04/25/2024

Month: June 2013

แนะนำ FAT URL บริการรวมลิงก์ไว้ใน URL เดียว

faturl

เราอาจเคยใช้ Short URL เพื่อส่งลิงก์ของเว็บเพจต่างๆ แต่เคยไหมที่เราอยากส่งลิงก์ทีละหลายๆ ลิงก์ หลายคนอาจบอกว่า ก็ copy ลิงก์ทั้งหมดใส่อีเมล์ส่งไปซิ มีวิธีดีกว่านั้นครับ Eworld ขอแนะนำให้คุณรู้จักกับ FAT URL (http://faturl.com/) บริการฟรี ที่ให้คุณสามารถนำลิงก์ต่างๆ ที่น่าสนใจมาจับรวมกันไว้ใน Short URL เดียว แถมยังสร้าง QR Code ให้คุณได้ด้วย

เมื่อคุณสร้าง FAT URL ของคุณแล้ว ก็สามารถจะส่งต่อให้คุณอื่นๆ ผ่านสารพัดวิธี เมื่อถึงมือผู้รับ แค่คลิ้กลิงก์ ก็จะเปิดเพจที่เป็นสารบัญขึ้นมาให้เลือกว่า คุณอยากจะไปที่ลิงก์ไหนต่อ ทำเป็นแท็บย่อยๆ อย่างในบราวเซอร์ Firefox เลยก็ได้

ที่สำคัญ คือ คุณสามารถจะเพิ่ม ลบ ลิงก์ต่างๆ ภายใน FAT URL ได้ ทำให้คนอื่นๆ ได้อัพเดตลิงก์ภายในไปด้วย

ถือว่า FAT URL เป็นบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการ น่านำไปใช้จริงๆ ผมเริ่มใช้งานแล้ว ตาคุณบ้างล่ะ

Cyberoam เปิดตัวอุปกรณ์ UTM แบบ FleXi Port (XP) สำหรับการเชื่อมต่อบนเครือข่ายอย่างยืดหยุ่น

Cyberoam (ไซเบอร์โรม) ผู้ให้บริการอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยบนเครือข่ายชั้นนำของโลก ได้ประกาศเปิดตัวอุปกรณ์ UTM แบบ FleXi Port (XP) ในรูปของส่วนหนึ่งในซีรี่ย์ NG ที่ออกแบบเพื่อรองรับเครือข่ายในอนาคต อุปกรณ์ตัวใหม่นี้ได้ให้การเชื่อมต่อบนเครือข่ายที่มีความยืดหยุ่นด้วยสล็อต I/O ที่เปิดให้สามารถเพิ่มพอร์ตทั้งแบบสายทองแดงหรือใยแก้วนำแสง 1G หรือ 10G บนอุปกรณ์ความปลอดภัยตัวเดียวกันได้ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถอัพเกรดไปใช้เทคโนโลยีใหม่ได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน ไซเบอร์โรมเปิดตัวฟีเจอร์นำสมัยนี้พร้อมกับตัว UTM รุ่น CR200iNG-XP และ CR300iNG-XP สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และเตรียมพัฒนาอุปกรณ์สำหรับระดับองค์กรในอนาคตอันใกล้

เครือข่ายแบบคอนเวอร์เจนต์ และเวอร์ช่วล จำเป็นต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บไว้ได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม จากแอพพลิเคชั่นสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่สูบทรัพยากรบนเครือข่ายมากขึ้น ต่างมีความต้องการด้านเครือข่ายที่สูงกว่า อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาการที่มีอินเทอร์เฟซ I/O จำนวนจำกัดบนอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นการบีบบังคับให้องค์กรส่วนใหญ่ต้องออกแบบเครือข่ายตัวเองบนพื้นฐานของอุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีอยู่ ส่งผลให้ตัวเลือกในการเชื่อมต่อกลายเป็นคอขวดในการพัฒนาเครือข่าย ฟีเจอร์ Flexi Port ของไซเบอร์โรมได้ให้ทางเลือกที่ง่ายและคุ้มค่ากว่าในการอัพเกรดทั้งเครือข่ายและเทคโนโลยีบนเครือข่ายขององค์กร

Image

อาพิลลาช ซันวาเน่ ผู้บริหารผลิตภัณฑ์ SVP ของไซเบอร์โรมกล่าวว่า “อุปกรณ์แบบ FleXi Port (XP) จะช่วยให้ได้ทั้งความคุ้มทุนและประสิทธิภาพที่จำเป็นในการเติบโตของเครือข่าย โดยเปิดโอกาสให้สามารถย้ายไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้โดยไม่ต้องเสียการลงทุนทั้งฮาร์ดแวร์และระบบความปลอดภัยที่มีอยู่เดิมโดยเปล่าประโยชน์ สำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการเปลี่ยนการเชื่อมต่อมาเป็นสายไฟเบอร์แบบ 1GbE/10GbE เราได้ให้อิสระจากเดิมที่ถูกบังคับให้ซื้ออุปกรณ์ความปลอดภัยตัวใหม่ที่รุ่นสูงกว่าเดิมเพื่อให้ได้โมดูลอินเทอร์เฟซบนเครือข่ายที่ต้องการ ส่วนระดับองค์กรนั้น Flexi Port ในอุปกรณ์ซีรี่ย์ NG ได้ให้อิสรภาพในการออกแบบเครือข่ายของตัวเองตามความต้องการที่แท้จริง ไม่ต้องมาผูกติดกับข้อจำกัดด้านจำนวนอินเทอร์เฟซ I/O บนอุปกรณ์ความปลอดภัย ด้วยอิสระในการเลือกพอร์ตแบบสายทองแดงหรือใยแก้วนำแสง ความเร็ว 1G หรือ 10G ทำให้เลือกลงทุนได้ตามความจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า และคุ้มค่ากว่าในอนาคต นอกจากนี้ ฟีเจอร์ Flexi Port ของไซเบอร์โรมยังได้รวมเอาอุปกรณ์ต่างๆ บนเครือข่ายเข้าด้วยกัน ช่วยประหยัดพลังงาน ลดความซับซ้อนของเครือข่าย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงได้ด้วย

เกี่ยวกับซีรี่ย์ NG:

อุปกรณ์ UTM ซีรี่ย์ NG ของไซเบอร์โรมได้ให้ความปลอดภัยที่รองรับกับอนาคตแก่ SOHO, SMB/SME และองค์กรขนาดใหญ่ โดยอุปกรณ์ตระกูล NG ได้ให้ทรูพุตที่มากที่สุดในกลุ่มอุปกรณ์ไฟร์วอลล์และ UTM แม้แต่ซีรี่ย์ NG ระดับเบื้องต้นยังเริ่มที่ทรูพุตของไฟร์วอลล์ระดับกิกะบิต อุปกรณ์เหล่านี้มาพร้อมกับฮาร์ดแวร์ทรงพลังอันได้แก่ หน่วยประมวลผลระดับกิกะเฮิร์ตซ์เพื่อประมวลผลด้านความปลอดภัยในความเร็วแค่นาโนวินาที และพอร์ตกิกะบิตอีเธอร์เน็ตที่มีจำนวนพอร์ตต่ออุปกรณ์สูง อีกทั้งยังทำงานบน CyberoamOS เฟิร์มแวร์ของไซเบอร์โรมที่ฉลาดและทรงพลังมากที่สุดในปัจจุบัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cyberoam.com

ทีโอที จับมือ สพฉ.ร่วมพัฒนาระบบแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ

63

เมื่อเร็วๆ นี้ ทีโอทีจับมือ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินสพฉ. มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ และ กสทช. พัฒนาระบบแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ โดยทีโอที ได้พัฒนาระบบทีโอที ได้พัฒนานวัตกรรม  TOT Help Call Center  ด้วยการเพิ่มศักยภาพระบบโทรศัพท์พื้นฐาน พร้อมระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีมาตรฐานและระบบแสดงผลอัตโนมัติเกี่ยวกับข้อมูลประวัติผู้สูงอายุ   ประวัติรักษาพยาบาล เชื่อมโยงกับระบบรับแจ้งเหตุของสายด่วน 1669 ประจำจังหวัดนั้นๆ  ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการแจ้งเหตุ เพิ่มโอกาสการให้บริการกับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ อย่างทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น และเป็นการช่วยเหลือสังคมในด้านสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

เปิดตัวระบบบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ หรือ G-SaaS

ICT จับมือสามหน่วยงานไอทีภาครัฐ EGA, SIPA และซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดตัวระบบบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ หรือ G-SaaS หวังสร้างมิติใหม่การใช้ซอฟต์แวร์ภาครัฐ ประเดิมระบบส่งหนังสือข้ามหน่วยงาน พร้อมเตรียมเปิด 11 โปรแกรมภายในสิ้นปีนี้ เชื่อมาตรฐานแต่ละโปรแกรมเปิดช่องอิสระให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าตลาดภาครัฐ

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า ICT ร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค ได้จัดทำระบบ Government Software as a Service (G-SaaS) หรือบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ โดยเป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานจำนวน 11 โปรแกรม ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการเบื้องต้นจำนวน 3 โปรแกรม ที่เหลือจะทยอยเปิดให้บริการกับภาครัฐภายในปีนี้

ที่ผ่านมาทาง EGA ได้เปิดบริการประเภท Infrastructure as a service (G-IaaS) หรือพวกโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบ ฐานข้อมูล และอื่นๆ ตามด้วย Platform as a service (G-PaaS) ที่เกี่ยวพันกับระบบปฏิบัติการต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐยอมรับได้ในระดับหนึ่งแล้ว เป้าหมายที่ ICT และ EGA ได้ดำเนินการต่อในครั้งนี้คือ การเป็น Software as a service (G-SaaS) หรือบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐที่จะเป็นทางเลือกให้ภาคราชการไทยได้มี โอกาสเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่าน Government Cloud Service (G-Cloud) เชื่อมต่อกับโครงสร้างบริการอื่นที่มีอยู่ใน GIN ของ EGA และทุกอย่างอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การเชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ข้อมูล และเครือข่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

“การริเริ่มทำโครงการนำร่อง G-SaaS มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากปล่อยให้เกิด ตามธรรมชาติแล้ว บริการนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐที่ใช้ซอฟต์แวร์ทั้งหลายหาใช่ผู้ที่พัฒนา ซอฟต์แวร์เองแต่อย่างใด เป็นการจัดซื้อจัดจ้างผู้ให้บริการระบบ หรือ System Integrators หรือ SI มาจัดการให้ ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะมีการเลือกซอฟต์แวร์ไทยเข้ามาร่วมด้วยแต่ถือว่าน้อยมาก และที่ผ่านมา SI เหล่านั้นก็ต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับหน่วยงาน รัฐมานาน โอกาสที่จะให้ซอฟต์แวร์ไทยรายใหม่ๆ ได้แจ้งเกิดในเวทีภาครัฐเป็นไปได้น้อยมาก และที่สำคัญแต่ละหน่วยงานก็ต้องใส่ความต้องการในด้านการทำงานของตนเองเป็น หลัก และโอกาสที่จะให้ซอฟต์แวร์ของตนเองไปเชื่อมกับหน่วยงานภายนอกแทบจะไม่มีความ เป็นไปได้เลย ภาคราชการไทยจึงเสียงบประมาณจำนวนมากไปกับระบบไอทีที่แม้จะมีความทันสมัย แต่ไม่สามารถนำประสิทธิภาพเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเต็มที่” น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว

ตัวอย่างของ G-SaaS คือซอฟต์แวร์ทางด้านสารบรรณ ซึ่งซอฟต์แวร์ชนิดนี้หน่วยงานรัฐเกือบ 80% จัดซื้อจัดจ้างมาใช้สำหรับทำหนังสือเข้า-ออก แต่ละรายมีความแตกต่างกัน แม้ลักษณะงานแทบจะเหมือนกันก็ตาม ทำให้ในหนึ่งกระทรวงอาจมีระบบสารบรรณเป็น 10 ระบบ แต่ละระบบไม่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ และก็ไม่สามารถเชื่อมต่อข้ามกระทรวงกันได้เช่นเดียวกัน ถือเป็นการสูญเปล่าทางด้านงบประมาณของราชการไทยอย่างมาก

ดังนั้น EGA จึงเข้ามาทำมาตรฐานระบบสารบรรณ โดยมาตรฐานนี้ได้รับการยอมรับจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้านสารบรรณที่มีอยู่ ก่อนหน้านั้นแล้ว จากนั้นก็ช่วยเหลือแนวทางที่จะให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ปรับระบบของตัวเองให้ เข้ากับมาตรฐานนั้น ขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนให้ทำงานได้บนระบบ G-Cloud ของ EGA ไปด้วยพร้อมกัน ไม่เพียงเท่านั้น EGA ยังช่วยเหลือทางด้านมาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อทำให้หน่วยงานรัฐเกิดความมั่นใจในการที่จะมาใช้งาน เท่ากับ EGA เป็นเหมือนตราประทับและการันตีการทำงานของซอฟต์แวร์ที่อยู่บนคลาวด์ของ EGA ไปด้วยในตัว

G-SaaS จึงเป็นเหมือนปลายทางการให้บริการระบบ G-Cloud ซึ่งเป็นโครงการยุคใหม่ของภาคราชการไทย เป็นอนาคตที่จะปรับโฉมการทำงานของภาครัฐทั้งระบบ วันนี้แม้จะเริ่มต้นที่ 3 และจะมีอีก 8 โปรแกรมตามมา แต่ภายในปีหน้าจะเกิดโปรแกรมที่อยู่บน G-SaaS อีกมากมาย มูลค่าการใช้งานจะมากขึ้น เป็นทางเลือกให้กับภาคราชการไทย เป็นอนาคตใหม่ของวงการซอฟต์แวร์ไทย และเป็นบริการใหม่ๆ ที่จะส่งผลต่อการบริการ ภาคประชาชนในเร็วๆ นี้
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า บริการซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้ G-SaaS จะทำงานอยู่บนระบบ G-Cloud ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) โดยในปีนี้ซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐที่ให้บริการบริการจะมี 11 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกสามารถให้บริการได้ทันทีคือ 1.Saraban as a Service บริการระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ 2. SMS as a Service บริการส่งข้อความ(SMS) ผ่านเว็บไซต์ 3. Conference as a Service ระบบห้องประชุมเสมือน นอกนั้นจะมีการกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมและทยอยให้บริการภายในปีนี้ต่อไป

ระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ เป็นการให้บริการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ Software as a Service: SaaS บนระบบ G-Cloud เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายผลการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐที่มีความแตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ (Cross Platforms Interconnection) ให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน รวมถึงการลดการใช้กระดาษ (Paperless) ได้อย่างเต็มรูปแบบ

ระบบนี้ทาง EGA ได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์คนไทย โดย EGA ได้กำหนดมาตรฐานของ ระบบสารบรรณขึ้นมา โดยก่อนหน้านั้นได้มีการหารือกับตัวแทนของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้มาตรฐานดังกล่าวเสร็จแล้ว ทำให้ซอฟต์แวร์สารบรรณของทั้ง 4 รายสามารถเชื่อมระบบเอกสารถึง กันได้ ดังนั้นหน่วยงานราชการที่เลือกใช้ระบบนี้อาจเลือกซอฟต์แวร์จากรายใดรายหนึ่ง ก็สามารถเชื่อมระบบเอกสารไปยังหน่วยงานอื่นๆ ได้ทันที

สำหรับหน่วยงานราชการที่ต้องการใช้ระบบภายในปีนี้ ทาง EGA จะให้ทางหน่วยงานเข้ามา ศึกษา และคัดเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการใช้ โดย EGA จะให้ทดลองใช้ฟรี 1 ปี ซึ่ง EGA จะเป็นผู้ลงทุน ทางด้าน ระบบเซิร์ฟเวอร์และโครงข่ายคลาวด์คอมพิวติ้งทั้งหมด โดยให้เจ้าของซอฟต์แวร์ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนระบบของตนเองมาทำงานบนคลาวด์แล้ว ได้ใช้สาธารณูปโภคของ EGA อย่างเต็มที่บน เงื่อนไขที่ต้องมีมาตรฐานดังกล่าว และผ่านการทดสอบเรื่องระบบความปลอดภัยแล้ว หลังจาก 1 ปีแล้ว ทางหน่วยงานสามารถ ตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ โดยค่าบริการจะเก็บเป็น Pay Per Use หรือจ่ายตามการใช้งานจริง ซึ่ง EGA จะมีการกำหนดราคากับทางเจ้าของซอฟต์แวร์อีกครั้งหนึ่ง

ระบบมาตรฐานของสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์นั้น EGA จะเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์ของนักพัฒนา ทุกรายสามารถเข้ามาติดตั้งเพื่อเป็นตัวเลือกให้บริการอย่างเสรี เพียงแค่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ EGA, SIPA และซอฟต์แวร์พาร์ค กำหนด และซอฟต์แวร์เหล่านั้นอาจถูกถอดออกจากระบบได้ หากพบว่าการให้บริการ ต่ำกว่ามาตรฐาน

ส่วนระบบ SMS as a Service บริการส่งข้อความ (SMS) ผ่านเว็บไซต์ เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน รวมถึงการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน และ Conference as a Service ระบบห้องประชุมเสมือน ที่จากเดิมที่ สรอ. ได้มีให้บริการ GIN Conference เพื่อเป็นการประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายภาครัฐนั้น EGA พัฒนาต่อเป็นการให้บริการ Web Conference ในรูปแบบของ Software as a Service บริการดังกล่าวเป็นบริการ ท ี่ EGA เห็นว่าทางหน่วยงานภาครัฐมีความจำเป็นต้องใช้งาน แต่หากหน่วยงานนั้นใช้ในปริมาณไม่มาก การจัดซื้อจะยุ่งยากและได้ใช้บริการในราคาที่แพง ดังนั้นบริการนี้เท่ากับว่า EGA จะเป็นผู้รวบรวมและให้บริการเอง ซึ่งในระยะยาวหากมีหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถให้บริการเช่นนี้ได้ ก็สามารถเสนอตัวเข้ามาในระบบนี้ได้

สำหรับซอฟต์แวร์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและทดสอบ จำนวน 8 ชนิดจะประกอบด้วย

  1. Office on Cloud ซึ่งเป็นบริการซอฟต์แวร์ออฟฟิศเพื่อการสร้างเอกสาร ตารางคำนวณ รวมถึงงานนำเสนอ ซึ่งจะสนับสนุนการทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา
  2. Personal Storageระบบบริการจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ
  3. Government Website as a Serviceระบบเว็บไซต์ภาครัฐ
  4. Conference as a Service ในระดับขั้นสูงหรือ Premium
  5. SMART IVR (Interactive Voice Response)
  6. Streaming as a Service
  7. Antivirus (Client Security for GIN)
  8. Private Instant Messagin g

ขณะนี้ซอฟต์แวร์ทดสอบได้รับความสนใจจากนักพัฒนาจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้ คือบริการขั้นพื้นฐานที่หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยสามารถใช้ได้ทั้งหมด โดยในเบื้องต้น EGA จะยังไม่ลงไปสู่ซอฟต์แวร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการทำงานของหน่วยงานที่เป็น ลักษณะเฉพาะ

ในระบบ G-SaaS ทาง EGA จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานการให้บริการและสร้างมาตรฐาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ช่วยลดความซ้ำซ้อนและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพียงแค่หน่วยงานนั้นแจ้งผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสาร ในภาครัฐ (Mailgothai) ก็สามารถเข้ารับบริการที่ EGA เปิดให้บริการได้ทันที ทำให้หน่วยงานต่างๆ ได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐานกลางภาครัฐที่คัดเลือกโดย EGA, ลดขั้นตอนการจัดซื้อ, ลดค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเสารสนเทศ, มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับภาครัฐกับภาครัฐ, สะดวกในการใช้งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา และเป็นมาตรฐานเดียวในการติดต่อสื่อสาร

สำหรับภาคเอกชนที่เข้าร่วมจะเกิดประโยชน์คือ ผู้เข้าร่วมพัฒนาระบบงานด้าน e-Government ให้กับภาครัฐ ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท, เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และได้เปิดตลาดสู่ภาครัฐไปจนถึงระดับนานาชาติ, มีโอกาสนำข้อมูลภาครัฐไปพัฒนาบริการให้กับประชาชน ขณะที่ภาคประชาชนประชาชนจะได้รับบริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง และเท่าเทียมไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ทั้งในสถานที่ของหน่วยงานภาครัฐ หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากทั่วโลก

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา SIPA เข้ามาส่งเสริมให้ซอฟต์แวร์ไทยก้าวสู่ระบบ Cloud Computing มาโดยตลอด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งระบบ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข้มแข็งขึ้นมาได้ในอนาคต ขณะที่ผู้ใช้บริการซอฟต์แวร์ภาคเอกชนของไทยและต่างประเทศมีความตื่นตัว เรื่องนี้อย่างสูง แต่องค์กรรัฐของไทยกลับไม่สามารถขยับตัวสู่ระบบ Software as a Service ได้ ทั้งที่มูลค่าการใช้ซอฟต์แวร์ภาครัฐมีอยู่สูงมาก

ดังนั้น EGA ซอฟต์แวร์พาร์ค และ SIPA สามหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเรื่องซอฟต์แวร์ทั้งระบบ จึงต้องจับมือกันเพื่อสร้างระบบ G-SaaS ให้เป็นจริงขึ้นมา โดยทั้งหมดร่วมกันสร้าง มาตรฐานซอฟต์แวร์ในแต่ละบริการ โดยยึดหลักต้องเป็นมาตรฐานที่ไม่มีการผูกขาดให้กับรายใดรายหนึ่ง ทำให้การแข่งขันเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญบริษัทซอฟต์แวร์รายเล็กต้องสามารถเข้าสู่ตลาดภาคราชการได้

บทบาทของ SIPA ที่นอกจากการร่วมมือสร้างมาตรฐานร่วมกับอีก 2 หน่วยงานแล้ว หน้าที่ในการส่งเสริมผู้ประกอบการในด้านการตลาดมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด เพื่อทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ รู้จักโครงการนี้ และรู้ว่ามาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเช่นไร และสนับสนุนให้งบประมาณเพื่อให้ซอฟต์แวร์ ต่างๆ สามารถเข้าร่วมกับมาตรฐานนี้ในชั้นต้น เป็นเรื่องที่ SIPA ให้ความสำคัญ

ภายในปีนี้ SIPA จะมีการจัดประกวดซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในงานภาครัฐ โดยอิงกับมาตรฐานที่ร่วมกัน 3 หน่วยงานเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการตัดสิน ซึ่งถือว่าผลงานที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินแม้จะไม่ได้รางวัลชนะเลิศ แต่ก็สามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านี้เข้าไว้ในหมวดการให้บริการ G-SaaS ได้ในทันที จะเป็นประโยชน์กับวงการซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้เป็นทางเลือกกับภาคราชการของไทย

การจัดประกวดในปีนี้ทาง SIPA คาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในงาน Software Expo ที่ทาง SIPA จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ และการจัดประกวดจะแยกจากงาน Thailand ICT Award หรือ TICTA ที่จะขึ้นในปลายปีนี้ จึงถือเป็นการจัดประกวดที่มีความเฉพาะทาง และเน้นหนักเพื่อเข้าสู่ระบบ G-SaaS เท่านั้น

นอกจากนั้นทาง SIPA เตรียมดำเนินตั้งกองทุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อเข้าสู่ มาตรฐาน และทำงานบนคลาวด์ให้กับซอฟต์แวร์ไทยที่สนใจ โดยเงื่อนไขและรายละเอียดนั้นกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

การเข้าร่วมสร้างระบบ G-SaaS ของ SIPA ในครั้งนี้ มั่นใจว่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดซอฟต์แวร์ของไทยในตลาดราชการซึ่งมีมูลค่า มหาศาล และในช่วงเริ่มต้นคาดว่ามูลค่าตลาดรวมของซอฟต์แวร์ไทยที่เข้าร่วมในปีแรกจะ มีประมาณ 300 ล้านบาท และจะขยายเติบโตมากขึ้นในปีต่อๆ ไป ดังนั้นตลาดกลุ่มราชการจึงเป็นกลุ่มหลักของซอฟต์แวร์ที่ SIPA ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนวงการเลยทีเดียว

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า การเข้าสู่ระบบ G-SaaS ของซอฟต์แวร์ไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการใหม่ แน่นอนอย่างแรกคือการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์จากระบบเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบ คลาวด์คอมพิวติ้ง และในแต่ละหมวดที่ EGA กำหนดมานั้นก็จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป เป็นเรื่องที่ ซอฟต์แวร์ไทยต้องทำการศึกษา ดังนั้นทั้งคลาวด์และมาตรฐานซอฟต์แวร์ในแต่ละหมวด ทางซอฟต์แวร์พาร์คต้องเร่งสร้างซอฟต์แวร์ไทยให้รองรับได้

แผนงานของซอฟต์แวร์พาร์คในโครงการนี้คือ การเร่งสร้างมาตรฐานของซอฟต์แวร์ทุกหมวด ร่วมกับ EGA และ SIPA ให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ทั้งรายเล็ก รายใหญ่สามารถนำไปอ้างอิงและพัฒนาต่อไปได้ทั้งหมด โดยซอฟต์แวร์จะนำผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเข้าร่วม เพื่อทำให้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

ต่อจากนั้นซอฟต์แวร์พาร์คจะเตรียมหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับ คลาวด์คอมพิวติ้ง และการปรับมาตรฐานให้ตรงกับ G-SaaS ขึ้นมา และจะมีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากร ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นซอฟต์แวร์พาร์คจะร่วมกับ EGA และ SIPA คัดเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม เข้าสู่ระบบ G-SaaS รวมถึงร่วมประเมินว่าซอฟต์แวร์นั้นๆ มีการเข้ากันกับระบบ และเหมาะสมต่อการใช้งานจริงหรือไม่ รวมถึงดูแลเรื่องความปลอดภัย และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ภาครัฐเกิดความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งหากรายใดไม่ผ่านเกณฑ์ทางซอฟต์แวร์พาร์คอาจเข้าร่วมประเมินและเข้าไปช่วย เรื่องการฝึกอบรมก่อน หากยังไม่ผ่านเกณฑ์ก็จำเป็นต้องคัดออกมาพัฒนาก่อน

ปัจจุบันซอฟต์แวร์พาร์คอยู่ระหว่างการแบ่งหมวดซอฟต์แวร์ที่อยู่ในการดูแลของ ซอฟต์แวร์พาร์ค โดยหมวดของราชการก็จะเป็นหมวดหนึ่งในด้านการส่งเสริม ซึ่งเท่ากับจะเป็นการเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้เข้าสู่ตลาดภาคราชการที่มีขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดตลาดใหม่ที่มีความต้องการใช้ซอฟต์แวร์จำนวนมากขึ้นมา

ภายใต้แนวคิดการเป็น Gateway to Global Market ของซอฟต์แวร์พาร์ค จะทำให้เกิดการ รวมตัวของซอฟต์แวร์ทางด้านราชการขึ้นมา โดยซอฟต์แวร์พาร์คจะทำการรวบรวม และสร้างฐานข้อมูลเชื่อมโยงโซลูชันระหว่างกัน รวมถึงการสร้างมาตรฐานเพื่อเกิดเป็นแพลตฟอร์มใหม่ในการช่วยเหลือด้านการตลาด ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการสร้างฐานกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านราชการให้เข้มแข็งขึ้น

ใช้พลังมวลชน ช่วยหาข้อมูลในภาพ

“CrowdSend ขอให้ผู้ใช้ช่วยใส่ข้อมูลลงใน tag ของภาพที่มีผู้เลือกมา”

4 crowdsend

ปัญหาหนึ่งของภาพผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใส่ไว้บนอินเทอร์เน็ตคือ ภาพมักจะถูกแยกออกจากคำบรรยายของตัวมันเอง โดยเฉพาะเมื่อผู้ใช้แชร์ภาพนั้นไปแล้วไม่ได้ใส่ลิงก์ให้กลับไปดูแหล่งที่มา CrowdSend อยากจะช่วยแก้ปัญหาภาพที่ไม่มีที่มาเหล่านั้น จึงขอให้ผู้ใช้ต่างๆ ช่วยใส่ tag ภาพพร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไปด้วยกัน

 ผู้ใช้เว็บที่มีปัญหาว่า เปิดเว็บมาพบผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองชอบแต่ไม่รู้ว่าจะไปหาซื้อได้ที่ไหน สามารถเข้าไปสร้างบัญชีผู้ใช้กับ CrowdSend ได้ แล้วใส่ภาพของผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการเพื่อถามคนอื่นๆ ว่ารู้จักสิ่งนั้นบ้างหรือเปล่า ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็จะสามารถให้คำแนะนำว่าของนั้นอาจจะเป็นอะไรได้บ้าง คำตอบที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะถูกนำไปติดไว้กับภาพนั้นเหมือนกับ tag ของภาพ พร้อมๆ กับข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ยี่ห้อ รุ่น และที่ที่จะหาซื้อได้ สมาชิกจะได้รับรางวัลเป็นส่วนลดราคาสินค้าถ้าสามารถบอกได้ถูกต้องว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ คืออะไร นอกจากนี้สามารถปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์นั้นได้ด้วย เช่น กด like ให้ ใส่ผลิตภัณฑ์นั้นไว้ใน wishlist ของตน หรือบอกให้คนอื่นๆ รู้ว่าได้เป็นเจ้าของแล้ว

 ส่วนข้อมูลที่ tag ไว้นั้นก็จะถูกส่งต่อไปยังบริษัทผู้ผลิต ทำให้บริษัทสามารถติดตามดูว่ามีผู้สนใจสินค้าของตนแค่ไหน และถ้ามีคนสนใจ ก็ให้พวกเขารู้ว่าสามารถหาซื้อได้ที่ไหน แพลตฟอร์มของ CrowdSend นี้ยังช่วยให้ tag ของสินค้านั้นๆ ฝังตัวไปในเว็บไซต์อื่นๆ ได้ โดยจะมีข้อความใน tag นั้นปรากฏขึ้นเมื่อผู้ใช้ลากเมาส์ไปบนภาพของสินค้า

 เหมือนกับที่ VideoDeals ตั้งเป้าหมายว่าจะทำวิดีโอให้กับสินค้าต่างๆ CrowdSend ก็หวังว่าจะใช้ขุมพลังของอินเทอร์เน็ตเพื่อเปลี่ยนภาพนิ่งๆ ให้เป็นอะไรที่มีประโยชน์มากขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากขึ้น ถึงแม้ว่าตอนนี้ CrowdSend ยังอยู่ในช่วงทดสอบอยู่ก็ตาม แต่ก็มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 25 ล้านชิ้นที่ถูกนำมา tag ไว้แล้ว

 หรือนี่จะเป็นอนาคตของสื่อด้านภาพบนอินเทอร์เน็ตนะ?

(จากคอลัมน์ New Idea / Eworld#May /2013 โดย : ศิรวิชญ์ บุญซื่อ)

Motorola MC45 โฉมใหม่ของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา สำหรับงานภาคสนามและงานบริการ

ImageMC45 เป็นคอมพิวเตอร์พกพาระดับเอนเตอร์ไพรส์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งในงานภาคสนามไปจนถึงการใช้งานในคลังสินค้า เพราะได้รับการติดตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ระดับอุตสาหกรรมเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน สามารถสั่งสแกนบาร์โค้ดได้สะดวกรวดเร็วด้วยการกดปุ่มบนตัวเครื่อง

มีความทรหดภายใต้มาตรฐานการตกหล่น MIL-STD 810G ทำให้ MC45 มีความทนทานต่อการตกลงบนพื้นคอนกรีตที่ความสูง 0.9 เมตร โดยที่ยังคงสามารถทำงานได้ตามปรกติ ขณะที่ความทนทานภายใต้มาตรฐาน IP64 ทำให้แสดงถึงการที่เครื่องได้รับการผนึกป้องกันชิ้นส่วนภายในจากความชื้น ฝุ่นละออง และสามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำเพียง -10 องศาหรือสูงถึง 50 องศาเซลเซียสได้อย่างสบายๆ

ตัวเครื่องขนาด 14.2 x 6.6 x 2.5 เซนติเมตร หนักเพียง 247.4 กรัมเท่านั้น ถือว่ามีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ระดับเอนเตอร์ไพรส์รุ่นอื่นๆ ในปัจจุบัน

 

เพื่อตอบสนองการใช้งานคอมพิวเตอร์พกพาในองค์กร MC45 สามารถทำงานร่วมกับโซลูชั่นในการบริหารอุปกรณ์พกพาจากศูนย์กลางอย่าง Mobility Services Platform (MSP) ของโมโตโรล่า ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงจากระยะไกล อัพเดต ติดตาม และแก้ปัญหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาของโมโตโรล่าได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการให้ต่ำลงอย่างเห็นผล

 

คิงส์ตันเปิดตัวหน่วยความจำ HyperX มาตรฐาน Intel XMP สำหรับแพลตฟอร์ม Haswell

Imageบริษัท คิงส์ตัน เทคโนโลยี ประเทศไทย ผู้ผลิตและพัฒนาหน่วยความจำรายใหญ่ของโลก เปิดตัวโซลูชั่นหน่วยความจำ HyperX ซีรีส์ใหม่มาตรฐาน IntelXMP สำหรับ Haswell แพลตฟอร์มหน่วยประมวลผล i7, i5 และ i3 และชิปเซ็ต Z87 เจนเนอเรชันที่สี่

หน่วยความจำ Kingston HyperX มีให้เลือกหลากหลายขนาดตั้งแต่ 1600MHz ถึง 2666MHz ในชุดคิทแบบสองตัวและสี่ตัว พร้อมรับประกันตลอดอายุการใช้งานปละบริการสนับสนุนด้านเทคนิคฟรี

ดูรายการหน่วยความจำ HyperX มาตรฐาน IntelXMP ได้ที่

www.intel.com/content/www/us/en/gaming/gaming-computers/intel-extreme-memory-profile-xmp.html?wapkw=xmp+memory

ฟูจิตสึ คว้ารางวัล Cisco FY12 Top Year over Year Growth

คุณธวัลรัตน์   แหลมสุวรรณชื่น จากบริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับโล่รางวัล Cisco FY12 Top Year over Year Growth จากซิสโก้ ในฐานะพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้วยผลงานยอดเยี่ยม ในสาขา 2 Tier Partner ประจำปี 2012 ภายในงาน Cisco Thailand Partner Conference 2013 ณ จังหวัดภูเก็ต

Fujitsu

Dell 5460

vostro5460-1 (2)

เดลล์ เผยโฉม Dell 5460 อัลตร้าบุ้คและโน้ตบุ้ค 14” ที่บางเบาที่สุดในโลก
แต่จัดเต็มประสิทธิภาพ ผสานเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ากับวัสดุและดีไซน์ชั้นยอด
บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ขอแนะนำโน๊ตบุ๊ครุ่นล่าสุด เดลล์ 5460 (Dell 5460) ที่บางเบา คล่องตัว เติมเต็มไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลาและต้องการประสิทธิภาพในการทำงานผสานกับศักยภาพในการตอบสนองด้านเอนเตอร์เทนเมนต์อย่างลงตัว กับเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ากับวัสดุ และดีไซน์ชั้นยอดผลิตจากบลัชอลูมิเนียมเนื้อดี พื้นผิวสัมผัสเนียนลื่น เรียบเท่ห์ด้วยสี Graphite Silver มีน้ำหนักเบาเพียง 1.54 กิโลกรัม และความหนาของตัวเครื่องเพียง 18.3 มิลลิเมตรเท่านั้นทำให้ง่ายต่อการพกพาไปในที่ต่างๆ  Superior Performance ผ่านระบบประมวลผลอย่างรวดเร็วเต็มประสิทธิภาพ ด้วยชิฟอัจฉริยะ 3rd Generation Intel® CoreTM i3 และ i5 processor และระบบปฏิบัติการ Window 8  ซึ่งรองรับการทำงานแบบ Multi – Programming ลดทอนการทำงานโปรแกรมหลังบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อลดการทำงานที่ไม่จำเป็นในขณะนั้น ทำให้สามารถ ทำงานไปพร้อมๆ กับการดูหนังเรื่องโปรด ได้อย่างไม่สะดุด สามารถแชร์ผ่าน Social Media ได้อย่างรวดเร็ว เต็มอิ่มทุกความบันเทิงผ่านหน้าจอขนาด 14” คมชัดทุกมุมมองด้วยหน้าจอระบบ HD ผ่านระบบเสียง MaxxVoice Pro  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านเสียงที่ดีที่สุดที่มาพร้อมกับ Subwoofer จึงมีเสียงที่คมชัด แม้การติดต่อผ่าน Video Call เพราะมีไมโครโฟนทั้งด้านหน้าและพิเศษที่ฝาหลัง ทั้งยังสามารถระบายความร้อนได้มากกว่าเดิมด้วยระบบ Dual Fan 

สามารถชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.dell.co.th หรือ https://www.facebook.com/DellThailand และ Instagram “Dellthailand”

You may have missed