04/27/2024

Month: January 2013

เบลกิ้น ประกาศแผนการควบรวมกิจการ home networking ของ Cisco

25 มกราคม 2556 – เบลกิ้น บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ แคลิฟอร์เนีย และมีฐานปฏิบัติการในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ได้ประกาศการเจรจาข้อตกลงระหว่างเบลกิ้น และ บริษัท Cisco ถึงการซื้อธุรกิจส่วน ระบบเครือข่ายในบ้านของ Cisco ซึ่งประกอบ ด้วย ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี แบรนด์ Linksys และ พนักงาน ปัจจุบัน Linksys มีเครือข่ายสำนักงานอยู่ทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ แคลิฟอร์เนีย เช่นเดียวกัน

“เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากกับการประกาศครั้งนี้” เช็ต พิพคิน ประธานบริหาร เบลกิ้น กล่าว “ทั้งสองบริษัทมีอะไรที่คล้ายคลึงกันหลายอย่าง ตั้งแต่การก่อตั้งธุรกิจ ไปจนถึง การมุ่งมั่นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรที่ผลักดันให้พนักงานมีความคิดริเริ่ม เป้าหมายของเบลกิ้นคือการก้าวขึ้นเป็นผู้นำระบบเครือข่ายในบ้าน ในระดับสากล และการเข้าซื้อธุรกิจครั้งนี้จึงเป็นก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จอีกก้าว หนึ่ง”

เบลกิ้นวางแผนว่าจะรักษาแบรนด์ Linksys ไว้ และให้การสนับสนุนในการผลักดันผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ทั้งนี้การเบลกิ้นจะเป็นผู้รับรองผลิตภัณฑ์ Linksys ที่ได้วางขายอยู่ปัจจุบันและในอนาคต ทันทีที่การลงนามสัญญาเกิดขั้น เบลกิ้นจะมีสัดส่วนในตลาดระบบเครือข่ายในบ้านและบริษัทขนาดย่อม ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในสหรัฐอเมริกา

“Linksys นับเป็นผู้ริเริ่มในการผลิตอุปกรณ์เพื่อการเชื่อมโยง แบบไร้สาย และเป็นที่รู้จักในตลาดพรีเมียมเป็นอย่างดี ฐานลูกค้าที่มั่นคง และให้การไว้วางใจมาโดยตลอด ผู้บริโภคจึงรู้สึกอุ่นใจเมื่อซื้อสินค้า Linksys มาใช้ภายในบ้าน ในส่วนของเบลกิ้นเอง เรามีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึก ประกอบกับประสบการณ์ ความชำนาญในด้านโซลูชั่นส์ และผลิตภัณฑ์ คุณภาพสูงต่างๆที่เราให้วางจำหน่าย อย่างเช่น WeMo ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่จะช่วยส่งเสริมตำแหน่งทางการตลาดของ Linksys ไปในเวลาเดียวกัน”

“Linksys เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบเครือข่ายในบ้าน เราได้ออกแบบผลิตภัณฑ์และการบริการชั้นนำเพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง” ฮิลตัน โรมันสกี รองประธานบริหาร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Cisco กล่าว “Linksys ภายใต้แบรนด์แม่ Cisco ได้มีการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่แบรนด์ เพื่อเป็นผู้นำในตลาด โดย Cisco มองว่า ความสัมพันธ์กับเบลกิ้นในครั้งนี้จะเป็นการสานต่อความสำเร็จของ Linksys ต่อไป”

“การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันของเบลกิ้นและ Linksys จะนำเบลกิ้นขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำใน ตลาดระบบเครือข่ายของสหรัฐอเมริกา จากการผสมผสานนวัตกรรม และกลยุทธ์ ที่จะมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงโอกาสใหม่ๆให้แก่ตัวแทนจำหน่ายทึกๆราย เบลกิ้นยังได้ฐานลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ใช้อยู่แล้ว ที่จะได้รับประโยชน์จากการอัพเกรดเครือข่ายภายในบ้านให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น เพื่อการใช้สมาร์ทโฟน แท๊บเล็ต โน๊ตบุ๊ค หรือ ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างาสะดวกสบาย” พิพคิน กล่าว “นอกจากนั้น Linksys จะช่วยตอกย้ำ ศักยภาพการตอบโจทย์ความต้องการในผู้บริโภค ทั้ง เซอร์วิสโพรไวเดอร์ และ ธุรกิจขนาดย่อม”

เบลกิ้น และ Cisco มุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาความสัมพันธ์นี้ในหลายภาค ส่วน ได้แก่ การจัดจำหน่ายในรูปแบบปลีก การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตลาด เซอร์วิสโพรไวเดอร์ การนำซอฟต์แวร์ โซลูชั่นส์ ของ Cisco มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของเบลกิ้น จะทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์เหนือระดับ ด้วยการนำนวัตกรรมของทั้งสองบริษัทมาผสมผสานกัน จะได้แพลตฟอร์มที่มีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายใน บ้านที่มีความล้ำหน้า

“ที่เบลกิ้น เรามีความตั้งใจที่จะมอบประสบการณ์เหนือชั้นสำหรับเทคโนโลยีไร้สาย และ ระบบควบคุมอุปกรณ์ภายในบ้าน” พิพคิน กล่าว “การเข้าซื้อธุรกิจ Linksys รวมถึงการผสมผสาน ความเชี่ยวชาญระหว่างเบลกิ้นและ Linksys จะช่วยให้ เราอยู่ในตำแหน่งที่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ บริโภคในยุค ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามการพัฒนาของเทคโนโลยี เราตั้งตารอการได้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Linksys มาเป็นส่วนหนึ่งของเรา และ พัฒนาสินค้าต่างๆภายใต้ Linksys ต่อ ไป เราจะร่วมกันมอบแพลตฟอร์มเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง และ ใช้งานง่าย สู่ผู้บริโภคในตลาดของเรารอบโลก”

รายละเอียดทางการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายในครั้งยังไม่ถูก เปิดเผยสู่สาธารณะ ข้อตกลงทางธุรกิจในครั้งนี้ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา และ มีกำหนดสิ้นสุดการตกลงภายในเดือนมีนาคม 2556

มาทำความรู้จักกับ Microsoft Private Cloud

โดย วิสิทธ์ ทองภู่ (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน มีนาคม 2012)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เรื่องราวที่ผมจะนำเสนอในบทความนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud Computing โดยใช้เทคโนโลยีและโซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ครับ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเรื่อง ราวของ Cloud นั้นกำลังเป็นสิ่งที่หลายๆ องค์กรกำลังให้ความสนใจและเตรียมวางแผนที่จะใช้งาน Cloud เพื่อนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาช่วยปรับปรุงทำให้ ระบบคอมพิวเตอร์หรือไอทีสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนอง ความต้องการทางธุรกิจ อีกทั้ง Cloud ยังช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ขององค์กรมีความยืดหยุ่นและทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และ สิ่งที่ขาดไม่ได้แน่นอนคือช่วยองค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ครับ จากการที่ผมได้ พบปะและพูดคุยกับลูกค้า พบว่าหลาย ๆ ท่านยังขาดความเข้าใจและยังสับสนกับ Cloud โซลูชั่นที่มีอยู่ในท้องตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นของทาง Microsoft, Google และอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้ง Cloud ยังมีหลายชนิดให้เลือกใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Private และ Public Cloud ครับ ดังนั้นผมจึงอยาก นะหยิบยกเอาเรื่องราวของ Cloud ของทางไมโครซอฟท์ มาให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบและเข้าใจอย่างถูกต้องกันครับ เพื่อที่จะได้สามารถทำการวางแผนในการที่จะนำเอา Cloud เข้ามาใช้งานในองค์กร และ ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับ Cloud กันก่อนว่าคืออะไรครับ

Cloud Computing คืออะไร ?

ก่อนอื่นต้องขอบอกท่านผู้อ่านเอาไว้ก่อนว่า คำนิยามของ Cloud Computing นั้นมีอยู่มากมายครับ แต่สำหรับผมแล้วผมได้พยายามเรียบเรียงให้ท่านผู้อ่าน สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายว่า Cloud Computing คือ การให้บริการทางด้านไอทีหรือคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มตั้งแต่ สายแลนที่เชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องของผู้ใช้งานในองค์กร และเชื่อมต่อไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ นอกจากนั้นยังมีสายไฟที่นำกระแสไฟฟ้ามาให้เครื่องของเรา และเซิร์ฟเวอร์ทั้งหมดในองค์กรสามารถทำงานได้ และยังรวมไปถึงฮาร์ดแวร์ ต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู, แรม, ดิสก์ และเน็ตเวิร์ค นอกจากนี้ แล้วยังมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ให้บริการกับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น ระบบเมล, ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ ดัง นั้นเราจึงนิยามว่า Cloud Computing คือ การให้บริการทางด้านไอทีที่ครอบคลุมทั้งหมด ไม่ได้เฉพาะเจาะจงถึงส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น ไม่ได้ระบุหรือเฉพาะเจาะจงที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียว หรือไม่ได้มองเฉพาะแค่แอพพลิเคชั่นอย่างเดียว แต่มองทั้งหมดว่านี่คือการให้บริการทางด้าน ไอที หรือเรียกว่า “IT as a Service” ครับ แต่มีสิ่งที่สำคัญคือ การให้บริการที่ว่านี้จะเป็นแบบ On-demand และทางผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน, เพิ่มหรือลดและจัดการสิ่งที่อยู่ใน Cloud ได้ด้วยตัวเองไม่ต้องอาศัยผู้ดูแลระบบครับ เอาล่ะครับหลังจากทราบกัน แล้วว่า Cloud คืออะไรกันแล้ว ในส่วนที่ผมจะอธิบายต่อไป คือ คุณสมบัติของ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Private หรือ Public ก็ จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ครับ

เริ่มด้วยคุณสมบัติแรกคือ Resource Pooling คือ การนำเอา Resources ต่างๆ มารวมและแชร์กันใช้งาน เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร สิ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านเข้าใจ คือ คำว่า “Resource” ในมุมของ Cloud คือ สิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • ซี พียู, แรม
  • ดิสก์ และสตอเรจ
  • เน็ต เวิร์ค
  • Virtual Machines

โดย Resource เหล่านี้จะถูกกำหนดให้ถูกนำไปใช้งานใน Cloud โดยผู้ใช้งานในองค์กรจะเป็นผู้ที่เข้ามาใช้งาน Resource Pool ดังกล่าวนี้ เพราะฉะนั้นในงานจริง เราจะต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมฮาร์ดแวร์สำหรับที่จะนำมาทำเป็น Resource Pool เพื่อรอง รับการใช้งานในองค์กรครับ

คุณสมบัติต่อมาคือ Rapid Elasticity คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ใช้บริการ Cloud สามารถปรับเปลี่ยน Resource ได้ตามความ ต้องการ เช่น ถ้าผมเปิดให้บริการ E-Commerce เว็ปไซต์ ผมมีการวางแผนและคาดการณ์ว่าในช่วงปีใหม่จนถึงตรุษจีน จะมีลูกค้ามาใช้บริการเว็ปไซต์ของผมเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นผมสามารถวางแผนในการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติม จำนวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผมให้สามารถรองรับกับความต้องการและแผน ดังกล่าวนี้ได้ และ เมื่อผ่านพ้นช่วงเทศกาลไปแล้วผมสามารถปรับลดจำนวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ของผมลงให้เหลือตามปรกติ ซึ่ง กระบวนการทั้งปรับเพิ่มและลดจำนวนเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ผมกล่าวไป นั้นคือการที่ผมสามารถทำได้โดยอัตโนมัติและได้ด้วยตัวเองครับ

คุณสมบัติต่อไปคือ On-demand Service ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกอันหนึ่งสำหรับ Cloud คือ การที่ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน Resource ของตัวเองและทำด้วยตัวเอง ไม่ต้องเสียเวลารอผู้ดูแลระบบอีกต่อไป ผมยกตัวอย่างเรื่องของการสร้าง Virtual Machine ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ในปัจจุบันกระบวนการในการส ร้าง Virtual Machine สำหรับองค์กรที่นำเอาเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาใช้งานนั้น การสร้างตลอดจนการจัดการ Virtual Machines จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบครับ เพราะฉะนั้นถ้าหากผมต้อง Virtual Machine สักตัวหนึ่งมาใช้งาน ผม จะต้องทำการติดต่อไปยังแผนกไอทีเพื่อช่วยจัดการเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ได้ทำให้ผมทันทีแน่ นอนครับ อาจจะต้องรอสัก 1-2 วัน หรืออาจจะมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับนโยบายและขั้นตอนของแต่ละองค์กร แต่ถ้าผมใช้ Cloud ผมสามารถทำสิ่งที่ผมต้องการได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลารอครับ

ไปกันที่คุณสมบัติต่อไปคือ Measured Service คือ เราสามารถทำการติดตามข้อมูลการใช้งาน Resource ต่างๆ ที่อยู่ใน Cloud ได้ครับ และเราสามารถทำกระบวนที่เรียกว่า Chargeback หรือคิดค่าบริการกับผู้ใช้งานหรือหน่วยงานที่ใช้งาน Resource ที่อยู่ใน Cloud ได้ ตามที่ใช้จริงครับ

และคุณสมบัติสุดท้ายคือ Broad Network Access คือ ผู้ใช้งานหรือผู้ใช้บริการสามารถใช้งาน Cloud ได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศ, ที่บ้าน และที่ใดก็ได้ครับ

เรื่องต่อไปคือ Cloud Computing Service Models คือรูปแบบการให้บริการ Cloud จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังรูปด้านล่างครับ

เริ่มจากรูปแบบแรก คือ Infrastructure as a Service (IaaS)

คือ การให้บริการ Resources ต่างๆ (ดูความ หมายจากข้างต้นครับ) พร้อมกับการนำเอาเทคโนโลยี Virtualization เข้ามาช่วยกันทำงาน เพราะฉะนั้น IaaS คือการให้บริการในส่วนที่เป็น Infrastructure ให้กับองค์กร เพื่อใช้งาน และการให้บริการที่ว่านี้คือ การสร้าง Private Cloud นั่นเองครับ

รูปแบบที่สองคือ Platform as a Service (PaaS)

คือ การให้บริการในส่วนของ Platform ที่เราสามารถใช้ในการสร้างพัฒนา, ทดสอบ และอื่นๆ สำหรับแอพพลิเคชั่นและเซอร์วิสต่างๆ ตัวอย่างเช่น Microsoft Azure, GoogleAppEngine เป็นต้นครับ

รูปแบบที่สามคือ Software as a Service (Saas)

คือ การให้บริการแอพพลิเคชั่นบน Cloud เช่น MS. Office365, Exchange Online, SharePoint และอื่นๆ อีกมากมายครับมีอีกส่วนหนึ่งที่ผมจะอธิบายเพิ่มเติม คือ On-Premise (ด้านซ้ายสุดของรูป) คือ ระบบ Data Center ที่มีอยู่แล้วในแต่ละองค์กร โดยบางองค์กรอาจจะยังมี เซิร์ฟเวอร์ ที่เป็น Physical ทั้งหมดอยู่ใน Data Center หรือบางองค์กรเริ่มนำเอา Virtualization เทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและปรับปรุงให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาถึงตรงนี้สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ท่านผู้อ่านสังเกตคือ เทคโนโลยี Cloud จะเป็นขั้นตอนต่อไปสำหรับองค์กรที่นำเอา Virtualization เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Hyper-V, VMWare หรือ XenServer เข้ามาใช้งาน Cloud จะเป็นส่วนที่เข้ามาต่อยอด เพื่อทำให้การบริการมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาศัย Virtualization เป็นพื้นฐานครับ และรูป ด้านล่าง จะเป็นสิ่งที่แสดงถึงเส้นทางที่ท่านผู้อ่านสามารถจะปรับปรุงและ เปลี่ยนแปลงระบบจากปัจจุบันที่มีอยู่เข้าสู่ Cloud ครับผม

สำหรับเรื่องราวต่างๆ ข้าง ต้นจะเป็นเรื่องของ Cloud ทางด้านทฤษฏีครับ เรื่องถัดไปผมจะนำเสนอ Cloud ของทางไมโครซอฟท์ครับ ว่ามีคอนเซปอย่างไร ตลอดจนส่วนประกอบและวิธีในการสร้างและใช้งาน Cloud ของทางไมโครซอฟท์ว่าเป็นอย่างไร

Microsoft Private Cloud คืออะไร

คือ การจัดเตรียม Resources ต่างๆ ขึ้นมาเพื่อให้บริการกับองค์กรเดียวเท่านั้น เช่น ถ้าท่านผู้อ่านทำการสร้าง Cloud ขึ้นมา และกำหนดให้สำหรับออฟฟิศของท่านผู้อ่านใช้อ่านเพียงองค์กรเดียว แบบนี้แหละครับเราจะเรียก Cloud ที่สร้างขึ้นมาในลักษณะแบบนี้ว่า Private Cloud ครับผม และรูปด้านล่างจะเป็นโซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ที่เตรียม ไว้ให้เราใช้งาน โดย ครอบคลุมทั้ง 3 Cloud Service Models ครับ

สำหรับบทความนี้ผมจะโฟกัสไปที่ Iaas Service Model หรือการสร้าง Private Cloud โดยใช้โซลูชั่นของทางไมโครซอฟท์ โดยประกอบไปด้วย Microsoft Windows Server 2008 R2 Hyper-V และ Microsoft System Center 2012 Suite ย้ำ นะครับถ้าจะสร้าง Private Cloud ผมแนะนำครับว่าจะต้องใช้ทั้ง Windows Server 2008 R2 และ System Center 2012 ครับ โดย เฉพาะตัวของ System Center 2012 นั้นถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการบริหารและจัดการ Cloud ไม่ว่าจะเป็น Private และ Public Clouds ดังนั้นถ้า เราต้องการสร้าง Private Cloud โดยใช้โซลูชั่นของไมโครซอฟท์ เราจะต้องมี Windows Server 2008 R2 Hyper-V ซึ่งเป็น Hypervisor ที่จัดทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการ Resources ครับ ส่วนการ บริหารและจัดการ Cloud จะเป็นหน้าที่ของ System Center 2012 ดังรูป

มาถึงตรงนี้ผมมีคำถามนึงที่อยากจะถามท่านผู้อ่านครับ ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่ผมถูกถามบ่อยมากครับ เพราะลูกค้าที่มาเรียนหรือที่ผมเป็นที่ปรึกษาให้ยังมีความ สับสน เอาล่ะครับมาลองดู คำถามกันเลย “ถ้าองค์กรที่ มีการย้ายระบบ Datacenter ที่มีเซิร์ฟเวอร์เป็น Physical ไปเป็น Virtual Machines แล้ว นั่นหมายความว่าได้นำเอา Virtualization เทคโนโลยีมาใช้แล้ว จะย้ายระบบดังกล่าวเข้าสู่ Private Cloud ได้ อย่างไร และจำเป็นต้อง ย้ายเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Physical มาเป็น Virtual Machines หรือไม่ และระบบปัจจุบันที่ใช้ Virtualization แล้ว มีความแตกต่างจาก Private Cloud อย่างไร” นี่แหละครับ คำถามทั้งยาว และสร้างความสับสนได้มากพอสมควรทีเดียวครับ ถ้าท่านผู้อ่านเป็นผมจะตอบหรืออธิบายอย่างไรครับ หรือท่านผู้อ่านบางท่านที่ อ่านบทความตอนนี้และมาถึงจุดนี้อาจจะมีคำถามคล้ายๆ แบบนี้ก็ได้ครับ ผมให้ เวลาท่านผู้อ่านสัก 1-2 นาทีครับ…..

เอาล่ะครับได้เวลาตอบคำถามแล้วครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีคำตอบ แล้ว เรามาลองดูครับว่าตรงกับคำตอบที่ผมกำลังจะเฉลยและอธิบายหรือ ไม่ คำตอบ คือ องค์กรที่ได้ย้ายระบบที่เป็น Physical เข้าสู่ Virtualization แล้วต้องบอกว่าสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมระบบเข้าสู่ Private Cloud ได้ครับ และถ้าท่านผู้อ่านสังเกตบทความนี้ของผม ในตอนต้นผมได้อธิบายไปแล้วว่า Virtualization เป็นพื้นฐานที่สำคัญให้กับระบบไอทีขององค์กรที่จะก้าวเข้าสู่ Cloud ครับ สำหรับคำถามที่ถามถึงความแตกต่างระหว่างระบบที่ได้นำเอา Virtualization มาใช้แล้วกับ Private Cloud นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร ผมขอตอบว่ามีความแตกต่างกันแน่นอนครับ ผมขออธิบาย จากรูปด้านล่างครับ

รูปดังกล่าวนี้แสดงถึงการบริหารและจัดการระบบไอทีใน องค์กรที่มีการนำเอา Virtualization มาใช้งานแล้ว ซึ่งผมขอเรียกว่า “Traditional Virtualization” ปัญหาหรือ ข้อจำกัดของ Traditional Virtualization คือ การบริหารและจัดการ Resources ต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ดังนั้นหากผู้ใช้งานใน องค์กรต้องการ Virtual Machine มาใช้งานแอพพลิเคชั่นของแผนก ก็จะต้องทำการร้องขอทางเมล, ทางโทรศัพท์ หรือทางอื่นๆ แล้วแต่นโยบายของแต่ละองค์กร สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้ใช้งานที่ร้องขอจะต้องรอจนกว่าผู้ดูแลระบบจะทำการสร้าง Virtual Machine และติดตั้งระบบปฏิบัติตามที่ได้ร้องขอเอาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน และนอกจากนี้แล้วหลังจาก ที่ได้ Virtual Machine แล้ว หากผู้ใช้งานมีความต้องการ อื่นๆ เพิ่มเติมอีก เช่น ต้องการ Virtual Machine เพิ่ม หรือต้องการปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ใน Virtual Machine เช่น ต้องการ Virtual Processor, Virtual Memory และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งการร้องขอเพิ่มเติมก็จะพบปัญหาเดียวกันคือ การใช้เวลานานในการจะทำสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ เพราะจะต้องรอให้ผู้ดูแลระบบเป็นผู้จัดการอีกเช่นเดียวกัน นี่คือปัญหาหรือข้อจำกัด ของ Traditional Virtualization ครับ แต่ถ้าผมจะบอกว่าความต้องการดังกล่าวของผู้ใช้งานจาก ตัวอย่างนี้ สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวของเขาเอง ไม่ต้องรอหรือให้ผู้ดูแลระบบมาจัดการให้เหมือนเช่นเคย นอกจากนี้แล้วหากผู้ใช้งานต้องการอะไรเพิ่มเติมก็สามารถทำ ได้แบบ On-demand ทันทีเช่นกัน และการกระบวนการดังกล่าวจะทำให้โดยอัตโนมัติ และผู้ใช้งานที่ร้องขอไม่จำเป็นที่จะต้องทราบเรื่องราวของ Virtualization ต่างๆ เลย แต่สามารถที่จะทำการสร้าง Virtual Machine ได้ด้วยตัวเอง และคำตอบที่ผมตอบและอธิบายนี้คือความแตกต่างระหว่าง Traditional Virtualization กับ Private Cloud ครับ และในเวลาเดียวกันท่านผู้อ่านจะทราบถึงข้อจำกัดของ Traditional Virtualization ไปด้วยครับ สำหรับรูปต่อมา จะแสดงถึงคอนเซปการทำงานของ Private Cloud ที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากกว่า

โดยเริ่มจากผู้ดูแลระบบทำการสร้าง Private Cloud เตรียมไว้ก่อน จากนั้นทำการกำหนดผู้ใช้งานว่ามีใครบ้างที่สามารถใช้งานได้ นอกจากนี้แล้วผู้ดูแลระบบยังสามารถกำหนด Quota (โควต้า) ของ Resources ใน Cloud ได้ว่าจะมี Capacity เท่าใด และยังสามารถ กำหนดบทบาทต่างๆ ให้กับ ผู้ใช้งานได้ตามความเหมะสมอีกด้วย รูปต่อไปจะเป็นรูปที่แสดงถึง Products ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Windows Server 2008 R2 Hyper-V และ System Center 2012 Suite ที่จะใช้ในการสร้าง Microsoft Private Cloud

จุดที่น่าสนใจคือในส่วนที่เป็น Hypervisor นั้น Microsoft Private Cloud สามารถบริหารจัดการ Hypervisor ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Hyper-V, VMWare ESX/ESXi และ Citrix XenServer ดังรูป

และ System Center Suite จะเป็นส่วนที่มาบริหารและจัดการ Clouds ครับ สำหรับ รายละเอียดของ System Center 2012 นั้นผมจะทยอยนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันเร็ว ๆ นี้ครับ ผมมีหน้าตาของ VMM 2012 ซึ่งเป็น Product ตัวหนึ่งใน System Center 2012 และเป็นตัวที่ใช้ในการบริหารและจัดการ Clouds ดังรูปด้านล่างครับ

รูปด้านบนคือ การสร้าง Cloud ใน VMM 2012 และ รูปต่อมาเป็นการกำหนด Capacity ใน Cloud ที่เรา สร้างขึ้น

และรูปต่อมาจะเป็น Self-Service Portal ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้ในการบริหารและจัดการ Cloud ได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอผู้ดูแลระบบ

ผู้ใช้งานสามารถใช้ Self-Service Portal ในการสร้าง Virtual Machine ด้วยตัวเอง ดังรูป

และนี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับ Cloud ที่ผมได้นำเสนอครับ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านที่รักของผมคงจะได้ ประโยชน์ไปบ้างไม่มากก็น้อย และสามารถนำเอาบทความของผมนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการ วางแผนในการเตรียมพร้อมระบบสำหรับการก้าวเข้าสู่ Cloud และ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจเรื่องราว ของ Microsoft Private Cloud สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของทางไมโครซอฟท์ได้เลยครับ ตามลิงก์นี้ครับผม

นอกจากผมยังมี Facebook และ Blog สำหรับให้ท่านผู้อ่านสามารถติดต่อสอบถาม หรือติดตามข่าวสารต่าง ๆ ทางด้าน IT ลองแวะเข้าไปดูกันนะครับ และสำหรับตอนนี้หมดเนื้อที่ แล้วครับ แล้วพบกันใหม่ใน ฉบับหน้าครับผม

10 แนวโน้มสังคมยุคไซเบอร์

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน ธันวาคม 2012)

สงคราม ภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ โรคระบาด คือสามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมอย่างรุนแรงในระยะเวลาอันสั้นๆ มีหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ นั่นคือสงคาม เฉพาะสงครามโลกครั้งที่สองแค่ช่วงเวลาพียง 6 ปี คร่าชีวิตคนไปกว่า 70 ล้านคน

แต่สงครามจะไม่ได้เป็นปัจจัยเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ในช่วงเวลาสั้นๆ อีกต่อไปแล้ว ด้วยความรวดเร็วของพัฒนาการเปลี่ยนแปลง ทำให้เทคโนโลยีกำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมทุกวันนี้ ในอดีตเทคโนโลยีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเฉพาะด้าน ไม่มีผลในวงกว้างถึงระดับสังคม ความต่างของเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับปัจจัยทั้งสามข้างต้นคือเทคโนโลยีไม่ได้เป็นปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงในเชิงลบเท่านั้น แต่มันยังมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอีกมาก ฉบับนี้ ผู้เขียนขอรวบรวมเทคโนโลยีที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม นี่คือสิ่งที่เทคโนโลยีจะเปลี่ยนสังคมของเราให้เป็นสังคมไซเบอร์ในเร็วๆ นี้

  1. อุปกรณ์ไฮเทคจะฝังในตัวเรา การสรรหาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปใส่ในร่างกายมนุษย์มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ไม่ว่าจะเป็นรอยสัก อุปกรณ์ตกแต่งที่เจาะ ใส่เข้าไปในร่างกาย ดังนั้นการนำเอาอุปกรณ์ไฮเทคเข้าไปใส่เพิ่มอีกชิ้นสองชิ้นจึงไม่ใช่เรื่องที่มนุษย์จะขัดขวาง ยิ่งเมื่อสิ่งนั้นเกี่ยวกับสุขภาพหรือความงาม เช่นเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า แท่งซิลิโคนที่ใส่เข้าไปเพื่อเสริมความงาม ความใหญ่บึ๊ก  อีกไม่นาน เราอาจไม่ต้องพกพาบัตรใดๆ ให้เปลืองเนื้อที่กระเป๋า และเปลืองความจำว่า เราจะลืมพกพาไปหรือไม่ ยิ่งในการเดินทางระหว่างประเทศ และคงไม่จำกัดเพียงแค่บัตร เมื่อเครื่องมือการสื่อสารกลายเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของเราไปแล้ว ทำไมเราจะต้องเสียเวลาพกพา ฝังเข้าไปในตัวเราเลยมิดีกว่าหรือ ทุกวันนี้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใส่เข้าไปในฟันของเราเรียบร้อยแล้ว อีกหน่อยทันตแพทย์จะกลายเป็นพนักงานขายโทรศัพท์ให้กับบริษัทผู้ผลิต
  2. เงินจะไม่ได้รับความนิยม พวกฉกชิงวิ่งราวเดือดร้อนแน่ เมื่อนักสังคมวิทยา นักกฎหมาย และนักการเงิน เริ่มเห็นตรงกันว่า เงินกลายเป็นเครื่องมือให้คนถูกทำร้ายได้ง่าย ถูกฉ้อโกงจนทำให้หมดเนื้อหมดตัวได้ แล้วทำไมเราต้องมีเงินให้เป็นปัญหาสังคม เมื่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังถูกฝังในฟันได้ แล้วทำไมระบบการเงินของเราจะถูกใส่เป็นรหัสในตัวเราบ้างไม่ได้ อย่างนี้ผู้ปกครองสบายใจแน่ว่าลูกหลานของตัวเองคงมีเงินกินข้าวกลางวันที่โรงเรียน ไม่ถูกชักจูงไปในการซื้อขนมหรือการเล่นเกมจนอดอาหารแน่
  3. การว่างงานอย่างถาวรจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ผู้เขียนเคยเขียนบทความว่าด้วยเรื่องงานมาหลายครั้งในแง่มุมต่าง ๆ อีกหน่อยคงไม่มีเรื่องงานให้พูดถึงแล้ว เพราะงานจะกลายเป็นสินทรัพย์ที่หายาก คนจะต้องเสียเงินซื้องาน เพื่อให้ตนเองมีงานทำด้วยซ้ำ เมื่อ 50 ปีที่แล้วใครจะเชื่อว่าเราจะเสียเงินซื้อความเหนื่อยในห้องยิมออกกำลังกาย แต่ทุกวันนี้ คนส่วนหนึ่งต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากเพียงเพื่อให้ตนเองได้ออกแรง เพราะวิถีชีวิตไม่เอื้อให้ได้ใช้แรงเหมือนเมื่อก่อน อีกไม่นานก็คงไม่เป็นเรื่องแปลก หากงานจะสูญพันธุ์ไป เมื่อเครื่องจักรต่างๆ ทำการผลิตแทนเราได้ ระบบปัญญาประดิษฐ์ก็เข้ารับงานด้านบริการจนใช้แรงงานน้อยลง คนดูแลเด็กและคนแก่ก็ไปใช้หุ่นยนต์แทน เพราะมีระเบียบกว่า โหดน้อยกว่า ไม่อู้งาน ทนเก็บสิ่งปฏิกูลเราได้ดีกว่ามนุษย์ตัวเป็นๆ เสียอก
  4. งานที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน จะตัดสินใจโดยคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทลดความผิดพลาดจากการตัดสินใจของมนุษย์มากขึ้น ในวงการบินเป็นตัวอย่างสำคัญที่เข้ามาช่วยลดความผิดพลาดจากการตัดสินใจของมนุษย์ได้มาก แม้แต่ในวงการเงินก็มีการเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มนุษย์อาจละเลย รถยนต์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าก็จะมีระบบเบรคอัตโนมัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุให้เรา แต่สิ่งที่จะตามมาคือ ไม่ใช่ปัญหาของคนกับคนเหมือนอย่างทุกวันนี้ แต่จะกลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างคนต่อต้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น หวังว่า ปัญหาคอมพิวเตอร์เป็นกบฏอย่างในภาพยนตร์คงเกิดขึ้นจริงในอนาคต เชื่อว่ามนุษย์คงไม่โง่พอที่จะพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีจิตวิญญาณในระดับนั้น อย่างน้อยๆ ก็ในชั่วชีวิตของผู้อ่านทุกท่านในขณะนี้
  5. ความเป็นส่วนตัวยากที่จะดำรงอยู่ได้ เมื่อหลายปีก่อน คนอังกฤษต่อต้านรัฐบาลที่ติดตั้ง CCTV โดยอ้างว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่ภัยก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น ทำให้คนต้องยอมจำนนยกความเป็นส่วนตัวให้กับส่วนรวม ทุกวันนี้ ท่านลองสังเกตตัวเองดูว่าเวลาเราอยู่ในลิฟต์ ในห้างสรรพสินค้า ในที่สาธารณะ บ่อยครั้งที่เราต้องระวังว่าจะมีกล้องทีวีวงจรปิดจับภาพอุบาดของเราหรือไม่ อย่างน้อยๆ เจ้ากล้องวงจรปิดก็มีอิทธิพลที่ทำให้เด็กนักเรียนคู่หนึ่งที่ไปพรอดรักกันโรงภาพยนต์เสียอนาคต และแพทย์ท่านหนึ่งต้องถูกจองจำ
  6. เทคโนโลยีจะทำให้บ้านเราน่าอยู่อาศัยมากขึ้น ความประหยัดคงไม่ได้จำกัดเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 เท่านั้น แต่จะช่วยให้เกิดความสะดวก ประหยัดมากขึ้นในทุกๆ เรื่อง รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วย ชาวบ้านธรรมดาก็มีสิทธิ์เป็นเจ้าของเครื่องทีวีวงจรปิดได้ง่ายขึ้น ในหลายๆ ประเทศเริ่มบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องติดกล้องโทรทัศน์ด้วย เพื่อว่าเวลาเกิดอุบัติเหตุจะได้ไม่ต้องเถียงกันว่าใครถูกผิด
  7. คนชมภาพยนต์สามารถเปลี่ยนบทในภาพยนตร์ได้ ไม่เพียงแต่เราจะชมรายการทีวีได้ตอนไหนก็ได้เหมือนทุกวันนี้ ลูกของผู้เขียนเลิกติดรายการทีวีและภาพยนตร์ไปนานแล้ว เพราะพวกเขาสามารถเลือกชมเฉพาะตอนที่ชอบในเวลาที่สะดวก จอโทรทัศน์ที่บ้านกลายเป็นที่สะสมฝุ่นอีกชิ้น ในขณะนี้สถานีโทรทัศน์ในอเมริกากำลังทดลองทำรายการที่คนชมสามารถเปลี่ยนบทบาทเองได้ ก็ในเมื่อเกมแข่งขันฟุตบอลเราเองยังเล่นได้ดีกว่าทีมพรีเมียร์ลีกของอังกฤษเสียอีก แล้วอีกหน่อยทำไม เราจะเล่นได้เก่งกว่าเจมส์บอนด์ไม่ได้
  8. สังคมไซเบอร์จะให้น้ำหนักกับความเป็นเจ้าของ อันนี้ไม่เป็นเรื่องแปลก มนุษย์เรายังต้องการปัจจัยในดำรงชีวิต เมื่อไม่มีงานทำ ก็ต้องเป็นเจ้าของอะไรบางอย่าง ไม่ว่าความคิด ข้อเขียน กลุ่มเพื่อนฝูงในสังคม Social Media อีกหน่อยล้วนเอามาทำเป็นช่องทางหาเงินได้ทั้งนั้น
  9. จะเกิดรูปแบบใหม่ของวัฒนธรรมโลกที่เกิดจากการเชื่อมต่อของคนเข้าด้วยกัน อันนี้เป็นเรื่องใหม่ที่กำลังถกเถียงกัน รูปแบบจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป

จะเกิดไซเบอร์เซ็กส์ เป็นเซ็กส์ที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กันจริงๆ เพราะปัญหาน้อย ไม่ว่าจะด้านจริยธรรม สังคม สุขภาพ ที่ญี่ปุ่นมีบริการเช่าตุ๊กตายางกันแล้ว เลือกหน้าตา ขนาดได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องห่วงว่าจะเอาใจสาวเจ้า เพราะหล่อนทนได้ทุกรูปแบบโดยไม่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ยกเว้นจะทำตุ๊กตายางของเจ้าของฉีกขาด เสียหาย นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง..

อนาคตห้องสมุด?

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2012)

ขณะนี้ห้องสมุดทั่วโลกกำลังประสบปัญหาท้าทาย เนื่องจากจำนวนคนเข้ามาใช้บริการห้องสมุดลดลงเรื่อยๆ จากคู่แข่งน่ากลัวอย่างอินเทอร์เน็ตที่เข้าไปแข่งในทุกเรื่อง ไม่เฉพาะเรื่องของห้องสมุด  แต่ข่าวนี้ไม่น่าจะสร้างความกระทบกระเทือนกับวงการห้องสมุดไทย เพราะปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ถาวรของห้องสมุดไทยจนไม่น่าจะเรียกว่าวิกฤติแต่อย่างไร ในเมื่อห้องสมุดไทยไม่ค่อยมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอยู่แล้ว ด้วยปัจจัยหลักๆ สองประการคือ ผู้บริหารทุกยุคทุกสมัยไม่ได้ให้ความสนใจสนับสนุน บวกกับความไม่นิยมอ่านหนังสือของคนไทย

แต่เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านั้น เมื่อห้องสมุดชั้นนำในหลายๆ ประเทศถือวิกฤตเป็นโอกาสในการปรับตัวห้องสมุดเข้าสู่ยุคใหม่ แม้ว่าจะเคยมีคำทำนายเมื่อครั้งที่อินเทอร์เน็ตอุบัติขึ้นใหม่ๆ ว่า ห้องสมุดคงต้องสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ในไม่ช้านี้ แต่จนแล้วจนรอด นานาประเทศกลับเร่งสร้างห้องสมุดเป็นการใหญ่  หากท่านไปค้นใน google ดู ก็จะพบว่ามีการสร้างห้องสมุดยุคใหม่ที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามเกิดขึ้นทุกมุมโลก ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น..

เพราะมีความเชื่อกันว่า ห้องสมุดจะปรับตัวกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนแห่งใหม่ที่ทรงพลังกว่าเก่า และห้องสมุดจะไม่ได้มีหน้าที่เป็นเพียงแค่สถานที่เก็บหนังสืออีกต่อไป ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาห้องสมุดได้ทำหน้าที่อันนี้เป็นอย่างดี ในยุคที่ข่าวสารข้อมูลเป็นของหายาก เข้าถึงยาก คนส่วนใหญ่ไม่มีศักยภาพในการเป็นเจ้าของข้อมูลด้วยตนเอง จึงต้องบากหน้ามาใช้บริการห้องสมุด  ห้องสมุดจึงมักสร้างในจุดที่เหมาะแก่การเดินทางมาของชุมชน และด้วยความโดดเด่นด้านสถานที่ตั้งนี่เองที่กลายเป็นสิ่งมีค่าของห้องสมุดยุคใหม่ที่จะกลายเป็นศูนย์รวมของชุมชนในด้านต่างๆ ได้ไม่ยาก

อนาคตของห้องสมุดจึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความเป็นห้องสมุด นี่คือโฉมหน้าบางด้านของห้องสมุดในอนาคต ..

ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์บัญชาการ search center เชื่อกันว่าเทคโนโลยีการเสิร์ชจะพัฒนาซับซ้อนยิ่งๆ ขึ้นที่ไม่จำกัดเพียงเนื้อหา ภาพ และเสียงเท่านั้น แต่จะรวมถึง texture กลิ่น รสชาติ

ซึ่งเชฟพ่อครัวจะกลายเป็นลูกค้าประจำที่มาใช้บริการเพื่อค้นหาสูตรอาหารจากวัตถุดิบทั่วโลก ก่อนที่จะนำไปพัฒนาเป็นอาหารจริงขาย นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรผู้พัฒนาสินค้าจะเข้ามาใช้บริการในการศึกษาสร้างแบบจำลอง การพิมพ์ภาพสามมิติต้นแบบ ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นสินค้าจริง

ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีด้านข่าวสารข้อมูล การค้นหาข้อมูลในเชิงข้อความไม่เป็นการเพียงพออีกต่อไป หลายๆ งานจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากซึ่งมีขีดจำกัดในการนำเสนอในรูปแบบเดิม ดังนั้นการสร้างแบบจำลองแบบ Infographic การสร้างภาพโฮโลแกรม หรือการแสดงภาพแผนที่ความละเอียดสูง การสร้างแบบจำลองของท้องฟ้าจำลองในฤดูกาลต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ศึกษา การสร้างแบบจำลองสิ่งแวดล้อมสำหรับให้เด็กได้เข้าค่าย ฯลฯ ซึ่งการใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาลขนาดนี้ และการใช้แบนด์วิธของอินเทอร์เน็ตที่ความเร็วสูงๆ เป็นสิ่งที่ยังแพงเกินเอื้อมสำหรับบ้าน หรือโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งจะลงทุนได้ จึงเป็นงานของห้องสมุดที่คนในภาคส่วนอื่นๆ สามารถมาแบ่งปันใช้งานได้ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของห้องสมุดอยู่แล้ว

ห้องสมุดจะไม่จำกัดเป็นเพียงแค่ผู้ให้ยืม แต่จะกลายเป็นศูนย์กลางนำข้อมูลของผู้อ่านกลับเข้ามาเก็บอ้างอิง ห้องสมุดสมัยใหม่ อาจไม่มีชั้นหนังสือสุดลูกหูลูกตา มนุษย์เราได้พัฒนาการบริโภคข่าวสารเป็นสองทางมาระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้นการให้บริการของห้องสมุดที่เป็นช่องทางเดียวก็จะกลายเป็นการสื่อสารสองทาง ที่คนอ่านนอกจากจะมาเอาข่าวสารจากห้องสมุดแล้ว สามารถแต่งเติมหนังสือให้มีความทันสมัยขึ้นได้ อาจมีการสร้างข่าวสารใหม่กลับคืนให้กับห้องสมุดเรียกได้ว่ามีส่วนร่วมในการขยายตัวของห้องสมุดด้วยเรียกได้ว่าเป็นผู้ผลิต และคนกลางในการกระจายงานของผู้อ่าน หนังสือในยุคใหม่ และจะไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนเล่มเหมือนอดีต ดังนั้นปัญหาที่มีคนยืมหนังสือไปแล้ว ต้องรอคิวจะไม่เกิดขึ้น เพราะผู้ยืมสามารถดาวน์โหลดได้แม้แต่ทำเองที่บ้าน ไม่ต่างอะไรกับการซื้อตั๋วสายการบินในห้องนอนพร้อมกับเป็นพนักงานพิมพ์ตั๋วเอง เป็นพนักงานเก็บเงินให้กับสายการบินเอง

ห้องสมุดจะกลายเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตที่เก็บความทรงจำของชุมชน เป็นแหล่งนัดพบของคนในท้องถิ่นที่จะขยายบทบาทมากกว่าแค่เป็นสถานที่อ่านหนังสือ เป็นที่ยืมหนังสือเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะกลายเป็นเสมือน third place ในด้านต่างๆ จะกลายเป็นสถานที่เก็บความทรงจำภาพเก่า ๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการตกแต่งร้านค้าในอดีต สิ่งของเฉพาะด้านในชุมชน เช่น ครกตำข้าว เรือประมง ตู้ไปรษณีย์ตู้แรก

ห้องสมุดจะเป็นที่หลบภัยจากบ้าน เป็นที่ทำงานชั่วคราวได้ เป็นที่พบปะสำหรับทำธุรกิจไม่ต่างอะไรกับร้านกาแฟ  การบริการของห้องสมุดจะกลายเป็นสถานที่สร้างประสบการณ์เฉพาะให้กับแต่ละคนที่มาใช้บริการได้ไม่สิ้นสุด  ข้อมูล/ทรัพยากรชิ้นหนึ่งๆ  คนที่เสพต่างกัน ย่อมมีประสบการณ์ที่ต่างกัน บางคนอาจมาห้องสมุดเพื่อเรียกร้องความทรงจำเก่าๆ ในชุมชนของตน

ห้องสมุดจะมีกิจกรรมเสริมเข้ามาอีกหลากหลายอย่างเช่น

  • เป็นห้องซ้อมดนตรีสำหรับชุมชน
  • เป็นสถานีและห้องในการบันทึกเสียงที่เรียกว่า Podcasting stations
  • เป็นสถานีสำหรับ Blogger stations
  • เป็นห้องแสดงงานศิลปะด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด แกะสลัก การสเก็ตภาพ
  • เป็นห้องบันทึกวิดีโอหรือห้องตัดต่อภาพยนตร์
  • เป็นห้องสำหรับจินตนาการ Imagination room สถานที่ฝึกสร้างความคิดสร้างสรรค์ที่อาจต้องใช้ข้อมูลเป็นจำนวนมากในการฝึกหัด
  • เป็นห้องฝึกซ้อมการเล่นละคร หรือเล่นละครย่อยกลุ่มเล็ก
  • เป็นมินิเธียเตอร์สำหรับฉายภาพยนตร์หาชมได้ยาก หรืออีกหน่อยจะกลายเป็นห้องชม Youtube เพราะการพาเพื่อน ครอบครัวมาชมที่ห้องสมุดจะได้อรรถรสกว่าการชมที่บ้าน
  • เป็นที่สันทนาการในด้านเกมที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเยาวชน ดีกว่าปล่อยให้เด็กๆ ไปเล่นเกมที่เป็นอันตราย
  • เป็นสถานที่จัดสัมมนาในด้านต่าง ๆ
  • เป็นสถานที่รับดูแลเด็กเล็กโตในชุมชนในระหว่างหลังโรงเรียนเลิก
  • เป็นไปรษณีย์ในตัว เป็นสถานที่ถ่ายเอกสาร ซ่อมหนังสือ จัดพิมพ์หนังสือหายากในอดีตของชุมชน หรือจากมุมโลกอื่นๆ เมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงในขนาดเล็กเป็นสิ่งที่เอื้อมถึงสำหรับการลงทุนของห้องสมุด (แต่อาจจะยังแพงเกินไปสำหรับครอบครัว หรือหน่วยงานขนาดเล็ก)
  • เป็นฟิตเนสเซ็นเตอร์ที่ให้บริการออกกำลังกายพร้อมการอ่านหนังสือ ฟังเพลง

สำหรับห้องสมุดในไทยอ่านแล้ว อาจมีความคิดเดิมคือ “รอไว้ให้คนอื่นทำไปก่อน” ก็ต้องบอกว่า เป็นความคิดที่ตกเหวไปแล้ว เพราะโลกของประสบการณ์รอกันไม่ได้ ต่างสังคม ก็ต่างประสบการณ์ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะสำหรับห้องสมุดว่าต้องเริ่มปรับตัวแล้วดังนี้คือ..

  1. เริ่มจากการประเมินประสบการณ์ของห้องสมุดที่มีอยู่ ด้วยการสำรวจความคิดเห็น ประสบการณ์ของผู้ใช้ห้องสมุด ความคิดเห็นของคนใช้ต่อห้องสมุดว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อค้นหาว่าอะไรเป็นสิ่งที่มีความหมายของห้องสมุดในชุมชนที่ตั้ง
  2. เริ่มประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ ข้อมูลมาใช้
  • ตั้งคณะที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีขึ้นมา
  • รับสมัครบุคลากรที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีมาทำงานในห้องสมุด
  • จัดสัมมนาด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดให้กับผู้ใช้และบุคคลากรภายในได้รับทราบ

และท้ายสุดนี้ สรุปกันมาให้ดูกันว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดต้องปรับตัวก่อนที่จะไม่มีที่ยืนในประวัติศาสตร์ไทย ลองมาดูถึงปัจจัยที่ทำให้ห้องสมุดต้องประสบชะตากรรมในทุกวันนี้..

ปัจจัยที่ 1:  การก้าวกระโดดของการสื่อสารที่ทำให้รูปแบบการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลของคนเปลี่ยนไป ลองมาดู Timeline ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเร็วๆ ดังนี้..  โลกการสื่อสารเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่มีการค้นพบรูปแบบการสื่อสารที่นอกเหนือจากการส่งข่าวสารด้วยนกพิราบ เริ่มจากโทรเลขในปี 1844 และตามด้วยโทรศัพท์ในปี 1876 ถัดมาอีกเพียงปีเดียวคือ1877  โลกก็เริ่มรู้จักกับการบันทึกแผ่นเสียง อีก 20 กว่าปีต่อมาคือปี 1896  ก็เกิดวิทยุกระจายเสียขึ้น ปี 1935 เริ่มค้นพบเครื่องโทรสาร ปี 1939 เกิดโทรทัศน์ ปี 1945 ค้นพบระบบการคำนวณแบบคอมพิวเตอร์ อีกสองปีคือ  1947  โลกเริ่มรู้จักกับทรานซิสเตอร์ ปี 1954 เกิดโทรทัศน์สีขึ้น ปี 1961 – เลเซอร์ดิสก์ ปี 1965 เริ่มรู้จัก email ปี 1973 โทรศัพท์มือถือซึ่งถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของการสื่อสารของมนุษย์ ปี 1974 – ไมโครคอมพิวเตอร์ Altair 8800 ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่ใช่สิ่งเข้าถึงยากสำหรับมวลชนอีกต่อไปเช่นเดียวกับระบบการพิมพ์ที่ทำให้หนังสือไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยสำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น

และในปี 1989 โลกก็เริ่มรู้จักเทคโนโลยี World Wide Web อีกหนึ่งปีต่อมาคือปี 1990 – Online Search Engine ก็อุบัติขึ้น สองปีถัดมาคือ 1992  มี Web Browser ตัวแรกของโลก ปี 1994 – Palm Pilot ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของแทบเลตในพ.ศนี้  ในปี 1996  โลกก็ได้ Google มา และปี 1999  ระบบการโอนถ่ายข้อมูลขนาดใหญ่แบบ P2P ก็อุบัติขึ้น  ปี 2002 – iPod ก็ทำให้วิทยุ Walkman กลายเป็นประวัติศาสตร์ไป  ปี 2004  เราเริ่มมี Podcasting ซึ่งทำให้เราไม่ต้องเฝ้าติดวิทยุอีกต่อไป สามารถรับฟังย้อนหลังได้ และแล้วสังคมยุคใหม่แบบ Social Network ก็เกิดขึ้นในปี  2003 เริ่มจาก Myspace ก่อน ตามมาอีก 1 ปี คือ 2004 – Facebook รุ่นน้องที่ทำให้เกิดการถล่มทลายของประวัติศาสตร์การสื่อสารแบบหนึ่งต่อหนึ่ง และหนึ่งต่อล้านเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ถ้าดูจากความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ข้างต้น ก็พอจะทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมคนถึงลังเลต่อการลงทุนรวมถึงพฤติกรรมการอ่านด้วย เพราะรูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์เราก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน  เทคโนโลยีได้ทำให้หนังสือเองกลายเป็นเทคโนโลยีไปด้วย การเขียนเป็นเทคโนโลยี จากการใช้ปากกาก็มาเป็นคีย์บอร์ด และคีย์บอร์ดเองก็กำลังถูกท้าทายจนมีการทำนายว่า อาจจะหายไปจากประวัติศาสตร์เร็วๆ นี้  คนที่กลัวแลเทคโนโลยีก็เลยหยุดอ่านเสียเลย

ปัจจัยที่ 2: เทคโนโลยีกลายเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เรียกได้ว่าบางเทคโนโลยียังไม่มีโอกาสโตเป็นสาวก็ถูกแทนที่ด้วยของใหม่ที่ดูไฉไลกว่าแล้ว ตัวอย่างเช่น ฟอร์แมทของมีเดียถูกแทนที่ด้วยรูปแบบใหม่ๆ เทป 8 แทรกถูกแทนที่ด้วยเทปคาสเซ็ท เทปคาสเซ็ทถูกแทนที่ด้วยซีดี ซีดีก็กำลังกลายเป็นประวัติศาสตร์ เป็นไฟล์ที่สามารถหามาใช้ได้จากอากาศไม่ต่างจากอากาศที่เราหายใจ อุปกรณ์ต่างๆ ก็มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาไป ทุกวันนี้คนใช้โทรศัพท์มือถือไม่มีโอกาสรอให้เครื่องเสียก่อนแล้วค่อยซื้อใหม่ เพราะกว่าเครื่องจะเสีย เราอาจเสียโอกาสใช้บริการบางอย่างไปแล้ว ลองดูว่าเครื่องใช้ต่างๆ ทุกวันนี้เราเปลี่ยนก่อนที่แบตเตอรี่ก้อนแรกจะเสื่อมด้วยซ้ำ ต้นทุนการใช้โทรศัพท์เครื่องเก่าอาจแพงกว่าการซื้อเครื่องใหม่ เพราะเครื่องใหม่ สามารถใช้ทั้งโทรศัพท์ อ่านข่าว ดูหนัง ฟังเพลง ถ่ายรูป เป็นเครื่องเล่นเกม ช่วยในการสื่อสารกับคนแดนไกลในราคาค่าบริการ 0 บาท ซึ่งหากไม่ใช้เครื่องรุ่นใหม่ เราอาจต้องเสียค่าโทรทางไกลที่แพงกว่า อย่างนี้เป็นต้น

ปัจจัยที่ 3: เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับห้องสมุดโดยเฉพาะ การเก็บข่าวสารข้อมูลอยู่ที่การจัดเก็บได้มากกว่าในพื้นที่น้อยกว่า ซึ่งขนาดมีการหดตัวลงเรื่อยๆ แต่เรากำลังจะไปชนขอบเหวของการหดตัวด้านขนาดแล้ว และเมื่อนั้น เราก็จะหันมาแข่งในเรื่องของ ประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ความเร็วในการจัดเก็บ การเข้าถึงข้อมูลที่เร็วกว่า  มีเสถียรภาพ มากกว่า ความคงทนยั่งยืนกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สำคัญสุดสำหรับห้องสมุด โดยเฉพาะการหาได้ง่ายและรวดเร็วที่อาจมีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ว่า  findability.ในขณะที่การพัฒนายังไม่หยุดนิ่ง การกำหนดมาตรฐานก็ยังไม่เกิด

ปัจจัยที่ 4: เทคโนโลยีในการค้นหาจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

  • เสิร์ชปัจจุบันเป็น Text ที่แม้ว่าจะครอบคลุมทุกภาษาบนโลกแล้วก็ตาม แต่สื่อมีรูปแบบที่แตกต่างกันไม่ได้จำกัดแค่ Text เช่น ภาพ เสียง รูป แต่อย่างไรก็ตามเสิร์ชยุคใหม่ไม่ได้จำกัดแค่นั้น แต่รวมถึงการค้นหารูป รส กลิ่นเสียง texture, reflectivity, opacity, mass, density, tone, speed, and volume.
  • คนยุคใหม่มีเวลาน้อยลง เพราะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากขึ้น และไม่สามารถเรียนรู้ทุกอย่างได้  มีความอดทนในการรอได้น้อยลง บรรณารักษ์จึงต้องปรับบทบาทในการเป็นผู้สนับสนุนการค้นหา และมีทักษะบางอย่างที่จะไปช่วยคนค้นหา

ปัจจัยที่ 5: การหดตัวของเวลา ทำให้วิถีชีวิตของคนไปห้องสมุดน้อยลง เพราะเสียเวลาเดินทางไป ในขณะที่ความต้องการของคนเพิ่มขึ้น และหลากหลายกว่าเมื่อก่อน มีความจำเป็นใหม่ๆ สำหรับชีวิตเกิดขึ้นหลายอย่างเมื่อเทียบกับอดีต  เมื่อเวลาบีบรัด ความต้องการต่างๆ ก็บีบรัดทำให้ต้องการเร็วขึ้นในเวลาที่สั้นลง ดังนั้น เวลาในการเข้าห้องสมุดจึงถูกเบียดเบียนไป และนี่คือสถิติของการใช้เวลาในปัจจุบันนี้ คนปัจจุบันนอนเฉลี่ยน้อยกว่าเมื่อก่อนวันละ 2 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับเมื่อ 80 ปีก่อน จากเฉลี่ย 8.9 เหลือ 6.9 ชั่วโมง  34% รับประทานอาหารระหว่างงาน หรือระหว่างเดินทาง 66% ของคนหนุ่มสาวท่องเน็ตไปด้วยหรือชมทีวีระหว่างรับประทานอาหาร ในการสำรวจล่าสุด 43% มีปัญหาในการตัดสินใจ เพราะว่ามีข้อมูลเยอะเกินไป  ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่เปลี่ยนไป อย่างหนึ่งที่หายไปคือตู้ดัชนีหนังสือ และคีย์บอร์ดคือเหยื่อรายต่อไป

ปัจจัยที่ 6: สังคมกำลังพัฒนาไปสู่สังคมการพูดมากกว่าการอ่าน อันนี้สอดคล้องกับสังคมไทยที่มักพูดมากกว่าทำ แต่ของเขาพูดมากกว่าอ่าน แต่ก็ยังทำเหมือนเดิม Dr William Crossman, แห่งสถาบัน CompSpeak คาดการณ์ไว้ว่าในราวปี 2050 ความสามารถในการอ่านและเขียนของคนจะหายไปเมื่อคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่นั้นแทนเราการอ่านหนังสือ จะกลายเป็นเหมือนการสนทนากับมนุษย์อีกคนหนึ่งในห้องอ่านหนังสือ

ปัจจัยที่ 7: ความกระหายในข่าวสารข้อมูลมีมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ถึงแม้ว่าโลกจะท่วมท้นไปด้วยข้อมูลข่าวสารก็ตาม คนก็ยังโหยหาข้อมูลมากยิ่งๆ ขึ้น เพื่อประกอบในการตัดสินใจด้านต่างๆ มีการเปรียบเปรยไว้ว่า ความสามารถในการทำธุรกิจที่ขึ้นกับภาษาจะมีความจำเป็นน้อยลง แต่ความเข้าใจในวัฒนธรรม สังคมและจารีตจะมีความจำเป็นมากขึ้น นั่นหมายความว่าต้องการองค์ความรู้ในด้านนี้มากขึ้น

ปัจจัยที่ 8: การเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกจะทำให้ห้องสมุดต้องปรับตัว จากอดีตที่มีการอ้างอิงสำหรับสังคมที่ต่างกันผ่านเฉพาะกรอบเวลา มาตราวัด ก็จะมีมาตรฐานของการอ้างอิงระบบ GPS และอินเตอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง  ในบางระบบอาจต้องอ้างอิงตลาดหลักทรัพย์ การขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ระเบียบศุลกากร โลกจะต้องอิงกับระบบบัญชีที่อ้างอิงกันได้ ระบบกระแสเงินตราที่หลายหลายขึ้น มาตรฐานจริยธรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งห้องสมุดจะเข้ามามีบทบาทในมาตรฐานใหม่เหล่านี้มาก ในฐานะของผู้ให้บริการ และระบบห้องสมุดก็จะกลายเป็นระบบใหม่ของโลกอีกระบบหนึ่งเหมือนกัน เปรียบเหมือนสมอเรือ

ปัจจัยที่ 9: การปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากการอ้างอิงสินค้าเป็นหลักไปเป็นการอ้างอิงประสบการณ์ บริการก็คือประสบการณ์ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน บริการเดียวกันอาจให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันสำหรับคน 10 คน ก็เท่ากับมีระบบเศรษฐกิจใหม่อีก 10 ระบบ ยิ่งประชากรโลกอายุเฉลี่ยมากขึ้น และมีการเดินทางมากขึ้น ความต้องการบริการที่เฉพาะของแต่ละคนก็หลากหลายมากขึ้น เป็นธรรมชาติของคนที่เมื่อรวยขึ้นก็มีความต้องการจะแสดงความรวยออกมา ถึงแม้ว่า ปัจจุบันนี้คนไปใช้บริการห้องสมุดไม่ค่อยได้ถามบรรณรักษ์ แต่อนาคตบรรณรักษ์จะต้องปรับบทบาทมาให้บริการด้านประสบการณ์กับผู้ใช้ การอ่านหนังสือจะกลายเป็นกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสบการณ์

ปัจจัยที่ 10: ห้องสมุดปรับตัวจากศูนย์กลางข่าวสารข้อมูลเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม

เนื่องจากรูปแบบของข่าวสารที่เปลี่ยนไปจากหนังสือ แต่คนมาห้องสมุดเพื่อที่จะได้มีประสบการณ์ และมาดูประวัติศาสตร์ของหนังสือ

ศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ตอนที่ 2 ?

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน สิงหาคม 2012)

ตอนที่แล้ว.. ผู้เขียนได้เกริ่นไว้ว่าเจ้าสมาร์ทโฟนคือศาสนาใหม่ของโลกที่จะมีสาวกเกือบ “หมื่นล้านคน” ทั้งๆ ที่บนโลกใบนี้มีคนเพียง 7 พันล้านคน นั่นหมายความว่า จะมีคนกลุ่มใหญ่ๆ มีเจ้าสมาร์ทโฟนมากกว่าหนึ่งเครื่อง และได้กล่าวถึงผลดี ผลเสียของเจ้าสิ่งนี้ในสังคมยุคใหม่ของเรา..

ในตอนนี้..จะขยายความถึงระบบนิเวศน์ของมัน เพราะลำพังเพียงเจ้าเครื่องมือขนาดเท่ากำมือ คงไม่มีอิทธิพลมากกว่าเครื่องลางของขลังอื่นๆ ที่อุบัติมาบนโลกใบนี้ก่อน

อะไรเป็นปัจจัยหลักหรือ?  องค์ประกอบแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เจ้าสมาร์ทโฟนกลายเป็นพระเอกเร็วขึ้นมีหลายองค์ด้วยกัน อาทิ..

  1. การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่ออาทิตย์ คือปัจจัยหลัก ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาๆ แต่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครก้าวข้ามพรมแดนนี้ได้ จนเมื่อแอปเปิ้ลหาญกล้าออกแบบเครื่องให้ทำงานในลักษณะนี้ ตอนแรกๆ ที่วางตลาดก็ถูกคนเหน็บเอาเหมือนกันว่า ใครกันจะผูกติดกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา และถูกค่อนขอดเอาว่าทำให้กระเป๋ารั่ว เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่มีใครพูดถึงแล้ว แอปเปิ้ลไม่ได้เป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี แต่เป็นผู้นำในด้านวิถีชีวิตที่เอาเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งนอกจากศาสนาที่เปลี่ยวิถีชีวิตคนแล้ว ก็มีแอปเปิ้ลนี่แหละที่เปลี่ยนวิถีชีวิตคน
  2. เมื่อมีอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับมือถือได้ตลอดเวลา สิ่งที่ตามมา คือ.. AppStore ที่เป็นตัวเปลี่ยนเกมดั่งจรวดท่อนที่สองด้วยการทำให้ซอฟต์แวร์มีราคาถูกลงจากระดับล้านมาเป็นระดับไม่กี่บาทเทียบเท่ากับอาหารหนึ่งมื้อเท่ากัน และก็มีขนาดเล็กลงใช้เฉพาะที่เราต้องการใช้ เมื่อต้นทุนซื้อมาเป็นเจ้าของต่ำลง ก็ทำให้ต้นทุนในการขโมยแพงกว่าการซื้อมาใช้เสียอีก ขนาดตลาดก็ขยายออกไปเน้นจำนวนมากๆ  ซื้อใช้ได้แม้แต่กำลังนั่งทำกิจจำเป็นในห้องน้ำ
  3. องค์ประกอบที่สามคือ iCloud แหล่งเก็บข้อมูลของเราในอวกาศ เป็นตัวเปลี่ยนเกมใหม่อีกชิ้น ที่ทำให้การเก็บข้อมูลบนเครื่อง local มีความจำเป็นน้อยลง แต่สามารถสร้างห้องเก็บได้ ทำให้เจ้าเครื่องเล็กๆ ไม่เทอะทะและการปรับเปลี่ยนไปใช้เครื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น เป็นเสมือนหนึ่งจิตวิญญาณของเราสามารถย้ายไปสิงสู่ในร่างใหม่ได้ ทำให้ความเป็นตัวตนของเราในอากาศสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องเดิม เรียกว่าเมื่อลืมเครื่องก็สามารถใช้เครื่องใหม่เข้าถึงข้อมูลของเราได้
  4. องค์ประกอบที่สี่ สังคมใหม่ของเราที่มีเครื่องสมาร์ทโฟนเป็นแม่สื่อ แม้แต่คนขี้อายไม่สามารถเข้าไปทักทายหาเพื่อนใหม่ก็สามารถกลายเป็นคนที่มีเพื่อนหลากหลายมากมายโดยไม่จำเป็นต้องเอาชนะความอายอีกต่อไป  หลายคนรู้จักเพื่อนข้างบ้านผ่านแม่สื่อคนนี้ทั้งๆ ที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกันมานาน หลายคนสามารถหาเครือญาติ เพื่อนเก่าที่ไม่พบกันมานานได้ง่ายขึ้น
  5. องค์ประกอบที่ห้าคือ PC บรรพบุรุษของสมาร์ทโฟน ถึงแม้ว่า คนจำนวนมากใช้สมาร์ทโฟนโดยไม่ได้เคยผ่านการใช้ PC มาก่อน แต่สมาร์ทโฟนก็ทำให้คนหลายๆ คนเห็นความจำเป็นของเจ้า PC มากขึ้น ส่วนแฟนพันธุ์แท้ของ PC ที่กลัวว่าเจ้า PC จะตกกระป๋องเพราะความนิยมของสมาร์ทโฟน ก็คงหายกังวลไปได้ เพราะหนทางของ PC จะเดินคู่ขนานไปกับสมาร์ทโฟนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนรถยนต์ไม่ได้เข้ามาแทนที่การเดินทางด้วยเท้า แต่เข้ามาช่วยในการเดินทางระยะไกล เช่นกัน สมาร์ทโฟนจะเข้ามาช่วยพื้นฐานของ PC แต่งานหนักๆ ก็ยังต้องใช้เครื่อง PC อยู่ เช่น การตัดต่อภาพ การเก็บ จัดการข้อมูลจำนวนมาก การเล่นเกมโหดๆ เชื่อกันว่า อีกหน่อยของสองชิ้นนี้จะมีการซื้อขายคู่กันอย่างแยกไม่ออก เรียกว่า ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก จะต้องเป็น มีฉันมีเธอคู่กันตลอดไป

การสร้างระบบนิเวศน์ใหม่: นอกจากระบบนิเวศน์เดิมที่ทำให้เจ้าสมาร์ทโฟนกลายเป็นศาสนาที่คนคลั่งไคล้กันทั่วโลกแล้ว ระบบนิเวศน์ใหม่ที่รวมเข้ามากับเจ้าสมาร์ทโฟน เช่น ระบบนำทาง GPS ความสามารถในการถ่ายรูปแบบกล้องถ่ายรูป ระบบเลขาเตือน ระบบติดตามตัว หรือแม้แต่เป็นหนังสือพิมพ์ประจำวันที่ทำให้หนังสือพิมพ์พิมพ์กันเป็นฉบับ ๆ แทบหายไปจากโลก หลายคนใช้เจ้าสมาร์ทโฟนเป็นกระจกแต่งหน้าด้วยซ้ำ ไม่เชื่อลองสังเกตบนรถไฟฟ้าที่จะเห็นคนใช้เจ้าโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ส่องหน้าตัวเองโดยไม่ต้องง้อกระจก และอีกหน่อย บทบาทของการเป็นบัตรเครดิตก็คงเกิดขึ้นแน่นอน  รวมถึงเป็นกุญแจเปิดปิดบ้าน กระดิ่งบ้าน (ผู้เขียนก็เป็นผู้หนึ่งที่เลิกซ่อมกระดิ่งประตูแล้ว เพราะใช้โทรศัพท์มือถือสะดวกกว่า อย่างน้อยๆ ก็ป้องกันเด็กซนๆ ที่ชอบมากดกระดิ่งประตูเล่น) หรือแม้แต่การใช้เป็นล่ามช่วยแปลภาษาในต่างแดน.. ครั้งหนึ่งผู้เขียนสามารถประหยัดค่าเดินทางจากแท็กซี่ประจำถิ่นที่เรียกราคาแพงเกินระยะทางด้วยการใช้เจ้าเครื่องมือมหัศจรรย์นี้เช็คระยะทางที่จะไป ปรากฏกว่า มันห่างจากจุดที่เรียกแท็กซี่เพียง 3 กม. ข้อมูลอันนี้มีค่าในการต่อรองค่าแท็กซี่ได้เป็นอย่างมาก

และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะตามมาอีก..

ศาสนาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก?

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน กันยายน 2012)

ศาสนาอะไรที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยมีสาวกมากถึง 1 พันล้านคนในเวลาไม่กี่ปี และคาดว่าจะมีสมาชิกมากถึงหนึ่งหมื่นล้านในอีก 4 ปีข้างหน้า ไม่ผิดครับ คือจะมีมากกว่าจำนวนประชากรบนโลกที่มีอยู่ราวๆ เจ็ดพันล้านคน นั่นหมายความว่า มนุษย์หนึ่งคนในโลกจะเป็นสมาชิกของมันถึงสอง เป็นไปได้อย่างไรที่คนๆ หนึ่งจะนับถือศาสนามากกว่าหนึ่งพร้อมๆ กัน .. ครับ ศาสนาใหม่ที่ว่าคือ สมาร์ทโฟน ที่ครั้งหนึ่งมันเป็นเพียงเครื่องมือทางเทคโนโลยี แต่วิวัฒนาการในวิถีชีวิตประจำวันของเรา ทำให้มันกลายเป็นมากกว่าแค่เครื่องมือ มันได้กลายเป็นอวัยวะที่ 33 อายตนะที่ 7 เป็นเครื่องรางของขลังของคนยุคใหม่ที่ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหนไปเรียบร้อยแล้ว เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่หากออกจากบ้านแล้วไม่ได้พกพา จะทำให้เกิดความขุ่นเคืองมากกว่าลืมกระเป๋าเงินหรือลืมแขวนพระเครื่องเสียอีก

โจเซฟ แคมป์เบลล์ เจ้าพ่อทางเทววิทยาเคยพูดเปรียบเปรยไว้ว่า มนุษย์เราอยู่ได้ด้วยเรื่องเล่า แล้วกลายเป็นนิยายปรำปรา แล้วพัฒนามาเป็นปรัชญา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในที่สุด แต่ดูเหมือนว่าเจ้าสมาร์ทโฟนจะพัฒนากลับด้านจากเครื่องมือทางเทคโนโลยีแล้วย้อนกลับไปเป็นเรื่องเล่านิยายปรำปราที่มนุษย์เราขาดเสียไม่ได้

ในนัยหนึ่ง ดูเหมือนชีวิตของเราจะขึ้นกับเจ้าอุปกรณ์นี้มากเกินไปเสียแล้ว จนเสียความมั่นใจไปด้วยซ้ำ แต่ในอีกหนัยหนึ่ง หากเราใช้เจ้าเครื่องมือนี้เป็น ก็จะช่วยเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตได้อย่างมหาศาลที่แม้แต่คนพิการก็สามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ เช่นคนพิการทางเสียง ก็สามารถสื่อสารกับเพื่อนผ่านทางตา คนทำงานคนเดียวในกะกลางคืนก็ไม่ต้องเหงาอีกต่อไป เรียกว่าสามารถพึ่งพาได้มากกว่าเครื่องรางของขลัง หรือเพื่อนที่รู้ใจที่เป็นมนุษย์ด้วยกันด้วยซ้ำไป เจ้าเครื่องนี้ที่ทำให้โทรทัศน์ที่เคยเป็นเพื่อนแก้เหงาตกกระป๋อง เพราะสัดส่วนคนที่เสพติดโทรศัพท์มือถือสูงขึ้นทุกวันจนครองแชมป์เกินโทรทัศน์ไปเรียบร้อยแล้ว ในการสำรวจครั้งล่าสุด ประชากรเกินครึ่งยอมรับว่า ใช้เครื่องโทรศัพท์ในการสร้างสังคม หาเพื่อน และยอมรับว่ากลายเป็นสิ่งเสพติดใหม่ของพวกเขาเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งถึงกับยอมรับว่า ใช้เครื่องโทรศัพท์แม้แต่เวลาอาหาร ก่อนนอน และในห้องน้ำ เรียกว่า แม้แต่เวลาส่วนตัว เจ้าเครื่องนี้ก็ไม่มีพรมแดนถูกกีดกัน ลูกเมีย ผัวเรา ซึ่งถือว่าเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดตัวเราที่สุด บางครั้งเรายังเบื่อพวกเขา และไม่อยากอยู่กับพวกเขาตลอดเวลาเท่ากับโทรศัพท์ หรือแม้แต่คนเบื่อตัวเอง ก็พบว่าเจ้าเครื่องโทรศัพท์นี้เป็นเพื่อนแก้เหงาได้ดีกว่ ถ้าอย่างนั้น เครื่องมือชนิดนี้ไม่เรียกว่า ผู้นำศาสนาใหม่ จะเรียกว่าอะไร ในเมื่อมันมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรามากขนาดนี้?

อะไรคือเสน่ห์ของเจ้าเครื่องมือสมัยใหม่นี้หรือ มากมายเท่าที่จินตนาการมนุษย์จะไปถึง ทุกวันนี้ ยังมีผู้คนคิดค้นผลิตการใช้ประโยชน์จากเจ้าเครื่องนี้ไม่หยุดหย่อน จนจำนวน APP บนมือถือหากรวมทุกค่ายคงเป็นล้านแล้ว ลองคิดดูสิครับว่า เป็นไปได้อย่างไรที่มนุษย์เราจะมีกิจกรรมเป็นล้านอย่างได้ ทั้ง ๆ ที่อายุขัยโดยเฉลี่ยไม่ถึง 30,000 วันดี เรียกว่า ตั้งแต่เกิด หากใช้ App ใหม่ทุกวัน ก็ต้องใช้เวลาเกิน 30 ชาติ ถึงจะใช้หมด ลองมาดูกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ที่คนส่วนใหญ่ได้จากศาสนาใหม่นี้ดูว่ามีอะไรบ้าง

  1. มันช่วยเป็นเพื่อนปลอบใจ หาเพื่อน คนขี้อายไม่กล้าสู้หน้าคน ก็สามารถรู้จักคนแปลกหน้าก่อนเจอตัว ทำให้ลดความประหม่าเมื่อเข้าสังคมได้
  2. มันทำให้เราสามารถเชื่อมกับคนอื่นจากจุดที่เราอยู่คนเดียว ไม่ว่าจะมืดหรือสว่าง แม้แต่เวลาเราแก้ผ้าในห้องน้ำ ก็ทำได้โดยไม่ขวยอาย
  3. การนัดหมาย พบปะง่ายขึ้น ไม่เพียงแต่การนัดหมาย แต่ทำให้การพบปะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเจอหน้าเสมอไป ทำให้เราอาจเยี่ยมเยียนทักทายเพื่อน ๆ ที่อยู่คนละมุมเมือง มุมโลกพร้อมๆ กันได้ พวกเจ้าชู้ ก็สามารถจีบคนต่างเพศได้พร้อมกันโดยไม่ต้องกลัวรถไฟชนกัน
  4. เป็นเพื่อนแก้เหงา จากนี้ไป หลายๆ อาชีพไม่สามารถจะบ่นว่าเบื่อได้แล้ว เพราะเจ้าเครื่องนี้ช่วยแก้เหงา เมื่อก่อนคนแก้เบื่อด้วยการทานอาหาร นั่งดูทีวีไป นั่งกินไป เจ้าเครื่องนี้ ช่วยให้การรอคอยไม่เป็นกิจกรรมที่น่าเบื่ออีกต่อไป เช่นการรอคิว การรอนัดพบหมอ ครั้งหนึ่งนิตยสารและหนังสือพิมพ์เคยทำหน้าที่นี้ ในรถไฟใต้ดินเมื่อก่อนเห็นคนอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ แต่เดี่ยวนี้ดูเครื่องนี้แทน
  5. เป็นสวิทซ์สมอง ทำให้เราปรับโหมดสมองของเราเปลี่ยนไปยังเรื่องใหม่ได้เร็วขึ้น
  6. เรากลายเป็นมนุษย์ 24 ชั่วโมงที่เข้าถึงเราได้ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะไม่รับสาย เราก็สามารถรู้ได้ว่าใครโทรมาเมื่อไร หรือแม้แต่จะตั้งให้เครื่องตอบรับโดยอัตโนมัติ เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ว่าเราไม่สามารถรับได้เพราะอะไร
  7. เป็นสถานีกระจายข่าว ด้วยความนิยมของเวป social network ทำให้เพื่อนฝูงคนใกล้ชิดรู้ว่า เรากำลังทำอะไรอยู่ อยู่ ณ จุดไหนของเมือง เหมือนกับเราติด GPS ในตัวเราเพื่อให้ทุกคนมองเห็นเราได้ตลอดเวลา
  8. ทำให้เราตัวเบาเวลาออกจากบ้าน เพราะสรรพสิ่งล้วนรวมอยู่ในเครื่องเดียวกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป แผนที่ เครื่องเล่นเกม วิทยุ เทปเพลง ไฟฉาย เข็มทิศ
  9. เป็นเครื่องมือป้องกันคนรบกวน คนแปลกหน้า ในเวลาที่เราอยากมีความเป็นส่วนตัว โดยอ้างว่า เรากำลังทำกิจกรรมอะไรบางอย่างอยู่กับโทรศัพท์มือถือ
  10. ฯลฯ อื่นๆ อีกมากมาย

ในทางกลับกัน สมาร์ทโฟนก็สร้างผลกระทบด้านลบกับเราเช่นกัน  ..เช่น

  1. เป็นช่องทางรับข่าวร้ายได้ตลอดเวลา ทำให้เราไม่มีเวลาตั้งตัว ขาดสติได้ง่ายๆ
  2. เป็นช่องทางเผยแพร่ภาพที่เราไม่ต้องการ ภาพหลุดทั้งหลายที่เกิดขึ้นและทำลายชีวิตผู้คน ก็มาจากประโยชน์ของโทรศัพท์ที่มีมากเกินไป  ความง่ายของการใช้และไม่มีต้นทุนเพิ่ม ทำให้เราถ่ายทุกรูปที่อยากถ่ายโดยไม่ยั้งคิด การโค่นล้มรัฐบาลในบางประเทศก็ทำได้ง่ายขึ้น อย่างที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางเมื่อเร็วๆ นี้
  3. กลายเป็นคนวิตกจริตกับการอัพเดต App ต่างๆ แทบจะต้องทำทุกวัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าโทรศัพท์ของเรายังทำงานตามปกติอยู่หรือเปล่า
  4. เป็นเครื่องมือทำลายสัมพันธภาพ คนสองคนนั่งอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งคุย อีกคนหนึ่งเล่นเกม โดยไม่มีเวลาคุยกัน แม้แต่การจะสื่อสารระหว่างคนสองคนที่นั่งใกล้ๆ กันบางครั้งก็ยังไม่ได้คุย แต่เป็นการส่งข่าวสารผ่านมือถือแทน

ในฉบับหน้า จะกลับมาคุยถึงระบบนิเวศน์การเกิดของเจ้าศาสนาใหม่อีกตอนหนึ่ง…

20 สิ่งที่จะหายไปจากการศึกษา!

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน สิงหาคม 2012)

ผู้เขียนเห็นบทความนี้ใน The Daily Riff สื่อสำหรับวงการศึกษา โดยนักเขียนชื่อ Shelley Blake ที่เธอเขียนไว้ว่า สิ่งต่อไปนี้จะหายไปในอีก 5-20 ปีข้างหน้า เห็นว่าน่าสนใจดี เลยขออนุญาตเอาหัวข้อทั้ง 20 อย่างมาเรียบเรียงตัดต่อให้สอดคล้องกับบริบทในสังคมไทย ตกหล่นไป 1-2 รายการที่ไม่สอดคล้องกับสังคมไทยคือ เรื่องของ outsource งานบางอย่างที่ไม่มีในไทย และโรงเรียนกวดวิชาที่สังคมตะวันตกไม่ค่อยมี แต่มีดาษดื่นในบ้านเราเข้ามาแทน

  1. โต๊ะนักเรียน: เพราะนักเรียนไม่จำเป็นต้องนั่งโต๊ะเรียนอีกต่อไป อาจเรียนในห้องอาหาร สนามหญ้า หรือแม้แต่ในห้างสรรพสินค้า สำหรับคนที่โหยหาของเก่า น่าจะไปซื้อโต๊ะนักเรียนเก่าๆ เก็บไว้เป็นความทรงจำสักชุด
  2. ห้องแลบภาษา: ในเมื่อเด็กเรียนภาษาจากโทรศัพท์มือถือได้แล้ว ทำไมยังต้องมีห้องแลบภาษาอีก ทุกวันนี้ โรงเรียนส่วนใหญ่ยังโหยหาลงทุนในห้องแลบภาษา แสดงว่า นักการศึกษาเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีการปรับตัวช้าที่สุด มิน่าเล่า การศึกษาของไทยถึงได้สารวันเตี้ยลงทุกวัน
  3. คอมพิวเตอร์: เมื่อสองวันก่อน ผู้เขียนตัดสินใจว่าจะซื้อคอมฯ หรือมือถือรุ่นฉลาดให้กับลูกคนเล็กในราคาที่เท่ากัน สรุปแล้ว ผู้เขียนตัดสินใจซื้อโทรศัพท์แทน เพราะความง่ายในการพกพา ทำให้เด็กมีความง่ายในการเรียนด้วยเช่นกัน
  4. การบ้าน: เป็นนิยายปรำปรามานานหลายสิบปีแล้วคือ ครูชอบให้การบ้าน แต่เด็กไม่เคยทำ สรุปคือ ครูไม่เคยเรียนรู้ หรือเด็กทุกสมัยไม่เคยเรียนผ่านการบ้าน หรือว่า การบ้านเป็นยาขมที่ขัดแย้งกับยีนต์แห่งการเรียนรู้ของมนุษย์ นักการศึกษาสมัยใหม่ เลยคิดกันว่า ถ้าอย่างนั้น ทำไมไม่ทำให้เด็กเรียนไปทำไปด้วย หรือเมื่อเจอสถานการณ์หนึ่งๆ ก็เรียนรู้พร้อมกับการทำการบ้านไปด้วยกัน เหมือนกับที่เราอยากรู้อะไรก็ค้นหาจาก Google อย่างทุกวันนี้
  5. การสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อ: ในหลายๆ ประเทศเขาไม่มีการสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อกันมานานแล้ว ใครอยากเรียนก็เรียนกันไป แต่เมื่อไรที่อยากจบ ก็ต้องมาสอบจบ ผู้เขียนว่าแนวโน้มนี้เกิดขึ้นในบ้านเราแล้ว เพราะว่ามีโรงเรียน/มหาวิทยาลัยมากกว่าจำนวนเด็กที่อยากเรียนเสียอีก แล้วจะไปสอบทำไม เห็นมหาวิทยาลัยเอกชนหลายๆ แห่ง ถึงขนาดทำการตลาด MLM ไปหาลูกค้าจากต่างจังหวัด เรียกว่า พอเห็นเป็นรูปร่างว่าเป็นนักเรียนก็คว้ามาเรียนแล้ว
  6. ครู: อาจจะยังไม่ถึงกับหายไป แต่ก็เป็นอาชีพที่ถูกท้าทาย ในเมื่อครูสอนได้ไม่เก่งกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือติวเตอร์ แล้วจะมีครูไปหาวิมานอะไร เมื่อวานนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมโรงเรียนสมัยประถม ซิสเตอร์แก่ๆ คนหนึ่งยังเดินมาดุอีก แกคงลืมไปว่า ผู้เขียนนะแก่กว่าแกอีก เห็นคนแปลกหน้าเป็นนักเรียนไปหมด หรือว่าคุณสมบัติของการเป็นครู ต้องทำหน้าดุไว้ อย่างนี้อีกหน่อยน่าจะมีหน้าที่เพิ่ม?
  7. กลัวตำรา: ต้นฉบับเขาเขียนไว้ว่า กลัว Wikipedia แต่ผู้เขียนคิดว่า นักเรียนกลัวตำราเรียนมากกว่า  eBook และเวปกำลังทำให้หนังสือเริ่มต้นสูญพันธุ์ นั่นหมายถึงว่า อีกหน่อยตำราเรียนก็ไม่ใช่อุปกรณ์การเรียนอีกต่อไป
  8. กระดาษ: เมื่อคนเปิดจากแทบเล็ตได้  ทดได้ ลบได้ แถมพวกเอ็นจีโอก็รณรงค์ให้ประหยัดกระดาษช่วยโลก อีกหน่อยกระดาษก็คงหายไปพร้อมกับตำราเรียน
  9. ห้องพักครู: เป็นห้องที่สมัยเด็กๆ ไม่อยากเดินผ่าน เพราะเป็นแดนสนธยา หากไม่ถูกหาเรื่องดุ ก็มักถูกครูเรียกใช้ให้ยกของ หรือช่วยตรวจการบ้าน บาปกรรมคงมีจริง ห้องนี้ถึงได้ชดใช้กรรมสูยหายไป
  10. ห้องเก็บของ: ในโรงเรียฝรั่งจะมีห้อง Locker ให้เด็กๆ ได้เก็บของไม่ต้องแบกเป้หลังแอ่นกลับบ้าน แต่ของเราคงเป็นกระเป๋านักเรียนที่น่าจะเรียกว่ากระสอบห้องสมุดเคลื่อนที่ เพราะเด็กๆ มักขนไปหมด เพื่อนคนหนึ่งของผู้เขียนสมัยเด็กๆ แกขนทุกอย่างโดยไม่ต้องจัดตารางสอน เพราะแกมีปรัชญาว่า ไม่อยากจำว่าครูให้เอาอะไรมา และก็ไม่อยากทะเลาะกับครู แกเลยขนมาหมด รวมทั้งรังแมลงสาปที่แอบมากับกระเป๋าจากบ้านบ้านด้วย
  11. แผนกไอที: เอาละ ครูไอทีที่ชอบขู่ครูแผนกอื่นๆ จะได้สำนึกเสียบ้าง เพราะอะไรๆ ก็เป็น Cloud หมด ดังนั้นครูไอทีก็ควรจะหายไปกับกลีบเมฆด้วยเช่นกัน
  12. ความศักดิ์สิทธิ์ของส่วนกลาง: การรวมศูนย์อำนาจจะเสื่อมลง เมื่อท้องถิ่นมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้ ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาส่วนกลาง แม้แต่โรงเรียนที่ดูน่าเกรงขาม ก็จะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ในชุมชนที่ ไม่เพียงแต่เด็กๆ ได้มาใช้ แม้แต่ผู้ปกครองก็สามารถเข้ามาใช้ได้
  13. เกรด: ความจริงองค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดไว้ว่าศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษแห่งการเรียนรู้เป็นปัจเจกคนๆ ไป ที่เรียกว่า Personalized Learning ดังนั้นการเปรียบเทียบเกรดระหว่างกันก็หมดความจำเป็นไป แต่การเรียนเป็นกลุ่มจะมีความจำเป็นมากขึ้น ดังนั้นเพื่อนๆ ที่ร่วมกันทำโครงการกับเราจะกลายเป็นคนสำคัญในการอ้างอิงผลงานของเราต่อคนข้างนอก หากใครในกลุ่มชอบกินแรงเพื่อน แน่นอนว่า ถ้านายจ้างมาถามหาประวัติ เพื่อนๆ ในกลุ่มคงไม่เป็นพระหรือชีบอกว่าดีแน่ เพราะถ้าเป็นพระหรือชีแล้วปกป้องเพื่อนว่าดีทั้งๆ ที่ห่วยก็ผิดศีลมุสาอยู่ดี
  14. โรงเรียนที่ไม่มี FB: กล่าวคือ โรงเรียนที่อยู่โดดๆ เฉกเช่นโรงเรียนดังๆ บางแห่งที่ไม่สนใจใคร ไม่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม เด็กๆ ก็จะไม่เข้าเรียนโรงเรียนประเภทนี้อีกต่อไป เพราะถึงจะดัง แต่จบแล้วไม่มีเพื่อน ไม่รู้จักใคร ก็ไม่รู้ว่าดังแล้วดีตรงไหน
  15. หลักสูตรแกนกลาง: ในเมื่อการศึกษาเป็นสถาบันที่มีการปรับตัวช้าที่สุด ยิ่งหลักสูตรยิ่งปรับตัวช้า เพราะหลาย ๆ ปีถึงมีการปรับสักครั้ง ซึ่งก็ไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้น หลักสูตรแกนกลางจึงอาจกลายเป็น “วรรณกรรม” ที่น่ารังเกียจของนักเรียนอีกชิ้นหนึ่ง
  16. การประชุมครู ผู้ปกครอง: ครูไม่ต้องปวดหัวว่าเรียกประชุมแล้วผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือ เพราะไม่ว่าง หรือ ผู้ปกครองก็บ่นว่า ผู้อำนวยการบ้าอำนาจคุยจ้อไร้สาระ เพราะการประชุมอีกหน่อยจะผ่านสื่อสมัยใหม่ ใครว่างเมื่อไรก็เข้าไปประชุมได้เมื่อนั้น
  17. การจ้างงานคนนอก: ในเมื่อครูเป็นคนในที่รู้ปัญหามากที่สุด ก็น่าจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด ไม่ต้องจ้างคนนอกเข้ามาให้เสียงบประมาณ เรื่องข้ออ้างว่างานล้นมือก็ไม่ต้องอ้างอีก เพราะอนาคตครูจะว่างงานมากขึ้น ขี้คร้านจะแย่งงานกันทำ เพื่อเป็นหลักประกันว่าตนเองยังมีความหมาย จะได้ไม่ตกงานเร็วเกินไป
  18. โรงอาหาร: เมื่อเด็กเรียนนอกโรงเรียนบ่อยขึ้น และนักเรียนก็บ่นเรื่องอาหารในห้องอาหารไม่เอาความ แถมร้านสะดวกซื้อก็มีทุกหัวถนน ความจำเป็นของการมีโรงอาหารก็หมดไป
  19. พีชคณิต:ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ แต่กลายเป็นว่า วิชานี้จะรวมเข้าไปกับวิชาอื่นๆ อย่างกลมกลืนไม่รู้ตัว แถมสื่อสมัยใหม่ทำให้วิชานี้ไม่เป็นยาขมที่เรียนยากอีกต่อไป
  20. โรงเรียนกวดวิชา:ในเมื่อไม่มีหลักสูตรแกนกลาง ไม่มีการสอบคัดเลือกเข้า ไม่มีเรื่องเกรด แล้วจะกวดวิชาไปหาวิมานอะไรอีก วิชาการก็ปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ก็ไม่มีใครเก่งจริงที่จะมากวดวิชาให้เราได้อีก

โลกหลังแอปเปิ้ล

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน กรกฎาคม 2012)

ภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า เมื่อช่วงฝนตก ก็แสดงว่าช่วงที่ฟ้าสว่างจะมาถึง ขณะนี้ ต้องบอกว่าเป็นยุคของแอปเปิ้ลจริงๆ บริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดบริษัทหนึ่ง มีเงินสดในมือมากกว่ารัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสียอีก เป็นบริษัทที่ขายอะไรก็สามารถทำกำไรได้มากกว่าคู่แข่งทั่วไปถึงสามเท่าตัวโดยประมาณ นั่นแสดงว่ายุคทองของแอปเปิ้ลกำลังจะถูกท้าทายในเร็วๆ นี้เหมือนกับบริษัทเทเลคอมเบลล์ที่ใหญ่จนต้องถูกกฎหมายแบ่งแยกเป็นบริษัทย่อย เหมือนกับไมโครซอฟท์ที่เมื่อไม่กี่ปีก่อนเจอปัญหาสารพัดที่ไม่ใช่ปัญหาด้านคู่แข่ง แต่เป็นปัญหาการจำกัดความใหญ่โตของมัน นั่นขนาดไมโครซอฟท์ไม่ได้เป็นเจ้าของ value chain ทั้งระบบเช่นแอปเปิ้ลทุกวันนี้ เพราะแอปเปิ้ลมีทั้งซอฟต์แวร์ สินค้า และร้านค้าที่เป็นระบบปิดทั้งหมด จึงเชื่อได้ว่าความหมั่นไส้คงเกิดขึ้นในเร็ววันนี้แน่

หากลองมองย้อนกลับไปดูอดีตที่ไม่นานว่าอะไรทำให้แอ๊ปเปิ้ลสามารถครองใจมวลชนได้มากขณะนี้ ก็คงต้องเริ่มจากเพื่อนร่วมรุ่นอย่างไมโครซอฟท์ที่เติบโตด้วยการท้าทายไอบีเอ็ม บริษัทที่สร้างสรรพกำลังให้กับองค์กรขนาดใหญ่ให้สามารถต่อกรกับรัฐบาลกลางได้ จนองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มีอิทธิพลมากกว่ารัฐบาลกลางเสียอีก แต่ไมโครซอฟท์เลือกเติบใหญ่ด้วยยุทธศาสตร์ที่แตกต่างสองอย่างคือ หนึ่งไปส่งเสริมให้บริษัทเล็กมีประสิทธิภาพในการต่อกรกับองค์กรขนาดใหญ่ได้ และไมโครซอฟท์ก็ประสบความสำเร็จ เพราะจำนวนบริษัทเล็กมีมากกว่าบริษัทใหญ่หลายเท่าตัว นั่นหมายความว่าขายได้จำนวนชุดมากกว่า แม้จะราคาถูกกว่าระบบของไอบีเอ็ม ยุทธศาสตร์ที่สองคือ ไมโครซอฟท์ไม่ได้ต่อสู้อย่างโดดเดียว แต่ควงแขนให้พันธมิตขนาดเล็กสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแข่งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น และนั่นทำให้ไมโครซอฟท์อยู่ยั่งยืนยงมาจนถึงทุกวันนี้

หันมามองบริษัทรุ่นหลานอย่าง Google บ้าง ที่สร้างความเติบใหญ่ด้วยการให้ “ปัญญา” กับมวลชน จนเติบใหญ่แซงหน้าบริษัทรุ่นเก่าหลายบริษัท และก็ยังมีเครื่องแรงอยู่ในขณะนี้ หากไม่มีแอปเปิ้ลมาเป็นแมลงหวี่จน Google ต้องสร้าง Android ขึ้นมาขัดตาทัพ

ทีนี้ลองกลับมาดูบริษัทรุ่นปู่อย่าง Apple ที่กลับมารุ่งเรืองรอบใหม่โดยการรวมเอาสามจุดเด่นคือ หนึ่งคือประสิทธิภาพอย่างไมโครซอฟท์ สองเอาใจมวลชนเป็นหลักเฉกเช่น Google กล่าวคือ ตัดคนกลางไม่เหลือแม้แต่ผู้ค้ารายเล็ก แต่ตรงไปยังผู้ใช้โดยตรง และสามเอาดีไซน์เข้ามาเป็นศาสนาใหม่ ยุทธศาสตร์รอบใหม่นี้ของ Apple ดูเหมือนจะสมบูรณ์แบบ เพียงแต่มีจุดอ่อนที่สมบูรณ์เกินไป เพราะมวลชนก็คือมวลชนที่มีความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าองค์กร อะไรดีกว่าก็พร้อมจะแห่ไปรุมของใหม่ได้โดยไม่รีรอ เปรียบเสมือนม็อบที่เกิดขึ้นได้เร็ว แต่ควบคุมได้ยาก และก็สลายเร็ว ไม่มีวัตถุประสงค์ยืนยงเหมือนองค์กร  และอีกประการเท่ากับไปเร่งให้องค์กรต่างๆ ที่เสียผลประโยชน์รุมกินโต๊ะแอปเปิ้ลได้

ว่าไปแล้วสินค้าของแอปเปิ้ล ก็ไม่ได้ว่ามีนวัตกรรมเด่น ไม่ใช่เจ้าแรกในตลาด แต่เป็นเพราะมีการออกแบบที่สวยงาม ง่ายต่อการใช้เป็นเหลัก ความเชื่อของแอปเปิ้ลคือ รัฐบาลกลางกับประชาชน ไม่มีหน่วยงานใหม่ ไม่สร้างเศรษฐีใหม่ที่ใหญ่เพื่อมาแข่งกับตน เรียบง่าย ให้ในสิ่งที่ประชาชนชอบ แต่ไม่สามารถมีอำนาจต่อรองได้ นี่คือจุดแข็งที่อาจกลายเป็นจุดอ่อนได้ ดังนั้น โลกหลังแอปเปิ้ลจึงเกิดจากจุดแข็งของตัวเอง

การเกิดของแอปเปิ้ลทำให้ประชาชนลิ้มรสถึง personal power ทำให้มวลชนพัฒนาการด้านสุนทรียศาสตร์ดีขึ้น มีรสนิยม เป็นการยกระดับด้านสุนทรียะระดับประชาชนโดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดี ไม่เสแสร้งแต่งตัวแบบหลุยส์ เน้นความเรียบง่าย ซึ่งหากยกระดับรสนิยมและทัศนคติของมวลชนขึ้นไปสู่ระดับใหม่ ผู้มาใหม่ที่จะเอาชนะแอปเปิ้ลก็ต้องมีมาตรฐานขั้นต่ำขนาดนี้

โลกหลังแอปเปิ้ลจึงเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมและวัฒนธรรมมากกว่าจะเป็นเชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และก็มีบริษัทที่นำร่องให้เห็นแล้วคือ Facebook แต่บริษัทที่นำในเรื่องแบบนี้จะมีอายุองค์กรสั้น แต่เชื่อเถอะว่า โลกไม่สิ้นสุดการเปลี่ยนแปลง สิ่งใหม่ๆ ที่จะกระตุ้นกความตื่นเต้นของคนคงเกิดขึ้นให้เราได้เห็นในเร็วๆ นี้

ผู้กำหนดอนาคตรายใหม่

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน มิถุนายน 2012)

Higg อนุภาคพระเจ้าที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นสารตั้งต้นของสรรพสิ่งในจักรวาลที่เกิดขึ้นเมื่อราว 14 พันล้านปี รวมถึงการให้กำเนิดก๊าซไฮโดรเจน ธาตุที่มีมากที่สุดในจักรวาล เมื่อรวมกับก๊าซอีกตัวที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์คืออ๊อกซิเจน เราก็ได้สิ่งใหม่ที่มีสถานะต่างจากสารตั้งต้นอย่างสิ้นเชิง คือ น้ำ และการแปรสภาพน้ำกลับคืนไปเป็นสารตั้งต้นใช้พลังงานมหาศาลในการนำมันกลับไป

และน้ำก็เป็นสารตั้งต้นตัวใหม่ที่ก่อให้เกิดชีวิต ชีวิตก่อให้เกิดวิวัฒนาการ วิวัฒนาการก่อให้เกิดสังคม วัฒนธรรม อารยธรรม และเทคโนโลยีในที่สุด หากเราสืบสานตำนานการเปลี่ยนแปลง สิ่งประดิษฐ์ หรือปรากฏการณ์ใดๆ ก็ตาม จะพบว่า สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยในห่วงโซ่แห่งการเปลี่ยนแปลงเป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงใหญ่ และนับจากนี้ไป ท่านเชื่อหรือไม่ว่า สารตั้งต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลตัวใหม่คือ “โทรศัพท์มือถือ” เมื่อหลายปีก่อน พวกเราเคยตื่นเต้นกับการมาถึงของอินเทอร์เน็ต แต่อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงตัวกระตุ้นต่อมการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์เท่านั้น หากไม่มียานพาหนะ มนุษย์จะไม่มีวันเดินทางข้ามหมู่บ้านไปทำงานแน่ เช่นเดียวกัน   ต่อมการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์จะไม่มีวันทำงานได้เต็มประสิทธิภาพหากไม่มีเครื่องมือที่เรียกว่า “โทรศัพท์” และต้องเป็นโทรศัพท์อัจฉริยะที่เรียกว่า SmartPhone อุปกรณ์ที่ทำให้ Microsoft ผู้เคยเกรียงไกรต้องเปลี่ยนยุทธวิธีไขว่คว้ามันมาครอบครอง และเชื่อว่าเป้าหมายของ Microsoft คือการทำเรือล่มในหนองด้วยการหมายตาแต่งงานกับผู้เคยทรงอิทธิพลในอดีตอย่าง Nokia หลังจากที่เห็นคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Google เกี่ยวก้อยกับ Motorola ซึ่งก่อนหน้านี้ค่าย Apple ที่ไม่เลือกแต่งงานกับใคร แต่ชิงปั้น iPhone ของตัวเอง (ทำนองเดียวกับไส้เดือนที่ผสมพันธุ์กับตัวเอง โดยไม่ต้องใช้บริการใคร!)  และค่ายน้องใหม่ที่เกรียงไกรได้ไม่นาน และกำลังอยู่ในช่วงโรยลาอย่าง Facebook จำเป็นต้องหาคู่หมายมาอิงแอบเพื่อดำรงการเติบโตต่อไป ก่อนที่จะเฉาตายไปก่อนจะถึงวัยอันควร

ทำไมโทรศัพท์อัจฉริยะถึงมีความสำคัญขนาดนั้น? เพราะมันเป็นเครื่องมือที่เมื่อมีจำนวนมากๆ แล้วก็เหมือนกับฝูงปลาพิรันยาที่แม้แต่ช้างหรือเสือตัวใหญ่ๆ ก็หายวับไปกับตาภายในไม่ถึงสิบนาที  โทรศัพท์มือถือเคยทำให้นักการเมืองที่เกรียงไกร กองทัพที่ยิ่งใหญ่ของทรราชย์ในบางประเทศหลุดจากอำนาจได้ง่ายกว่านักการเมืองฝ่ายตรงกันข้ามเสียอีก และจากนี้นวัตกรรมใหม่ๆ ทางสังคมจะบังเกิดขึ้นจากการใช้เจ้าเครื่องมือนี้ เพราะเชื่อกันว่าภายในเวลาไม่ถึง 4 ปีข้างหน้า จำนวนประชากรที่ถือเจ้าเครื่องมือนี้ทั่วโลกจะมีจำนวนถึง1,000 ล้านคน และด้วยจำนวนที่มากมายขนาดนี้ ก็ทำให้เกิดการสร้างงานอย่างมหาศาล ครั้งหนึ่งคนเพียงหยิบมือสามารถกลายเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่เจ้าเครื่องมือนี้จะทำให้คนธรรมดาหลายๆ คน แม้แต่เด็ก กลายเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ และตัดห่วงโซ่การเป็นเศรษฐีโดยแทบไม่ต้องไปทำ IPO หรือหา Venture Capital ที่ไหน เนื่องจากเมื่อสร้างเสร็จก็สามารถ Ready to Shelf ให้คนได้ใช้กันทั่วโลก เชื่อกันว่าเฉพาะในอเมริกาเพียงแห่งเดียว ความแพร่หลายของสมาร์ทโฟนก็ทำให้เกิดการสร้างงานขึ้นแล้วอย่างน้อยครึ่งล้านตำแหน่ง มากกว่านักการเมืองที่ต้องใช้ภาษีของประชากรเป็นตัวกระตุ้นเสียอีก เมื่อรวมรายได้ที่เจ้ากลุ่มนี้ทำได้ ก็มากกว่า 55 พันล้านเหรียญหรือขนาดมากกว่าความรวยของบิลเกตเสียอีก แต่ดีกว่าตรงที่เป็นการกระจายรายได้ให้คนเกือบล้าน แทนที่จะกระจุกตัวที่คนเดียวอย่างแต่ก่อน เรียกว่ามันช่วยให้เกิดการกระจายรายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านโยบายของรัฐบาลเสียอีก นี่เพียงประเทศเดียว หากนับทั้งโลก เชื่อว่าตัวเลขต้องมากกว่านี้สองสามเท่า

เชื่อกันว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เจ้าสมาร์ทโฟนจะมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ในมิติของเทคโนโลยี แต่หมายถึงในมิติของสังคมและวิถีการใช้ชีวิตอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน อาทิเช่น..

.. ขนาดที่เล็ก และบางลง .. อันเป้าหมายที่แน่นอน แต่มันอาจทำให้เจ้าจอมอนิเตอร์ใหญ่ๆ อย่าง LED ขนาด 40-50 นิ้วหายไปจากตลาด เพราะโทรศัพท์ในอนาคตจะสามารถฉายภาพไปลงบนพื้นผิวใดๆ ให้มีภาพแจ่มชัดได้เท่ากับจอ LED ในขณะนี้ แล้วทำเราถึงต้องมีจอ LED ให้เกะกะพื้นที่อีกต่อไป

…ช่วยเป็นหน่วย Swat ในการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมให้เรา.. ไม่ต้องมีบอร์ดีการ์ดหรือคนให้บริการล้อมหน้าล้อมหลังอย่างปัจจุบัน เมื่อท่านเข้ารถ มันก็จะเชื่อมต่อกับระบบของรถยนต์ เมื่อท่านเข้าบ้าน มันก็จะเชื่อมต่อกับระบบในบ้านที่ทำให้ได้มากกว่าแค่การเปิดปิดแอร์ แต่สามารถขนาดช่วยวิเคราะห์ได้ด้วยว่าสิ่งแวดล้อมในแต่ละขณะจะมีปัญหาต่อสุขภาพของท่านในขณะนั้นหรือไม่ และเมื่อท่านเข้าห้างสรรพสินค้า มันก็จะเชื่อมต่อกับระบบส่งเสริมการขายโดยให้ข้อมูลเฉพาะที่ท่านต้องการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อในอดีตของท่าน ถ้าไข่ในตู้เย็นหมด แล้วบังเอิญท่านเดินผ่านแผงขายไข่ มันก็จะเตือนให้ท่านซื้อไข่ เรียกว่าช่วยให้ท่านได้ใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพทุกลมหายใจที่พ่นออกและสูดเข้า

….ช่วยเป็นกองทัพเลขาที่คอยเก็บข้อมูลทุกอย่าง.. ไม่เพียงแค่หนึ่งเลขา แต่เทียบเท่ากับหน่วย CIA ที่คอยเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลให้กับรัฐบาลอเมริกา ถึงตอนนั้น ท่านจะสามารถจำคนได้ทุกคนที่เดินผ่านท่าน เฉกเช่นเดียวกับที่ทุกวันนี้เราเข้าไปเช็คประวัติ หาเพื่อนเก่าของเราจาก Facebook ท่านไม่ต้องกลัวว่าท่านจะหาเรื่องอะไรมาเม้าท์กับเพื่อนใหม่ เพราะเจ้าโทรศัพท์จะแนะแนะนำว่าเพื่อนใหม่ของท่านสนใจอะไร และเพื่อนใหม่ของท่านก็รู้เท่าท่านท่านพอกันว่า ท่านไม่อยากฟังเรื่องเสื้อเหลือง หรือเสื้อแดง

…คอยถ่วงดุลย์หูของท่านไม่ให้เบา.. แน่นอนว่าหากมีข้อมูลมากเกินไป ก็อาจสมองบวมข้อมูล เจ้าโทรศัพท์จะคอยบอกว่า วันนี้ท่านจะเชื่อการวิเคราะห์สรยุทธได้กี่เปอร์เซ็นต์ เรียกว่าทุกข่าวสารที่ได้รับก็จะมีข่าวสารดุลย์กันมาให้เราตัดสินใจ เชื่อว่าระบบอย่างนี้น่าจะเป็นคุณกับประเทศไทย ประเทศที่ตื่นข่าวลือได้ทุกชนิด แต่ไม่เชื่อในข่าวจริง

….ช่วยท่านหาเงิน.. แน่นอนเลยว่าระบบอย่างนี้ถูกใจทุกคน เพราะในเมื่อเจ้าสมาร์ทโฟนสามารถทำให้เราใช้เวลาทุกลมหายใจเข้าออกได้อย่างมีความหมาย ก็หมายความว่า มันจะช่วยเราหาเงินได้จากการเดินทางได้เช่นกัน อาทิเช่นหากท่านกำลังเดินในห้างสรรพสินค้าแล้วบังเอิญมีการวิจัยทางการตลาดซึ่งเป็นเรื่องที่ท่านชำนาญ เช่น ว่าเรื่องประสบการณ์การใช้รถกะบะ ประสบการณ์การใช้กล้องถ่ายรูป มันก็จะช่วยสมัครให้ท่านไปเสนอหน้าเป็นตัวอย่างแล้วได้เงินค่ากาแฟสักร้อยสองร้อยบาท หรือในอีกนัยหนึ่ง หากท่านบังเอิญเป็นคนที่มีข้อมูลเฉพาะด้านที่คนที่เดินสวนกับท่านต้องการข้อมูลชิ้นนั้นอยู่ ท่านก็อาจจะเสนอขายข้อมูลนั้นให้กับคนๆ นั้น เช่น ในบางกรณีที่นักท่องเที่ยวกำลังเดินหาโรงแรมอยู่ แล้วเราก็เป็นคนแถวนั้น นักท่องเที่ยวคนนั้นน่าจะยินดีจ่ายค่าข้อมูลสัก 20-30 บาท แลกกับค่าแท๊กซี่ที่ถูกลงหรือค่าห้องที่ถูกลงสัก 500 บาท สำหรับคนเดินทางบ่อยๆ คงมีประสบการณ์เช่นนี้ เพราะแค่ข้อมูลนิดเดียวก็ช่วยให้เราไม่ต้องโดนแท็กซี่ตุ๋นหรือแค่เดินข้ามถนน เราอาจได้ห้องที่ถูกลงถึง 1,000 บาท แลกกับข้อมูลเพียง 20 บาท ถือว่าคุ้มมาก

…. ช่วยเป็นมัคคุเทศน์ท่องโลก.. โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ก่อให้คนมีนิสัยไม่อยู่กับที่มากขึ้น เพราะถือว่าติดต่อกับคนใกล้ชิดได้ตลอดเวลา จึงไม่ต้องเสนอหน้าให้เห็นตลอดเวลา เมื่อคนชอบท่องโลก ข้อมูลสำหรับสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคยจึงจำเป็น ผู้เขียนเป็นผู้หนึ่งที่ได้ใช้อรรถประโยชน์ด้านนี้มาหลายครั้ง เพราะแค่เครื่อง GPS ก็ช่วยให้เรารู้ว่ามีอะไรน่าสนใจในละแวกนั้น มีร้านอาหารอะไรที่ควรลอง โดยไม่ต้องพึ่งแผนที่

…ช่วยทำให้เราทำความรู้จักกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น ไม่เพียงแต่เรื่องของข้อมูลที่รู้เขารู้เราเท่านั้น แต่หมายถึงเราสามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนแปลกหน้าได้ง่ายขึ้น ด้วยการเล่นเกม ช่องว่างระหว่างพ่อแม่ที่ถ่างออกไป จะกลับมาใกล้ชิดเหมือนเดิมด้วยการเล่นเกมบางอย่างร่วมกัน แม้พ่อแม่ลูกอาจจะไม่ได้อยู่ในเมืองเดียวกันก็ตาม

คาดกันว่า จะเกิดมิติใหม่ๆ ของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีชีวิตจากเจ้าสมาร์ทโฟนนี้อีกมากมาย..

สเปกเครื่องของมนุษย์ศตวรรษที่ 21 ตอน 2

โดย พงษ์ ผาวิจิตร (ตีพิมพ์ในนิตยสาร Eworld ฉบับเดือน พฤษภาคม 2012)

อีกไม่ถึง 1,000 วัน handicap ที่เรามีเหนือคนต่างชาติจะหมดไป อย่างน้อย ๆ จากวันนี้ที่เราแข่งกันเอง 65 ล้านคนภายใต้กฏกติกาที่ได้เปรียบคนต่างชาติ เช่น แรงงานไทยได้รับการคุ้มครองค่าแรงขั้นต่ำ แถมป่วยไข้ก็มีหลักประกันสุขภาพ พวกเขมร รามัญจะแข่งกับเราก็ต้องลดค่าแรงลงเพื่อให้นายจ้างคุ้มกับค่าความเสี่ยงที่จะจ้างพวกเขา หรือหากไม่อยากเสี่ยง ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการทำให้แรงงานเหล่านี้ถูกกฏหมาย ซึ่งรวม ๆ แล้วก็ทำให้ต้นทุนในการจ้างพวกเขา “แพงกว่า” พวกเราที่แม้จะเป็นพวกช่างเรียกร้อง ช่างประท้วง ก็ยังน่าจ้างอยู่ดี แต่เมื่อถึงปี 2558 มันไม่แน่อย่างนั้นอีกต่อไป เมื่อประชาคมอาเชี่ยนจะรวมเป็นหนึ่งเดียวจาก 65 ล้านคน เราก็ต้องแข่งกับคนอีกเกือบ 400 ล้านคน รวมกับพวกเรากันเอง กลายเป็นว่า เราต้องแข่งกันระหว่างคน 500 ล้านคน เมื่อตัวเลือกมากขึ้น การแข่งขันก็เข้มข้นขึ้นเป็นธรรมดา ในวันนั้น จะมีคนเข้ามาแข่งกับเราถึงบ้านด้วยกฏกติกาใหม่ ศักยภาพใหม่ และในขณะเดียวกัน หากเราคิดว่า เราก็เหนือชั้น จะข้ามพรมแดนไปแข่งกับเขาในบ้านเขาบ้างก็ไม่ผิด คำถามคือ..เขาแข่งกันในเรื่องอะไร? ในสนามประกวดนางงาม แน่นอนว่าต้องเป็นผู้หญิง แต่ผู้หญิงที่จะถูกเลือกเป็นนางงามก็มีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างที่ไม่ได้ระบุไว้กฏการแข่งขัน สรุปก็คือ ..ระบบการศึกษา และการเตรียมคนบ้านเรา มีเพียงการเตรียมให้มีคุณสมบัติเข้าประกวดได้ แต่ไม่ได้เตรียมคุณสมบัติเพิ่มเติมที่จะทำให้เราได้ “แต้มต่อ” ที่จะได้เข้าไปในรอบลึก ๆ

และนี่คือ 10 “แต้มต่อ” ที่ไม่มีในระบบการพัฒนามนุษย์บ้านเรามากนัก

แต้มต่อที่ 1: มีสามัญสำนึก ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์แสนฉลาดยังทำไม่ได้ แต่คำว่า “สามัญสำนึก” ก็กว้างเสียจนหาขอบเขตไม่ได้ เหมือนกับคำว่า “อาหารอร่อย” ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละคน แต่ละภูมิภาค เนื่องจากความซับซ้อน กฏกติกาที่เปลี่ยนไปเป็นรายวินาที ทำให้เราไม่สามารถเขียนคู่มือขึ้นมาเป็นแนวปฏิบัติได้ จึงขึ้นกับ สามัญสำนึกในการตัดสินของแต่ละคน ความมีสามัญสำนึกพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ที่หลากหลาย

แต้มต่อที่ 2: ความฉลาดทางสังคม (Social Intelligence) คือมีความไว ความสามารถในการรับรู้ประเด็นทางสังคม เข้าใจความแตกต่าง หลากหลายของวัฒนธรรม การไม่ยอมรับให้คนที่เห็นต่างอยู่ในพื้นที่เดียวกันในสังคมไทย กำลังเป็นบททดสอบว่าเรามีความฉลาดทางสังคมหรือไม่

แต้มต่อที่ 3: ศักยภาพในการับของใหม่และการปรับตัว (Novel & adaptive thinking) เป็นแนวโน้มเกิดขึ้นทั่วโลกที่งานของชนชั้นกลางกำลังหดหายไป เหลือแต่งานระดับสูงและระดับล่าง ระดับสูง เช่นการบริหารจัดการ การตีความ การแก้ปัญหา ฯ ล ฯ ส่วนงานระดับล่าง เช่นงานเลี้ยงหมา งานทำความสะอาด ตัดผม ดูแลคนแก่ ฯ ล ฯ งานระดับสูงเป็นงานสำหรับคนที่ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ได้ ในขณะที่งานระดับล่างคืองานตายตัวที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นพัน ๆ ปีแล้ว

แต้มต่อที่ 4: ศักยภาพในการตีความตัวเลข (Computation Thinking) งานคำนวณกลายเป็นหน้าที่ของเครื่องคิดเลขราคา 100 บาทมีทอนแล้ว แต่ศักยภาพในการย่อยข้อมูลตัวเลขมหาศาลให้มีความหมายกับงานเฉพาะด้านเป็นความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

แต้มต่อที่ 5: ศักยภาพในด้านสื่อที่หลากหลาย (New Media Literacy) การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งที่เครื่องจักรก็ทำได้แล้ว แต่ในหลาย ๆ สังคมยังหลงไหลได้ปลื้มแค่การอ่านออกเขียนได้ อะไรที่มีจำนวนมหาศาล ก็ต้องมีหลักในการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นด้านตัวเลข (ดังแต้มต่อที่4) หรือด้านคน (การบริหารจัดการ) ด้านการจัดสรรทรัพยากรในสังคม (การเมืองและเศรษฐกิจ) ซึ่งแต่ละด้านเป็นเรื่องนามธรรมทั้งสิ้น และความเป็นนามธรรมเป็นยาขมขนานเอกสำหรับคนในสังคมไทย ผมเป็นคนหนึ่งที่ถูกตั้งคำถามเป็นประจำว่าชอบพูดเรื่องนามธรรมเรื่องไกลตัว และก็รู้สึกหงุดหงิดทุกครั้งเพราะความซับซ้อนของระบบและข้อมูลทำให้ไม่สามารถทำให้เป็นรูปธรรมเพียงสองสามคำพูดได้ เช่นเดียวกัน ณ บัดนี้เป็นต้นไป สื่อภาพ แสง เสียงที่เราเห็นเป็นรูปธรรมในสื่อต่าง ๆ กำลังพัฒนาให้มีคุณสมบัติเป็นนามธรรมมากขึ้นเหมือนเรื่องเศรษฐกิจที่ยากจะเข้าใจกว่าเรื่องเงินทองในบัญชีของเรา แต่ศักยภาพในการเข้าใจเรื่องยาก ๆ มิใช่หรือที่ทำให้คนบางคนสามารถหาเงินได้มากกว่า

แต้มต่อที่ 6: ศักยภาพในการข้ามพรมแดนอาชีพ (Trans disciplinary) ท่านอาจไม่รู้มาก่อนว่า เดี๋ยวนี้ วิศวกรเรื่องของเหลวไปเป็นอาจารย์สอนแพทย์ได้ เพราะแพทย์ก็ต้องเรียนรู้หลักกลศาสตร์ของเหลวในระดับเซลล์ หรือแพทย์ก็ไปสอนคอมพิวเตอร์ เพราะมีความรู้ในด้านฐานข้อมูลคนไข้ดีกว่าคนเขียนโปรแกรมเสียอีก ก็คงไม่แปลก ขนาดชายแปลงเพศยังสวยและทำหลาย ๆ เรื่องที่หญิงแท้ต้องอาย ศักยภาพในการกลายพันธุ์ที่ยังคงรักษาความสามารถเดิมเป็นสิ่งที่ต้องการในตลาดมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นชายแปลงเพศในอนาคตจึงต้องเป็นทั้งหญิง และก็ต้องมีความแข็งแกร่ง บึกบึนแบบชายถึงจะเข้ากฏข้อนี้ได้ แต่เชื่อเถอะว่าเกิดขึ้นยาก

แต้มต่อที่ 7: ศักยภาพในการจดจำทิศทางการแก้ปัญหาของตนเอง (Cognitive load Management) เป็นหัวข้อที่ไม่รู้ว่าจะแปลเป็นไทยได้อย่างไรให้มีความหมาย เอาเป็นว่า ท่านที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์จะมีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่า หากเกิดปัญหากับการตั้งค่าต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง แล้วท่านจะรู้โดยลาง ๆ ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร แต่จะให้ไปแก้ให้คนอื่นไม่ได้ ทำนองวิธีการทำอาหารของอาจารย์ยิ่งศักดิ์ที่บอกว่าใส่เกลือไปหน่อย ใส่น้ำตาลไปนิด ผัดสักประเดี๋ยวแล้วก็พร้อมเสิร์ฟ ไอ้เกลือหน่อย น้ำตาลนิดนี่เท่าไรกันแน่ หรือประเดี๋ยวหนึ่งนั้นนานแค่ไหนก็บอกไม่ถูก การทำงานกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงตลอด เราต้องมีความสามารถจำเส้นทางว่าจะกลับไปค้นหาข้อมูลที่ผ่านตามาอย่างไร ผู้ที่เคยแต่งหนังสือล้วนผ่านประสบการณ์นี้มาเพราะต้องหาข้อมูลเป็นจำนวนมาก แต่เอามาใช้เขียนเพียงนิดเดียว แต่คนเขียนเองก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันเป็นอย่างไร ขนาดไหน

แต้มต่อที่ 8: ความสามารถในการออกแบบ (Design Mindset) การออกแบบไม่ได้จำกัดในวงการแฟชั่นหรือศิลปะเท่านั้น แต่ต้องอยู่ในทุกวงการ เช่นการออกแบบรูปแบบงานการต้อนรับลูกค้าที่แตกต่างเฉพาะกลุ่ม เฉพาะคน การออกแบบ คนทุกวันนี้เสพติดกับแบบเฉพาะตน เรียกร้องความเป็นเอกลักษณ์ คนทำงานในด้านต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการออกแบบ

แต้มต่อที่ 9: ความสามารถในการทำงานข้ามวัฒนธรรม (Cross Cultural Competency) ในวันนี้ ไทยเราหนึ่งเดียว ยังไม่เข้าใจกันเอง  แล้ววันที่เราจะมีเป็น 10 ประเทศ เราเข้าใจลาวไหมว่า ความภูมิใจในประวัติศาสตร์ของไทยที่เคยไปตีลาวได้คือความเจ็บปวดของลาว หรือการล่มสลายของพระเจ้าชัยวรมันในเขมรจนนำปสู่เขมรใหม่เกิดจากการยกทัพไปตีของอโยธา นี่ยังไม่รวมมาเลย์ อินโดนีเซีย หนึ่งประเทศแต่มีหลากหลายชาติพันธุ์ที่แตกต่างทั้งความคิด วัฒนธรรม ประเทศเหล่านี้มีคนพูดภาษาไทยได้มากกว่าคนไทยที่รู้ภาษาของเขา อย่างน้อย ๆ คนงานพม่าก็พูดไทยได้ แต่ผู้บริหารไทยจะมีสักกี่คนที่พูดพม่าได้ แล้วความฝันที่จะเข้าไปแสวงหาโอกาสในพม่าจะทำได้อย่างไร

แต้มต่อที่ 10: ความสามารถในการทำงานกับเงา (Virtual Collaboration) หัวข้อนี้ผมจงใจแปลเป็นอย่างนี้ เพราะโลกใหม่ต้องการให้เราทำงานเป็นทีมบนโลกไซเบอร์ ต่างจากแค่แชท เล่นเกม แซวกันไปมา เพราะนั่นคือความสนุก ผ่อนคลาย แต่การทำงานบนโลกไซเบอร์ก็เหมือนกับดาราที่จะเล่นบทไหน ต้องตีบทให้แตก เข้าใจไดอะลอกจนสามารถดูดซึมเข้ามาเป็นบุคคลิกภาพของเราได้ เราอาจร้องเพลงเพราะในห้องน้ำ แต่เมื่อขึ้นเวทีจริง ความสามารถของเราจะหล่นหายไปหลายเท่า ยกเว้นคนมีประสบการณ์ เช่นเดียวกันคนมีประสบการณ์ในการทำงานกับคนหลากหลายประเภท หลากหลายสถานการณ์ หลายวัฒนธรรม ก็จะสามารถขึ้นไปทำงานเป็นทีมบนโลกไซเบอร์ได้ดีมีประสิทธิภาพกว่า

การรู้จักแต้มต่อเป็นแค่บทเริ่มต้น แต่การพัฒนาลงไปในแต่ละด้านสิ ยาขม..

You may have missed