04/25/2024

Month: July 2014

โทรศัพท์ที่ให้คุณภาพเสียงใสชัดทุกถ้อยคำ ฝันที่ใกล้เป็นจริง

HD-Voiceใน 10 ปีที่ผ่านมานี้  เทคโนโลยีอุปกรณ์พกพาได้ก้าวล้ำหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ทำไมคุณภาพของเสียงคุยผ่านทางโทรศัพท์จึงไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ องค์กรวิจัย Fraunhofer จึงได้ทำการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพเสียงผ่านโทรศัพท์ให้รองรับความถี่ได้กว้างขึ้นกว่ามาตรฐานเดิมที่เคยใช้อยู่ เรียกว่า HD Voice หรือเรียกอีกอย่างว่า Wideband Audio ซึ่งจะขยายช่วงคลื่นความถี่เสียงที่ส่งระหว่างกันให้กว้างขึ้น อยู่ที่ระดับเป็นราวๆ 50 – 7,000Hz (มาตรฐานเดิมที่ใช้กันมานาน โทรศัพท์จะส่งสัญญาณเสียงเฉพาะช่วงความถี่ราวๆ 300 – 3,400Hz เท่านั้น เสียงคุยของอีกฝ่ายจึงเป็นเสียงบีบๆ แห้งๆ เพราะเสียงช่วงคลื่นความถี่สูงถูกตัดหายไป) HD Voice ทำให้เราได้ยินเสียงที่ใสขึ้น ชัดเจนขึ้น คุณภาพเสียงในการสนทนาโทรศัพท์จะดีขึ้น อย่างเช่น ทำให้แยกแยะเสียงของคู่สนทนาได้ง่ายขึ้น ฟังเสียงที่กำกวมได้ชัดขึ้น เช่นเสียง ร, ล, ซ ทำให้สื่อความเข้าใจง่ายขึ้น เสียงรบกวนรอบข้างลดลง และให้เสียงที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น

ในฐานะผู้คิดค้นทั้ง .mp3 และ .AAC ทำให้องค์กร Fraunhofer มีความเชี่ยวชาญเรื่องคุณภาพเสียงเป็นอย่างดี เมื่อไอเดียเกี่ยวกับ HD Voice ถูกป่าวประกาศออกไป ทีมงานของ Fraunhofer IIS (Institue for Integrated Circuits) และ Fraunhofer  ที่สหรัฐอเมริกาถึงกับช็อค จากมุมมองของนักวิจัยที่สถาบัน ไอเดียเรื่อง HD Voice นั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ ไม่เพียงเพราะมันไม่ใช่พัฒนาการ แต่เป็นเพราะมันไม่มีคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด เสียงพูดในโทรศัพท์ต้องการแบนด์วิดธ์ในการสื่อสารข้อมูลที่ 3.4 กิโลเฮิรตซ์ ส่วน HD Voice จะใช้ Adaptive Multi-Rate (AMR) waveband speech codec (การเข้ารหัส/ถอดรหัสแบบปรับคลื่นเสียงได้) และต้องการแบนด์วิดธ์ที่เพิ่มขึ้นเป็น 7 กิโลเฮิรตซ์ โดยที่ HP Baumeister หนึ่งในนักวิจัยจาก Fraunhofer  อธิบายว่า นี่คือ “ก้าวเล็ก ๆ” ที่ดีที่สุด เขาเชื่อว่า เขาสามารถทำได้ดีกว่านี้ และยินดีที่จะท้าพิสูจน์

Baumeister บอกว่า HD Voice ยังมีข้อบกพร่องอีกมาก ส่วนใหญ่แล้วมาจากการเข้ารหัส/ถอดรหัสที่ใช้อยู่ ซึ่ง HD Voice ถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับเสียงพูด ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรสำหรับเสียงในโทรศัพท์ แต่ปัญหาจะอยู่ที่ว่า เสียงของคุณมักไม่ใช่เสียงเดียวที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ยิน เรายังได้ยินเสียงรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลง หรือเสียงจากสภาพแวดล้อม ซึ่งจะยังคงอยู่ Baumeister บอกว่า “การเข้ารหัส/ถอดรหัสจะไม่สามารถใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่เสียงพูด” นอกจากนี้ การสนทนาโทรศัพท์แบบคุณาพเสียงสูงยังต้องมีค่าธรรมเนียมการอนุญาตใช้งานอีกด้วย ทำให้ต้นทุนของผู้ให้บริการโทรศัพท์ตลอดไป จนถึงต้นทุนของผู้บริโภคสูงขึ้น

กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สมาร์ตโฟนของคุณน่าจะมีศักยภาพในการให้เสียงสนทนาที่ชัดเจนในระดับเดียวกับการฟังเพลงจากแผ่น CD โดยที่ Baumeister เชื่อว่ามันจะเป็นไปได้โดยไม่ต้องเพิ่มบิทเรท (จำนวนบิทที่ถูกประมวลผลไปในหนึ่งหน่วยเวลา) ในการสื่อสารข้อมูลเสียง แต่ AAC-ELD จะทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า มีบิทเรทต่ำกว่า ทำให้เสียงการสนทนาชัดเจนขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อเราหวนคิดถึงวิวัฒนาการของโทรศัพท์ที่ผ่านมาในอดีต สิ่งที่น่าขันก็คือ ส่วนที่ไม่พัฒนาไปกับเขาก็คือ คุณภาพเสียง ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เราประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมานั่นเอง เมื่อลองเปรียบเทียบดู โทรทัศน์นั้นพัฒนามาจนถึงจุดที่เป็นอยู่นี้ ทั้งจอที่กว้างขึ้น และขนาดที่บางลง แต่เราก็ยังคงดูภาพยนตร์ในระบบ VHS เรามีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอยู่แล้ว ถึงขนาดที่จะทำให้เราคิดค้นคอมพิวเตอร์ที่ส่งคนไปดวงจันทร์ได้ แล้วทำไมจึงไม่พัฒนาเรื่องเสียงในโทรศัพท์ ปล่อยให้เราต้องทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าอีกฝ่ายพูดว่าอย่างไร หรือเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจเพื่อจะได้ฟังเสียงที่ชัดขึ้น

ขณะนี้ทุกสิ่งพร้อมแล้วสำหรับคุณภาพเสียงระดับ Full-HD ที่น่าจะเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารผ่านอุปกรณ์มือถือ ที่สามารถใช้ได้กับทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นแอนดรอยด์หรือไอโอเอส เราเพียงต้องการแอพพลิเคชั่นที่ชาญฉลาด เพื่อทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา และทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายยิ่งขึ้น

You may have missed