฟีเจอร์ Airtime Fairness ที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับแบนด์วิธขนาดที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองโดยอัตโนมัติ

D-Link เปิดตัวคลาวด์เราท์เตอร์ตัวแรกในรุ่น AC3200 มาพร้อมกับ อแดปเตอร์ AC1900 USB3.0 ตัวแรกของ D-Link ช่วยยกระดับการเชื่อมต่อแบบไร้ขีดจำกัดครอบคลุมทุกพื้นที่การใช้งานภายในบ้าน

D-Link ผู้จำหน่ายรายใหญ่ที่สุดของโลกด้านผลิตภัณฑ์เครือข่ายสำหรับใช้งานภายในบ้าน ได้เปิดตัวเราท์เตอร์ประสิทธิภาพสูงตัวใหม่ล่าสุด – DIR-890L Wireless AC3200 Tri Band Gigabit Cloud Router ที่ทำความเร็วได้สูงถึง 3.2Gbps เราท์เตอร์ตัวใหม่นี้อัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์อย่างเทคโนโลยี Advanced AC SmartBeamTM, SmartConnect, SharePortTM และ mydlinkTM ที่ใช้บริหารจัดการคลาวด์ เพื่อให้ระบบความบันเทิงภายในบ้านที่ใช้อินเทอร์เน็ตทำงานได้เร็วกว่าและดีกว่าเดิม รวมถึงผลิตภัณฑ์ อะแดปเตอร์ AC1900 USB3.0 ตัวแรกของ D-Link ช่วยยกระดับการเชื่อมต่อแบบไร้ขีดจำกัด

sam_wong3

คุณ Sam Wong ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของ D-Link กล่าวว่า “DIR-890L Wireless AC3200 Tri Band Gigabit Cloud Router เป็นเราท์เตอร์ประสิทธิภาพสูงตัวแรกที่ใช้เทคโนโลยี SmartConnect ที่เร่งความเร็วการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณไร้สายแบบ AC นอกจากนี้ D-Link ยังภูมิใจนำเสนอเทคโนโลยีที่เพิ่มทรูพุตที่รวมกันได้มากถึง 3.2Gbps และการบุกเบิกเทคโนโลยีเครือข่ายใหม่ล่าสุดเพื่อยกระดับการใช้งานออนไลน์อีกด้วย

DIR-890L_A1 DWA-192_A1

 

 

 

 

 

 

ฟีเจอร์เครือข่ายที่ฉลาดกว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานไร้สาย

ด้วยฟีเจอร์ Advance AC SmartBeamTM เราท์เตอร์จะยิงการเชื่อมต่อไร้สายไปยังอุปกรณ์แบบอัจฉริยะ ด้วยเสาอากาศภายนอกแบบ High-Gain ถึง 6 เสา ทำให้เร่งความเร็วและเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมเครือข่ายชนิดที่ว่าไม่มีสัญญาณขาดตอนระหว่างการเคลื่อนที่จากห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่งภายในบ้าน และด้วยฟีเจอร์ Advanced Quality of Service (QoS) ช่วยให้กระจายแบนด์วิธได้อย่างมีประสิทธิภาพแก่กลุ่มอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ นอกจากนี้ยังมีพอร์ตอีเธอร์เน็ตระดับกิกะบิตถึง 4 พอร์ตที่ให้การเชื่อมต่อความเร็วสูงแบบใช้สายแก่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้ถึง 4 เครื่อง เทคโนโลยี SmartConnect ใหม่นี้ยกระดับความเร็วการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับสัญญาณไร้สายมาตรฐาน AC ซึ่งให้ทรูพุตถึง 3200Mbps โดยที่อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน หรือเก่ากว่าที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยจะไม่ส่งผลกระทบกับประสิทธิภายโดยรวมของเราท์เตอร์ ฟีเจอร์นี้ทำงานโดยผสานอินเทอร์เฟซไร้สายทั้งหมดมาอยู่ในชื่อเครือข่าย Wi-Fi เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อสัญญาณไร้สายได้ง่ายและสะดวกพร้อมทั้งได้แบนด์วิธที่เสถียรด้วยพร้อมกัน

 

การเชื่อมต่อที่เสถียรบนย่านความถี่ทั้งสามย่านพร้อมกันด้วยเทคโนโลยี Tri-Band

ด้วยเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐาน AC ล่าสุด ทำให้อุปกรณ์สามารถใช้อัตราเร็วการส่งต่อข้อมูลได้สูงถึง 3.2Gbps (1300AC + 1300AC + 600N) โดยอุปกรณ์เครือข่ายสามารถทำงานบนย่านความถี่ 2.4GHz ร่วมกับอีกสองย่านความถี่ที่ใช้ 5GHz ได้พร้อมกันด้วยเทคโนโลยี Tri-band สมาชิกในครอบครัวจะสามารถใช้งานออนไลน์ได้พร้อมกัน ทั้งท่องเว็บ แชท อีเมล์บนย่านความถี่ 2.4GHz ขณะที่สตรีมหนังความละเอียดสูง เล่นเกมส์ออนไลน์ หรือเปิดวิดีโอคอลบนย่านความถี่ 5GHz ได้ เราท์เตอร์ตัวนี้รองรับ IPv6 และมีฟีเจอร์ QoS ขั้นสูงที่จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่สำคัญกว่าอย่างการสตรีมหนังไม่ขาดตอน รวมทั้งฟีเจอร์ Airtime Fairness ที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับแบนด์วิธขนาดที่เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองโดยอัตโนมัติ

 

แชร์ไฟล์ผ่านไวร์เลสง่ายเพียงปลายนิ้วด้วย mydlink

แอพ mydlink SharePort ทำให้ผู้ใช้เพียงแค่เสียบอุปกรณ์เก็บข้อมูลเข้ากับเราท์เตอร์ผ่านพอร์ต USB ก็สามารถแบ่งปันเอกสาร ภาพยนตร์ รูปภาพ และเพลงกับอุปกรณ์พกพา หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านเว็บพอร์ทัลได้ ด้วยความสามารถในการสร้างสตอเรจบนคลาวด์แบบส่วนตัวและปลอดภัยที่บ้านนี้ ทำให้ SharePort รองรับการสตรีมไฟล์มีเดียบนอุปกรณ์หลายเครื่อง บันทึกไฟล์สำหรับใช้งานแบบออฟไลน์ หรือแม้แต่อัพโหลดไฟล์ทั้งหมดขึ้นมาผ่านสัญญาณไร้สายได้โดยง่าย

 

เราท์เตอร์นี้มาพร้อมกับพอร์ต USB3.0 และ USB2.0 อย่างละพอร์ต ซึ่งรองรับอุปกรณ์สตอเรจที่มีเนื้อหาขนาดใหญ่ได้ถึง 1TB (บนดิสก์ที่มีขนาดสูงสุดได้ถึง 2TB) ส่วนแอพ SharePort นี้สามารถโหลดได้ฟรีผ่าน Google Play และ App Store ของแอปเปิ้ล

 

ติดตั้งได้ง่ายและไร้กังวลผ่านอุปกรณ์พกพาหรือเราท์เตอร์ WPS

เราท์เตอร์ Wi-Fi นี้สามารถติดตั้งได้ง่ายด้วยวิธีติดตั้ง 2 แบบ ทั้งการใช้แอพ Quick Router Setup (QRS) ผ่านอุปกรณ์พกพาทั้งบน Android และ iOS ที่ทำได้ง่ายเพียงเสียบสายต่อกับเราท์เตอร์ เปิดแอพ แล้วทำตามขั้นตอนที่แนะนำไม่กี่ขั้นในการสร้างการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในบ้านโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เลย

 

หรืออีกวิธีหนึ่ง คือการติดตั้งผ่านฟีเจอร์ Wi-Fi Protected Setup (WPS) เพียงแค่กดปุ่ม WPS บนเราท์เตอร์ ก็สามารถสร้างการเชื่อมต่ออย่างปลอดภัยกับอุปกรณ์ตัวใหม่ได้ในทันที

 

ถ้าผู้ใช้มีผลิตภัณฑ์ mydlink Cloud ตัวอื่น เช่น กล้องไอพี หรือ Network Attached Storage ก็สามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ mydlink Zero Configuration ได้ เพียงเชื่อมต่ออุปกรณ์ mydlink อื่นเข้ากับ DIR-890เราท์เตอร์จะเชื่อมต่อกับบัญชี mydlink ที่มีอยู่โดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องเสียเวลาตั้งค่าเพิ่มเติม

 

จัดการเครือข่ายได้ง่ายด้วย mydlink

เราท์เตอร์ระดับกิกะบิตตัวนี้ใช้งานร่วมกับคลาวด์ของ mydlink ได้ ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงและดูเครือข่ายของตัวเองได้แม้อยู่นอกบ้าน โดยผู้ใช้สามารถดูได้ว่าใครกำลังเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์ เข้าไปเปลี่ยนการตั้งค่า หรือแม้แต่ขัดขวางการเข้าถึงทั้งหมดได้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือผ่านแอพ mydlink บนอุปกรณ์พกพา ฟีเจอร์นี้ถือว่าดีมากสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการสอดส่องลูกหลานที่อยู่ในวัยเรียนให้แน่ใจว่าพวกเขากำลังทำการบ้านอยู่แทนที่จะเล่นเกมส์ฮิตอย่าง League of Legends

 

นอกจากนั้นแล้ว D-Link ยัง ได้เปิดตัวอแดปเตอร์ AC1900 USB3.0 ตัวแรกของ D-Link ในรุ่น D-Link DWA-192 Ultra Wireless AC1900 USB3.0 นี้รวมเอาเทคโนโลยีไร้สายมาตรฐาน AC ร่วมกับทรูพุตที่เร็วกว่าเข้ามาอยู่ภายในแพ๊กเกจ ทรงกลมที่ดูเรียบหรูขนาดเพียง 8x8cm เพื่อให้ความเร็วการส่งต่อข้อมูลที่เร็วและต่อเนื่องกว่าเดิมแก่อุปกรณ์อัจฉริยะของคุณ อุปกรณ์นี้เข้ากับการตกแต่งภายในบ้านได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำให้ความบันเทิงภายในบ้านและการเล่นเกมส์ออนไลน์เป็นไปอย่างสนุกและต่อเนื่องไม่ขาดช่วง ถือเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะในอุดมคติที่ควรใช้เคียงคู่กับเราท์เตอร์ที่ใช้อยู่ในบ้านปัจจุบัน

 

“อแดปเตอร์ไร้สายในรุ่น AC1900 USB 3.0 ตัวแรก มาพร้อมกับเสาอากาศภายในแบบ 3×3 และเทคโนโลยี D-Link Advanced AC SmartBeamTM โดยอแดปเตอร์ตัวนี้ทำงานร่วมกับเราท์เตอร์ไร้สายที่เชื่อมต่อด้วยมาตรฐาน AC (SmartBeam) เพื่อยกระดับพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณให้ไกลกว่าด้วยการยิงสัญญาณไร้สายระหว่างเราท์เตอร์และอแดปเตอร์โดยตรง ช่วยเพิ่มระยะและคุณภาพของการเชื่อมต่อไร้สาย พร้อมทั้งกำจัดจุดบอดสัญญาณด้วยพร้อมกัน” คุณ Sam Wong กล่าวและเสริมว่า

Sam_wong1

“ด้วยเทคโนโลยีดูอัลแบนด์ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องคอยแย่งแบนด์วิธซึ่งกันและกัน โดยผู้ที่ท่องเน็ตหรือช็อปปิ้งออนไลน์สามารถใช้ย่านความถี่ 2.4GHz ขณะที่การสตรีมความบันเทิงความละเอียดสูง หรือการโทรศัพท์แบบ Voice over IP (VoIP) สามารถหันไปเชื่อมต่อผ่านย่าน 5GHz ได้ ซึ่งย่านความถี่เหล่านี้สามารถทำความเร็วบน DWA-192 ได้สูงถึง 600Mbps และ 1300Mbps ตามลำดับ

 

ติดตั้งให้พร้อมเชื่อมต่อได้ง่าย

สำหรับการเริ่มใช้งาน DWA-192 เพียงแค่เสียบปลั๊กผ่านพอร์ต USเพื่อเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สาย ซึ่งอแดปเตอร์นี้มาพร้อมกับปุ่ม Wireless Protected Setup (WPS) ที่ช่วยติดตั้งให้ใช้งานกับเราท์เตอร์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเข้ารหัสข้อมูลตัวล่าสุดที่มาพร้อมกันยังช่วยให้ข้อมูลที่สื่อสารบนเครือข่ายของคุณปลอดภัยและป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังมีไฟ LED ที่แสดงสถานะการเชื่อมต่อของ DWA-192 ทำให้ผู้ใช้ทราบว่ายังมีการเชื่อมต่อกับเราท์เตอร์อยู่หรือไม่เพียงแค่เหลือบมองเท่านั้น

 

ด้วยการทำงานบนมาตรฐาน 802.11ac ทำให้อแดปเตอร์นี้รองรับมาตรฐานเครือข่ายไร้สายที่เก่ากว่าทั้งหมด ได้แก่ 802.11g/b/n ได้ด้วย โดยทำงานร่วมกับเราท์เตอร์ไร้สายมาตรฐาน AC ที่รองรับเทคโนโลยี Advanced AC SmartBeam จะทำให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุด

You may have missed